6 วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเอง รักษาอาการปวดศีรษะแบบไม่ต้องพึ่งยา
เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่สภาพอากาศก็ทำให้ใครหลาย ๆ มีอาการปวดหัวแทบจะทุกวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่อาการปวดหัวที่หลายๆ คนเผชิญนั้นก็แตกต่างกันออกไป
บทความนี้จึงจะพาทุกคนไปอาการปวดหัวว่ามีกี่แบบ วิธีแก้ปวดหัวแบบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง วิธีแก้อาการปวดหัวโดยไม่กินยาทำได้หรือไม่ หรือวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นต้องทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลย
สารบัญบทความ
- ปวดหัวมีกี่แบบ อะไรบ้าง
- วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเอง
- 1. การประคบเย็นแก้ปวดศีรษะ
- 2. นวดกดจุดผ่อนคลายอาการปวด
- 3. ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย
- 4. บรรเทาอาการปวดหัวด้วยยาหอม
- 5. จิบน้ำขิงอุ่นๆ รักษาอาการปวด
- 6. นอนพักผ่อน ฟื้นฟูร่างกาย
- ปวดหัวรุนแรง เรื้อรัง อาจต้องพบแพทย์
- วิธีแก้ปวดหัวทางการแพทย์
- ข้อสรุป
ปวดหัวมีกี่แบบ อะไรบ้าง
วิธีแก้ปวดหัวนั้นควรแก้ให้ตรงจุด ตามอาการและรูปแบบ เช่น หากมีอาการปวดหัวจี๊ด ๆ ก็ควรใช้วิธีแก้อาการปวดหัวจี๊ดๆ โดยเฉพาะ หากมีอาการปวดหัวท้ายทอยหรือปวดบริเวณหัวคิ้ว ก็ควรใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนรักษาตามอาการ แต่หากมีอาการปวดหัวเรื้อรัง วิธีรักษาก็จะแตกต่างออกไป
ดังนั้น เราจึงควรทำความรู้จักอาการปวดหัวแต่ละรูปแบบกันก่อน โดยอาการปวดหัวมีดังนี้
อาการปวดหัวชนิดไม่รุนแรง
คนส่วนใหญ่มักเผชิญกับอาการปวดหัวชนิดไม่รุนแรง เนื่องจากอาการปวดหัวชนิดไม่รุนแรงพบได้ทั่ว ๆ ไป เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยแบ่งได้ดังนี้
- ปวดหัวจากความเครียด
เป็นรูปแบบการปวดหัวที่พบได้มากที่สุด โดยพบในคนทุกเพศทุกช่วงวัย สาเหตุของการปวดหัวจากความเครียดเกิดจากความเครียดสะสม การพักผ่อนน้อย ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหัว บ่า ไหล่ เส้นคอยึดตึงปวดหัว ลักษณะอาการคือ จะปวดตื้อ ๆ เหมือนถูกรัดรอบหัว
ส่วนวิธีแก้อาการปวดหัวจากความเครียดคือ อาจจะทานยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ ทำกิจกรรมผ่อนคลาย หรือจะพักผ่อนให้เพียงพอ ก็เป็นวิธีแก้ปวดหัวที่ดีทีเดียว
- ปวดหัวไมเกรน
หลายๆ คนคงคุ้นชินกับชื่อ “ไมเกรน” เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยเป็นลำดับ 2 และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาหารกระตุ้นไมเกรน สภาพแวดล้อม ความเครียด ยาบางชนิด
ซึ่งลักษณะอาการคือ จะปวดหัวตุบ ๆ บางรายก็มีอาการปวดหัวข้างขวาหรือข้างใดข้างหนึ่งเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไวต่อสิ่งเร้า เวียนหัว คลื่นไส้
สำหรับวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนนั้นก็สามารถทำได้โดยปรับพฤติกรรม ออกกำลังกายหรือใช้วิธีแก้ปวดไมเกรนทางการแพทย์ เช่น ทานยากลุ่ม Ibuprofen เป็นต้น
- ปวดหัวคลัสเตอร์
อาการปวดหัวคลัสเตอร์จะต่างจากปวดหัวไมเกรน เนื่องจากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุเกิดจากระบบหลอดเลือด ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทสมองคู่ที่ 5
โดยลักษณะอาการคือ จะปวดหัวเป็นชุด ๆ ในระยะเวลาเดิม ๆ โดยจะปวดกระบอกตา ซึ่งวิธีแก้อาการปวดหัวปวดตาคือ นอนพักผ่อนหรือทานยาแก้ปวดโดยเฉพาะ
- ปวดหัวชนิดกล้ามเนื้อตึง
จะปวดหัวตรงท้ายทอยร้าวไปจนถึงบริเวณขมับ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาด้วยตนเองโดยใช้วิธีแก้ปวดหัวเบื้องต้น จะมีอาการคือ ปวดหัว ปวดหู และปวดบริเวณกรามหรือขากรรไกรเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่มักพบว่าตื่นนอนแล้วปวดหัว ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น วิธีแก้ปวดหัวของอาการลักษณะนี้คือ ประคบน้ำอุ่น แต่หากไม่หายก็สามารถใช้วิธีทำให้หายปวดหัวอย่างการทานยาได้
อาการปวดหัวรุนแรง
