ทานยาไมเกรนมานาน ระวังเสี่ยงโรคไตวาย
การรับประทานยาไมเกรน ถือเป็นวิธีการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้ดีและเห็นผลชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไมเกรนเลือกที่จะรับประทานยาทุกครั้งเมื่อมีอาการปวดหัว โดยเฉพาะผู้ป่วยไมเกรนเรื้อรังที่เป็นไมเกรนมานานและใช้วิธีการรักษาโดยการกินยา ก็อาจจะเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ และหนึ่งในนั้นก็คืออาการไตวายเฉียบพลัน ซึ่งถือเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดหัวไมเกรนมากเกินไป ส่งผลให้ไตทำงานหนัก และเกิดอาการไตวายตามมา
สารบัญบทความ
- ยาไมเกรนมีรูปแบบใดบ้าง
- ทำไมกินยาไมเกรนเสี่ยงไตวาย
- ยาไมเกรนกลุ่มใด เสี่ยงไตวาย
- วิธีเลี่ยง ภาวะไตวาย จากยาไมเกรน
- วิธีการรักษาแบบใหม่ เลี่ยงการกินยา ลดภาวะไตวาย
- ข้อดีของการรักษาแบบใหม่
- ข้อสรุป
ยาไมเกรนมีรูปแบบใดบ้าง
ยารักษาอาการไมเกรน ไม่ได้มีเพียงเฉพาะยาแก้ปวดเท่านั้น แต่ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 4 กลุ่มคือ ยาป้องกัน, ยาแก้ปวดเฉียบพลัน, ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง และยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งมีการใช้รับประทานในอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ยาป้องกัน
ยาป้องกัน เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันการเกิดอาการไมเกรน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวไมเกรนขั้นรุนแรง และปวดหัวบ่อยครั้ง ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มยาลดความดัน (Beta-blocker) : จัดอยู่ในกลุ่มยารักษาความดันโลหิตสูง และใช้รักษาภาวะเกี่ยวกับหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ Metoprolol และ Verapamil
- กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant) : เป็นยาใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า และใช้ในการรักษาผู้ป่วยภาวะปลายประสาทอักเสบ อาการปวดประสาท และป้องกันอาการปวดไมเกรนด้วย
- กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) : ใช้ในการรักษาและควบคุมอาการชักในผู้ใหญ่และเด็ก และใช้เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนสำหรับผู้ใหญ่ได้ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ Topiramate และ Valproate
- ยาแก้ปวดเฉียบพลัน
ยาแก้ปวดเฉียบพลัน จะใช้เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน และสามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือส่งผลต่อการทำงานต่อไตและตับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ Paracetamol เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยลดไข้ โดยนิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวดทั่วไป และ Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) สามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางได้ โดยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
- ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง
ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- Triptan ยากลุ่มทริปแทน เป็น ยาแก้ไมเกรน ที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวลง ช่วยบรรเทาอาการปวด แต่มักจะมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ง่วงซึม หรือเวียนศีรษะ
- Ergotamine เป็นยารักษาอาการไมเกรน ที่แพทย์แนะนำให้รับประทานเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น ห้ามรับประทานติดต่อกันทุกวันอย่างเด็ดขาด
- ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- Metoclopramide เป็นยาบำบัดอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางอกอันเกิดจากกรดไหลย้อน
- Domperidone เป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้อง โดยยานี้จะทำงานโดยการไปช่วยเพิ่มการหดตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้เร็วขึ้น
ทำไมกินยาไมเกรนเสี่ยงไตวาย
จากงานวิจัยและผลสำรวจของแพทย์ พบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนเสี่ยงเป็นไตวายเฉียบพลันได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเป็นผลมาจากยาไมเกรนบางกลุ่ม หากรับประทานมากเกินไปก็จะส่งผลให้ตับและไตทำงานหนัก เกิดอาการเสื่อมและภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้เป็นไตวายและยังส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค อีกทั้งยังสามารถพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิงด้วย
ยาไมเกรนกลุ่มใด เสี่ยงไตวาย
สำหรับยาไมเกรนที่ส่งผลต่อตับและไตนั้นมีเฉพาะบางกลุ่ม ซึ่งถ้าหากรับประทานมากเกินไปก็ส่งผลอันตรายต่อไตได้โดยตรง โดยจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น สำหรับกลุ่มยาไมเกรนที่เสี่ยงต่ออาการไตวาย มากที่สุดคือ กลุ่มยาแก้ปวดแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น Paracetamol ยาลดไข้ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น เนื่องจากยากลุ่มนี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง เกิดอาการเสื่อมและภูมิคุ้มกันลดลง และทำให้การทำงานของไตแย่ลง เมื่อรับประทานยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
วิธีเลี่ยง ภาวะไตวาย จากยาไมเกรน
- ลดปริมาณการรับประทานยาแก้ปวดโดยที่ไม่จำเป็น หากมีอาการปวดหัวไมเกรนเล็กน้อย ให้นอนพักหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
- หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง หากต้องการรับประทานยาแก้ปวด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
- หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำวันว่ามีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ หรือมีอาการข้างเคียงจากการรับประทานยาแก้ปวด ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
เลือกวิธีรักษาไมเกรนแบบใหม่ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา เช่น การฉีดโบท็อกซ์ลดไมเกรน เป็นต้น
วิธีการรักษาไมเกรนแบบใหม่ เลี่ยงการกินยา ลดภาวะไตวาย
ปัจจุบัน ได้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมาย ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอาการไมเกรนได้โดยที่ไม่ต้องรับประทานยาแก้ไมเกรน ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง อีกทั้งยังสามารถลดอาการปวดหัวได้จริงจนแทบไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวดอีกเลย สำหรับวิธีรักษาไมเกรนแบบไม่ต้องรับประทานยา มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้
- การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน
การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน ถือเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่ได้รับความนิยมสูงมาก โดยเป็นยาที่สร้างจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำงานโดยการไปขัดขวางการทำงานของสารโปรตีนบางตัวในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรน จึงนับได้ว่าเป็นยาที่รักษาต้นเหตุของการเกิดไมเกรนจริงๆ ให้ผลการรักษาที่ดีมาก ในระดับ 70-90% โดยมักจะฉีดเข้าไปบริเวณพุง เดือนละ 1 ครั้งทุก ๆ เดือน
- การฝังเข็มแก้ไมเกรน
จากงานวิจัย ได้บอกไว้ว่า การฝังเข็ม สามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้จริง แต่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองในแต่ละบุคคล แนะนำว่าให้ฝัง อย่างน้อย 6 session ขั้นต่ำ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้นจึงจะเห็นผลดี
- โบท็อกซ์ไมเกรน
การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ประมาณ 60 – 70% โดยหลังฉีดตัวยาจะไม่ออกฤทธิ์ในทันทีแต่จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 วัน และจะทำการออกฤทธิ์สูงสุดภายในสัปดาห์ที่ 2 ผลลัพธ์ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน หากคนไข้ตอบสนองต่อตัวยาดีอาจอยู่ได้นานกว่านั้น และสามารถกลับมาฉีดอีกครั้งเมื่อโบท็อกหมดฤทธิ์ การรักษาด้วยวิธีนี้นอกจากจะรักษาอาการปวดหัวไมเกรนแล้ว ยังช่วยรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
ข้อดีของการรักษาแบบใหม่
การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนแบบใหม่ ถือเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่ได้รับความนิยมสูง สามารถรักษาอาการไมเกรนได้จริงโดยไม่ส่งผลเสียในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน การฝังเข็ม หรือการฉีดโบท็อกซ์แก้ไมเกรน ต่างก็เป็นวิธีที่ปลอดภัย หากรักษากับแพทย์เฉพาะทาง ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่จะตามมา อีกทั้งยังทำให้อาการปวดหัวเรื้อรังค่อย ๆ ดีขึ้น จนแทบไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวดอีกต่อไป
ข้อสรุป
ยารักษาไมเกรน แม้ว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เร็วและเห็นผลจริง แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน โดยเฉพาะการทำงานของไต ซึ่งจะทำงานหนักขึ้น และทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้น การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ซึ่งหากใครที่กำลังมองหาวิธีรักษาไมเกรนแบบไม่ต้องรับประทานยา ที่ BTX Migraine Center ก็มีวิธีรักษาไมเกรนทั้งแบบการใช้ปากกาฉีดพุงลดการปวดไมเกรน และฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที