เส้นคอตึงจนปวดหัว อาการปวดคอร้าวขึ้นหัว เกิดจากสาเหตุใด รักษาอย่างไร?

เส้นคอตึง ปวดหัว

นั่งทำงานไปสักพักแล้วปวดเส้นคอตึงจนปวดหัว ทำอย่างไรดี? ขยับคอและร่างกายทีไรรู้สึกเหมือนคอตึง ๆ ต้องทำอย่างไร? เส้นคอตึงปวดหัวเป็นประจำเกิดจากอะไร? เป็นหนึ่งในคำถามยอมนิยมของใครหลาย ๆ คน

ทั้งนี้ อาการเส้นคอตึงมากอาจเกิดจากไมเกรน กล้ามเนื้อตึงตัว หรือภาวะออฟฟิศซินโดรม ทางที่ดีไม่ควรมองข้ามและควรเข้ารับรักษา แต่จะรักษาด้วยวิธีใดได้บ้างนั้น อ่านต่อในบทความนี้ได้เลย


สารบัญบทความ


เส้นคอตึงจนปวดหัว

ปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัว

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวพบได้ในคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่นหรือวัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่หลายๆ คนเลือกที่จะมองข้าม เนื่องจากคิดว่าอาการเส้นคอตึง ปวดหัวสามารถหายได้เอง

แท้จริงแล้ว ในบางกรณีจำเป็นจะต้องเข้ารับคำปรึกษาจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเและรักษาอย่างถูกวิธี นื่องจากอาจจะเกิดอาการปวดหัวรุนแรง ต่อเนื่อง ปวดบริเวณเดิมซ้ำ ๆ จนปวดร้าวไปทั่วศีรษะ และกลายเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรมได้


อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวเป็นอย่างไร

อาการปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัวนั้นพบได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลัก ๆ 2 ประการ ดังนี้

อาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของคอ (Cervicogenic Headache)

เส้นคอตึง มึนหัว

อาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของคอจะเกิดขึ้นบริเวณด้านข้างของศีรษะหรือคอเพียงเท่านั้น โดยมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เส้นคอตึงจนปวดหัวระดับปานกลางไปจนระดับรุนแรง โดยจะปวดบริเวณคอร้าวไปจนศีรษะ
  • เส้นคอตึง มึนหัว จนกระทั่งนำไปสู่อาการตึงบริเวณคอ ส่งผลให้ขยับร่างกายหรือเคลื่อนไหวลำบาก
  • ปวดบริเวณต่างๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดกระบอกตา ปวดขมับ ปวดหัวคิ้ว ซึ่งจะปวดลามไปยังบริเวณอื่นๆ ตลอดจนปวดหัวท้ายทอย
  • ตาพร่ามัวข้างเดียว การมองเห็นพร่ามัวอาจรู้สึกได้ในตาข้างที่ได้รับผลกระทบ
  • ปวดใต้คอ อาการปวดไหล่ แขน หรือระหว่างสะบัก

บางครั้งอาจจะไม่มีอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว และบางครั้งความรุนแรงของอาการปวดหัว ความถี่ และระยะเวลาที่เกิดอาการอาจจะไม่เท่ากัน 

อาการปวดหัวเส้นประสาทคอ (Occipital Neuralgia)

เส้นคอตึง ปวดหัว รักษา

อาการปวดหัวเส้นประสาทคอ ลักษณะเกิดอาการจะรุนแรงคล้ายกับโดนมีดแทงหรือโดนไฟฟ้าช็อตบริเวณคอและท้ายทอย นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้ 

  • ปวดเมื่อย แสบร้อน ปวดสั่น บริเวณท้ายทอยร้าวไปยังรอบศีรษะ
  • ปวดหัวข้างเดียว ปวดข้างขวาหรือปวดหัวข้างซ้ายข้างใดข้างหนึ่ง
  • ตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว 
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดเมื่อยคอเป็นประจำ

เส้นคอตึงจนปวดหัว เกิดจากสาเหตุใด

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการเส้นคอตึง มึนหัว ปวดหัว มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ โดยแบ่งเป็น  3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

เส้นคอตึงมาก

1. ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)

หนึ่งในสาเหตุของเส้นคอตึงจนปวดหัวคือ การปวดกลุ่มกล้ามเนื้อตึงตัว ทั้งนี้เป็นเพราะพฤติกรรมหรือการทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายที่ใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อหด เกร็งค้าง ตลอดจนส่งผลให้เกิดอาการเส้นคอตึง ปวดหัวนั่นเอง

2. โรคไมเกรน (Migraine)

เส้นคอตึงจนปวดหัวที่เกิดจากสาเหตุโรคไมเกรน จะเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่หลั่งออกมาผิดปกติ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะขยายหรือหดตัวอย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ ปวดหัวข้างขวาข้างเดียว ตลอดจนอาการปวดหัวคลื่นไส้ ตลอดจนเส้นคอตึง ปวดหัวบางรายพบว่ามีอาการไมเกรนขึ้นตา เห็นแสงวูบวาบ เวียนหัว แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ ไวต่อสิ่งเร้าร่วมด้วย  

3. ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

อาการเส้นคอตึงมากที่เกิดจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จะเกี่ยวเนื่องมาจากการปวดหัวกล้ามเนื้อตึงตัว กล่าวคือ เมื่อร่างกายในงานกล้ามเนื้อกลุ่มเดิมซ้ำๆ จะส่งผลให้มีอาการปวดเกร็ง และมีหลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นอาการปวดบริเวณต่างๆ เรื้อรัง ปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัและกลายเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรม


ปัจจัยที่กระตุ้นอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

เนื่องจากอาการเส้นคอจึงจนปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แน่นอนว่าแต่ละสาเหตุหรือในผู้ป่วยแต่ละราย ก็มีปัจจัยกระตุ้นอาการเส้นคอตึง ปวดหัวแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. อายุและช่วงวัย

อย่างที่ทราบกันดีว่า อาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นที่นั่งนาน ๆ วัยทำงานหรือคนทำงานในออฟฟิศ ตลอดจนกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าคนเหล่านี้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือการทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัว ปวดหัว ตลอดจนเส้นคอตึงมากได้ 

2. ความเครียด

ในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อม สถานการณ์รอบตัว ตลอดจนหน้าที่การงาน การเรียนส่งผลให้เราทั้งหลายต่างเกิดความเครียด ซึ่งหากไม่ได้ผ่อนคลายก็จะกลายเป็นความเครียดสะสม มีอาการปวดหัวจากความเครียดได้ง่ายๆ อีกทั้งในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่นั้นพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดความเครียดและสุขภาพร่างกายย่ำแย่ตามไปด้วย 

3. การประกอบอาชีพ

หนึ่งในปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ คือ การประกอบอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ตลอดจนผู้ที่ต้องนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง นอกจากจะส่งผลให้เกิดอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ยังมีโอกาสเป็นเรื้อรังได้อีกด้วย

4. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมการใช้ชีวิต มักเป็นสิ่งที่เราทำเป็นประจำจนเกิดความคุ้นชินและกลายเป็นนิสัย และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็ส่งผลต่ออาการเส้นคอตึง มึนหัว เวียนหัว ลามไปถึงการปวดหัวต่าง ๆ และปวดหัวคลัสเตอร์ได้ 

ยกตัวอย่างเช่น การก้มหน้าเล่นโทรศัพทเป็นระยะเวลานาน การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การออกกำลังหนักหรือผิดท่า ตลอดจนการนอนตกหมอนเป็นประจำ เมื่อตื่นนอนขึ้นมาก็จะรู้ปวดคอ ปวดท้ายทอย ซึ่งเกิดจากการที่การกล้ามเนื้อเกร็งตัวของเราเกร็งตัวนั่นเอง

5. การอักเสบหรือติดเชื้อ

ไม่เพียงแต่ปัจจัยกระตุ้นภายนอกเท่านั้น แต่อาการเจ็บป่วยภายในร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบหรือติดเชื้อ ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญ  

ยกตัวอย่างเช่น โรครูมาตอยด์ คออักเสบ ติดเชื้อไวรัสที่คอ เกาต์ กล้ามเนื้อข้อต่ออักเสบ การติดเชื้อบริเวณต่างๆ ก็ส่งผลต่ออาการเส้นคอตึงจนปวดหัวได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าอวัยวะต่างๆ ในร่างกายนั้นทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ 

6. ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ

ตามปกติแล้ว เมื่อเคยได้รับอุบัติเหตุ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อปัจจุบันได้ เช่นเดียวกับอุบัติเหตุบริเวณคือหรือท้ายทอย แม้ว่าจะรักษาแล้ว แต่หากยังมีอาการปวดหรือมีอาการเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์ทันที


เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

แม้ว่าในบางครั้งอาการเส้นคอตึงจนปวดหัวอาจจะไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาและรักษา

  • ปวดหัวไมเกรนเฉียบพลันจนเกิดอาการเส้นคอตึง ปวดหัว
  • ปวดหัวครั้งแรก แต่มีอาการุนแรงจนไม่สามารถทันได้
  • ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือลักษณะอาการปวดเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็น
  • มีอาการชักหรือหมดสติร่วมด้วย
  • เวียนหัว อ่อนแรง ชาตามนิ้วมือและแขน ไข้ขึ้นสูง
  • เส้นคอตึงมาก จนทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก
  • รูปร่างของคอมีความผิดปกติ มีอาการบวม เบี้ยว หรือผิดรูป
  • ปวดหรือตึงหลังจากออกแรงหรือมีเพศสัมพันธ์

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์จะเริ่มตั้งแต่กการซักประวัติผู้ป่วย สอบถามประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การรักษา การแพ้ยา รวมถึงสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อประกอบการวินิจฉัย โดยบางรายจะทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับการรักษาอาการเส้นคอตึงจนปวดหัวที่เหมาะสม ดังนี้

การตรวจ MRI 

การตรวจ MRI คือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อหาความผิดปกติในร่างกาย เช่น ความผิดปกติบริเวณกล้ามเนื้อคอ ภาวะอักเสบในร่างกาย หรือสาเหตุของอาการเส้นคอตึง ปวดหัว อาการเส้นคอตึงมากจากโรคต่าง ๆ วิธีนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ผลการตรวจที่ละเอียด แม่นยำ  

การตรวจ CT SCAN 

การตรวจ CT SCAN คือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะเฉพาะจุด เช่น หัว คอ ท้ายทอย เพื่อหาต้นเหตุของอาการนั้น  ๆ โดยผลตรวจนั้นจะละเอียดและเห็นชัดเจน

การตรวจเลือด

วิธีนี้จะทำการการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติ การติดเชื้อในเลือด โรคต่าง ๆ ความออกซิเจนในร่างกาย ความสมบูรณ์ของเลือด เนื่องจากหากออกซิเจนไม่สมบูรณ์หรือน้อยจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และนำไปสู่อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวได้


วิธีรักษาอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

อาการเส้นคอตึง ปวดหัว รักษาได้ง่าย  ๆ ด้วยตนเอง แต่หากอาการรุนแรงก็สามารถรักษาเส้นคอตึงจนปวดหัวด้วยวิธีทางการแพทย์ได้เช่นเดียวกัน ดังนี้

วิธีแก้อาการเส้นคอจึงจนปวดหัวด้วยตัวเอง

วิธีแก้อาการเส้นคอจึงจนปวดหัวด้วยตัวเอง

วิธีแก้อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวด้วยตัวเองสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่าน 5 วิธีดังต่อไปนี้

  • การประคบเพื่อบรรเทาอาการ

เพียงแค่ประคบอุ่นด้วยผ้าชุมน้ำอุ่นบิดหมาด ๆ หรือประคบเย็นด้วยผ้าเย็นหรือผ้าชุบน้ำเย็นเพียง 15-20 นาที บริเวณที่มีอาการปวด เส้นคอตึงมาก เพียงเท่านี้กล้ามเนื้อก็จะคลายตัวมากขึ้น

  • การออกกำลังกายและบริหารต้นคอ

อาจจะออกกำลังกายง่าย ๆ เช่น โยคะแก้ปวดหัว เดินเร็ว แอโรบิก ตลอดจนการยืดกล้ามเนื้อบ่าและบริหารต้นคอ วันละ 10-20 นาทีก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อคอได้เป็นอย่างดี

  • การจัดสรีระร่างกาย

ไม่ว่าจะเป็นการจัดท่านั่งให้เหมาะสม สะดวกต่อการทำงานและดีต่อการนั่งทำงานในระยะยาว การจัดท่านอน เพื่อให้หลับสบาย กล้ามเนื้อไม่ตึง และไม่เกิดอาการนอนตกหมอน

  • การจัดการกับความเครียด

วิธีนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการหากิจกรรมที่ชอบ งานอดิเรก การดูหนัง ฟังเพลง ตลอดจนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็จะช่สชวยให้ความเครียดลดลงได้แล้ว

  • การนวดผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ

เนื่องจากการนวดจะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการนวดโดยใช้น้ำมันหอมระเหย จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายจากกลิ่นหอมไปในขณะเดียวกัน

