นอนน้อย ปวดหัวเกิดจากอะไร? มีสาเหตุเกิดได้อย่างไร วิธีรักษาอย่างไร
เนื่องด้วยการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน อาจจะทำให้หลายๆ คนต้องเผชิญกับอาการนอนน้อย ปวดหัว จนบางครั้งก็มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และส่งผลกระทบระยะยาว โดยเฉพาะอาการปวดหัวเพราะนอนน้อย
หากใครที่กำลังเผชิญอาการเหล่านี้ นอนน้อยแล้วปวดหัว วิธีแก้เป็นอย่างไร อาการปวดหัวจะมีลักษณะแบบไหนบ้าง นอนน้อย ปวดหัว กินอะไรดีถึงจะหาย บทความนี้มีคำตอบมาให้
สารบัญบทความ
- นอนน้อย ปวดหัว
- นอนน้อยแค่ไหนคือนอนน้อย
- สาเหตุอาการนอนน้อยแล้วปวดหัว
- นอนน้อยกระตุ้นไมเกรนอย่างไร
- นอนน้อย ปวดหัว..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดหัวนอนน้อย
- วิธีแก้อาการปวดหัวเพราะนอนน้อย
- แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวเพราะนอนน้อย
- ข้อสรุป
นอนน้อย ปวดหัว
การนอนหลับเป็นสิ่งที่ร่างกายควรได้รับอย่างเพียงพอ เนื่องจากขณะนอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโหลิต ฮอร์โมน ตลอดจนการทำงานของสมอง
ทั้งนี้ หากร่างกายนอนน้อย อาการที่จะพบได้บ่อยคือ ปวดหัว ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นำไปสู่ความตึงเครียด กล้ามเนื้อตึงตัว สารเคมี โครงสร้างสมอง ระบบน้ำเหลือง ตลอดจนระบบไหลเวียนทำงานผิดปกตินั่นเอง
นอนแค่ไหนคือนอนน้อย
การนอนน้อยไม่เพียงแต่นอนน้อยชั่วโมง แต่รวมถึงการนอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือการนอนหลับๆ ตื่นๆ จนเป็นสาเหตุนอนน้อย ปวดหัวข้างเดียว ปวดรอบบริเวณศีรษะได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมแบ่งตามช่วงวัย ดังนี้
- ทารก 16-18 ชั่วโมง
- เด็กเล็ก 10-12 ชั่วโมง
- เด็กโต-วัยรุ่น 9 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ 7-9 ชั่วโมง
- สตรีมีครรภ์ควรนอนหลับมากว่าปกติ
ทั้งนี้ สรุปได้ว่าหากใครที่นอนต่ำว่า 6 ชั่วโมง เรียกได้ว่าเป็นการพักผ่อนน้อยและอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่ายๆ
นอนน้อย ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
แน่นอนว่าหากร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากปวดหัวจากการนอนน้อย ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายในด้านอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น
- รู้สึกไม่ตื่นตัว ไม่กระปรี้กระเปร่า
- ผิวเหี่ยว หยาบกร้าน มีรอยย่น รอยตีนกา ตลอดจนรอยขอบตาคล้ำ
- เกิดอาการเครียดสะสม จนทำไปสู่อาการปวดหัวจากความเครียดได้
- ปวดรอบศีรษะรูปแบบต่างๆ เช่น ปวดกระบอกตา หรือบริเวณเบ้าตา ปวดหัวท้ายทอย
- หากอาการนอนน้อยแล้วปวดหัวเกิดขึ้นในเด็กจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการช้า หยุดการเจริญเติบโต
- เกิดอาการหลับกลางอากาศ
- ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ น้อยลง สมองเบลอ ทำงานช้า ระบบความจำทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- หากนอนน้อย ปวดหัว ปวดตา ติดต่อกันนานๆ จะมีโอกาสเสี่ยงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคซึมเศร้าโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ สารและฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติ
สาเหตุอาการนอนน้อยแล้วปวดหัว
อาการนอนน้อย ปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อตึงตัว ส่งผลให้เลือดไม่สามารถมาเลี้ยงสมองและร่างกายได้อย่างเต็มที่ เกิดความล้า นอกจากนี้หากใครที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ใช้สายตาหนักยังเป็นสาเหตุกระตุ้นร่วมกับอาการนอนน้อย ปวดหัวอีกด้วย
ด้วยสาเหตุดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ปวดตุบๆ ไม่สดชื่น และเครียดสะสม นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน ยังจะมีโอกาสเกิดอาการปวดหัวจากการนอนน้อยมากกว่าคนปกติอีกด้วย
นอนน้อยกระตุ้นไมเกรนอย่างไร
จากงานวิจัยหลายๆ แห่งพบว่าการนอนน้อยส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้ เนื่องจากกลไกการทำงานของสมองเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น สมองส่วนไฮโปทาลามัสที่ควบคุมระบบการนอนหลับและการตื่นตัว ตลอดจนควบคุมระบบประสาทของการปวดหรือเจ็บ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือต่อมไพเนียล ซึ่งผลิตเมลาโทนิน ฮอร์โฮนขณะนอนหลับ ซึ่งหากนอนน้อย ระดับเมลาโทนินต่ำลง จะส่งผลต่ออาการปวดหัว
นอกจากนี้ หากจะนอนในตอนกลางวันเพื่อทดแทน แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ดีเท่าตอนกลางคืน เนื่องจากมีแสง สี กลิ่น หรือสิ่งเร้าต่างๆ เข้ามากระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้าย ขวา ปวดข้างเดียวหรือมีอาการเวียนหัวอีกด้วย
อย่างไรก็ดี อาการนอนน้อยปวดหัวจนกระตุ้นให้เกิดไมเกรนนั้น ก็มีการศึกษาพบว่าสามารถรักษาอาการได้ทั้งวิธีในเบื้องต้นหรือวิธีทางการแพทย์ เช่น การทานยารักษาไมเกรน ฉีดโบท็อกไมเกรนบริเวณจุดต่างๆ ที่มีผลข้างเคียงน้อย การฝังเข็มไมเกรนแพทย์แผนจีน เป็นต้น
นอนน้อย ปวดหัว..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
ดังที่กล่าวมาในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าอาการนอนน้อยแล้วปวดหัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ในบางกรณี อาการนอนน้อยแล้วปวดศีรษะก็อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกาย ดังนั้น หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบแพทย์ทันที
- อาการปวดหัวเกิดขึ้นฉับพลัน
- อาการปวดหัวรุนแรงผิดปกติ
- อาการปวดเกิดขึ้นหลังจากบาดเจ็บที่ศีรษะ
- มีอาการคอเคล็ด ชัก เป็นลม สับสน อ่อนแรง หรือชาร่วมด้วย
- เริ่มมีอาการหรืออาการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์
การวินิจฉัยอาการปวดหัวนอนน้อย
หากใครที่รู้สึกว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการนอนน้อย ปวดหัว คลื่นไส้ในเบื้องต้น อาจจะเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งจะวินิจฉัยในเบื้องต้น ซึ่งหากพบว่านอนน้อย ปวดหัวนั้นเข้าข่ายรุนแรงอาจจะวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้
1. ซักประวัติเบื้องต้น
เมื่อมีอาการนอนน้อย ปวดหัว ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง จากนั้นจะอาจจะมีการสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการนอนหลับ รวมถึงสอบถามประวัติการได้รับอุบัติเหตุ
2. การตรวจการนอนหลับ
การตรวจการนอนหลับจะมีการติดอุปกรณ์ตามร่างกาย จากนั้นจะมีการบันทึกวิดีโอเพื่อสังเกตความผิดปกติ โดยคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด ตลอดจนระดับการหายใจจะส่งมายังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกและนำไปวินิจฉัยต่อไป เพื่อหาสาเหตุปวดหัวจากการนอนน้อย
3. การเจาะน้ำไขสันหลัง
การเจาะน้ำไขสันหลังจะแทงเข็มเข้าไปในช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อตรวจหาภาวะความผิดปกติ และอาการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย
4. การตรวจ MRI
การตรวจ MRI จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย เช่น ตรวจสาเหตุการปวดหัว ตรวจหาเนื้องอก ตรวจหาภาวะอักเสบต่าง ๆ โดยการตรวจด้วยวิธีนี้จะได้รับความนิยม เนื่องจากปลอดภัย และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด
5. การตรวจ CT Scan
การตรวจ CT SCAN จะต่างจากการตรวจ MRI เนื่องจากจะฉายรังสีเอกซ์ ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ เช่น หัว หัวใจ แขน ขา เพื่อหาความผิดปกติและสาเหตุ วิธีการตรวจนี้ก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน เนื่องจากผลตรวจจะเป็นภาพ 3 มิติและภาพแนวระนาบ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด ปลอดภัย
วิธีแก้อาการปวดหัวเพราะนอนน้อย
อย่างไรก็ดี วิธีแก้ปวดหัวเพราะนอนน้อยสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรมในเบื้องต้น ดังนี้
1.พักผ่อนให้เพียงพอ
หากใครที่มีอาการนอนน้อย ปวดหัวคลื่นไส้ วิธีแก้ที่ดีที่สุดและเห็นผล คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง หรือ 9 ชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรนอนดึก แต่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ซ่อมแซม สามารถหลังสารและฮอร์โมนต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ
2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวดหัว
การใช้ยาบรรเทาอาการปวดหัวนอนน้อยมีหลายประเภท เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน ตลอดจนการรักษาด้วยยาไมเกรน เช่น ยากลุ่ม ibuprofen รักษาอาการปวด ยากลุ่ม ergotamine ตลอดจนการทานยากลุ่ม triptan ทั้งนี้ ชนิด จำนวน หรือการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
เมื่อมีอาการนอนน้อย ปวดหัวข้างขวาหรือซ้าย หรือมีอาการไมเกรน เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง เช่น การทานอาหารที่ประโยชน์ การเลือกจิบน้ำอุ่น เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ การนอนพักผ่อนให้เป็นเวลา การออกกำลังกาย ในขณะเดียวกันเลี่ยงพฤติกรรมการนอนดึก นอนน้อย นอนไม่เป็นเวลาร่วมด้วยเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4. รักษาที่ต้นเหตุอาการปวดหัว
อาการปวดหัวจากการนอนน้อยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายกรณีที่จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้น ทางที่ดีจึงอาจจะเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาต้นเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวเพราะนอนน้อย
อย่างไรก็ดี การป้องกันการปวดหัวเพราะนอนน้อย ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เช่นกัน ดังนี้
- เลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น โยคะแก้ปวดหัว วิ่ง เดินเร็ว
- เลี่ยงการกินอาหารจนอิ่มเกินไปในช่วงก่อนนอน เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย ในขณะเดียวกันก็ควรเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน
- พักจากการทำงานหนักหรือการใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ
- ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน เช่น ชาหอมอุ่นๆ นมอุ่นๆ หรือน้ำอุ่น จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย
แนะนำการนอนหลับอย่างถูกวิธี
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันอาการนอนน้อย ปวดหัวต้องเริ่มจากการนอนหลับอย่างถูกวิธี ดังนี้
- นอนหลับพักผ่อนให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง
- เลี่ยงการนอนกลางวันนานๆ แต่ควรปรับเวลานอนตอนกลางคืนให้ชิน
- เลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน การดูโทรทัศน์ เล่นเกม หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว
- ปรับสภาพแวดล้อมห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิเหมาะสม ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นหอมอ่อนๆ ให้รู้สึกผ่อนคลาย
- นอนในท่าทางที่เหมาะสม เหมาะกับสรีระร่างกายของตนเอง ก็จะช่วยบรรเทาอาการพักผ่อนน้อยปวดหัว
ข้อสรุป
อาการนอนน้อย ปวดหัวเป็นเรื่องของสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรดูแลและปรับพฤติกรรมของตนเอง ตลอดจนรักษาอาการและหาวิธีป้องกันอยู่เสมอ
อย่างไรก็ดี หากใครที่นอนน้อย ปวดหัวไมเกรน อาจจะตรวจไมเกรน เข้ารับคำปรึกษา ตลอดจนรักษาไมเกรนด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน กับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ได้รับการรับรองได้ง่ายๆ แค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447
เอกสารอ้างอิง
Danielle Pacheco, (2022). Can a Lack of Sleep Cause Headaches?. Retrieve from https://www.sleepfoundation.org/sleep-deprivation/sleep-deprivation-and-migraines