ปัจจุบันสามารถพบผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนได้บ่อยมากขึ้น เนื่องด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เข้ามากระตุ้น ซึ่งนอกจากอาการหลักๆ ของไมเกรนแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหลร่วมด้วย
แน่นอนว่าแค่อาการของปวดหัวข้างเดียว ปวดตุบๆ ก็อาจจะทำให้รู้สึกกังวลมากพอแล้ว แต่เมื่อมีเลือดกำเดาไหลก็อาจจะทำให้หลายๆ คนกังวลมากขึ้น บทความนี้ เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าปวดหัวแล้วเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ต้องรักษาวิธีใดถึงจะหาย ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปอ่านกันเลยค่ะ
สารบัญบทความ
- ไมเกรน (Migraine) คืออะไร
- ปวดหัวแล้วเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร
- ไมเกรนเกี่ยวข้องกับอาการเลือดกำเดาไหลอย่างไร
- อาการไมเกรน เลือดกำเดาไหล
- ไมเกรน เลือดกำเดาไหลแบบไหน..ควรพบแพทย์
- ปวดไมเกรนเลือดกำเดาไหล สัญญาณเตือนโรคใดบ้าง
- การวินิจฉัยปวดไมเกรนแล้วเลือดกำเดาไหล
- แนวทางการรักษาอาการเป็นไมเกรนจนกำเดาไหล
- วิธีป้องกันปวดไมเกรนแล้วเลือดกำเดาไหล
- ข้อสรุป
ไมเกรน (Migraine) คืออะไร
ไมเกรนเป็นโรคประเภทหนึ่งที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้แน่ชัด เนื่องจากสามารถเกิดได้ทั้งจากกรรมพันธุ์คนในครอบครัว ก้านสมองทำงานผิดปกติ ตลอดจนปัจจัยกระตุ้นภายนอก เช่น อาหารกระตุ้นไมเกรน ความเครียด การพักผ่อนน้อย
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้หลอดเลือดทำงานผิดปกติจนเกิดอาการปวดหัวข้างซ้าย ปวดข้างขวา ลามไปยังบริเวณรอบๆ ปวดหัวท้ายทอย ปวดบริเวณหน้าผาก หรือที่หลายๆ คนมีอาการปวดกระบอกตา นอกจากนี้บางคนยังมีอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหล ไมเกรนขึ้นตา ซึ่งเป็น 1 ในประเภทของไมเกรนด้วย
ประเภทของไมเกรน
แม้ว่าลักษณะอาการจะมีความซับซ้อน แต่ทางการแพทย์แบ่งไมเกรนเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการออร่า
จะไม่มีลักษณะอาการเตือนอื่นๆ ส่วนใหญ่พบว่าจะมีเพียงอาการปวดหัวข้างขวาข้างเดียว ปวดข้างซ้ายข้างเดียวหรือปวดสองข้างพร้อมๆ กัน
2.กลุ่มไมเกรนออร่า
กลุ่มที่จะมีอาการผิดปกติอื่นๆ เตือนก่อน เช่น เวียนหัว มีการมองเห็นที่ผิดปกติ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพต่างๆ ไม่ชัดเจนเหมือนเดิม เห็นภาพซิกแซกหรือเห็นแสงระยิบระยับ บางครั้งก็มีอาการเตือนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชาที่มือ แขน หรือชารอบปาก สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ เป็นต้น
ปวดหัวแล้วเลือดกำเดาไหลเกิดจากอะไร
เลือดกำเดาไหลสามารถเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ ไมเกรน เนื่องจากอาการเลือดกำเดาไหลมีความเกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติของหลอดเลือด ในขณะเดียวกันอาจเกิดจากการปวดหัวจากความเครียด ที่มีลักษณะถูกกด บีบ และปวดร้าว ซึ่งก็ส่งผลให้เลือดกำเดาไหลได้
นอกจากนี้ปวดหัวไซนัส ปัญหาเกี่ยวกับเนื้องอก ผนังกั้นช่องจมูก หรือไซนัสมีความผิดปกติก็ส่งผลให้เกิดอาการเลือกกำเดาไหลได้เช่นกัน เนื่องจากเลือดจะต้องมาหล่อเลี้ยงเนื้องอกด้านใจมูกจนเกิดเป็นเลือดกำเดาไหล หรือเมื่อผนังกั้นช่องจมูกผิดปกติ เยื่อในจมูกแห้งจะแห้งเร็ว และเกิดสะเก็ดหรือเลือดไหลออกได้ง่ายๆ
ไมเกรนเกี่ยวข้องกับอาการเลือดกำเดาไหลอย่างไร
อย่างที่กล่าวมาในข้างต้น ไมเกรน เลือดกำเดาไหลเกี่ยวข้องกันในแง่ของความผิดปกติของหลอดเลือด นอกจากนี้ในการศึกษาและวิจัยงานก็พบว่าไมเกรนและเลือดกกำเดาไหลก็เป็นหนึ่งในโรคพันธุกรรมด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีพฤติกรรมหรือปัจจัยภายนอกดังต่อไปนี้เข้ามากระตุ้นก็จะทำให้เป็นไมเกรน จนกำเดาไหลได้ด้วยเช่นกัน เช่น สภาพแวดล้อมหรืออากาศแห้ง การใช้ยาบางชนิด ตลอดจนคนท้องปวดหัวก็มีโอกาสที่จะปวดไมเกรน เลือดกำเดาไหล เวียนหัวมากว่าคนอื่นๆ
อาการไมเกรน เลือดกำเดาไหล
ลักษณะอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหลพบว่าจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย โดยแบ่งได้ง่ายๆ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
อาการปวดหัวเลือดกำเดาไหลในเด็ก