นอกจากอาการปวดหัวแบบไม่รุนแรงแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็นอาการปวดหัวรุนแรง ซึ่งเพิ่มระดับความรุนแรงของอาการ โดยแบ่งได้ดังต่อไปนี้
- ปวดหัวเรื้อรัง กินยาแล้วไม่ดีขึ้น
อาการปวดหัวเรื้อรังจะมีลักษณะคล้ายกับอาการปวดหัวไม่รุนแรง เช่น ปวดหัวคิ้ว ปวดหัวจากอาการเครียด หรือปวดหัวไมเกรน เพียงแต่อาการปวดหัวเรื้อรังจะมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 15 วันต่อเดือน หรือติดต่อกันนาน 3 เดือน ซึ่งวิธีบรรเทาอาการปวดหัวอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรายบุคคล
- ปวดหัวเฉียบพลัน รุนแรง
ลักษณะอาการคือ ปวดหัวรุนแรงเหมือนจะระเบิดและปวดอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยบางรายมีอาการหน้ามืด มีไข้ และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย สาเหตุส่วนใหญ่พบว่าอาการปวดหัวจากความเครียดสูง หรือหัวได้รับแรงกระทบกระเทือน ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอาการปวดหัวนี้ด้วยตนเอง แต่หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
- ปวดหัวจนต้องตื่นกลางดึก
แม้ว่าในช่วงที่ร่างกายได้นอนหลับพักผ่อน แต่ก็ยังต้องสะดุ้งตื่นเพราะอาการปวดหัว แสดงให้เห็นอาการปวดหัวที่เป็นอยู่นั้นเข้าขั้นรุนแรง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยไว้หรือยิ่งนอนใจ แต่ควรเข้าทำการรักษา ตรวจหาสาเหตุเพื่อหาวิธีรักษาอาการปวดหัว เนื่องจากอาการลักษณะนี้อาจเกิดจากเนื้องอกในสมองได้
- ปวดหัวร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นการปวดหัวคลื่นไส้ การหน้ามืด การไวต่อแสง การเวียนหัว มีไข้ เห็นภาพซ้อน ตาพร่าวมัว หรืออาการที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและชีวิตประจำวันก็ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการและหาวิธีคลายอาการปวดหัวอย่างรวดเร็ว
- ปวดหัวข้างเดียวตลอดเวลา
อาการปวดหัวข้างเดียวตลอดเวลา ปวดหัวข้างซ้าย หรือข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ไม่เพียงแต่เกิดจากไมเกรนเท่านั้น แต่ลักษณะอาการดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีพยาธิสภาพอยู่บริเวณที่ปวดหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นั่นเอง
วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเอง
จากข้อมูลในข้างต้นก็ได้ทราบไปแล้วว่าอาการปวดหัวมีกี่รูปแบบ ลักษณะอาการเป็นอย่างไร รุนแรงมากเพียงใด ซึ่งหากอาการนั้นยังไม่รุนแรง ก็สามารถใช้วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ดังต่อไปนี้
1. การประคบเย็นแก้ปวดศีรษะ
วิธีแก้ปวดหัวด้วยตัวเองง่าย ๆ วิธีแรกคือ การประคบเย็น เพียงใช้ผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็งนำมาประคบบริเวณที่รู้สึกปวดหัว ประมาณ 10-15 นาที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เส้นเลือดบริเวณดังกล่าวผ่อนคลาย ลดอาการตึง ลดการอักเสบ ชะลอกระแสประสาทได้เป็นอย่างดี
วิธีแก้อาการปวดหัวดังกล่าวเหมาะสำหรับการปวดหัวที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวจากคล้ามเนื้อบดเคี้ยว เป็นต้น
2. นวดกดจุดผ่อนคลายอาการปวด
หากใครที่กำลังเผชิญกับอาการปวดหัวไม่รุนแรง ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึง คอ บ่าไหล่ เส้นยึด อาการปวดหัวไมเกรน การปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม สามารถใช้วิธีกดจุดแก้ปวดหัวได้
เพียงแค่นวดกดจุดบริเวณที่ปวด ให้กล้ามเนื้อมัดดังกล่าวคลายตัว จากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อคอต่อ อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง เนื่องจากการนวดสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้หากใช้น้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ ในการนวดด้วย จะเป็นวิธีนวดแก้ปวดไมเกรนที่เห็นผลดีเป็นอย่างยิ่ง
3. ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย
สาเหตุหลัก ๆ ของอาการปวดหัวที่หลาย ๆ คนมองข้ามคือ การที่ร่างกายขาดน้ำหรือขาดความชุ่มชื้น ดังนั้นวิธีรักษาอาการปวดหัวที่ง่ายและได้ผลดีไม่แพ้กันคือ การดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น โดยอาจจะเพิ่มน้ำมะนาว น้ำผึ้ง หรือใครจะทานผลไม้ที่มีน้ำสูง เช่น แตงโม ส้ม แตงโม ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวไม่รุนแรงมากนัก