วิธีรักษาอาการเส้นคอจึงจนปวดหัวทางการแพทย์

วิธีรักษาอาการเส้นคอจึงจนปวดหัวทางการแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการเส้นคอตึงจนปวดหัวรุนแรงหรือผิดปกติ ก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์และรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

  • การทานยาแก้ปวด

ทานยากแก้ปวดจำพวกยาไมเกรน ชนิดต่าง ๆ เพื่อลดอาการปวด เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen หรือไอบูโพรเฟน ยากลุ่ม Ergotamine หรือเออร์กอตตามีน ยากลุ่ม Triptan หรือทริปแทน ตลอดจนยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดทั่วไป ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนทานยาเสมอ

  • การฝังเข็ม

อย่างที่ทราบกันดีว่าการฝังเข็มไมเกรนจะช่วยเปิดทวารสมองและทะลวงลมปราณ แน่นอนว่าจะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการกดทับเส้นประสาท ตลอดจนยืดกล้ามเนื้อไปด้วย ดังนั้น ในผู้ป่วยบางราย แพทย์จึงจะใช้วิธีฝังเข็มตามจุดต่าง ๆ หรือจุดที่มีพลัง เพื่อรักษาอาการ

  • การทำกายภาพบำบัด

ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพจะใช้วิธีการกายภาพบำบัด ตั้บแต่การจัดระเบียบท่าให้เหมาะสม การออกกำลังกาย การรักษาด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพียงเท่านี้อาการปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัว

ก็จะบรรเทา อาการเจ็บปวดจะลดลง

  • การฉีดโบท็อก

ไม่เพียงแต่ในวงการความงามเท่านั้นที่นิยมฉีดโบท็อกเพื่อเสริมความงามหรือลดริ้วรอยบนใบหน้า แต่ในวงการแพทย์ก็มีการฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเส้นคอตึงปวดหัว 

นอกจากนี้ยังมีการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมตามจุดต่าง ๆ ที่แพทย์แนะนำ เพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย ทั้งนี้ การฉีดโบท็อกไมเกรนหรือออฟฟิศซินโดรมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลข้างเคียงน้อย แต่ผลลัพธ์คงอยู่ระยะยาว อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่นานอีกด้วย


วิธีป้องกันอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

วิธีป้องกันอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว หรือที่อยากจะป้องกันอาการเหล่านี้ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วย 5 วิธีดังต่อไปนี้

  1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น เนยแข็ง เนื้อสัตว์แปรรูป ไวน์แดง ฯลฯ เนื่องจากโรคไมเกรนก็เป็นหนึ่งสาเหตุของอาการเส้นคอตึง ปวดหัวได้
  2. ปรับพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม โดยอาจจะสังเกตพฤติกรรมของตนเองในเบื้องต้น จากนั้นจึงปรับพฤติกรรมเหล่านี้ให้ถูกต้อง คือ นอนให้ซีรษะและคออยู่ในแนวเดียวกันเสมอ
  3. ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ การนั่งเล่นโทรศัพท์ในระยะเวลาที่พอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน  โดยอาจจะพักจากงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อยืดเส้น เดิน หรือคลายกล้ามเนื้อ 
  4. นอนพักผ่อนให้เพียงพอและนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งตามปปกติแล้วควรนอนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง
  5. บริหารต้นคออย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากวิธีนี้จะทำให้คอมีความแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหรือบาดเจ็บ โดยท่าบริหารต้นคอก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น มองตรง หันไปทางขวา มองตรงอหันไปทางซ้าย ทำซ้ำ ๆ ช้า ๆ เป็นต้น

ข้อสรุป

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวเกิดได้จากกล้ามเนื้อตึงตัว โรคไมเกรน และภาวะออฟฟิศซินโดรม ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเส้นคอตึง ปวดหัว ตลอดจนเมื่อพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้หากต้องกาารักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและปลอดภัยอย่างการฉีดโบท็อกไมเกรนและการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียง @ayaclinic หรือโทร  090–970-0447 เพื่อเข้าตรวจไมเกรน และรักษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางได้ง่าย  ๆ

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Hedy Marks. (2020). Occipital Neuralgia. Retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/occipital-neuralgia-symptoms-causes-treatments 

Zinovy Meyler. (2018). Cervicogenic Headache Symptoms. Retrieve from https://www.spine-health.com/conditions/neck-pain/cervicogenic-headache-symptoms