เด็กๆ ส่วนใหญ่อาจจะต้องเผชิญกับอาการปวดหัวและเลือดกำเดาไหล เนื่องจากการวิ่งเว่น การได้รับอุบัติเหตุ การพักผ่อนน้อย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการดังนี้
- เลือดกำเดาไหล
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- อ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย
- หนาวสั่นหรือรู้สึกหนาว
- เวียนหัว หน้ามืด
- พฤติกรรมเปลี่ยนไป ทั้งการนอน การกิน และการใช้ชีวิต
- คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
- การมองเห็นลดลง
- ช้ำง่ายหรือมีเลือดออก
อาการปวดหัวเลือดกำเดาไหลในผู้ใหญ่
อาการปวดหัวเลือดกำเดาไหลในผู้ใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงเป็นพิเศษมากนัก โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการดังต่อไปนี้
- เลือดกำเดาไหลบ่อย
- ปวดหัวรุนแรง
- ความดันโลหิตสูง
- เวียนหัวและหน้ามืด
- เลือดจาง
- การมองเห็นลดลง
อาการปวดหัวเลือดกำเดาไหลในสตรีมีครรภ์
เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้น ควรจะหมั่นสังเกตตนเอง และหากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- ปวดหัวรุนแรง
- เลือดกำเดาไหล
- ความดันโลหิตสูง
- หายใจลำบาก
- ปวดหัวคลื่นไส้ อาเจียน
ไมเกรน เลือดกำเดาไหลแบบไหน..ควรพบแพทย์
แน่นอนว่าอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหลนั้นค่อนข้างที่จะต้องดูแลอบ่างใกล้ชิด ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเจ้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที
- เกิดความสับสน
- เป็นลม
- หายใจติดขัด ไม่สะดวก
- ไข้
- อัมพาตด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
- มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น การพูดหรือการเดิน
- คลื่นไส้หรืออาเจียน โดยที่ไม่มีอาการไข้หวัด
- เลือดกำเดาไหลออกมากเกินไป
- มีเลือดกำเดาออกนานกว่า 20 นาที
ปวดไมเกรนเลือดกำเดาไหล สัญญาณเตือนโรคใดบ้าง
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น นอกจากปวดไมเกรน เลือดกำเดาไหลจะเกี่ยวข้องกันแล้ว อาการเลือดกำเดาไหลอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของร่างกาย เนื่องจากอาจเป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับโรคต่างๆ ดังนี้
- ความดันโลหิตสูง
- โรคโลหิตจาง
- ติดเชื้อในจมูก ไซนัส หรือปวดหัวไซนัส
- โรคไข้หวัด
- โรคภูมิแพ้
- มะเร็งสมอง
- ภาวะโรคหัวใจ
- โรคตับ
- โรคไต
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคที่เกี่ยวกับระบบเลือดอื่นๆ
การวินิจฉัยปวดไมเกรนแล้วเลือดกำเดาไหล
การวินิจฉัยไมเกรน เลือดกำเดาไหลจะเริ่มจากการวินิจฉัยในเบื้องต้น เพื่อทราบประวัติส่วนตัว ข้อมูลและพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตลอดจนการรักษาในอดีต แต่หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ จะใช้วิธีการวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้
1. การตรวจเลือด
วิธีแรกสำหรับวินิจฉัยเลือดกำเดาไหล เวียนหัวคือ การเก็บตัวอย่างของเลือดเพื่อนำไปทำการวิเคราะห์ เช่น การตรวจวัดคความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจวัดภาวะโลหิตจาง เป็นต้น เพื่อนำมาวินิจฉัยร่วมกับลักษณะอาการเลือดกำเดาไหล
2. การเอกซเรย์ (X-rays)
วิธีการวินิจฉัยต่อมาคือ การฉายรังสีเอกซ์ไปยังอวัยวะหรือส่วนที่ต้องการวินิจฉัย จากนั้นภาพจะถูกบันทึกลงในแผ่นฟิล์ม จากนั้นแพทย์จึงจะนำมาตรวจดูความผิดปกติและวินิจฉัยถึงสาเหตุเป็นไมเกรน จนกำเดาไหลในลำดับต่อไป
3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ CT Scan จะตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ด้วยการใช้รังสีเอกซ์ จากนั้นจะประมวลผลและแสดงออกในรูปแบบภาพ 3 มิติ ใช้ระยะเพียงเวลา 10-15 นาที ก็สามารถนำไปตรวจวินิจฉัยต่อได้แล้ว
4. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI)
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองหรือ MRI จะทำการตรวจด้วยคลื่นวิทยุกับคลื่นสนามแม่เหล็ก จากนั้นจะแสดงผลภาพออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ทำให้ได้ภาพมีความคมชัด สามารถวินจฉัยได้อย่างแม่นยำและละเอียด
การวินิจฉัยปวดไมเกรนแล้วเลือดกำเดาไหล
อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นไมเกรนจนกำเดาไหลก็สามารถหาแนวทางการรักษา รวมถึงวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นได้ง่ายๆ ดังนี้
การรักษาไมเกรนเบื้องต้น
วิธีการรักษาการเป็นไมเกรนจนกำเดาไหล เบื้องต้นให้เริ่มจากการรักษาไมเกรน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ดังนี้
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนนั้นมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น การใช้คอมพิวเตอร์หรือสายตามากเกินไป ความเครียดสะสม แสงแดดจ้า อาหาร บุหรี่ หรือแอลกอฮอล์ ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ เหล่านี้และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมแทน ก็จะช่วยลดระดับความถี่ในการเกิดอาการได้
- ประคบเย็นบรรเทาอาการไมเกรน
วิธีนี้จะช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลายและทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี เพียงแค่นำผ้าเย็นหรือผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาดมาประคบเย็นบริเวณที่ปวด 10-15 นาที หรือจะประคบบริเวณจมูกก็ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหลได้
- นวดกดจุดรักษาไมเกรน
วิธีนวดแก้ปวดไมเกรนตามจุดต่างๆ ในร่างกายจะช่วยลดอาการตึง อาการเหนื่อยล้า ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เส้นเลือดจะคลายการตึงตัวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หากใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นหอม ในการนวดก็จะช่วยให้ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นด้วย
การรัษาไมเกรนทางการแพทย์
การรักษาทางการแพทย์จะใช้สำหรับการรักษาเมื่อรักษาในเบื้องต้นแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาอาการและแนวทาการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้
- ยาแก้ปวดไมเกรน
ยาแก้ปวดไมเกรนมีหลายประเภท หลายกลุ่ม เช่น ยาไมเกรนกลุ่ม triptan Ibuprofen หรือยาแก้ปวดประจำบ้าน ก็สามารถกินเพื่อระงับอาการปวดได้อย่างเร่งด่วนได้
- ฝังเข็มแก้ไมเกรน
การฝังเข็มไมเกรนจะช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ โดยจะฝังเข็มตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่มีพลังสูง เนื่องจากจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น ปรับสมดุลในร่างกายให้กลับมาปกติ
- ฉีดยาไมเกรน
การฉีดยาไมเกรน (Aimovig) เป็นการรักษาในระยะเวลาอันสั้น ผลข้างเคียงน้อย แต่วิธีนี้จะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้มากถึง 50-75%
- โบท็อกไมเกรน
นอกจากจะมีการใช้โบท็อกในวงการเสริมความงามแล้ว ยังใช้โบท็อกไมเกรน สำหรับรักษาอาการปวดหรืออาการของไมเกรนอีกด้วย เนื่องจากวิธีนี้จะฉีด ฉีดสาร Botulinum toxin ชนิด A ที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และผลลัพธ์อยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน ในขณะที่ผลข้างเคียงน้อย
วิธีป้องกันปวดไมเกรนแล้วเลือดกำเดาไหล
สำหรับใครที่กังวลว่าตนเองจะมีอาการหรือเข้าข่ายปวดไมเกรน เลือดกำเดาไหล ก็สามารถทำตามวิธีป้องกันปวดหัว เลือดกำเดาไหลได้ง่ายๆ ดังนี้
- ใช้น้ำเกลือพ่นจมูกหรือสูดไอน้ำจากการอาบน้ำอุ่น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดียิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการอยู๋ในพื้นที่แห้งหรือมีอากาศแห้ง
- หลีกเลี่ยงการแคะจมูก หรือการทำให้จมูกแห้ว
- ใช้ยาแก้แพ้และยาลดน้ำมูกในปริมาณเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อสรุป
ไมเกรน เลือดกำเดาไหลสามารถเกิดขึ้นร่วมกันได้ เนื่องจากความผิดปกติของระบบเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการเลือดกำเดาไหลก็อาจจะเป็นเสมือนสัญญาณเตือนของร่างกาย ทางที่ดีควรเข้ารับคำปรึกษาและรักษาให้ทันท่วงทีกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับใครที่มีอาการดังกล่าว แล้วกำลังมองหาว่ารักษาไมเกรนที่ไหนดี? เพื่อลดอาการไมเกรน เลือดกำเดาไหลก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ตรวจไมเกรน ขอคำปรึกษา ตลอดจนนัดวันเข้ารักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางได้ฟรี
เอกสารอ้างอิง
Rachel Nall. (2019). What’s Causing Your Headache and Nosebleed?. retrieve from https://www.healthline.com/health/headache-and-nosebleed