4. บรรเทาอาการปวดหัวด้วยยาหอม
อย่างที่ทราบกันดีว่ายาดมหรือยาหอมมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเวียนหัว คลื่นไส้ ตลอดจนอาการปวดหัวชนิดไม่รุนแรง โดยสามารถใช้ด้วยวิธีการสูดดมกลิ่น เพื่อเพิ่มความสดชื่น ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย หรือวิธีชงดื่มกับน้ำร้อนอุ่น ๆ นอกจากจะเป็นการเพิ่มน้ำให้ร่างกาย กลิ่นหอม ๆ ยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ด้วย นับว่าเป็นวิธีแก้ปวดหัวง่าย ๆ แต่ได้ผลดี
5. จิบน้ำขิงอุ่นๆ รักษาอาการปวด
น้ำขิงสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ถึง 60% เนื่องจากมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ลดอาการปวดหัว และอาการเจ็บปวดตามร่างกาย นอกจากนี้ ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อน ทำให้ขิงมีสรรพคุณในการแก้อาการปวดหัวคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด หรือเวียนหัวได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับใช้เป็นวิธีแก้อาการปวดหัวคลื่นไส้ ตลอดจนเหมาะสำหรับผู้ป่วยไมเกรน ที่สามารถใช้ ขิงเป็นหนึ่งในสมุนไพรรักษาไมเกรนได้
6. นอนพักผ่อน ฟื้นฟูร่างกาย
วิธีแก้ปวดหัวที่ดีที่สุด เห็นผล มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายคงไม่พ้นการนอนพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูร่างกาย เพียงแค่นอนให้เป็นเวลาและนอนให้เพียงพอ ซึ่งเฉลี่ยแล้วร่างกายจะต้องนอนพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน วิธีแก้อาการปวดหัวนี้ล้วนเหมาะกับทั้งผู้ที่ปวดหัวชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง
แต่อย่างไรก็ดี หากใครที่นอนมากเกินไปก็จะส่งผลต่อฮอร์โมนบางตัวในร่างกาย ที่มีกลไกหน้าที่ในการทำให้เลือดไหลไปยังสมองน้อยลง และเกิดอาการปวดหัวในที่สุด ทางที่ดีคือ ควรนอนพักผ่อนให้พอดีและเหมาะสมกับร่างกายจะดีกว่า
ปวดหัวรุนแรง เรื้อรัง อาจต้องพบแพทย์
หากพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวรุนแรง หรือปวดหัวเรื้อรัง ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคร้าย ดังนั้นจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษา ตรวจไมเกรน ตลอดจนหาวิธีแก้ปวดหัวได้อย่างตรงจุด
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจสอบประวัติการรักษา ระดับความรุนแรงของอาการ ตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป ก่อนที่จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การตรวจ MRI
การตรวจ MRI หรือตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ การตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย เช่น ตรวจเนื้องอกในสมอง ตรวจหาภาวะอักเสบในร่างกาย ตลอดจนตรวจหาสาเหตุการปวดหัว เช่น ปวดหัวจากปลายประสาทอักเสบ ปวดหัวจากโรคต่าง ๆ ปวดหัวจากเนื้องอก ทั้งนี้จะทำการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ละเอียด แม่นยำ สามารถหาวิธีแก้อาการปวดหัวได้อย่างตรงจุด
การตรวจ CT SCAN
การตรวจ CT SCAN หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย เน้นตรวจเฉพาะบริเวณ เช่น บริเวณหัว เพื่อเอกซเรย์หาความผิดปกติและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว เป็นต้น โดยผลตรวจจะแสดงออกมาอย่างละเอียด ปลอดภัย และสามารถหาวิธีทำให้หายปวดหัวได้อย่างรวดเร็ว
การเจาะน้ำไขสันหลัง
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ทำได้โดยการแทงเข็มเข้าไปในช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง จากนั้นจะดูดน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจวินิจฉัยโรค เช่น วินิจฉัยอาการปวดหัวจากเนื้องอกในสมอง วินิขฉัยอาการปวดขมับจากโรคไมเกรน เป็นต้น ก่อนจะหาวิธีรักษาอาการปวดหัวที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทั้งนี้จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและอยู่ภายใต้การดูของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีแก้ปวดหัวทางการแพทย์
