ติดยาแก้ปวด ขาดยาแล้วอาการปวดหนักมากกว่าเดิม

ติดยาแก้ปวดผู้ป่วยไมเกรนกับยาแก้ปวด เรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน เพราะเมื่อไหร่ที่มีอาการปวดหัวก็สามารถรับประทานยารักษาไมเกรนเพื่อระงับอาการปวดได้ในทันที ซึ่งการรับประทานยาแก้ปวดนั้นเป็นวิธีการบรรเทาอาการปวดที่ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด อีกทั้งยังหาซื้อง่ายและมีราคาถูก จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากใช้ยาแก้ปวด เป็นเวลาติดต่อกันนานมากกว่า 15 วัน ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และที่สำคัญยังเสี่ยงต่อภาวะติดยาแก้ปวดได้อีกด้วย

สารบัญบทความ

ยาแก้ปวดคืออะไร

ยาแก้ปวดคือ

ยาแก้ปวด เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวด โดยทั่วไปแล้ว ยาแก้ปวดสามารถแบ่งออกตามกลไกของการออกฤทธิ์ได้เป็น 3 ประเภท คือ 

  1. ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดที่เราคุ้นเคย ออกฤทธิ์ในการลดอาการปวดที่เปลี่ยนแปลงการรับความรู้สึกปวดของร่างกาย
  2. ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นยาแก้ปวดที่จะออกฤทธิ์เมื่อเกิดสารเคมีต่างๆ ในร่างกายที่ส่งผลให้มีอาการปวดหรือบวม โดยยากลุ่ม NSAIDs จะเข้าไปยับยั้งสารเคมีเหล่านั้น
  3. ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid เป็นยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์ในการลดสัญญาณความเจ็บปวด ที่ส่งมาจากระบบประสาทและปฏิกิริยาของสมอง

ยาแก้ปวดแต่ละประเภท จะมีฤทธิ์ในการระงับอาการปวดที่มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ในการใช้งานยาลดปวดจึงต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม

ยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยไมเกรนใช้ มีอะไรบ้าง

ยาบรรเทาอาการปวดหัว

  • Paracetamol เป็นยาแก้ปวดที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยลดไข้ โดยนิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวดทั่วไป เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดฟัน ยาชนิดนี้จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านเพราะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาของแพทย์ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  • Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรน ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้ โดยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ควรรับประทาน 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัม ในเด็ก ควรรับประทาน 4-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทุก 6-8 ชั่วโมง

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง

  • Triptan ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) เป็น ยาแก้ไมเกรน ที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวลง ช่วยบรรเทาอาการปวด โดยตัวยามีทั้งยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด แต่มักจะมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ง่วงซึม หรือเวียนศีรษะ และมีข้อจำกัดคือ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้
  • Ergotamine เป็นยารักษาไมเกรน  ที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ tofago ที่มี ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมกับ caffeine 100 มิลลิกรัม ซึ่งยาตัวนี้แนะนำให้รับประทานเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น โดยรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด แต่ไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน

ภาวะติดยาแก้ปวด

สำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่รับประทานยาแก้ปวดในกลุ่ม Ergotamine ตัวยาจะประกอบไปด้วยส่วนผสมของ tofago ที่มี ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมกับ caffeine 100 มิลลิกรัม ซึ่งยาตัวนี้แนะนำให้รับประทานเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น ห้ามรับประทานติดต่อกันทุกวันอย่างเด็ดขาด โดยรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด แต่ไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน ซึ่งถ้าหากรับประทานยากลุ่ม Ergotamine ติดต่อกันนานเกิน 15 วัน หรือ 3 เดือนขึ้นไป จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เรียกว่า Medication Overuse หรือภาวะติดยาแก้ปวดนั่นเอง

ภาวะติดยาแก้ปวด หรือ Medication Overuse คืออะไร?

ภาวะติดยาแก้ปวด จะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวดในกลุ่ม Ergotamine หรือยารักษาไมเกรนติดต่อกันนานเป็นเวลานานหลายวัน เมื่อเกิดภาวะขาดยา ผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรนก็จะรู้สึกปวดหัวแบบฉับพลันและจะปวดทุกครั้งเมื่อฤทธิ์ของยาหมดลง (ยาแก้ปวดจะออกฤทธิ์เต็มที่ประมาณ 4-8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังทวีอาการปวดเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

โดยปกติแล้ว ผู้ที่ป่วยไมเกรนมักจะปวดหัว 2 ช่วงเวลาหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ ช่วงเย็นของวันซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยได้ไปเผชิญสิ่งต่างๆ ระหว่างวันมา ทำให้เมื่อหมดวันแล้วยาก็จะหมดฤทธิ์และรู้สึกปวดหัว และอีกหนึ่งช่วงเวลาคือ หลังจากตื่นนอน ซึ่งเป็นเวลาที่ยาแก้ปวดหมดฤทธิ์พอดี

