ยาไมเกรน ป้องกันอาการปวดหัวมีอะไรบ้าง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
อาการปวดไมเกรน เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยการรักษาอาการไมเกรนนั้นสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น รักษาด้วยวิธีทางธรรมชาติ ทางการแพทย์ และการรับประทานยา ซึ่ง ยาไมเกรน ก็มีหลากหลาย และมีข้อจำกัดในการรับประทานที่แตกต่างกันออกไป
สารบัญบทความ
- ยาไมเกรน มีกี่ประเภท
- ข้อดีของการใช้ ยาไมเกรน
- ยาไมเกรน ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
- หากไม่ใช้ยามีวิธีการรักษาไมเกรนอย่างไรบ้าง
- ข้อสรุป
ยาไมเกรน มีกี่ประเภท
การรักษาไมเกรนด้วยวิธีการใช้ยา เป็นการบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ในระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวก รวดเร็วและง่ายต่อผู้ป่วย แม้จะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น ซึ่งยารักษาไมเกรน สามาถแบ่งออกได้หลายประเภทและหลายกลุ่ม
ยาป้องกัน
ยาที่ใช้ป้องกันโรคไมเกรน มียาหลายกลุ่มที่นำมาที่ใช้ป้องกันโรคไมเกรน เช่น กลุ่มยาต้านชัก, กลุ่มยาต้านซึมเศร้า , กลุ่มยาปิดกั้นตัวรับเบตา, กลุ่มสารพิษต่อประสาท จะช่วยป้องกันการเกิดอาการไมเกรน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรนขั้นรุนแรง
- กลุ่มยาลดความดัน (Beta-blocker)
- Propranolol เป็นยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ จัดอยู่ในกลุ่มยารักษาความดันโลหิตสูง และใช้รักษาภาวะเกี่ยวกับหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีอาการเจ็บหน้าอก รักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่สำคัญยังสามารถนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้อีกด้วย
- Metoprolol เป็นยาเบต้ากลุ่มบล็อกเกอร์ ที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคหรืออาการ เช่น ภาวะเจ็บหน้าอกเฉียบพลันจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลวและโรคหัวใจ ที่สำคัญยังสามารถนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้อีกด้วย
- Verapamil เป็นยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ หรือยาปิดกั้นแคลเซียม มีกลไกการออกฤทธิ์โดยช่วยคลายกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มออกซิเจนให้กล้ามเนื้อหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ชะลอการเกิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจและลดการนำกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ยานี้ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่สำคัญยังสามารถนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้อีกด้วย
- กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant) คือ ยา Amitriptyline เป็นยาใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า โดยจัดเป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressant) ทำงานโดยปรับปริมาณสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกันซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าให้กลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจใช้ยานี้ในการรักษาผู้ป่วยภาวะปลายประสาทอักเสบ อาการปวดประสาท และป้องกันอาการปวดไมเกรนด้วย
- กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)
- Topiramate เป็นยาในกลุ่มยากันชัก เป็นยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) ใช้ในการรักษา และควบคุมอาการชักในผู้ใหญ่และเด็ก และอาจใช้เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนสำหรับผู้ใหญ่ได้ ยานี้ออกฤทธิ์ปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาท 2 ชนิด ผลคือยับยั้งทำงานของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทเกิดการตื่นตัวลดลง ทำให้ลดอาการชักได้ การใช้ยาโทพิราเมทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- Valproate เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคลมชัก รักษาความผิดปกติทางอารมณ์อย่างภาวะแมเนีย (Mania) ในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ และป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน โดยกลไกของยาจะช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในระดับปกติ ยานี้อาจอยู่ในรูปของ Sodium และ Semisodium ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ใช้รักษาโรคที่ต่างกันออกไป
ยาแก้ปวดเฉียบพลัน
กลุ่มยารักษาไมเกรนเฉียบพลัน คือ กลุ่มยาแก้ปวด จะใช้เมื่อมีอาการ ปวดศรีษะไมเกรน และสามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือส่งผลต่อการทำงานต่อไตและตับ
- ยาบรรเทาอาการปวดหัว
- Paracetamol เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยลดไข้ โดยนิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวดทั่วไป เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดฟัน ยาชนิดนี้จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านเพราะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาของแพทย์ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
- Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรน ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้ โดยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ควรรับประทาน 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัม ในเด็ก ควรรับประทาน 4-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทุก 6-8 ชั่วโมง
ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง
- Triptan ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) เป็น ยาแก้ไมเกรน ที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวลง ช่วยบรรเทาอาการปวด โดยตัวยามีทั้งยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด แต่มักจะมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ง่วงซึม หรือเวียนศีรษะ และมีข้อจำกัดคือ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้
- Ergotamine เป็นยารักษาอาการไมเกรน ที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ tofago ที่มี ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมกับ caffeine 100 มิลลิกรัม ซึ่งยาตัวนี้แนะนำให้รับประทานเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น ห้ามรับประทานติดต่อกันทุกวันอย่างเด็ดขาด โดยรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด แต่ไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน
ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- Metoclopramide เป็นยาบำบัดอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางอกอันเกิดจากกรดไหลย้อน และรักษาภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน จุกแน่น แสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหาร
- Domperidone เป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้อง โดยยานี้จะทำงานโดยการไปช่วยเพิ่มการหดตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้เร็วขึ้น
ข้อดีของการใช้ ยาไมเกรน
การรับประทานยาไมเกรน เมื่อเกิดอาการปวดไมเกรนในระยะแรก ๆ เป็นการรักษาอาการไมเกรนที่เห็นผลได้ทันที ถือเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังเหมาะสมในกรณีที่ไม่สามารถพบแพทย์ได้ และราคาถูกกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นในการรักษารายครั้ง ซึ่งการทานยาไมเกรนที่ดี ไม่ควรรับประทานเกิน 1-2 เม็ด หรือเกินกว่าที่แพทย์กำหนด เพราะถ้าหากใช้ยาเกินขนาดก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
ยาไมเกรน ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
ยาไมเกรน แต่ละชนิดถึงแม้จะสามารถช่วยระงับอาการปวดหัวได้จริงและเห็นผลทันที แต่อาจส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ เช่น รู้สึกชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งถ้าหากไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา อาการอาจรุนแรงขึ้นจนทำให้เนื้อตาย และทำให้ต้องตัดอวัยวะได้
ตัวยาบางชนิดส่งผลต่อการขยายหลอดเลือด ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้หลอดเลือดอักเสบ นอกจากนี้หากรับประทานยาเป็นเวลานาน ๆ ยังทำให้ตับและไตทำงานหนัก เกิดอาการเสื่อมและภูมิคุ้มกันลดลงส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค และหากตับ ไต ถูกทำลายหนัก อาจไม่สามารถรับประทานยาได้อีก วิธีการรักษาโรคอื่น ๆ นอกเหนือไมเกรนก็จะยากขึ้น
หากไม่ใช้ยามีวิธีการรักษาไมเกรนอย่างไรบ้าง
ปัจจุบันมีวิธีการรักษาไมเกรนหลากหลายวิธี ผู้ป่วยไมเกรนจึงสามารถเลือกใช้วิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการได้ เพราะการรักษาโรคไมเกรน ที่นอกจากการกินยาไมเกรนแล้ว ยังมี วิธีรักษาไมเกรน รูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย
ฝังเข็มแก้ไมเกรน
จุดที่มักส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ บ่าทั้งสองข้าง เพราะกล้ามเนื้อบ่ามันจะมีการเกร็งตัวเวลาที่เรานั่งทำงานในท่าซ้ำ ๆ เดิม ๆ จากงานวิจัย ได้บอกไว้ว่า การฝังเข็ม สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้จริง แต่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองในแต่ละบุคคล แนะนำว่าให้ฝัง อย่างน้อย 6 session ขั้นต่ำ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้นจึงจะเห็นผลดี
ฉีดยาแก้ไมเกรน
การฉีดยาไมเกรน Ajovy ถือเป็นแนวทางการรักษาไมเกรนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยเป็นยาที่สร้างจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำงานโดยการไปขัดขวางการทำงานของสารโปรตีนบางตัวในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรน จึงนับได้ว่าเป็นยาที่รักษาต้นเหตุของการเกิดไมเกรนจริงๆ ให้ผลการรักษาที่ดีมาก ในระดับ 70-90% โดยมักจะฉีดเข้าไปบริเวณพุง เดือนละ 1 ครั้งทุก ๆ เดือน
โบท็อกไมเกรน
การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ประมาณ 60 – 70% โดยหลังฉีดตัวยาจะไม่ออกฤทธิ์ในทันทีแต่จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 วัน และจะทำการออกฤทธิ์สูงสุดภายในสัปดาห์ที่ 2 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน หากคนไข้ตอบสนองต่อตัวยาดีอาจอยู่ได้นานกว่านั้น และสามารถกลับมาฉีดอีกครั้งเมื่อโบท็อกหมดฤทธิ์ การรักษาด้วยวิธีนี้นอกจากจะรักษาอาการปวดหัวไมเกรนแล้ว ยังช่วยรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
ข้อสรุป
โรคไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่รบกวนการใช้ชีวิตของคนยุคนี้เป็นอย่างมาก ยิ่งสังคมปัจจุบันที่ทั้งแข่งขันสูง กดดัน มีความตึงเครียด ทำให้ไมเกรน เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและไม่ไกลตัวอีกแล้ว ซึ่งวิธีรักษา ก็มีมากมาย ทั้งโดยการใช้ยาและการบำบัดด้วยวิธีต่างๆแบบไม่ใช้ยา หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที