ไอแล้วมีอาการปวดหัว เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่? รักษาได้อย่างไร

ไอแล้วปวดหัว

อาการไอนั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสำลักอาหารหรือน้ำ โรคไข้หวัด หรืออื่นๆ แต่หากใครรู้สึกปวดหัวเวลาไอด้วยแล้วละก็ อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ หรือไม่ทราบสาเหตุ โดยในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงต้นตอของอาการดังกล่าว มันอันตรายหรือไม่ แล้วสามารถรักษาด้วยตนเองหรือต้องไปพบแพทย์เมื่อใด


 

อาการนี้เป็นอย่างไร

ไอแล้วปวดหัวเกิดจาก

หากมีการปวดหัวมาก จะมีลักษณะคือ อาจจะไอแบบกะทันหัน โดยใช้เวลานานตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง โดยหลังจากการไอจะมีอาการเมื่อยล้า ตลอดจนมีอาการดังต่อไปนี้

ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ปวดหัวนานขึ้น
  • สูญเสียการทรงตัว
  • เป็นลม
  • หูอื้อหรือสูญเสียการได้ยิน
  • เวียนหัว
  • ตาพร่ามัว ตาลาย หรือมองเห็นภาพซ้อน
  • อาการสั่น

เกิดจากอะไร

อาการนี้เกิดจากการที่มีแรงดันเพิ่มขึ้นในกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้มีอาการปวดหัวตามมาได้ แต่ตามปกติแล้ว หากปวดหัวจี๊ด ๆ จะเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หูชั้นกลาง ไซนัสอักเสบ ติดเชื้อทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ตลอดจนบางรายมีอาการไอเรื้อรังอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี สามารถเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ดังนี้

ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ

ไอแล้วปวดหัวท้ายทอย

ในเบื้องต้นนั้น อาการนี้จะไม่รุนแรงมากนัก และเป็นที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่สาเหตุมีดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะแบบไมเกรน

ลักษณะอาการปวดหัวไมเกรนที่พบมักเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือด โดยผู้มีอาการส่วนใหญ่จะปวดหัวข้างเดียว ปวดตุบ ๆ คล้ายกับลักษณะการเต้นของหัวใจ ปวดหัวคลื่นไส้ ตาพร่ามัว ตลอดจนมีอาการเวียนหัวร่วม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการนี้ได้

  • ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว

อาการปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัว พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดหัวตรงท้ายทอยไปจนถึงขมับ นอกจากนี้ยังมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และมีอาการไอร่วมด้วย

  • ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

ลักษณะอาการของปวดปวดหัวคลัสเตอร์คือ ปวดขมับ ปวดกระบอกตา โดยส่วนใหญ่จะเกิดอาการขึ้นเป็นระยะ ๆ กินเวลานานตั้งแต่ 15 ถึง 3 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละครั้งที่ปวดอาจจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการการปวดหัวด้านหลังเวลาไอได้

ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ

ไอแล้วปวดขมับ

อาการปวดหัวแบบทุติยภูมิ หรืออาการปวดจากความผิดปกติของโครงสร้างและโรคต่าง  ๆ โดยส่วนใหญ่สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวมาก มีดังนี้

  • โรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบจะคล้ายกับการปวดหัวเป็นไข้ทั่วไปและโรคไมเกรน แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหัวคิ้ว กระบอกตา หรือโหนกแก้ม ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้ปวดหัวได้ง่ายๆ

  • อาการปวดฟัน

เนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ จะทำงานร่วมกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหัว ปวดหู และปวดบริเวณกรามหรือขากรรไกรเป็นพิเศษ จะส่งผลให้เกิดอาการนี้ได้

  • การอักเสบของหูชั้นกลาง

การอักเสบของหูชั้นกลางจะเกิดจากการติดเชื้อด้านใน ส่งผลให้เกิดอาการบวม แดง มีอาการเวียนหัว มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากหัว ตลอดจนในบางครั้งที่ไอแล้วก็จะนำไปสู่อาการปวดหัวอีกด้วย

  • ปวดหัวรุนแรงฉับพลัน

อาการปวดหัวรุนแรงฉับพลันอาจเกิดจากเนื้องอกในสมองหรือหัวได้รับแรงกระทบกระเทือน ซึ่งจะรู้สึกเหมือหัวจะระเบิด มีอาการหน้ามืด มีไข้และความดันโลหิตสูง หน้าชา ลิ้นชา ซึ่งเมื่อไอแล้วก็มักจะกระตุ้นให้ปวดหัวจี๊ดเวลาไอ


การวินิจฉัย

ไอแรง ๆ แล้วปวดหัว

การวินิจฉัยอาการนี้ จะเริ่มจากวิธีการดังต่อไปนี้

  1. ซักถามประวัติส่วนตัว
  2. สอบถามระดับอาการปวดหัวจากการไอ
  3. สอบถามถึงประวัติอุบัติเหตุ
  4. สอบถามถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุ ซึ่งหากไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แพทย์จะใช้วิธีการตรวจอย่างละเอียด ดังนี้

การตรวจ CT Scan

วิธีการตรวจ CT Scan จะใช้การการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง  ๆ วิธีผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบภาพ 3 มิติ ซึ่งเห็นความผิดปกติโดยละเอียด สำหรับวิธีการตรวจ CT Scan จะใช้หาสาเหตุเฉพาะจุด เช่น ปวดไหล่ ปวดตามจุด เส้นคอตึงปวดหัว เป็นต้น

การตรวจ MRI

วิธีการตรวจ MRI จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจหาความผิดปกติ ผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบภาพสี  ซึ่งหากมีความผิดปกติในร่างกายจะเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี การตรวจหาความผิดปกติของร่างกายแบบ MRI จะใช้ตรวจหาเนื้องอก ตรวจหาภาวะอักเสบต่าง  ๆ อาการปวดหัวเรื้อรัง ทั้งนี้วิธีดังกล่าวนั้นปลอดภัยและตรวจได้อย่างละเอียด


การรักษา

การรักษา สามารถรักษาได้ด้วยวิธ๊ใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม ดังนี้

การบรรเทาอาการเบื้องต้น

อาการไอแล้วปวดหัว

การบรรเทาอาการเบื้องต้นจะใช้สำหรับรักษาการปวดในระดับเบื้องต้น ไม่รุนแรง สามารถใช้วิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • ทานยาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบหรืออาการไอแรง ๆ แล้วปวดหัว เช่น ยาอินโดเมธาซิน ยาอะเซตาโซลาไมด์ หรือยาโพรพราโนลอล โดยยาเหล่านี้จะสามารถลดแรงดันในสมองหรือกะโหลดศีรษะได้
  • การดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นร่างกาย เพื่อเจือจางเสมหะ บรรเทาการระคายเคืองคอ โดยอาจจะใส่น้ำผึ้งหรือน้ำมะนาวเพิ่มความสดชื่น
  • นวดและยืดกล้ามเนื้อ เนื่องจากอาการปวดหัวส่วนหนึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อตึงตัว ดังนั้นหากนวดกรือกดจุดให้กล้ามเนื้อคลายตัว เมื่อไอแล้วปวดหัว อาการก็จะค่อย ๆ บรรเทาลงได้

การรักษาทางการแพทย์

ไอแล้วมีอาการปวดหัว

สำหรับการรักษาทางการแพทย์จะใช้รักษาในระดับอาการที่รุนแรงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้รักษาตามสาเหตุโดยตรง โดยจะมีวิธีการดังนี้

  • การฉีดโบท็อกไมเกรน

การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน จัดเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปวดหัว ที่เห็นผลระยะยาว กล่าวคือ สามารถรักษาภายในระยะเวลาอันสั้น เห็นผลเร็ว แต่ในขณะเดียวกันผลลัพธ์นั้นจะคงอยู่นานถึง 4-6 เดือน

  • การฝังเข็มรักษาอาการปวดหัว

การฝังเข็มไมเกรนหรือฝังเข็มรักษา จะฝังเข็มตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว เลือดลม และระบบโลหิตไหลเวียนทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่วิธีนี้จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด

  • การฉีดยารอบเส้นประสาท

วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ที่รักษาอาการปวดหัวที่รุนแรงด้วยวิธีอื่น  ๆ แต่ไม่เห็นผล จึงจะใช้การฃฉีดยารอบเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด ไอแล้วมีอาการปวดหัวก็จะหายไป


แนวทางการป้องกัน

แนวทางการป้องกันสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รักษาอาการไอ เช่น หลอดลมอักเสบ หรือปอดติดเชื้อ ด้วยวิธีเฉพาะตามคำแนะนำของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงยาที่เมื่อทานแล้วจะส่งผลข้างเคียงให้มีอาการกำเริบ
  • ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เพื่อป้องกันอาการไข้ขึ้นร่วมด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนแอ จนเกิดอาการเป็นไข้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับบริเวณคอและร่างกาย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • ลดอาการดื่มเครื่องดื่มที่เย็นจัด แต่เน้นดื่มน้ำอุ่น

ข้อสรุป

อาการไอแล้วปวดมากเกิดจากความดันกะโหลกในศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยและสาเหตุกระตุ้นหลายสาเหตุ อย่างไรก็ดี ควรหาวิธีป้องกันหรือวิธีรักษา เพื่อบรรเทาอาการ ตลอดจนวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด ก่อนจะรักษาได้อย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ หากใครมีอาการดังกล่าว ซึ่งมีสาเหตุมาจากไมเกรน สามารถติดต่อสอบถาม ตรวจไมเกรน หรือรักษาไมเกรนให้ดีขึ้นได้ โดยการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา เข้าตรวจ ตลอดจนนัดวันกับ BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง เพื่อรักษาอาการดังกล่าวให้หายไปอย่างปลอดภัยและถูกวิธี


เอกสารอ้างอิง

Mayo Clinic. (n.d.). Cough headaches. Retrieve from

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/primary-cough-headaches/symptoms-causes/syc-20371200