อาการติดยาแก้ปวดเป็นอย่างไร

อาการติดยาแก้ปวด

 

กรณีของยาแก้ปวดที่อาจจะทำให้เกิดการเสพติดได้ จะมีฤทธิ์ในการแก้อาการปวดที่รุนแรงคล้ายกับมอร์ฟีนอ่อนๆ ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดยาแก้ปวด จะต้องมีประวัติการใช้ยารักษาไมเกรนมากกว่า 15 วันหรือติดต่อกัน 3 เดือน

สำหรับสัญญาณเบื้องต้นที่ทำให้สงสัยว่าอาจจะเกิดอาการติดยาแก้ปวด ได้แก่

  • มีอาการมือสั่น ปากสั่น มือเท้าเกร็งเมื่อไม่ได้รับประทานยา
  • มีอาการปวดหัวบ่อย ซึ่งจะปวดถี่ๆ ในระหว่างวันบ่อยครั้ง รวมไปถึงยังเกิดอาการปวดหัวได้ง่ายแม้ไม่มีสิ่งกระตุ้น
  • ไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์อ่อนกว่าได้ จะต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์รุนแรงในการระงับอาการปวดได้เท่านั้น
  • รู้สึกกระวนกระวาย สับสน ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้
  • อาการปวดจะหายไปเมื่อได้รับประทานยา แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ อาการปวดก็จะกลับมาอีกครั้งทันที

ยาแก้ปวดใช้แบบไหนถึงปลอดภัย

การใช้ยาแก้ปวดจึงต้องมีวิธีการใช้ให้ปลอดภัยเพื่อลดโอกาสการเกิดอันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ยา ซึ่งมีวิธีการใช้ยาแก้ปวดอย่างถูกต้องดังนี้

  • ใช้ยาเมื่อมีอาการปวดศีรษะเท่านั้น
  • หากมีอาการปวดทั่วไปที่ระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีษะหรือปวดกล้ามเนื้อ ควรเลือกใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มพาราเซตามอลขนาด 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว
  • หากมีอาการปวดระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง เช่น ปวดหัวไมเกรนหรือปวดท้องประจำเดือน ควรเลือกใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs โดยจะต้องรับประทานยาหลังมื้ออาหารเพื่อป้องกันการกัดกระเพาะ และที่สำคัญผู้จ่ายยาจะต้องเป็นแพทย์หรือเภสัชรเท่านั้น
  • ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันนานเกิน 15 วัน เพราะอาจจะเสี่ยงต่อภาวะติดยาแก้ปวดได้
  • ยาแก้ปวดบางชนิดมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลของตัวยาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน

ข้อดีของยาแก้ปวดของผู้ป่วยไมเกรน

  • ช่วยให้อาการปวดศีรษะไมเกรนดีขึ้นได้
  • มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และปลอดภัย

ยาแก้ปวดช่วยระงับอาการปวดได้ทันที เป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่เห็นผลไวมากที่สุด

ข้อจำกัดของยาแก้ปวดของผู้ป่วยไมเกรน

  • ยารักษาไมเกรนในกลุ่ม Ergotamine อาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางรายเช่น ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา Ergotamine, ผู้ที่ป่วยเป็นหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน, ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับไตและตับ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกไตรมาส
  • ยารักษาไมเกรนจะออกฤทธิ์ได้ประมาณ 4-8 ชั่วโมง เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วก็อาจจะกลับมาปวดหัวได้อีก
  • ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันนานเกิน 15 วัน เพราะอาจจะเสี่ยงต่อภาวะติดยาแก้ปวดได้

อันตรายจากการติดยาแก้ปวด

อันตรายจากยาแก้ปวด

ถึงแม้ว่ายาแก้ปวดจะมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งรับประทานเข้าไปแล้วก็สามารถระงับอาการปวดได้ในทันที แต่ถ้าหากผู้ป่วยรับประทานเข้าไปเป็นจำนวนมากหรือรับประทานติดต่อกันนานหลายวันจนเกิดภาวะติดยาแก้ปวด ก็จะส่งผลข้างเคียงและอันตรายต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน เนื่องจากยาแก้ปวดนั้นจะถูกขับออกทางตับหรือไต หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับและไตได้ อีกทั้งยังทำให้อาการปวดหัวทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและปวดหัวบ่อยครั้ง หรืออาจจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถรักษาโรคอื่นๆ ให้หายขาดได้เนื่องจากตับและไตถูกทำลาย

ข้อสรุป

การรับประทานยาแก้ปวดนั้นมีข้อดีหลายอย่าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาอาการปวดหัวหรือโรคไมเกรนได้ แต่ถ้าหากรับประทานติดต่อกันก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้เสี่ยงต่อภาวะติดยาแก้ปวดได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หากมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงหรือปวดหัวเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาบ่อย ๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุ และจะได้แนะนำแนวทางในการรักษาที่ตรงจุด โดยที่ไม่ต้องใช้ยาลดปวดมากจนเกินไป หากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที