สาเหตุของอาการปวดศีรษะแบบต่างๆ

เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะ เราต้องหาสาเหตุก่อนเพื่อทำการรักษาได้ตรงจุด เพราะอาการปวดศีรษะก็จะคัดกรองแยกโรคให้ชัดเจนขึ้นด้วย ดังนั้นอาการปวดศีรษะจึงมีหลายสาเหตุ แบ่งได้คร่าวๆดังนี้

ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ หรือ primary headache

ได้แก่โรคปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้ปวดเพราะสาเหตุจากโรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้เช่น migraine headache ,cluster headache ,tension headache  ในกลุ่มนี้ก็จะมีอาการที่แตกต่างกันในการแยกโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ 

ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ หรือ secondary headache

จะมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ เป็นได้ทั้งโรคร้ายแรง และไม่ร้ายแรง

  • สาเหตุนอกศีรษะ เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ (มักจะมีไข้ร่วมด้วย) ความดันโลหิตสูง 
  • สาเหตุในศีรษะ แต่อยู่นอกสมอง เช่น ไซนัสอักเสบ หูอักเสบ ต้อหิน ฟันผุ
  • สาเหตุในสมอง เช่น เนื้องอก ติดเชื้อในสมอง เป็นต้น

ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรง เรื้อรัง กินยาไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการผิดปกติ ทางสมอง เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ซึมลง จึงควรตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด ควรพบแพทย์เฉพาะทางสมอง และแพทย์จะพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมเช่น เอกซเรย์สมอง CT scan หรือ MRI รวมไปถึงการเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจวินิจฉัยในบางโรค 

ในรายที่วินิจฉัยแน่นอนว่าเป็นไมเกรน คือแพทย์จะวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆออกไปก่อน จะพบว่าคนไข้ไมเกรนต้องไม่มีโรคร้ายแรงอื่นๆร่วมด้วย ในกรณีไมเกรนเรื้อรังสามารถรักษาด้วยวิธีใหม่ โดยการฉีดโบทุลินัมทอกซิน ที่มีผลงานวิจัยรองรับว่าได้ผลดีและใช้กันแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่ปี 2010 ขั้นตอนการรักษาโดยแพทย์จะทำการฉีดโบทูลินั่มทอกซินที่บริเวณรอบศีรษะ ท้ายทอย และไหล่ ในจำนวนยาที่เหมาะสม หลังฉีดรักษา คนไข้จะปวดไมเกรนน้อยลงหรือไม่ปวดเลยจนไม่ต้องกินยา โดยแพทย์จะแนะนำให้ฉีดทุก 4-6 เดือนเพื่อควบคุมและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน สามารถลดการใช้ยา ลดอาการปวดและความถี่ของไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