ตาลาย พร่ามัว เห็นภาพซ้อน เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า ?

ตาลาย

ปัญหาสุขภาพกวนใจที่ใครหลาย ๆ คนจะต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้งอีกอย่างหนึ่งคือ อาการตาลาย พร่ามัว บางคนมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย ซึ่งบางคนอาจจะเป็นบ่อย ๆ ตอนลุกขึ้นมานั่งในเวลาอันรวดเร็ว หรือเป็นตอนจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ

ทั้งนี้ อาการตาลายเกิดจากอะไร ลักษณะอาการเป็นแบบไหน ตาลายบ่อยต้องรักษาด้วยวิธีใดถึงจะหาย หรือต้องป้องกันอย่างไร บทความนี้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ


สารบัญบทความ


ตาลาย พร่ามัว เห็นภาพซ้อน

ลักษณะอาการตาลายที่เราพบได้บ่อย ๆ คือ มองเห็นภาพต่าง ๆ  ไม่ชัด เบลอ บางครั้งอาจจะมีอาการตาลาย เห็นภาพซ้อน เห็นวัตถุตรงหน้าซ้อนกัน มีอาการตาลายหน้ามืด รู้สึกเหมือนจะวูบ เวียนหัว เสียการทรงตัว ตลอดจนเกิดอาการตาพร่าบ่อย ๆ

ในบางกรณีอาจจะมีอาการร่วมคือปวดหัวหรือบ้านหมุน ส่งผลให้บางครั้งเกิดอาการเป็นลมได้ ซึ่งหากผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ขับรถบนท้องถนน หรือกำลังใช้งานเครื่องจักร และเกิดอาการตาลาย มึนหัวเหล่านี้ร่วมด้วย ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายได้


อาการตาลายเกิดจากสาเหตุใด

ตาลายเกิดจาก

แม้ว่าอาการตาลาย คลื่นไส้จะเป็นอาการทั่ว ๆ ไปที่พบได้บ่อย ๆ แต่หากรู้ถึงตาลายเกิดจากอะไร ก็จะสามารถแก้ไขหรือป้องกันอาการที่จะเกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ สาเหตุของอาการตาลายมีทั้งหมด 7 สาเหตุ ดังนี้

1. โรคไมเกรน

โรคไมเกรนเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด สภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยลักษณะอาการทั่ว ๆ ไปของโรคไมเกรน คือ ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุบ ๆ คล้ายกับจังหวะเต้นของหัวใจ บางรายอาจจะเกิดอาการปวดกระบอกตา ตาลาย คลื่นไส้ ตลอดจนมีอาการเวียนหัว หน้ามืดร่วมด้วย หรือบางครั้งอาจจะไม่มีอาการปวดหัว แต่ยังคงวิงเวียน ตาลายก็เป็นได้

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้ คือ ปวดหัวร่วมกับอาการตาลาย พร่ามัว มีอาการวิงเวียน ตลอดจนหน้ามืด

2. โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางหู

เนื่องจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายทำงานร่วมกัน โดยหูชั้นในจะควบคุมการทำงานของการทรงตัว การเคลื่อนไหว ดังนั้นบางครั้งโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางหู เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน ตะกอนหินปูนในหูหลุด ก็จะส่งผลให้เกิดอาการตาลาย มองภาพเบลอ บ้านหมุน สูญเสียการทรงตัว เห็นภาพไม่ชัดได้

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ สูญเสียการทรงตัว ตาลาย มึนหัว

3. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

ในบางกรณีอาการตาลาย เห็นเป็นเส้น สามารถเกิดได้จากยาบางชนิด เช่น

  • ยาต้านอาการชัก
  • ยาปฏิชีวนะ
  • ยาต้านเศร้า
  • ยาลดความดันโลหิต

ยาเหล่านี้อาจจะทำให้ตาลาย พร่ามัว เนื่องจากความดันต่ำ ทางที่ดีหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ ตาลาย มองภาพเบลอ มึนหัว บ้านหมุน

4. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งจะเกิดจากการที่ร่างกายทำงานหนัก กินข้าวไม่ตรงเวลา กินยาลดระดับน้ำตาล กลไกการทำงานของร่างกายจึงส่งผลให้มีอาการในตาลาย ใจสั่น อ่อนเพลีย หรือเหงื่ออกมากกว่าผิดปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ ตาลาย พร่ามัว ใจหวิว ๆ คล้ายจะเป็นลม ใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก

5. ภาวะขาดน้ำ

อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของร่างกาย ดังนั้น หากเมื่อใดที่ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติหรือไม่ค่อยได้ดื่มน้ำ ในขณะเดียวกันยังเสียเหงื่อ หรือปัสสาวะออกมา ร่างกายจะเกิดกลไกการทำงานที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง กรณีนี้จะพบได้บ่อบ  ๆผู้ที่เป็นเบาหวานหรือผู้สูงอายุ

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ เส้นคอตึงปวดหัว ตาลาย มึนหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า กระหายน้ำ

6. ความดันเลือดต่ำลงเฉียบพลัน

ตามปกติแล้ว ความดันของคนทั่ว  ๆไปจะมากกว่า 90/60 ทั้งนี้อาการความดันต่ำกว่าปกติหรือความดันต่ำลงอย่างรวดเร็วจะเกิดจากภาวะขาดน้ำ การเปลี่ยนอิริยาบถกะทันหัน ความปิดปกติของสมอง ตลอดจนความเสียหายของระบบประสาท

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ ตาลาย คลื่นไส้ เป็นลม เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ ตาลาย เห็นภาพซ้อน

7. ความเครียดและวิตกกังวล

ภาวะอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความเครียดและวิตกกังวล ไม่ว่าจะจากสถานการณ์รอบตว ความกังวล การเรียน หรือการทำงาน ร่างกายจะทำการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ หากบุคคลหากเผชิญความเครียดที่รุนแรงมาก  ๆจะทำให้ระบบในร่างกายกระตุ้นน้ำตาลในเลือดให้ต่ำหรือสูงผิดปกติ ร่างกายจะล้มเหลว และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

อาการเด่น ๆ ของสาเหตุนี้คือ ปวดหัวจากความเครียด หน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก


ตาลายบ่อย..อันตรายไหม

ตาพร่า

แม้ว่าอาการตาลายจะพบได้บ่อย ๆ แต่บางครั้งก็เกิดจากปัญหา หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง เช่น โรคหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับหู เช่น หินปูนในหูหลุด น้ำในหูไม่เท่ากัน เนื้องอกในหู โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดต่าง  ๆทางที่ดีจึงควรเข้าพบแพทย์ ปรึกษา และตรวจอย่างละเอียด

นอกจากนี้อาการตาลาย พร่ามัว ยังเบ่งบอกถึงความเสี่ยงทางโรคสมองและโครงสร้างเกี่ยวกับสมอง  เช่น การเสื่อมสภาพของระบบประสาท  โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมองหรืออุบัติเหตุหลอดเลือดสมอง เนื้อเยื่อในสมองทำงานผิดปกติ

ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน เส้นประสาทไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปกติ ตลอดจนเนื้อเยื่อสมองกดทับกัน ส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ


อาการตาลาย..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อาการตาลาย พร่ามัวอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุทั่ว ๆ ไป แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณของโรคและความผิดปกติในร่างกาย ซึ่งหากพบว่าตนเองมีอาการตาลาย ปวดหัวดังต่อนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • มีอาการตาลายรุนแรงมากขึ้นนานติดต่อกัน
  • เวียนหัว
  • หน้ามืด
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดหัวข้างซ้าย ปวดบริเวณหน้าผาก ปวดหัวข้างขวา ปวดรอบ  ๆหัว
  • ได้รับการบาดเจ็บบริเวณหัวทั้ง
  • ไข้สูง
  • ปวดหัวท้ายทอยรุนแรง ท้ายทอยแข็ง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ชักเกร็ง
  • พูดไม่ชัด การมองเห็น การได้ยินเปลี่ยนไป
  • ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปากเบี้ยว

การวินิจฉัยทางการแพทย์

ตาลาย พร่ามัว

การวินิจฉัยทางการแพทย์เกี่ยวกับอาการตาลาย เห็นภาพซ้อนจะเริ่มจากการซักประวัติทั่ว ๆ ไป สอบถามเกี่ยวกับโรคประจำตัว อุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต หากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือสงสัย อาจจะวินิจฉัยด้วยวิธีที่ละเอียด ดังนี้

1. ตรวจความผิดปกติการได้ยินและการทรงตัว

ในกรณีนี้แพทย์จะใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเทคนิคต่าง ๆ เพื่อตรวจหาโรคเกี่ยวกับหู ตลอดจนการทรงตัว เช่น การตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นในและก้านสมอง การตรวจแรงดันของน้ำในหูชั้นในการตรวจการทรงตัวของร่างกาย การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน การตรวจแรงดันและการทำงานของหูชั้นกลาง เป็นต้น

2. การตรวจเลือด

การตรวจเลือดในร่างกาย จะใช้สำหรับหาความออกซิเจนในร่างกาย ความสมบูรณ์ของเลือด การติดเชื้อ ตลอดจนการหาสารเคมี และความผิดปกติต่าง ๆ ภายในเลือดในร่างกาย

3. การตรวจเอกซเรย์ (X-ray)

บางครั้งอาการ ตาลาย ปวดหัวอย่างไม่ทราบสาเหตุก็ต้องใช้การตรวจเอกซเรย์ เพื่อวินิจฉัยและหาความผิดปกติในร่างกาย ก่อนจะรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ

4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจหัวใจในเบื้องต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยในการตรวจลักษณะนี้จะแสดงผลลัพธ์จะแสดงให้เห็นถึงจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ ก่อนจะวินิจฉัยและหาวิธีรักษาอย่างถูกต้อง


แนวทางการรักษาอาการตาลาย

ตาลาย คลื่นไส้

แนวทางการรักษาอาการตาลาย เห็นเป็นเส้น จะเน้นใช้วิธีรักษาตามสาเหตุ ดังนี้

  • หากเกิดจากโรคไมเกรน ความเครียด และวิตกกังวล

หากเป็นอาการตาลายที่เกิดจากโรคไมเกรน เริ่มแรกแพทย์อาจจะทำการวินิจฉัย ตรวจไมเกรน จากนั้นจะพิจารณาวิธีรักษาตามระดับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีรักษาโรคไมเกรน ได้แก่ การทานยา การฝังเข็ม การฉีดโบท็อกไมเกรน ฯลฯ

  • หากเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางหู 

ถ้าหากมีอาการตาลายที่เกิดจากโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางหู จะมีวิธีรักษาตามลักษณะอาการของโรค ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การหยอดยา การทำกายภาพ เป็นต้น

  • หากเกิดจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

หากเกิดจากกรณีที่มีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของยา จะมีวิธีรักษาแตกต่างกันไปตามตัวยา โดยแพทย์อาจจะปรับยาให้เป็นรูปแบบอื่นหรือยาตัวอื่น เพื่อลดอาการข้างเคียงที่ทำให้ตาลาย พร่ามัว

  • หากเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะขาดน้ำ หรือความดันเลือดต่ำลงเฉียบพลัน 

วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับอาการของแต่ละคน แต่ในเบื้องต้นสามารถบรรเทาอาการด้วยตนเองได้ เช่น หากน้ำตาลในเลือดต่ำให้ทานพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็ว เช่น น้ำตาล ลูกอม หรือน้ำหวาน ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ก็จะช่วยลดอาการหน้ามืดและเวียนหัวได้


วิธีรับมือบรรเทาอาการตาลายเบื้องต้น

สาเหตุตาลาย

นอกจากวิธีรักษาในข้างต้นแล้ว ยังสามารถรับมือกับอาการตาลายบ่อย ๆ เบื้องต้นได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงสารมึนเมาที่กระตุ้นระบบประสาทในร่างกาย
  • หากิจกรรมยามว่างหรืองานอดิเรกที่ชอบ เพื่อลดอาการตึงเครียดจากงานหรือการเรียน
  • ออกกำลัวกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เช่น เดินเร็ว วิ่งเบาๆ โยคะแก้ปวดหัว
  • กินอาหารให้ตรงต่อเวลา สารอาหารครบถ้วน และดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายควรจะได้รับ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง
  • ไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือขยับร่างกายในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด ตาลาย หรืออาการก้มแล้วปวดหัว
  • ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • หลีกเลี่ยงการขยับศีรษะรวดเร็ว เช่น เงยหน้าขึ้นมองหรือมองไปรอบ ๆ เร็วเกินไป
  • จับราวบันไดขณะลงบันไดเสมอ ๆ เพื่อป้องกันการล้มจากอาการตาลาย เห็นภาพซ้อน
  • หลีกเลี่ยงการขับรถยนต์ ใช้เครื่องจักร หรือการทำกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

ข้อสรุป

อาการตาลาย พร่ามัว พบได้ทั่วไป โดยสามารถเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ซึ่งแม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงหรืออันตราย แต่บางครั้งก็เป็นเสมือนสัญญาณเตือนโรคร้ายหรือความผิดปกติในร่างกาย ดังนั้น ควรตรวจหา วินิจฉัย เพื่อรักษาอาการตาลาย มองภาพเบลอ

ทั้งนี้ หากใครที่มีอาการตาลาย ปวดหัวซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการไมเกรน สามารถเข้าตรวจและรักษาไมเกรนด้วยวิธีทางการแพทย์กับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลได้ง่าย ๆ ผ่านการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Mayo Clinic. (n.d.). Dizziness. Retrieve from  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dizziness/symptoms-causes/syc-20371787

Stephanie Langmaid. (2020). Why Am I Dizzy?. Retrieve from https://www.webmd.com/brain/dizziness-vertigo