นอกจากวิธีแก้ปวดหัวด้วยตนเองแล้ว ยังมีวิธีแก้ปวดหัวทางการแพทย์ ด้วยการรักษาที่ตรงจุดและตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือลองรักษาด้วยตนเองแล้วแต่อาการยังคงอยู่ ดังนี้
1. ทานยาแก้ปวดหัว
วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนหรือวิธีแก้ปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ สามารถทำได้โดยการทานยาแก้ปวด โดยอาจจะเป็นยาสามัญประจำบ้านอย่างแอสไพรินหรือยาพาราเซตามอล ตลอดจนยาไมเกรนโดยเฉพาะ เช่น
- ยากลุ่ม Triptan หรือยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ มีั้งยาชนิดเม็ด แผ่นแปะ ยาฉีด และย่าพ่นจมูก
- ยากลุ่ม Ergotamine หรือยารักษาไมเกรนที่จะทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวลดลงตามปกติ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ยากลุ่ม Ibuprofen หรือยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอยด์ใช้ในการรักษาอาการปวดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปวดฟัน ปวดหัวไมเกรน ปวดท้องประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
2. การฝังเข็มรักษาอาการปวดหัว
วิธีคลายอาการปวดหัวต่อมาคือ การฝังเข็มไมเกรนหรือฝังเข็มรักษาอาการปวดหัว โดยการฝังเข็มตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะใช้เข็ขนาดเล็กและบางฝังลงบริเวณจุดที่มีพลัง ทั้งนี้จะพิจารณาจากโรคประจำตัว อายุ และอื่นๆ เพื่อป้องกันอาการหรือโรคแทรกซ้อน
การฝังเข็มจะช่วยปรับสมดุลอวัยวะในร่างกาย เปิดทวารสมองและทะลวงเส้นลมปราณ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างความผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
3. ฉีดโบท็อกแก้ปวดหัวไมเกรน
การฉีดโบท็อกไมเกรน เป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น แต่เห็นผลนานถึง 3-4 เดือน ปลอดภัย ไม่เจ็บ และไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ หรือในบางรายอาจจะมีผลข้างเคียง แต่เป็นผลข้างเคียงที่น้อยว่าวิธีอื่น ๆ
โดยกลไกการทำงานของการฉีดโบท็อกเพื่อแก้ไมเกรนคือ จะฉีดโบท็อก (Botulinum Toxin) ชนิด A ที่ได้รับการตรวจสอบและวิจัย มีคุณสมบัติในการคลายกล้ามเนื้อ ยับยั้งบริเวณปลายประสาทที่จะเป็นตัวส่งสัญญาณความปวด โดยแพทย์จะฉีดบริเวณต่าง ๆ เช่น ขมับ บ่า ไหล่ และฉีดที่บริเวณรอบศีรษะ 31 จุด รับว่าเป็นวิธีแก้ปวดหัวที่คุ้มค่าแก่การรักษา
4. การผ่าตัด
วิธีแก้ปวดหัวด้วยการรักษาทางการแพทย์วิธีสุดท้ายคือ การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดจะเป็นการผ่าและตัดเนื้อเยื่อบางส่วน ที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดหัวหรืออาการไมเกรนออก โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์สำหรับการผ่าตัด
โดยอาจจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความเหมาะสมของอาการ ตลอดจนความพร้อมของร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย รวมถึงปัจจุบันมีวิธีแก้ปวดหัวหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมในการรักษาได้
ข้อสรุป
แม้ว่าอาการปวดหัวจะสร้างความรำคาญใจมากเพียงใด แต่ปัจจุบันก็มีวิธีแก้ปวดหัว ตลอดจนวิธีรักษาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิธีแก้ปวดหัวด้วยตนเองที่ตอบโจทย์ต่อลักษณะอาการ รูปแบบและสามารถบรรเทาอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี
หรือวิธีแก้ปวดหัวทางการแพทย์ที่ปลอดภัยและทันสมัย ซึ่งหากใครสนใจเข้ารับการตรวจไมเกรน รักษาอาการปวดหัว หรือต้องการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความความสามารถ ก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อนัดวันกับทาง BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Mayo Clinic. (n.d.). Headaches: Treatment depends on your diagnosis and symptoms. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-daily-headaches/in-depth/headaches/art-20047375