ปวดคอเรื้อรัง อย่าปล่อยไว้นานจะอันตรายหากปล่อยไว้ไม่รักษา

ปวดคอเรื้อรัง

ในอดีตอาการปวดคอสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มวัยทำงานหรือวัยกลางคน แต่ปัจจุบันพบได้ในกลุ่มที่อายุน้อยขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งหากละเลยและปล่อยทิ่งไว้อาจกลายเป็นอาการปวดคอเรื้อรังได้

ในบทความนี้ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรังอาการเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดได้จากอะไร ซึ่งหากเผชิญอาการปวดคอเรื้อรัง รักษาที่ไหนดี ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลยค่ะ


สารบัญบทความ


ปวดคอเรื้อรัง (Chronic Neck Pain)

ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรัง พบได้บ่อยในคนทุกเพศ ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานหนัก ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมเลยทีเดียว

นอกจากนี้ หากใครที่เผชิญกับอาการปวดคอเรื้อรัง บ่า ไหล่ แต่มองข้ามก็อาจจะกลายเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท และนำไปสู่โรคอันตรายและความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามและหมั่นใส่ใจในปวดบ่าไหล่เรื้อรังมากขึ้น


สาเหตุของอาการปวดคอเรื้อรัง

แม้ว่าสาเหตุหลักๆ ของการอาการปวดคอเรื้อรังจะเกิดจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน แต่อาการปวดหลังปวดคอเรื้อรังเหล่านี้ก็สามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

คอเคล็ดเรื้อรัง

1. อิริยาบถที่ไม่ถูกหลักสรีระ

ปวดต้นคอเรื้อรัง เกิดจากการขยับอิริยาบถหรือท่าทางที่ผิดสุขลักษณะและไม่เหมาะสม เช่น การทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การก้มเล่นโทรศัพท์ต่ำกว่าปกติ ตลอดจนการหนุนหมอนสูงเกินไป จนทำให้เกิดอาการปวดไหล่และต้นคอได้

2. เคยบาดเจ็บบริเวณกระดูกคอ

อุบัติเหตุหรือการเคยบาดเจ็บบริเวณกระดูก แม้ว่าจะรักษาหายแล้ว แต่ก็ยังคงส่งผลกระทบระยะยาวต่อหลายๆ จุดของร่างกาย เช่น เอ็น กล้ามเนื้อ ข้อต่อกระดูกคอ เกิดอาการบาดเจ็บ เสียหาย ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรังได้ง่ายๆ

3. ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อม

ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อม สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิด คือ ความเสื่อมที่ทำให้กระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทและไม่ได้เกิดการเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งไม่ว่าจะชนิดใดก็จะส่งผลให้เกิดการอักเสบตามมาและกลายเป็นอาการปวดคอเรื้อรัง

4. กล้ามเนื้ออักเสบ

อาการกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงและใช้เวลานาน ซึ่งสามารถอักเสบได้หลายๆ จุดพร้อมกัน ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวด เมื่อย ลามไปทั้งตัว และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรัง

5. เครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ

หลายคทราบดีอยู่แล้วว่าหากเราเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดคอเรื้อรังเช่นกัน เนื่องจากความเครียด ร่างกายอาจจะได้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ จนเกิดเป็นอาการปวดคอ ลามไปยังบริเวณอื่นๆ

6. กล้ามเนื้อคอถูกใช้งานมากเกินไป

เป็นเรื่องธรรมชาติที่เมื่อเราใช้งานร่างกายหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมากเกินไปก็จะส่งผลให้ส่วนนั้นๆ เกิดอาการเมื่อย ล้า ปวด อักเสบ ซึ่งหากมีอาการเหล่านั้นแล้ว แต่ยังคงทำแบบเดิมก็จะส่งผลให้เกิดอาการคอเคล็ดเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น นั่งก้มพิมพ์งาน นั่งก้มเล่นโทรศัพท์ เป็นต้น


