นวดกดจุด 10 ท่าคลายเส้น ลดปวดคอ บ่า ไหล่ ทำได้ด้วยตัวเอง

10 ท่านวดกดจุดคลายเส้น ลดปวดหัว คอ บ่า ไหล่ ทำได้ด้วยตัวเอง

อาการออฟฟิศซินโดรมเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับไมเกรนอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรนได้ง่ายๆ ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีแก้ปวดหัวและช่วยรักษาที่ดีคือ นวดกดจุด

แต่นวดกดจุด คืออะไร? มีวิธีกดจุดแบบไหน? หรือต้องทำอย่างไรเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลและคำตอบที่มีประโยชน์มาให้แล้วค่ะ


Article table of contents


รู้จักการนวดกดจุด (Reflexology)

รู้จักการนวดกดจุด (Reflexology)

การนวดกดจุด (Reflexology) คือ การใช้แรงกดของกล้ามเนื้อมือและนิ้วตามจุดสะท้อน หรือจุดเฉพาะที่เชื่อมโยงกับอวัยวะหรือบริเวณที่ปวด โดยการนวดกดจุดจะต้องใช้แรงที่เหมาะสมและทำอย่างถูกวิธี เพื่อให้การกดจุดนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถแก้อาการต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

อย่างไรก็ดี การกดจุดแก้อาการต่างๆ สามารถแก้ได้ทั้งอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดเมื่อยตามร่างกายและอาการMigraines ปวดตุบๆ เช่น ปวดหัวข้างเดียว ปวดรอบบริเวณ ปวดหัวคิ้ว เป็นต้น เนื่องจากการกดจุดคลายเส้น คลายกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ได้ดี


ความเชื่อของการรักษาแบบนวดกดจุด

การนวดกดจุด เป็นศาสตร์การรักษาของจีนที่มีมาตั้งแต่โบราณ จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการนำมาประยุกต์รักษาและได้รับความนิยมสูง 

ทั้งนี้ ตามความเชื่อของแพทย์แผนจีนหรือการรักษาในรูปแบบของการกดจุดคลายกล้ามเนื้อ เชื่อว่าคนเรามีพลังชีวิตหรือ ชี่ (Qi) และจะมีเส้นเมอริเดียนหรือเส้นลมปราณทั่วร่างกาย ซึ่งจุดใดจุดหนึ่งตามเส้นดังกล่าวอุดตันหรือปวดเมื่อยจะทำให้พลังชีวิตเปลี่ยนแปลง ไม่สมดุล 

ดังนั้น การนวดกดจุดหรือการกดจุดสะท้อนตามจุดต่างๆ ของเส้น จึงเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในร่างกาย อาการ เส้นคอตึงปวดหัว และช่วยคลายกล้ามเนื้อได้นั่นเอง


ประโยชน์ของการนวดกดจุด

นอกจากแพทย์แผนไทยและแพทย์ของทางฝั่งตะวันตกแล้ว การรักษาตามแพทย์แผนจีนอย่างการกดจุดนวดเส้น ที่ได้รับความนิยมนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนี้

1. กระตุ้นการไหลเวียนเลือด

การนวดกดจุดช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานได้ดี ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนยังเป็นการกระตุ้นเส้นประสาทต่างๆ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก เดิมทีเกิดอาการปวดตึงอาจจะเป็นเพราะระบบไหลเวียนผิดปกตินั่นเอง

2. ขจัดความเหนื่อยล้า

การกดจุดคลายเส้นจะช่วยปรับปรุงระบบสุขภาพในร่างกายให้ทำงานปกติ เช่น การผ่อนคลาย การคืนความสมดุล การทำงานของอวัยวะด้านในให้กลับมาทำงานปกติ ซึ่งจะช่วยร่างกายกลับมากะปรี้กะเปร่า สดชื่น และช่วยขจัดความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี

3. ลดอาการปวดต่างๆ

การกดจุดเพื่อสุขภาพ บรรเทาอาการปวดหัวไซนัส ปวดกล้ามเนื้อตึงตัว ปวดโรคข้ออักเสบ ปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนการปวดตามบริเวณต่างๆ ในร่างกาย เนื่องจากจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี และกระตุ้นการหลั่งสารหรือฮอร์โมนต่างๆ ให้ร่างกายทำงานได้ดี ลดอาการเจ็บปวดได้

