อาการไมเกรนที่หลายคนต้องเผชิญถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นปัญหาที่น่ารำคาญใจ บางคนถึงขั้นไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ การรักษาไมเกรนมีหลากหลายวิธี ทั้งแบบกินยาและไม่กินยา โดยยาที่ใช้รักษาอาการปวดไมเกรนมีหลากหลาย โดยจะใช้ยาตามอาการของไมเกรนที่ผู้ป่วยเจอ ทั้งยาบรรเทาอาการและปวดหัวไมเกรนแบบไม่รุนแรง ยาบรรเทาปวดไมเกรนที่มีความรุนแรง และยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เป็นผลข้างเคียงของอาการไมเกรน
โรคไมเกรนคืออะไร
โรคไมเกรนคือ อาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการเครียดสะสม อาการออฟฟิศซินโดรม พักผ่อนไม่เพียงพอ โดยอาการปวดหัวไมเกรนดังกล่าวมีหลายแบบ เช่น การปวดหัวแบบตุ๊บๆ ปวดหัวข้างเดียว ลักษณะปวดไมเกรนส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดหัวแบบรุนแรง ผู้ป่วยหลายคนมีอาการปวดแบบทรมานจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งหลายคนยังมีอาการอื่นร่วมด้วย ทั้งอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาการชาที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ปวดกระบอกตา ที่หลายคนเรียกว่าไมเกรนขึ้นตา
ปวดหัวไมเกรน มีกี่ระดับ
ปวดศีรษะปฐมภูมิ
เป็นกลุ่มอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด จากอาการไมเกรน โดยอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิเกิดจากระบบรับความรู้สึกของระบบประสาทและสมองทำงานผิดปกติ จนเกิดอาการปวดหัว เป็นอาการปวดหัวที่เป็นหายๆ ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงใดๆ
ปวดศีรษะทุติยภูมิ
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสมองหรือระบบโครงสร้างบริเวณศีรษะและคอ และอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของอวัยวะบริเวณรอบๆ สมองอีกด้วย จะมีอาการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไซนัสอักเสบ ตาแดง โพรงจมูกอักเสบ หลอดเลือดในสมองทำงานผิดปกติ หลอดเลือดอุดตันในสมอง เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
กลุ่มอาการปวดจากเส้นประสาทสมองและอาการปวดใบหน้า
เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง โดยจะปวดตามตำแหน่งของเส้นประสาทนั้นๆ จนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้าอย่างรุนแรง
ไมเกรนพบบ่อยแค่ไหน
อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย แต่อาการปวดหัวไมเกรนจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยในผู้ป่วยช่วงอายุ 20-40 ปี อาการปวดไมเกรนเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากสาเหตุมาจากการใช้พฤติกรรม การใช้ชีวิตที่หลายคนไม่ให้ความสำคัญ หรือละเลย ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การอดนอน อาการเครียดสะสม อาหารการกิน การอดอาหาร สาเหตุดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการไมเกรน โดยเด็กก็สามารถเป็นไมเกรนได้เช่นเดียวกัน
การวินิจฉัยโรคไมเกรน
ปัจจุบันอาการปวดไมเกรนที่หลายคนเจอยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาดหตุใด แต่เชื่อกันว่าเป็นผลของการอักเสบที่เกิดขึ้นในระบบประสาท หรือเกิดจากความผิดปกติของระดับสารเคมีหรือการนำกระแสไฟฟ้าในสมอง ส่งผลทำให้หลอดเลือดสมองทำงานผิดปกติไปชั่วขณะ โดยการวินิจฉัยโรคไมเกรนจะเป็นการซักประวัติคนไข้ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัยสมองโดยวิธีการต่างๆ
การซักประวัติ
แพทย์จะเริ่มจากการถามอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ระยะเวลาที่ปวด ความถี่ของอาการ อาการร่วมหรืออาการข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้อาเจียน ปวดกระบอกตา อาการอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา เป็นต้น
MRI
ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดในระยะเวลาหลายวัน อาการไม่ดีขึ้น ปวดหัวแบบไม่เคยเป็นมาก่อน การปวดหัวแบบกระทันหันและรุนแรงที่มาพร้อมกับอาการอาเจียนมาก อาการปวดหัวที่มาพร้อมกับการเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง มีอาการซึม สับสน ปากสั่น หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว พูดไม่ชัด โดยอาการเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่อาการไมเกรนแต่เป็นอาการของโรคร้ายแรงทางสมอง แต่เกิดได้ไม่บ่อยมากนัก ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดในสมองตีบหรือตัน เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทางแพทย์ก็จะพิจารณาใช้ ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากการ MRI เป็นการสแกนหรืเอกซเรย์สมองโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถแสดงภาพของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
CT scan
CT Scan หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะใช้ในกรณีที่คนไข้มีอาการเดียวกับที่ได้กล่าวไปในหัวข้อ MRI โดยเป็นการเอกซเรย์ที่ละเอียดมากขึ้นกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา ทำให้เห็นภาพของสมองอย่างชัดเจน เพื่อการวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นของแพทย์
อาการแบบไหนเรียกว่าไมเกรน
แพ้แสงจ้า หรือ แพ้เสียง
ภาวะดวงตาไวต่อแสง ไม่สามารถทนกับแสงได้ เมื่อเจอกับแสงจะทำให้เกิดการปวดหัวในทันที อาจเป็นแสงจากดวงอาทิตย์ หลอดไฟ หรือแสงจากจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก็ได้ แสงเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นไมเกรน
อาการซึมเศร้า หงุดหงิด หรือตื่นเต้น
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เป็นหนึ่งสัญญานของอาการไมเกรน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผล หรือในบางรายเกิดความรู้สึกดีหรือรู้สึกตื่นเต้นโดยไม่มีสิ่งใดมากระตุ้น
การนอนไม่พอ
การนอนไม่พออาจเกิดจากการสะดุ้งตื่นระหว่างการนอนหลับ นอนไม่เต็มตื่น ตื่นมาแล้วรู้สึกเหนื่อย หรือมีปัญหาการนอนอื่นๆ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของผู้ป่วยไมเกรน โดยการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความสัมพันธ์กับอาการไมเกรนโดยตรง
คัดจมูกหรือน้ำตาไหล
อาการไซนัสต่างๆ เช่น อาการน้ำมูกน้ำตาไหล คัดจมูก ปวดบริเวณเปลือกตา เป็นหนึ่งอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการไมเกรน
ความอยากอาหาร
ผู้ป่วยไมเกรนบางรายจะมีอาการอยากกินอาหารมากเป็นพิเศษ ก่อนที่จะเกิดอาการไมเกรน
อาการปวดหัวหนึ่งหรือสองข้างของศีรษะ
อาการปวดศีรษะตุ๊บๆ ปวดหัวสองข้าง หรือปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง
ปวดตา
อาการปวดกระบอกตา หรือโพรงตา รู้สึกล้าบริเวณตา ซึ่งเป็นหนึ่งอาการของไมเกรน
ปวดคอ
อาการปวดคอหรือคอแข็งไม่สามารถขยับคอได้แบบปกติ และตามมาด้วยอาการปวดหัว ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของไมเกรน และผู้ป่วยไมเกรนหลายรายจะมีอาการปวดคออยู่ตลอดเวลา หรืออาจมีอาการปวดคอในช่วงที่มีอาการปวดหัวไมเกรน
ปัสสาวะบ่อย
อาการปวดปัสสาวะมากกว่าปกติ เป็นสัญญานก่อนที่จะเกิดอาการไมเกรน อาจเกิดอาการก่อนปวดหัวประมาณ 1ชั่วโมงหรืออย่างมากที่สุดสองวัน
หาวบ่อย
อาการหาวบ่อยๆ หาวทุกๆ 2-3 นาที เป็นสัญญานเตือนของอาการไมเกรน
มีอาการชา
อาการชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย โดยอาจเริ่มจากอาการชาจากปลายนิ้ว เคลื่อนไปยังบริเวณแขนและใบหน้า
คลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย โดยอาการคลื่นไส้อาเจียนมักทำให้มีอาการปวดหัวมากขึ้นด้วย
แสง เสียง หรือกลิ่น
แสง เสียง และกลิ่นเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาการปวดหัวไมเกรนรุนแรงขึ้น เพราะผู้ป่วยไมเกรนจะมีอาการไวต่อแสงและเสียงมากกว่าปกติ
รู้สึกอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
อาการอ่อนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย มักเกิดก่อนที่จะมีอาการไมเกรน
วิงเวียนศีรษะ หรือตาลาย
อาการไมเกรนอาจทำให้เกิดการวิงเวียนศีรษะ ตาลาย สูญเสียการมองเห็น ถือเป็นความรุนแรงของโรคไมเกรน
ปวดหัวค้าง ปวดหัวตื้อๆ
อาการการเวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนแรง ไม่มีสมาธิ รู้สึกไม่มีแรงทำอะไรในช่วงที่เป็นไมเกรน ทำให้เกิดความรู้สึกปวดหัวและเหนื่อยมากกว่าปกติ
การรักษาไมเกรนสามารถทำได้กี่วิธี
ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนมีหลายแบบ ตั้งแต่ปวดแบบตุ๊บๆ ปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง ปวดๆ หายๆ ปวดแบบกะทันหัน ปวดแบบรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยปัจจุบันอาการไมเกรนยังไม่สามารถมีวิธีการที่รักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการบรรเทาและป้องกัน โดยวิธีการรักษาของแต่ละอาการก็มีความแตกต่างกันออกไป