อาการปวดคอเรื้อรังเป็นอย่างไร

กล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรัง

หลายๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยว่าแล้วอาการเรื้อรังต่างจากอาการเส้นคอตึงปวดหัวรอบๆ หรืออาการปวดไหล่แบบปกติอย่างไร คำตอบคือ หากมีอาการปวดคอ เมื่อกินยาหรือพักผ่อนก็จะหายไปได้ง่ายๆ แต่หากพบว่าตนเองมีอาการปวดต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน จะถือว่าเป็นอาการปวดคอเรื้อรังนั่นเอง


ปวดคอเรื้อรัง อันตรายไหม

เมื่อมีอาการปวดคอ ในช่วงแรกๆ อาจจะยังไม่รุนแรงมากนัก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน หรือยังคงใช้ชีวิต ทำพฤติกรรมแบบเดิมซ้ำๆ ก็จะกลายเป็นอาการปวดคอเรื้อรัง แน่นอนว่าเมื่ออาการปวดหลังปวดคอเรื้อรังก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การนอนหลักพักผ่อน ไปตลอดจนการวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ หากปล่อยอาการปวดคอบ่าไหล่เรื้อรังทิ้งไว้ ก็อาจจะเกิดอาการกระดูกทับเส้นประสาทซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ง่ายๆ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว


อาการปวดคอเรื้อรังแบบไหนที่ควรพบแพทย์

ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรัง

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรัง แล้วส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว เมื่อพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรละเลย แต่ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที

  • วิตกกังวล เครียดจนเกิดอาการซึมเศร้า
  • น้ำหนักลดลง
  • เกิดอาการปวดจนทำให้ต้องตื่นกลางดึก หรือกระทบกับเวลานอนปกติ
  • แขนขาอ่อนแรง ขยับมือได้ช้าลง
  • มีอาการชา
  • การเดินผิดปกติ เนื่องจากปัญหากระดูกทับเส้นประสาท

การวินิจฉัยอาการปวดคอเรื้อรัง

การวินิจฉัยอาการปวดคอเรื้อรัง เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการได้อย่างถูกวิธี เนื่องจากรู้สาเหตุของอาการที่แท้จริง ซึ่งทางการแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การซักประวัติเบื้องต้น

ในการซักประวัติเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มเกี่ยวกับการซักถามประวัติส่วนตัวของบุคลลนั้นๆ สอบถามประวัติการรักษา ประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนคอหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการทำงานหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต จากนั้นจะเริ่มทำการตรวจร่างกายในเบื้องต้น

2. การเอกซเรย​์

เมื่อมีอาการกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรังหรือปวดคอ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยใช้รังสีเอกซ์ตรวจผ่าน จากนั้นจะแสดงผลออกมาเป็นภาพ ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ตลอดจนสามารถนำไปวินิจฉัยวิธีการรักษาในลำดับต่อไป

3. การทำ CT Scan

การทำ CT Scan หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะใช้เป็นวิธีวินิจฉัยตรวจเอกซเรย์โรคต่าง ๆ ด้วย

การฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกาย จากนั้นภาพจะฉายขึ้นบนคอมพิวเตอร์ โดยเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้สามารถตรวจสอบความผิดปกติของอาการได้ในลำดับต่อไป

4. การทำ MRI

การทำ MRI หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองจะใช้คลื่นสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูง สำหรับตรวจฉายร่างกาย ดังนั้น จึงจะนำไปสู่การสร้างภาพเสมือนจริงที่คมชัดสูง จากนั้นทีมแพทย์จะนำไปวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ และนำไปสู่การรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง


วิธีรักษาบรรเทาอาการปวดคอเรื้อรัง

เมื่อมีอาการปวดคอเรื้อรัง รักษาอย่างไรให้เหมาะสม คำตอบตือ ต้องรักษาให้เหมาะกับอาการนั้นๆ หลังจากวินิจฉัยอย่างละเอียดแล้ว ดังนี้

อาการปวดคอเรื้อรัง

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในที่นี้เริ่มตั้งแต่การลุกยืดเส้นยืดสาย เพื่อลดอาการปวดหลังปวดคอเรื้อรัง ขณะทำงานระหว่างวัน การแบ่งเวลาทำงานให้เหมาะสม การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ การนั่งให้ห่างจากคอมพิวเตอร์ในระยะ 1 ฟุต ตลอดจนการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและสุขภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะสำหรับการรักษาในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก

2. การรักษาด้วยการใช้ยา

การรักษาอาการปวดคอเรื้อรังสามารถใช้ยาได้หลายรูปแบบ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น  ไดอะซีแพม บาโคลเฟน  แดนโทรลีน ยาแก้ปวดทั่วๆ ไป เช่น ยาแอสไพริน ยาพาราเซตามอล ยาไมเกรนที่สามารถรักษาอาการปวดตามจุดต่างๆ ได้ เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen ยากลุ่ม ergotamine ตลอดจนยากลุ่ม triptan โดยจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ทั้งนี้ การใช้ยารักษาจะเหมาะสำหรับการรักษาเมื่อมีอาการเร่งด่วนฉับพลัน

3. การรักษาด้วยการฝังเข็ม

นอกจากการฝังเข็มจะใช้ในวงการฝังเข็มไมเกรนแล้ว ยังนิยมฝังเข็มเฉพาะจุด เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมอย่างปวดคอเรื้อรังร่วมด้วย โดยจะเน้นฝังเข็มบริเวณที่พลังสูง เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ เลือดลม ยับยั้งสารสื่อประสาทส่วนกลาง ตลอดจนปรับสมดุลอวัยวะในร่างกาย ลดโอกาสการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย เหมาะสำหรับอาการปวดคอเรื้อรัง ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ

4. การทำกายภาพบำบัด

ไม่เพียงแต่นวดกดจุดเท่านั้น แต่ในกรณีนี้อาจจะต้องปรึกษาทีมนักกายภาพบำบัดและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะต้องผ่านการวิเคราะห์อาการ ความรุนแรง ตลอดจนวางแผนหรือแนวทางสำหรับการรักษาอาการปวดคอเรื้อรังโดยเฉพาะ จึงจะสามารถนำมารักษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงและต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อปรับท่าทางและอิริยาบถ

5. การฉีดยารักษาอาการปวด

กรณีการรักษาด้วยการฉีดยา เป็นการรักษาทางเลือกเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรือไม่ถึงขั้นผ่าตัด โดยการฉีดยารักษาอาการปวดคอบ่าไหล่เรื้อรังแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  • การฉีดสเตียรอยด์

การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์นั้นสามารถลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี โดยสามารถลดได้ 1-3 เดือน แต่ก็มีข้อจำกัดคือ จะฉีดได้ไม่เกิน 3-5 ครั้ง เนื่องจากอาจจะเกิดอาการดื้อยาหรือไม่เห็นผลในครั้งต่อๆ ไปได้ อีกทั้งต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการระบุตำแหน่งฉีดที่ชัดเจน

  • การฉีดโบท็อก

การฉีดโบท็อก ไม่เพียงแต่นิยมนำมาฉีดในวงหารความงามเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้วงการแพทย์ นั่นคือการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม แก้ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรัง เนื่องจากจะออกฤทธิ์ยับยั้งอาการหดตัวกล้ามเนื้อ ในขณะเดียวกันก็มีผลข้างเคียงน้อย ราคาเข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย

6. การผ่าตัด

แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่เห็นผลหรืออาการไม่ดีขึ้น โดยปัจจุบันจะใช้การผ่าตัดแบบเล็ก เนื่องจากมีข้อดีคือ สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ไม่มีอาการบาดเจ็บ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากอาการปวดคอเรื้อรัง

หลายๆ คน เมื่อเข้ารักษาอาการปวดคอเรื้อรังแล้ว แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น หรือในบางคนก็อาการแย่ลงกว่าเดิม อาจจะเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

  • หมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ข้อต่อกระดูกคอเสื่อม
  • เส้นประสาทกดทับ
  • กระดูกคอเสื่อม
  • กระดูกอักเสบ

ตลอดจนอาการเกี่ยวกับกระดูก คอ เส้นประสาทอื่นๆ ทางที่ดี ควรจะวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดก่อน เพื่อให้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนก่อนจะเข้าสู่กระบวนการรักษาในลำดับต่อไป