4. คลายความเครียด

เนื่องจากการนวดกดจุดตามบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณนิ้วโป้งจะช่วยให้เกิดความคลายเครียด ลดความรู้สึกวิตกกังวลในจิตใจ เนื่องจากจะช่วยปรับสมดุลภายในร่างกายทั้งทางกายภาพและจิตใจของบุคคลนั้นๆ 

5. บรรเทาและป้องกันอาการโรค

เนื่องจากการกดจุดเลือดไหลเวียนช่วยชี้จุดอ่อนหรือจุดที่อวัยวะในร่างกายที่ไม่สมดุลได้  โดยอาจจะบอกถึงจุดหรืออวัยวะที่ร่างกายนั้นเกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยและโรคอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ การกดจุดนิ้วมือตามจุดต่างๆ บนเส้นพลัง จะช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการอาเจียนหรือการตั้งครรภ์ ตลอดจนการ ปวดหัวคลื่นไส้จากการผ่าตัด ฉีดยาสลบได้ด้วย


นวดกดจุดแก้ไมเกรน

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น การนวดกดจุดเกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวไมเกรนอย่างแท้จริง โดยจากการศึกษาและงานวิจัยจากคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ทำการศึกษาและวิจัย พบว่าการบำบัดอาการไมเกรนด้วยการกดจุดรักษาโรค ผู้ที่เข้ารับการรักษาสามารถลดอาการกำเริบและความรุนแรงได้อย่างดีเยี่ยม สามารถนอนหลับและพักผ่อนได้อย่างปกติ ทั้งนี้ เป็นเพราะการกดจุดช่วยคลายกล้ามเนื้อ เปิดลมปราณภายในร่างกายนั่นเอง


นวดกดจุดแก้ออฟฟิศซินโดรม

นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการไมเกรนแล้ว การนวดกดจุดยังช่วยแก้อาการออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย เนื่องจากการกดจุดนวดจะทำให้รู้ถึงบริเวณที่ปวดหรือไม่สบายตัว จากนั้นจึงจะทำการนวดเพื่อรักษา โดยการกดจุดนวดเส้น

จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตของระบบในร่างกาย การลดการยึดติดของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ อย่างไรก็ดี กดจุดรักษาโรคจะช่วยให้ร่างกายและจิดตใจผ่อนคลาย ลดความเครียดได้อีกด้วย


5 ท่านวดกดจุดแก้ปวดหัวไมเกรน

อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มอยากเรียนรู้ท่านวดกดจุดแก้ปวดหัวไมเกรน บทความนี้เราก็ไม่ลืมที่จะนำ 5 ท่านวดกดจุดมาฝากทุกคน ดังนี้

1. จุดอิ้นถาง 

จุดอิ้นถาง

จุดอิ้นถางอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง โดยวิธีกดจุดคือ

  1. ใช้ปลายนิ้วกลางมือกดจุด นวดตามเข็มนาฬิกา 1 นาที
  2. จากนั้นเปลี่ยนเป็นทวนเข็มนาฬิกาอีก 1 นาที 
  3. ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างลากจากหว่างคิ้วไปยังหางคิ้วพร้อมๆ กัน 10 ครั้ง และลากจากระหว่างคิ้วไปจรดไรผมอีก 10 ครั้ง 

การนวดกดจุดบริเวณนี้จะช่วยลดอาการ ปวดกระบอกตา ปวดบริเวณหน้าผาก คิ้ว ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดี ลดอาการปวดหัวไซนัส และช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย 

2. จุดจงจู่ 

จุดจงจู่

จุดจงจู่จะอยู่บริเวณหลังมือ โดยจุดจะอยู่ต่ำกว่ากระดูกข้อต่อระหว่างนิ้วนางและกระดูกฝ่ามือ 1 นิ้ว ห่างจากนิ้วก้อยประมาณ ½ ของนิ้วมือ มีวิธีนวดง่ายๆ คือ นวดเข้าหาข้อศอกในระดับความแรงที่พอดี โดยจะนวดซ้ำประมาณ 3-5 นาที

การกดจุดบริเวณนี้จะช่วยบรรเทาอาการa headache ลดอาการปวดเมื่อย เจ็บคอ ข้อศอก หรือนิ้วมือ โดยจะนวดซ้ำประมาณ 3-5 นาที

3. จุดไท่หยาง 

จุดไท่หยาง

จุดไท่หย่างจะอยู่บริเวณรอยบุ๋มตรงขมับ กึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา วิธีการนวดกดจุดคือ กดขยี้บริเวณขมับก่อนจะกดลงที่จุดไท่หยางค้างไว้ ทำซ้ำ 3-5 นาที 

การกดจุดบริเวณนี้จะช่วยลดบรรเทาอาการเวียนหัว ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ตลอดจนอาการตาพร่ามัว

4. จุดเกอจูเยน

จุดเกอจูเยน

จุดเกอจูเยนจะอยู่บริเวณใบหน้า ห่างจากหูประมาณ 2 นิ้ว หากใครหาไม่เจออาจจะลองอ้าปากแล้วจะพบจุดเล็กๆ บริเวณด้านหน้าของหู วิธีการนวดกดจุดนี้ คือ ใช้นิ้วมือนวดขึ้นด้านบน ซ้ำ 3-5 นาที ง่ายๆ แค่นี้ก็จะช่วยให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายกลับมาทำงานปกติ คลายตัว และลดอาการปวดเมื่อย

5. จุดซือจู๋คง 

จุดซือจู๋คง

จุดซือจู๋คงอยู่บริเวณร่องบุ๋มตรงหางคิ้วทั้งสองข้าง วิธีการนวดกดจุดนี้ จะต่างจากจุดเกอจูเยนคือ ใช้นิ้วมือนวดลงล่างแทน ซ้ำประมาณ 3-5 นาที เพียงแค่นี้ก็จะช่วยลดอาการเวียนหัว ลมชัก ตาอักเสบ ตากระตุก หรืออาการปวดหัวได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีนวดแก้ปวดไมเกรนได้ที่บทความ 7 วิธีนวดกดจุด หยุดไมเกรน แก้ปวดหัว ปวดตา ฉบับง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง 


5 ท่านวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม

นอกจาก 5 ท่านวดกดจุดแก้ไมเกรนแล้ว ยังมี 5 ท่านวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม ให้หลายๆ คนได้ลองทำตามเช่นกัน ดังนี้

1. จุดเฉิงชี่ 

จุดเฉิงชี่

จุดเฉิงชี่จะอยู่บริเวณใต้เปลือกตาล่าง โดยวิธีการกดจุดสามารถทำได้ง่ายๆ คือ

  1. หลับตาทั้งสองข้าง หันหน้าตรง
  2. ใช้นิ้วชี้คลึงเปลือกตาทั้งสองอย่างเบาๆ ประมาณ 10 นาที 

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการตาล้า ปวดตา หรือการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานหรือการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

2. จุดอวี๋จี้ 

จุดอวี๋จี้

จุดอวี๋จี้จะอยู่ตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ วิธีการกดจุดอวี๋จี้จะทำได้ คือ

  1. เหยียดแขนตรงๆ จนเห็นกระดูกข้อต่อใต้โคนนิ้วหัวแม่มือ 
  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้งของมืออีกข้างมาคลึงเบาๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาที วันละ 1-2 ครั้ง

การกดจุดนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อมือจากการใช้งานหนัก ผู้ที่ซักผ้า บิดผ้า จับเมาส์ หรือถือของเป็นเวลานาน

3. จุดต้าจู้

จุดต้าจู้

จุดต้าจู้จะอยู่บริเวณด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนบนที่นูนออกมาเวลาก้มหัวลง วิธีการกดจุดบริเวณนี้คือ

  1. แตะบริเวณท้ายทอยหรือจุดที่กระดูกส่วนบนนูนออกมา 
  2. กะระยะห่างทั้ง 2 ข้างออกไป 5 นิ้ว
  3. เริ่มนวดคลึงวันละ 10 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน

วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวท้ายทอย ปวดบริเวณด้านหลัง หรือปวดทั่วแผ่นหลัง

4. จุดโฮ่วซี

จุดโฮ่วซี

จุดโฮ่วซีจะอยู่บริเวณด้านข้างของฝ่ามือ แต่จะอยู่ตรงโคนข้อต่อนิ้วก้อย แต่หากใครหาไม่เจออาจจะกำมือให้เห็นรอยย่น ตรงส่วนปลายรอยย่นนั้นคือ จุดโฮ่วซีนั่นเอง วิธีการกดจุดบริเวณนี้ก็ทำได้ง่ายๆ คือ

  1. งอแขน 45 องศา กำมือเบาๆ หลวมๆ 
  2. ใช้ปลายจิกคลึงเบาๆ 3-4 นาที 

วิธีการกดจุดบริเวณนี้จะเป็นวิธีแก้ปวดหัว ช่วยลดอาการอาการตึงของกล้ามเนื้อ การปวดคอเรื้อรัง และปวดท้ายทาย

5. จุดเยาเยี่ยน 

จุดเยาเยี่ยน

จุดเยาเยี่ยนจะอยู่บริเวณหลังด้านล่าง ถัดจากระดูกสันหลังไปด้านข้างประมาณ 3-4 นิ้ว เมื่อนอนคว่ำหน้าจะเป็นรอยบุ๋ม วิธีกดจุดแนะนำให้ทำดังนี้

  1. เท้าเอวโดยคว่ำมือลง มือจับบริเวณจุดดังกล่าว 
  2. ใช้นิ้วกลางคลึงในระดับที่แรงพอสมควรประมาณ 15-30 ครั้ง 

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง กล้ามเนื้อด้านหลัง และปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ


ข้อควระวังในการนวดกดจุด

อย่างไรก็ดี การนวดกดจุดก็มีข้อควรระวังที่ไม่ควรมองข้ามและควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น

  • กระดูกหัก
  • มีก้อนเนื้อ
  • มีบาดแผลบริเวณผิวหนัง
  • มีเส้นเลือดขอด

ใครไม่เหมาะกับการนวดกดจุด

นอกจากนี้กลุ่มคนดังต่อไปนี้ควรเว้นจากกดจุดคลายกล้ามเนื้อ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง ได้แก่

  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีอาการมึนเมาอยู่
  • ผู้กินอาหารมากเกินไป หรือกำลังอิ่มเกินพอดี
  • ผู้ที่เคยมีภาวะกระดูกพรุน ปวดข้อ หรือ ปวดกระดูก
  • ผู้เคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบผิวหนัง
  • ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตใจ
  • ผู้ที่เคยป่วยหรือกำลังป่วยเนื้องอก หัวใจ สมอง ปอด ตับ โรคเกี่ยวกับเลือด ตลอดจนน้ำเหลือง
  • ผู้ที่มีประจำเดือน สตรีมีครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตร

แนวทางอื่นสำหรับการรักษาไมเกรน

แนวทางอื่นสำหรับการรักษาไมเกรน

อย่างไรก็ดี หากใครที่ลองทำตามท่านวดกดจุดรักษาไมเกรนทั้ง 5 ท่าแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรืออาการยังคงรุนแรงต่อเนื่อง อาจจะต้องใช้วิธีรักษาอาการด้วยวิธีอื่นๆ ดังนี้

1. ทานยาแก้ปวดไมเกรน

ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดทั่วๆ ไป อย่างยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน ตลอดจนยาไมเกรนประเภทต่างๆ เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen ยากลุ่มต้านอักเสบ ยากลุ่ม Ergotamine รักษาอาการปวด และยากลุ่ม Triptan บรรเทาและรักษาอาการ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสำหรับกรณีเร่งด่วน

2. Injections for migraines

Theฉีดยาไมเกรน (Aimovig) คือ การฉีดยาระงับอาการปวดอันเนื่องมาจากไมเกรน ไม่ว่าจะเป็นการปวดหัวจากความเครียดหรือปวดหัวตามจุดต่างๆ โดยตัวยา Aimovig ปลอดภัย ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย จึงกลายเป็นหนึ่งตัวเลือกการรักษาที่น่าสนใจ