การรักษาโดยใช้ยา
เป็นการบรรเทาหรือป้องกันอาการไมเกรน โดยการรับประทานยาใจทันทีที่มีอาการไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาป้องกันไมเกรนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ยาป้องกัน ยาที่ใช้ป้องกันอาการไมเกรน ได้แก่ กลุ่มยาลดความดัน เช่น Propranobol กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า Amitriptyline กลุ่มยากันชัก Valproate เป็นต้น
- ยาแก้ปวดเฉียบพลัน ยาบรรเทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล ยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรง ได้แก่ ยากลุ่ม Triptans เป็นต้น
การรักษาโดยวิธีทางเลือก
การวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการประเมินตามอาการของผู้ป่วย โดยจะแนะนำวิธีการรักษา เช่น ฝังเข็ม ครอบแก้ว หรือ การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน
เกณฑ์การวินิจฉัยไมเกรนทั่วไป
การวินิจฉัยไมเกรนทั่วไปได้แก่ การสังเกตุอาการ โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และติดต่อกันนานกว่า 4 – 72 ชั่วโมง โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
มีลักษณะอาการปวดอย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อ
- ปวดข้างเดียว อาการปวดหัวข้างเดียว อาจปวดหัวด้านซ้ายหรือปวดหัวด้านขวา
- ปวดแบบตุ๊บๆ อาการปวดหัวเป็นจังหวะ เป็นเวลานาน
- ปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือสั่นสะเทือน มีอาการปวดไมเกรนมากขึ้นเมื่อเกิดการเคลื่อนไหว
- ปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก อาการปวดหัวตั้งแต่ปวดไม่มากไปจนถึงปวดแบบรุนแรงมาก
ร่วมกับอาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
- คลื่นไส้ อาเจียน อาการปวดหัวที่มาพร้อมกันกับการคลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงดังอึกทึก หรือ แสงจ้า ผู้ป่วยไมเกรนส่วนมากมักจะแพ้แสงและเสียง
การรักษาไมเกรน
การรักษาอาการไมเกรนมีทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา และรักษาทางการแพทย์
การรักษาที่ไม่ใช้ยา
การรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา ได้แก่ การประคบเย็น การประคบเย็นบริเวณหน้าผากหรือคอ หรือประคบเย็นที่หน้าผากสลับประคบร้อนที่ท้ายทอย การนวดกดจุด ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ ซึ่งวิธีนี้จะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อคอบ่า ช่วยให้คลายเครียดวิธีที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด สามารถทำด้วยตัวเองได้ โดยให้นวดบริเวณขมับ ต้นคอ และช่วงไหล่ นวดให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย จนอาการไมเกรนทุเลาลง
รักษาโดยใช้ยา
อาการปวดไมเกรนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้จำเป็นจะต้องใช้ยาในการช่วยบรรเทาอาการให้เบาลง
ยาป้องกัน
ช่วยป้องกันอาการไมเกรนไม่ให้เกิดขึ้น สามารถลดจำนวนวันที่ปวดศีรษะได้
กลุ่มยาลดความดัน (Beta-blocker)
- Propranolol ยาในรูปแบบยาเม็ด ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะข้างเดียวจากอาการไมเกรน ไม่ควรใช้ในผู้ที่อยู่ระยะให้นมบุตร มีประวัติเป็นโรคหืด โรคหัวใจ เป็นต้น
- Metoprolol ใช้ป้องกันการกำเริบของโรคไมเกรนที่เป็นบ่อยและรุนแรง โดยยานี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ากว่า 50 ครั้ง/นาที ผู้ที่มีความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 100 mmHg ผู้ที่กำลังมีน้ำท่วมปอดจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- Verapamil ยาในรูปแบบเม็ด ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนที่ไม่รุนแรง สามารถทำให้อาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ห้ามใช้กับผู้ที่ตั้งครรภ์ วางแผนมีบุตร หรือกำลังให้นมบุตร
กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant)
กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant) คือ ยา Amitriptyline ยาในรูปแบบเม็ด ส่วนใหญ่ใช้รักษาอาการซึมเศร้า โดยสามารถป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรหลีกเลี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร
กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)
- Topiramate เป็นยาในกลุ่มยากันชัก ยากลุ่มกันชัก ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนสำหรับผู้ใหญ่ ใช้ในการป้องกันและลดความถี่ของอาการปวดศีรษะ ผลข้างเคียงของการใช้ยา อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ น้ำหนักลด เหน็บหรือชาตามแขนขา เป็นต้น
- Valproate ยาบรรเทาอาการโรคลมชัก โดยกลไกของยาจะช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในระดับปกติ อันเป็นต้นเหตุของการปวดไมเกรน ทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง การใช้ยาวาลโปรเอทอาจมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นต้น
ยาแก้ปวดช่วยอะไร
ยาบรรเทาอาการปวดหัว
- Paracetamol ลดอาการปวดหัวที่ไม่รุนแรง ลดอาการปวดไมเกรนที่ไม่รุนแรง ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คืออาจทำให้เกิดผื่นคัน มีอาการไข้ หนาวสั่น เป็นต้น
- Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) เป็นยากลุ่มยาแก้อาการอักเสบ ใช้รักษาอาการปวดจากโรคหลายชนิด เช่น ปวดหัว ปวดฟัน โดยใช้ในการบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบรุนแรงด้วย อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเลือดออก มึนงง ปวดศีรษะ เป็นต้น และไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง
- Triptan กลุ่มยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากไมเกรน การใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ง่วงนอน หน้าแดง เป็นต้น
- Ergotamine ยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ออกฤทธิ์ในการรักษาอาการปวดศีรษะ โดยจะต้องใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อการป้องกันเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียรุนแรงต่อชีวิตของผู้ป่วยได้
ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- Metoclopramide ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยจะใช้กับอาการไมเกรนที่มาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ เคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติอย่างรุนแรง เช่น มือสั่น ขาสั่น เป็นต้น
- Domperidone ยาใช้สำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอาการบวมที่มือ เท้า หรือใบหน้า มีผื่น อาการคันตามผิวหนัง มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เป็นต้น
การรักษาทางการแพทย์
- ฝังเข็ม การฝังเข็มรักษาอาการไมเกรนเป็นวิธีการรักษาในทรงการแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยการฝังเข็มจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และจะทำให้อาการไมเกรนลดงลง โดยจะฝังเข็มไปตามจุดต่างๆ บริเวณคอ บ่า ไหล่ หน้าผาก ศีรษะ เป็นต้น
- กระตุ้นคลื่นไฟฟ้า เป็นการรักษาเพื่อลดและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บปวด ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เวลาไม่นานเพียง 30-60 นาทีเท่านั้น ซึ่งผลการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าเป็นที่น่าพอใจ
- ฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกไมเกรนหมอจะฉีดโบท็อกซ์บริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ การฉีดโบท็อกซ์ จะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง
ข้อสรุป
โรคไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่รบกวนการใช้ชีวิตของคนยุคนี้เป็นอย่างมาก บางคนถึงขั้นไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เลย ยิ่งสังคมปัจจุบันที่ทั้งแข่งขันสูง กดดัน มีความตึงเครียด ทำให้ไมเกรน เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและไม่ไกลตัวอีกแล้ว ซึ่งวิธีรักษา ก็มีมากมาย ทั้งโดยการใช้ยาและการบำบัดด้วยวิธีต่างๆแบบไม่ใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็ม การใช้คลื่นไฟฟ้า และการฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งการฉีดโบท็อกซ์ จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไมเกรน ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณอาการเบื้องต้นได้ที่ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัย ซึ่งเรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์คอยวินิจฉัยและให้คำปรึกษาอย่างตรงจุด
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที