ปวดหัวเรื้อรัง กินยาไม่หาย อันตรายไม่ควรปล่อยไว้ มีวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง?

ปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวพบเจอได้บ่อย ๆ  ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ ทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ  เพียงแค่กินยาแก้ปวดแล้วอาการดีขึ้น แต่สำหรับบางคนอาการก็อาจจะกลับมา เป็น ๆ  หาย ๆ  อีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะอาการปวดหัวเรื้อรัง

ทั้งนี้ อาการปวดหัวเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากอะไร เกี่ยวข้องกับปวดหัวไมเกรนเรื้อรังหรือไม่ อย่างไร เมื่อมีอาการปวดหัวเรื้อรัง วิธีรักษาเป็นต้องทำอย่างไร หรืแปวดหัวเรื้อรังรักษาที่ไหน บทความนี้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ


สารบัญบทความ


ปวดหัวเรื้อรัง

ปวดหัวเรื้อรัง (Chronic Headache)

อาการปวดหัวเรื้อรังจะมีลักษณะแตกต่างจากอาการปวดหัวทั่ว ๆ  ไป เนื่องจากอาการปวดหัวทั่ว ๆ  ไปนั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อรอบศีรษะเกร็งตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณต่าง ๆ  เช่น ปวดหัวท้ายทอย ปวดขมับ ปวดตา ปวดหัวคิ้ว และสามารถกินยาบรรเทาอาการได้

แต่หากปวดศีรษะเรื้อรัง แม้ว่าจะกินยาและอาการดีขึ้น แต่อาการก็จะกลับมาเป็นดังเดิม หรือเรียกได้ว่าเป็น ๆ  หาย ๆ  เป็นลักษณะของอาการปวดหัวเรื้อรัง กินยาไม่หาย อีกทั้งสาเหตุของอาการปวดหัวเรื้อรังยังเกิดได้จากหลาย ๆ  ปัจจัย รวมถึงโรคร้ายในร่างกาย ดังนั้นจึงต้องวินิจฉัยอย่างละเอียด


อาการแบบไหนที่เรียกว่าปวดหัวเรื้อรัง

อาการแบบไหนที่เรียกว่าปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเรื้อรัง อาการจะต้องหมั่นสังเกตตนเองบ่อย ๆ  เพราะเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและสังเกตอาการตนเองจะพบว่าแตกต่างจากอาการปวดหัวทั่วไป โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ปวดหัวบ่อยมากกว่า 15 วันในรอบ 1 เดือน
  • อาการปวดติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน
  • ปวดหัวตลอดเวลา กินยาไม่หาย

ปวดหัวเรื้อรังเกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัวเรื้อรังเกิดจากสาเหตุใด

อาการปวดหัวเรื้อรัง เกิดจากหลายๆ สาเหตุ เช่น ปวดหัวจากความเครียด ทานยาเกินขนาด ปวดหัวไมเกรน โรคต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งบทความนี้เราได้รวบรวมสาเหตุของอาการมาให้ ดังนี้

1. โรคไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine)

อาการไมเกรนเรื้อรัง จากการศึกษาพบว่าสามารถเกิดได้จากพันธุกรรม สารเคมีในสมอง สิ่งเร้าภายนอก ตลอดจนการทำงานผิดปกติของหลอดเลือด คือ หดหรือขยายตัวอย่างผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดทั่วบริเวณ ปวดหัวข้างขวาสลับกับข้างซ้าย ตลอดจนปวดหัวเรื้อรัง

จุดเด่นของอาการ : มีอาการปวดตุบๆ คล้ายกับเสียงเต้นของหัวใจ โดยจะปวดรุนแรงและเรื้อรัง บางครั้งคลื่นไส้ เห็นแสงวูบวาบอาเจียน เวียนหัว ไวต่อสิ่งเร้าร่วมด้วย

2. ปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัวแบบเรื้อรัง (Chronic Tension-type Headache)

ลักษณะอาการของปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัวแบบเรื้อรังจะคล้ายกับอาการของไมเกรน โดยเกิดจากเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว ทั้งนี้จะมีปัจจัยภายนอก เช่น ปวดหัวจากความเครียด การพักผ่อนน้อย การทำงานหนัก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดอาการได้

จุดเด่นของอาการ : ปวดตื้อ ปวดหัวเหมือนโดนบีบขมับ เส้นคอตึงจนรู้สึกปวดหัว ตลอดจนท้ายทอย

3. ปวดหัวต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน (New Daily Persistent Headache)

หลาย ๆ  คนอาจคิดว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ทานยาแล้วก็จะหาย แต่ความจริงแล้วนี่คือ หนึ่งในสาเหตุอาการปวดหัวเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน และจะเกิดอาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ  ยาวนานถึง 3 เดือน 

แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาหรือวิจัยเปิดเผยอย่างแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่ก็พบว่ามีผู้ที่สามารถหายจากอาการปวดหัวเรื้อรังเป็นประจำทุกวันได้

จุดเด่นของอาการ : ปวดหัวข้างซ้ายหรือข้างขวาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง อาเจียน คลื่นไส้ ตาไม่สู้แสง

4. ปวดหัวข้างเดียวเรื้อรัง (Hemicrania Continua)

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากสาเหตุปวดหัวข้างเดียวพบได้น้อย เนื่องจากสาเหตุดังกล่าวเกิดจากการทำงานของเส้นประสาทคู่ที่ 5 ของสมองทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้กลไกรับส่งสัญญาณผิดปกติตามไปด้วย นำมาซึ่งอาการปวดหัวบ่อย

จุดเด่นของอาการ : ปวดขมับข้างเดียวโดยไม่เคยย้ายข้างลามไปยังปวดกระบอกตา ตาแดง น้ำตาหรือน้ำมูกไหล

5. ปวดหัวแบบคลัสเตอร์เรื้อรัง (Chronic Cluster Headache)

การปวดหัวคลัสเตอร์เรื้อรังเกิดจากการทำงานของต่อมใต้สมองและเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำงานผิดปกติคล้าย ๆ  กับการปวดหัวข้างเดียว ซึ่งแน่นอนว่ากลไกของสาเหตุดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวประมาณ 3 ชั่วโมงยาวนานตลอด 3 เดือน

จุดเด่นของอาการ : ปวดหัวรุนแรงคล้ายโดนมีดหรือของแหลมทิ่ม ตาบวมแดง น้ำตาไหล

6. ปวดหัวเรื้อรังจากการใช้ยาเกินขนาด (Medication Overuse Headache)

สาเหตุนี้เกิดได้ไม่บ่อยนัก โดยส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อผู้ป่วยที่มีโรคปวดหัวไมเกรนหรือปวดประเภทต่างๆ และทานยาเพื่อรักษาอาการ ซึ่งหากทานเกิดปริมาณที่แพทย์กำหนดหรือเกินขนาด จากที่จะช่วยบรรเทาอาการ กลายเป็นว่าจะส่งผลปวดหัวแทน 

จุดเด่นของอาการ : ปวดคล้ายกับโรคที่เคยเป็นก่อนทานยา

7. ปวดหัวเรื้อรังหลังจากการบาดเจ็บ (Post-traumatic Headache)

อาการปวดหัวเรื้อรังหลังจากการบาดเจ็บ เช่น ศีรษะกระแทก ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน หรือมีแผลเลือดออก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดบริเวณดังกล่าวแคบลง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ปกติ 

จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวคล้ายกับไมเกรน และปวดหัวจากความเครียด หากอาการปวดหัวเรื้อรังยังเกิดอยู่เป็นระยะเวลานาน ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางแก้ไข

จุดเด่นของอาการ : เวียนหัว นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ ไวต่อสิ่งเร้า อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป


อาการปวดหัวเรื้อรังที่ควรพบแพทย์

ส่วนใหญ่พบว่าเมื่อมีอาการปวดหัวทั่ว ๆ  ไป อาจจะเลือกใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นหรือการทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หากพบว่ามีอาการปวดหัวเรื้อรังดังต่อไปนี้ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว

  • ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน
  • มีไข้ คอแข็ง น้ำหนักลดร่วมกับอาการปวดหัว
  • มีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ปากเบี้ยว 
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็งผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
  • อาการปวดหัวทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  • ลักษณะอาการปวดหัวเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็น เช่น ตื่นนอนแล้วปวดหัวติดต่อกันจากเดิมที่ไม่เคยเป็น ปวดหัวคลื่นไส้จากที่เคยปวดขมับ

การวินิจฉัยอาการปวดหัวเรื้อรัง

การวินิจฉัยอาการปวดหัวเรื้อรัง

วิธีแก้อาการปวดหัวเรื้อรังสามารถทำได้หลายวิธี แต่ก่อนอื่นจะต้องทำการวินิจฉัยอาการปวดหัวเรื้อรังเสียก่อน โดยในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตลอดจนตรวจร่างกายอย่างละเอียด ดังนี้

การตรวจเลือด 

เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตเป็นหนึ่งปัจจัยของอาการปวดหัวเรื้อรัง ดังนั้น จึงจะต้องทำการตรวจวัดความสมบูรณ์ของเลือดในร่างกาย ตรวจหาสารเคมีที่ผิดปกติในเลือด ตรวจหาโรคหรือการติดเชื้อต่าง ๆ  เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนหาว่าอาการปวดหัวเรื้อรัง เกิดจากอะไร

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI มีความปลอดภัยสูงและได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ชัดเจน ดังนั้นจึงนิยมนำมาตรวจหาความผิดปกติของของร่างกาย เช่น โรคปวดหัวเรื้อรัง ภาวะสมองอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ  เนื้องอก เพื่อทำการรักษาต่อไป

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ  CT SCAN จะใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติในร่างกายและวินิจฉัยโรคต่าง ๆ  เกี่ยวกับสมอง ร่างกาย หรือวินิจฉัยเฉพาะจุด โดยผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบภาพ 3 มิติ ทำให้เห็นรายละเอียดชัดเจน ผลลัพธ์แม่นยำ สามารถหาสาเหตุและทำการรักษาขั้นต่อไปได้


แนวทางการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรัง

แนวทางการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังสามารถทำได้หลาย ๆ  รูปแบบ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ตลอดจนความเหมาะสมของอาการ ดังนี้

1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

แนวทางการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรัง

ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤตกรรมการนอนให้เหมาะสม การปรับท่านั่งการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การกินทานอาหารที่มีประโยชน์ ตลอดจนการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียดหรืออาการปวดตึงกล้ามเนื้อ แต่วิธีนี้เป็นเสมือนวิธีรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังในเบื้องต้นของทุก ๆ  รูปแบบ

2. การรักษาด้วยการใช้ยา

แก้ปวดหัวรักษาด้วยการใช้ยา

การรักษาด้วยยา ไมว่าจะเป็นยาไมเกรนชนิดต่าง ๆ  เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ยากลุ่ม Triptan (ทริปเทน) หรือยากลุ่ม Ergotamine (เออร์กอตามีน) ยาสามัญประจำบ้านกลุ่มยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อต่างๆ สามารถใช้รักษาอาการปวดหัวเรื้อรังแบบต่อเนื่องทุกวัน ปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัวแบบเรื้อรัง ตลอดจนปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ทั้งนี้จะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทานยาเสมอ

3. การฝังเข็มแก้ปวดศีรษะ

การฝังเข็มแก้ปวดศีรษะ

การรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังด้วยการฝังเข็ม เหมาะสำหรับการปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัวแบบเรื้อรังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการฝังเข็มจะช่วยเปิดทวารสมองและทะลวงลมปราณ นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว ยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

4. การนวดบรรเทาอาการปวด

การนวดบรรเทาอาการปวด

วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน เหมาะสำหรับปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน ปวดหัวข้างเดียวเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ตลอดจนปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัวแบบเรื้อรัง เนื่องจากจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดการตึงและเกร็งลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ๆ  เช่น เปเปอร์มินต์ ลาเวนเดอร์ ในการนวดก็จะช่วยเพิ่มความผ่อนคลายจากกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

5. การใช้โบท็อกรักษาอาการปวดหัว

การใช้โบท็อกรักษาอาการปวดหัว

การฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมคลายกล้ามเนื้อ หรือการฉีดโบท็อกไมเกรน เหมาะสำหรับการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดหัวบ่อย เนื่องจากวิธีนี้จะใช้เวลาในการรักษาสั้น ๆ  แต่ผลลัพธ์คงอยู่ระยะยาว อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงน้อย ปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย

การฉีดโบท็อกจะเริ่มจากฉีดบริเวณรอบหัว 31 จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณบ่า ต้นคอ หน้าผาก คิ้ว เนื่องจากสารในโบท็อกจะเข้าไปทำหน้าที่ยับยั้งอาการปวดหัว คลายกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัว ตลอดจนลดระดับความรุนแรงของอาการ


วิธีป้องกันไม่ให้ปวดหัวเรื้อรัง

วิธีป้องกันไม่ให้ปวดหัวเรื้อรัง

แม้ว่าจะยังไม่มีอาการปวดหัวเรื้อรังแต่ก็ควรศึกษาวิธีป้องกันอาการปวดหัวเรื้อรังในเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงหรือไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหัวบ่อยๆ  โดยสามารถทำได้ง่ายๆ  ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง รวมถึงนอนหลับให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่
  • คลายเครียดโดยการทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ชอบ  เช่น การอ่านหนังสือ การปลูกต้นไม้ การฟังเพลง ตลอดจนอาจจะฝึกนั่งสมาธิ เพื่อให้จิตใจและร่างกายได้ผ่อนคลาย ลดความเครียดสะสม
  • ออกกำลังกายบ่อย ๆ  เพื่อยืดกล้ามเนื้อและให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี เช่น วิ่ง โยคะแก้ปวดหัว พิลาทีส หรือการคาร์ดิโอเบา ๆ  เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ  การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือการเล่นโทรศัพท์นาน ๆ เพื่อเลี่ยงภาวะออฟฟิศซินโดรม 
  • การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะวิตามินไมเกรน เช่น วิตามินบี 2 บี 6 และบี 1 ตลอดจนแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลง นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง

ข้อสรุป

อาการปวดหัวเรื้อรัง เกิดจากหลาย ๆ  สาเหตุ เมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวต่อเนื่อง ไม่ควรมองข้ามหรือละเลย แต่ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย หาวิธีป้องกัน ตลอดจนวิธีแก้อาการปวดหัวเรื้อรัง เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงหรือเป็นอันตราย

ทั้งนี้ หากพบว่าตนเองปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง สามารถเข้ารักษาด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรนกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางอันดับต้น ๆ  ของเมืองไทยได้ง่าย ๆ  โดยการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ก็สามารถปรึกษาปัญหา เข้าตรวจไมเกรน และนัดวันรักษาได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Rachel Reiff Ellis. (2020). What Is Post-Traumatic Headache?. Retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/what-is-post-traumatic-headache