3. ฝังเข็มไมเกรน

Theฝังเข็มไมเกรนก็เป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาจากแพทย์แผนจีนคล้ายกับการนวดกดจุด เพียงจะใช้เข็มที่ทำจากสเตนเลสขนาดเล็กและบาง ปักเข็มลงบริเวณแนวเส้นหรือจุดสำคัญที่มีพลัง ประมาณ 20-30 นาทีจะปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้กลับคืนสู่ปกติ ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ลดอาการปวดหัว

4.  ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน

Theฉีดโบท็อกไมเกรน จะใช้สำหรับรักษาอาการปวดหัวไมเกรน โดยนำโบท็อกชนิดเอ มาฉีดเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีความผ่อนคลาย ลดระดับความรุนแรง และอาการปวด โดยแพทย์จะฉีดบริเวณจุดต่างๆ ภายในระยะเวลาไม่กี่วันอาการก็จะดีขึ้นและผลลัพธ์จะคงอยู่ยาวนานกว่า 4-6 เดือน เพื่อลดอาการไมเกรนนั่นเอง


แนวทางอื่นในการรักษาออฟฟิศซินโดรม

เช่นเดียวกับการรักษาไมเกรนที่มีนอกจากจะใช้วิธีนวดกดจุดแล้ว ยังมีวิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมในรูปอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนี้

แนวทางอื่นในการรักษาออฟฟิศซินโดรม

1. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด

การกินยาบรรเทาอาการปวดจะช่วยลดอาการปวดได้อย่างเร่งด่วน โดยอาจจะทานยาแก้ปวดทั่วๆ ไป ทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาบรรเทาอาการอักเสบต่างๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ง่ายๆ แต่อย่างไรก็ดีจะต้องอ่านฉลาก หรือปรึกษาเภสัชกรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำด้วยท่าบริหารออฟฟิศซินโดรม เช่น การยืดหลัง การก้มตัว หรือการบริหารสีข้างก็จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น คลายตัว และแข็งแรงขึ้น แต่ในกรณีนี้จะต้องหมั่นออกกำลังกายและบริหารท่าทางเสมอๆ จึงจะมีประสิทธิภาพและเห็นผลในระยะยาว

3. กายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดโดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดจะช่วยให้รับรู้ถึงสาเหตุและอาการอย่างตรงจุด จากนั้นจะมีการวางแผนการรักษา โดยเลือกการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษระอาการและตัวบุคคลก็จะทำให้รักษาได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ และตรงจุด

4.  ฉีดโบท็อกรักษาออฟฟิศซินโดรม

นอกจากการฉีดโบท็อกไมเกรนแล้ว ยังสามารถฉีดBotox for office syndrome เพื่อรัักษาอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ โดยทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดเฉพาะจุดนั้นๆ หลังจากฉีดไม่นานอาการก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการนวดกดจุด ในขณะเดียวกันก็จะมีผลข้างเคียงน้อย และผลลัพธ์คงอยู่ในระยะยาวถึง 4-6 เดือน


SUMMARY

การนวดกดจุด คือ หนึ่งในวิธีการMigraine treatmentและการรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างหนึ่ง โดยเน้นใช้วิธีธรรมชาติตามแพทย์แผนจีน เพื่อให้เส้นพลังลมปราณทั่วร่างกายกลับมาทำงานปกติ สมดุล กล้ามเนื้อผ่อนคลาย

ทั้งนี้ หากใครใช้วิธีกดจุดแล้วยังไม่เห็นผลหรืออาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะลองรักษาทางการแพทย์ โดยเริ่มจากการMigraine diagnosisและระดับความรุนแรงของอาการปวดเมื่อย เข้ารับคำปรึกษา ตลอดจนจองวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ด้วยการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร  090–970-0447 ได้ทันที

แอดไลน์


Reference

Julie Davis. (2021). Reflexology. Retrieve from https://www.webmd.com/balance/what-is-reflexology