เช็คอาการ ‘เครียดสะสม’ ส่งผลเสียต่อร่างกาย อันตรายมากกว่าที่คุณคิด!

เช็คอาการ ‘เครียดสะสม’

การทำงานที่อยู่ภายใต้ความกดดัน การเรียนหนักตลอดทั้งวัน การแข่งขันกับคนอื่นๆ ตลอดจนการใช้ชีวิตในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้คนเราสามารถเกิดความเครียดได้ จนบางครั้งก็ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมระยะยาว

แต่ใครจะรู้บ้างว่าแท้จริงแล้ว เครียดสะสม คืออะไร? เกี่ยวกับอาการปวดหัวไมเกรนหรือไม่? เครียดสะสม แก้ยังไง? บทความนี้ เราได้รวบรวมคำตอบมาไขข้อสงสัยกันแล้วค่ะ


สารบัญบทความ


เครียดสะสม

เครียดสะสม

ภาวะเครียด (Stress) คือ ภาวะอารมณ์ที่ถูกกดดันหรือบีบคั้น โดยลักษณะอาการจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยอาจจะเกิดได้จากความเครียด การแข่งขัน ความกดดัน การตั้งความหวังไว้สูงหรือการคาดหวังในเรื่องบางเรื่อง ซึ่งบางคนอาจจะรู้ตัวว่าตนเองมีความเครียดก็สามารถจัดการได้ดี แต่บางคนนั้นก็ไม่รู้ตัวหรือไม่รู้ว่าต้องแก้ไขอย่างไร

เมื่อความเครียดเกิดขึ้นนาน ก็อาจจะกลายเป็นความเครียดสะสม มีอาการในรูปแบบต่างๆ เช่น ปวดหัว กลัว ตื่นตระหนก กลายเป็นโรคเครียด (Acute Stress Disorder) เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับเหตุการณ์ที่เผชิญ ได้ ตลอดจนบางคนก็มีอาการซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี


อาการสัญญาณเตือนเครียดสะสม

อาการสัญญาณเตือนเครียดสะสม

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น หากพบว่าตนเองมีความเครียดบ่อยครั้งหรือมีอาการรุนแรงจะเป็นการสะสมความเครียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการหรือพฤติกรรมเปลี่ยนไป สังเกตการเครียดสะสมได้ดังนี้

  • รู้สึกหงุดหงิดบ่อยครั้ง จนบางครั้งก็เผลอเหวี่ยงหรือวีนใส่คนใกล้ตัวแบบไม่รู้ตัว 
  • รู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา
  • นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท 
  • รู้สึกเบื่อหน่ายกับงาน ตลอดจนเบื่อหน่ายกับทุกชีวิต เช่น ไม่พูดคุย นิ่ง เงียบ ซึม ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปวดท้องในรูปแบบต่างๆ เช่น ปวดท้องอืดแบบไม่มีสาเหตุ ปวดท้องแบบโรคกระเพราะ ปวดท้องท้องผูก
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว บางรายมีอาการปวดหัวจากความเครียด
  • มีผื่นขึ้นตามตัว คันตามตัว
  • ดึงผม กัดเล็บ อยากดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
  • บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวคันคะเยอเหมือนเป็นลมพิษ 
  • บางครั้งเครียดสะสมจนรู้สึกอยากหายไปจากโลก

เครียดสะสม สังเกตอาการอย่างไร

นอกจากสัญญาณเตือนอาการเครียดสะสมในข้างต้นแล้ว ยังมีอาการเครียดสะสมที่ควรสังเกตและระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนี้

เครียดสะสม สังเกตอาการอย่างไร

1. นอนไม่หลับ

วิธีสังเกตอาการจากความเครียดสะสมอันดับต้นๆ คือ อาการนอนไม่หลับ โดยอาจจะสังเกตจากอาการนอนดึก พยายามนอนแล้วแต่ก็ไม่หลับ หลับแล้วก็ตื่นขึ้นมาเร็ว หรือเมื่อหลับแล้วสะดุ้งตื่นแต่เช้า ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพกายและใจต่ำลง ดังนั้นเมื่อสังเกตว่ามีอาการเครียดสะสม ควรรักษาอย่างถูกวิธี

2. วิตกกังวล ซึมเศร้า

วิธีสังเกตอาการเครียดสะสมลำดับต่อมาคืออารมณ์และความรู้สึก ยกตัวอย่างเช่น จากกิจกรรมที่ชอบแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย นั่งอยู่เฉยๆ แล้วก็เศร้าใจ รู้สึกกังวลกับทุกเรื่อง แม้จะเป็นเรื่อง่ายๆ ทั้งนี้อาจจะมาจากการทำงานแล้วเครียด จนเริ่มชินชาและไร้อารมณ์ความรู้สึก

3. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหนึ่งในอาการเครียดสะสมที่สังเกตได้ง่ายหากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น จากเดิมที่เป็นคนพูดเก่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นคนพูดน้อย เก็บตัว เงียบขรึม ตลอดจนบางครั้งก็มีอาการซึมเศร้า ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม 

4. มีความผิดปกติทางร่างกาย

แน่นอนว่าเมื่อสมองและการทำงานภายในร่างกายเปลี่ยนไป ย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายที่สามารถสังเกตอาการเครียดสะสมได้ชัดเจน เช่น หายใจถี่ขึ้น ปวดท้อง เวียนหัว อาเจียน ปวดหัวคลื่นไส้อย่างไม่ทราบสาเหตุ

5. มีความคิดอยากตาย

ในผู้ป่วยที่มีอาการเครียดสะสมรุนแรง ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างหนัก ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุการณ์รุนแรง หรือสถานการณ์รุนแรง จนบางครั้งมีการตัดพ้อ พูดเปรยๆ หรือพูดเรื่องการฆ่าตัวตายบ่อยๆ ดังนั้น ผู้ที่อยู่รอบข้าง เพื่อน หรือคนในครอบครัวควรดูแลอย่างใกล้ชิด


ปวดหัวจากการเครียดสะสม

หนึ่งในอาการเครียดสะสม คือ อาการปวดหัวจากความเครียด ซึ่งพบได้ร่วมกับอาการไมเกรน โดยจะมีลักษณะอาการคือ ปวดคล้ายกับการกด บีบ รัดบริเวณหัว โดยจะเริ่มจากการปวดหัวท้ายทอย ปวดจากท้ายทอย บ่า ไหล่ ไปจนถึงปวดหัวคิ้ว 

ลักษณะอาการปวดหัวที่เกี่ยวกับไมเกรน ส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบในวัยรุ่นหรือวัยทำงาน จะกินเวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่บางคนปวดหัวทั้งวัน หลายวัน หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับสุขภาพและร่างกายของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี อาการเครียดสะสมจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงอายุ 20-50 ปี 

ปวดหัวจากความเครียดสะสม รักษาอย่างไร

ปวดหัวจากความเครียดสะสม รักษาได้ทั้งวิธีเบื้องต้น เช่น การใช้ยาแก้ปวดหัว รวมถึงยาไมเกรน อาจจะทานกลุ่ม ibuprofen ทานยากลุ่ม ergotamine ตลอดจนการทานยากลุ่ม triptan ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การประคบเย็นแก้อาการปวด จะร่างกายผ่อนคลายและอุณหภูมิต่ำลง 

นอกจากนี้ยังปวดหัวจากความเครียดสะสม รักษาได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การฉีดโบท็อกไมเกรนที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดหัวได้ในระยะยาว และผลข้างเคียงน้อย ตลอดจนการทำ TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 


โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการเครียดสะสม

แน่นอนเมื่อร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดบ่อยครั้งจนกลายเป็นความเครียดสะสม ย่อมส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงได้ โดยอาจจะมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน ดังนี้


เครียดสะสม..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

เครียดสะสม..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อาการเครียดสะสมหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะนำไปสู่อาการรุนแรงมากจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการเครียดสะสมดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • รู้สึกเครียดและซึมเศร้า
  • รู้สึกไม่มีความสุข
  • รู้สึกวิตกกังวลจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้
  • อาการสัญญาณเตือนความเครียดสะสมเกิดขึ้นบ่อยจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน 

การวินิจฉัยอาการเครียดสะสม

เมื่อมีความเครียดสะสม หรือเริ่มมีสัญญาณเตือน ควรรีบเข้าพบแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยเบื้องต้นในลักษณะค้ลายกับโรคอื่นๆ คือ สอบถามประวัติส่วนตัว พฤติกรรมก่อนหน้า เหตุการณ์ที่เคยพบเจอ จากนั้นจะวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้

การตรวจ MRI

เมื่อมีอาการเครียดสะสม จนบางครั้งเกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดคล้ายกับไมเกรน หนึ่งในวิธีวินิจฉัยคือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจตามจุดต่างๆ ภายในร่างกาย หรือตรวจเฉพาะจุดตามอวัยวะต่างๆ โดยผลของการตรวจจะเป็น 3 มิติที่เห็นถึงความผิดปกตได้ชัดเจน 

การตรวจ CT Scan

การตรวจ CT Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ นิยมใช้ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย เนื่องจากสามารถแสดงรายละเอียดเอียดชัดเจน ให้ผลลัพธ์แม่นยำสำหรับรักษาความเครียดสะสม

เครียดสะสม ทดสอบผ่านแบบประเมิน

สำหรับตรวจสอบความเครียดและสภาวะจิตใจของตนเอง แพทย์จะแนะนำให้ประเมินและสำรวจสภาพจิตใจผ่านแบบทดสอบต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์หรือคะแนนเปรียบเสมือนระดับของอาการ หากอยู่ในชั้นรุนแรงจะนำไปสู่กระบวนการรักษาความเครียดสะสมต่อไป


วิธีรักษาอาการเครียดสะสม

วิธีการรักษาอาการเครียดสะสม สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระดับอาการ ความเหมาะสม และดุลยพินิจของแพทย์ดังต่อไปนี้

1. ปรึกษาจิตแพทย์

เครียดสะสมปรึกษาจิตแพทย์

การให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะเน้นการพูดคุยปรึกษา เพื่อหาสาเหตุและต้นตอของความเครียดสะสมอย่างตรงจุด ตลอดจน หากปรึกษาจิตแพทย์แล้วจะช่วยให้คนไข้เข้าใจในความต้องการของตนเอง มองเห็นปัญหาและความจริง

สำหรับการปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาความเครียดสะสม สามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น ติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ทางเว็บไซต์ วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์ หรือหากใครไม่สะดวกด้วยลักษณะนี้อาจจะไปปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

2. การใช้ยารักษาอาการเครียดสะสม

การใช้ยารักษาอาการเครียดสะสม

การใช้ยารักษาอาการเครียดสะสมนั้นใช้เพื่อบรรเทาอาการที่แสดงออกทางกาย เช่น การที่หายใจถี่ขึ้น ความดันสูง ปวดหัวตุบๆ วิตกกังวล โดยอาจจะใช้ยาขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความรุนแรง เช่น ยาลดกรดในกระเพาะ ยาลดความดันโลหิต ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดหัวทั่วๆ ไป ยาคลายเครียด กลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) และยาไดอะซีแพม สำหรับยับยั้งสารความเครียด และระงับประสาทในกร๊ที่อาการรุนแรง

การรักษาการเครียดสะสมในรูปแบบนี้ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ตลอดจนเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อแก้ไขอาการทางกายภาพหรืออาการที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทางที่ดีจึงควรจะรักษาความเครียดสะสมที่ต้นเหตุก่อน

3. การรักษาด้วยการทำจิตบำบัด

รักษาเครียดสะสมการรักษาด้วยการทำจิตบำบัด

อย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่อมีเหตุกระทบกระเทือนจิตใจจนเกิดความเครียดหรือความกังวล จนรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น วิธีรักษาการเครียดสะสมที่เห็นผลและปลอดภัยคือ การรักษาด้วยวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT)

วิธีนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตบำบัด จะให้คำปรึกษาด้านจิตใจ พูดคุยข้อมูล แลกเปลี่ยนความเห็น โดยอาจจะเริ่มด้วยการรักษาความเครียดสะสมด้วยการยอมรับและความมุ่งมั่น บำบัดความคิดพื้นฐาน การบำบัดตามทฤษฎีทางอารมณ์ การบำบัดโดยการบรรยาย ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาหลายๆ รูปแบบให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและเห็นผลดีมากที่สุด 

อย่างไรก็ดี การรักษาความเครียดสะสมด้วยวิธีนี้ไม่ได้น่ากลัวหรือน่าอาย แต่เป็นการรักษาที่ถูกวิธีและเห็นผล


ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเครียดสะสม

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการเครียดสะสม

หากพบว่าตนเองเริ่มมีสัญญาณเตือนความเครียดสะสมในเบื้องต้น หรือปวดหัวจากความเครียดเล็กน้อย ควรดูแลตนเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • พยายามพาตนเองออกจากสถานการณ์เดิมๆ หรือเหตุการณ์เดิมๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียด
  • แก้ปัญหาที่ตนเหตุ พยายามมองโลกในแง่ดี เพื่อให้ทุกอย่างผ่านไปได้
  • ออกไปพบปะพูดคุยและเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง
  • ออกผจญภัยไปยังพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนหากิจกรรมใหม่ๆ ที่ชอบหรือที่ทำ เช่น การออกกำลังกาย การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
  • ฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจ เช่น เล่นโยคะแก้ปวดหัว นวด ฟังธรรม นั่งสมาธิ
  • ปรับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งรอบๆ ตัว เช่น จัดโต๊ะทำงาน จัดห้องนอน เปลี่ยนลุคหรือการแต่งกาย  

ข้อสรุป

อาการปวดหัวจากความเครียดสะสมเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ทางที่ดีควรหาทางแก้ไขและรักษาก่อนที่เข้าสู่อาการระดับรุนแรง โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำ

นอกจากนี้ หากใครที่อยากรักษาด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการปวดหัวความเครียดสะสม หรือรักษาไมเกรนทางการแพทย์ เพียงแค่ @ayaclinic หรือโทร 090–970-044 ก็สามารถเข้าตรวจไมเกรนและอาการปวด กับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Mayo Clinic. (n.d.). Tension headache. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/symptoms-causes/syc-20353977