อาการปวดคอเรื้อรัง เป็นซ้ำได้ไหม

อาการกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรังหรืออาการปวดคอเรื้อรัง สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม เช่น ก้มหน้าทำงานเป็นระยะเวลานาน ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ อีกทั้ง หากเมื่อรักษาแล้วแต่ไม่ฝึกให้กล้ามเนื้อแข็งแรงหรือไม่ป้องกันตนเองก็จะส่งผลให้มีโอกาสให้ปวดต้นคอเรื้อรังซ้ำสูง

ทั้งนี้ เมื่อรักษาอาการดังกล่าวก็ไม่ควรละเลย แต่ควปรับพฤติกรรมของตนเอง ฝึกกล้ามเนื้อ ทำกายภาพบำบัด ตลอดจนป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมก็จะลดโอกาสซ้ำได้เป็นอย่างดี


แนวทางการป้องกันอาการปวดคอเรื้อรัง

ปวดต้นคอเรื้อรัง

สำหรับแนวทางการป้องกันอาการปวดคอเรื้อรังสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตนเอง จากนั้นจึงค่อยปรับพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายด้วยท่าบริหารออฟฟิศซินโดรมอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสรีระร่างกายและท่านอนให้เหมาะสม โดยไม่นอนหนุนหมอนสูงหรือต่ำเกินไป
  • จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย
  • ปรับอิริยาบนและท่านั่งให้ถูกต้อง โดยไม่นั่งหลังค่อม ไขว่ห้าง หรือนั่งก้มคอ
  • หากต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ให้ลุกเดินหรือยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือสิ่งเร้าที่ส่งผลให้เกิดความเครียด เนื่องจากจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้พักและฟื้นฟู

ปวดคอเรื้อรัง รักษาที่ไหนดี

ปวดบ่าไหล่เรื้อรัง

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าปวดคอเรื้อรัง รักษาที่ไหนดี? คำตอบคือ ควรเลือกรักษาจากการพิจารณาข้อมูล ดังต่อไปนี้

1. ศูนย์รักษาไมเกรนที่ได้มาตรฐาน

โดยจะต้องตรวจสอบการจดทะเบียนว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มีป้ายชื่อหรือป้ายรับรองแสดงประเภทและลักษณะของการรักษาอย่างชัดเจนหรือไม่ ยาที่ใช้รักษาต้องได้มาตรฐาน และผ่านการรับรองและการอนุญาต

2. อุปกรณ์และสถานที่สะอาด ปลอดภัย

การรักษาอาการไม่ว่าจะเป็นอาการใดๆ ก็ควรคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยเป็นอย่างมาก

3. แพทย์ผู้ทำการรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

แพทย์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญในการรักษาด้านนั้นๆ ตลอดจนมีใบรองรับและใบอนุญาต

4. เดินทางสะดวก

เนื่องจากการปวดคอเรื้อรัง รักษาหลายครั้ง ดังนั้นจึงจะต้องเลือกที่ที่เดินทางสะดวก ปลอดภัย เช่น ใกล้กับที่ทำงานหรือที่บ้าน ใกล้กับขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากใครที่ต้องการรักษาอาการปวดคอเรื้อรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถเลือกรักษาที่ BTX Migraine Center ได้ เนื่องจากเป็นศูนย์รักษาที่มีมาตรฐานรองรับ มีการให้บริการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม เพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล ในขณะเดียวกันก็เดินทางสะดวก เนื่องจากอยู่ใกล้กับ MRT สายสีน้ำเงิน


ข้อสรุป

อาการปวดคอเรื้อรัง สามารถเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ทางที่ดีควรปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน ตลอดจนเมื่อมีอาการก็ควรรีบรักษาทันที

สำหรับใครที่อยากรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม รักษาอาการกล้ามเนื้อตึงตัว ก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อขอคำปรึกษา พูดคุย และนัดวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาเฉพาะทางที่ได้รับมาตรฐานรองรับได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Rob S Williams. (2017). CHRONIC NECK PAIN: COMMON CAUSES AND REASONS. Retrieve from https://www.coastalorthoteam.com/blog/chronic-neck-pain-common-causes-and-reasons