3 โรคอันตราย อาการคล้ายออฟฟิศซินโดรม ปล่อยไว้เรื้อรังแน่

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน ที่จะต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ส่งผลให้รู้สึกปวด คอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง และทำให้หลายคนสงสัยว่า อาการเหล่านี้คือ “ออฟฟิศซินโดรม” หรือไม่ และควรทำอย่างไรเพื่อให้อาการเหล่านี้หายไป หรือถ้าหากไม่ใช่อาการออฟฟิศซินโดรม จะเป็นโรคอื่นร้ายแรงหรือไม่  

สารบัญบทความ

อาการปวดคอ บ่า ไหล่เกิดจากอะไร

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสร้างความรำคาญให้กับเราเป็นอย่างมาก ที่สำคัญอาจรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นอาการปวด คอ บ่า ไหล่ เรื้อรังได้ ซึ่งสาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก็มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การก้มหน้าเล่นมือถือ การนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม การยกของหนัก การทำงานหนัก 
  • ความเครียด เพราะความเครียดส่งผลต่อร่างกายโดยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อตึงตัว โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เราปวดแบบไม่รู้ตัว
  • โรคและภาวะทางร่างกาย เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ข้อเสื่อม กระดูกคอเสื่อม พังผืดบริเวณคอ รวมถึงออฟฟิศซินโดรมด้วย

ปวด คอ บ่า ไหล่ นอกจากออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคอะไรได้อีกบ้าง

หลายคนที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือบริเวณท้ายทอยแบบเรื้อรัง อาจจะคิดว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่นอกเหนือจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังมีภาวะอื่น ๆ อีกที่ส่งผลให้รู้สึกปวดคอ บ่า และไหล่ได้ โดยเบื้องต้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 โรค ได้แก่

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) เป็นภาวะที่หมอนรองกระดูกสันหลัง (intervertebral disc) เคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ ปวด ชา และอ่อนแรง ในบริเวณที่ถูกกดทับ มักเกิดขึ้นที่บริเวณคอหรือหลังส่วนล่าง ซึ่งเป็นจุดที่มีการเคลื่อนไหวมาก โดยส่วนมากมักเกิดจากการนั่งหรือนอนผิดท่า การเคลื่อนไหวเร็วเกินไป รวมถึงเกิดจากอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นกัน

หมอนรองกระดูกปลิ้น

หมอนรองกระดูกปลิ้น จะมีลักษณะอาการคล้ายกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้ง 2 ข้อปลิ้นออกมา แต่ยังไม่ทับเส้นประสาท จะทำให้รู้สึกปวด คอ บ่า ไหล่ หรือปวดหลังช่วงล่าง รวมถึงยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกชาแขน ขา ปวดร้าวลงแขน ปวดบริเวณก้น หรือสะโพก ยกของหรือก้มแล้วรู้สึกปวด รวมถึงยังทำให้ระบบขับถ่ายมีปัญหาด้วย

กระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ ภาวะความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะโค้งงอผิดรูปไปทางด้านข้าง โดยปกติแล้ว กระดูกสันหลังของคนเราจะมีลักษณะตรงและยาวไปตามแนวแกนกลางลำตัว บริเวณหลังส่วนบนจะโค้งเว้าเข้าหาตัวเล็กน้อย บริเวณหลังส่วนล่างจะโค้งเว้าออกจากตัวเล็กน้อย เช่นเดียวกับคอ แต่ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังจะมีลักษณะโค้งงอไปทางด้านข้างอย่างชัดเจน ซึ่งอาจบิดหมุนเป็นเกลียวไปด้วย ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล ไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกเอียง และหน้าอกผิดรูป อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และมักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานจึงทำให้เรียกว่าออฟฟิศซินโดรม อาการนี้จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลัง และข้อมือ รวมไปถึงจอประสาทตาด้วยเช่นกัน

อาการแบบไหนเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม ถือเป็นอีกหนึ่งภาวะที่ส่งผลต่อร่างกายของเราในระยะยาว อีกทั้งยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน หากใครที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานและกังวลว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือโรคอื่น ๆ ตามมา จะต้องทราบถึงอาการเบื้องต้นเสียก่อน ซึ่งอาการที่เรียกได้ว่าเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม ได้แก่

  • ปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานในท่าที่ไม่ถูกต้อง 
  • ปวดหลังส่วนล่าง เกิดจากการนั่งทำงานบนเก้าอี้ที่ไม่รองรับสรีระของร่างกาย 
  • ปวดข้อมือ นิ้วมือ เกิดจากการใช้งานคีย์บอร์ดและเมาส์เป็นเวลานาน 
  • ปวดตา ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน 
  • ปวดศีรษะ เกิดจากความเครียด การนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง และการพักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • ชาตามมือ ตามเท้า เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณแขน ข้อมือ และขา 
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงาน เกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียด 

และนอกจากอาการทางร่างกายแล้ว ออฟฟิศซินโดรมยังส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วย เช่น รู้สึกเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า

อาการแบบไหนเข้าค่ายโรคที่เกี่ยวกับหมอนกระดูกคอ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ จะมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการกดทับ โดยทั่วไป อาจสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวด เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีลักษณะปวดร้าวจากบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง เอว หรือสะโพกลงไปตามแนวเส้นประสาท อาจมีอาการชา อ่อนแรงร่วมด้วย
  • อาการชา เกิดจากการกดทับที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณความรู้สึกไปยังบริเวณที่ได้รับการเลี้ยงดูจากเส้นประสาทนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่
  • อาการอ่อนแรง เกิดจากการกดทับเส้นประสาท ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณนั้นบกพร่อง ส่งผลให้มีอาการอ่อนแรง
  • อาการกล้ามเนื้อกระตุกบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการกดทับเส้นประสาท
  • อาการปวดร้าว ซึ่งจะร้าวไปตามแนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ เช่น ร้าวลงแขน หรือขา

นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดหัว อาการวิงเวียนศีรษะ หรืออาการคลื่นไส้ อาเจียน

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

แนวทางรักษาออฟฟิศซินโดรม

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรมในปัจจุบันนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การรักษาด้วยตัวเอง และการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงการรักษาผ่านแพทย์ทางเลือก ได้แก่

การปรับพฤติกรรมและการรักษาด้วยตัวเอง

  • ปรับท่านั่งทำงาน นั่งหลังตรง เท้าราบกับพื้น ศอกวางบนโต๊ะ ระดับสายตาตรงกับจอคอมพิวเตอร์
  • พักสายตาเป็นประจำทุก ๆ  30  นาทีหลังจากทำงาน ควรพักสายตามองไปไกล ๆ ประมาณ  10  วินาที
  • ยืดเหยียดร่างกายสม่ำเสมอ โดยลุกขึ้นยืนยืดเหยียดร่างกายทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน หรือ ออกกำลังกายแบบเบา ๆ อย่างน้อย 15 – 30 นาทีต่อวัน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ลดความตึงเครียดและคลายความกล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้น
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส และขจัดความเครียดของตัวเองอย่างเหมาะสม

การรักษาทางการแพทย์

  • การฝังเข็ม เป็นการรักษาแบบแพทย์แผนจีน โดยการนำเข็มแทงไปที่จุดต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อที่จะรับปรับสมดุลให้ร่างกายและฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • การทำกายภาพบำบัด ช่วยให้ร่างกายสามารถปรับโครงสร้างได้อย่างสมบูรณ์ เพิ่มความยืดหยุ่น สร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ
  • การฉีดโบท็อกซ์รักษาออฟฟิศซินโดรม เป็นอีกวิธีที่สามารถใช้ได้เช่นกัน ตัวยาจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วันจึงจะออกฤทธิ์ ผลลัพธ์อยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน หากคนไข้ตอบสนองต่อตัวยาดีอาจอยู่ได้นานกว่านั้น และสามารถกลับมาฉีดอีกครั้งเมื่อโบท็อกซ์หมดฤทธิ์ ช่วยรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรักษาด้วยโปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อรักษาออฟฟิศซินโดรม ที่เป็นการฉีดตัวยาเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อของผู้รักษา เพื่อที่จะรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจุดต่าง ๆ ลดความตึงของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดตึง อาการอักเสบ สามารถเห็นผลได้จริงและทันทีหลังจากเข้ารับการฉีด อีกทั้งยังเป็นทางเลือกด้านการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย

แนวทางการรักษาโรคที่เกี่ยวกับหมอนกระดูกคอ

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และปัจจัยอื่นๆ โดยปกติแล้วสามารถแบ่งวิธีการรักษาได้ 2 วิธีคือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการผ่าตัด ดังนี้

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม รวมถึงส่งเสริมการฟื้นฟูร่างกายให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกมากขึ้น ซึ่งวิธีการรักษา ได้แก่ 

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนท่านอน ท่านั่ง และการยกของ  
  • การประคบร้อน/เย็น เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหมอนรองกระดูก
  • การใช้ยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การทำกายภาพบำบัด ยืดกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความแข็งแรง
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบรุนแรง

การรักษาแบบผ่าตัด

การผ่าตัดจำเป็นในกรณีที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ผ่าตัด มีอาการทางระบบประสาท เช่น อ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมและโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกคอ

ป้องกันหมอนกระดูกคอเสื่อม

จะเห็นได้เลยว่า ไม่ว่าจะอาการออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ กระดูกคอเสื่อม ต่างก็เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมาก  ดังนั้นจึงต้องมีวิธีป้องกันอย่างเหมาะสม โดยมีวิธีป้องกันง่าย ๆ 6 ข้อ ที่ช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และยังมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน

นั่งหลังตรง พิงพนักพิง ไหล่ผ่อนคลาย ระยะห่างระหว่างจอกับใบหน้า ควรอยู่ที่ประมาณ 20-24 นิ้ว วางเท้าทั้งสองข้างราบกับพื้น และควรลุกขึ้นเดินหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก ๆ 30-60 นาที 

  • ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน

เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย รองรับสรีระได้ดี ปรับความสูงของโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับความสูงของตัว ปรับแสงสว่างให้สบายตา ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป และหมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แบบไม่หักโหมจนเกินไป การออกกำลังกาย จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมและโรคหมอนรองกระดูกคอได้

  • ยืดเหยียดร่างกาย

ควรยืดเหยียดร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณหลัง ไหล่ ต้นคอ การยืดเหยียด จะช่วยลดอาการปวดเมื่อย และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อได้ 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน นอนบนที่นอนที่ไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไป หมอนควรมีความสูงที่พอเหมาะ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดี

  • บริหารกล้ามเนื้อต้นคอ

โดยการหมุนคอช้า ๆ ไปทางซ้ายและทางขวา ประมาณ 10-15 ครั้ง  ก้มเงยคอช้าๆ ประมาณ 10-15 ครั้ง  หรือบริหารกล้ามเนื้อต้นคอโดยการใช้มือประคองศีรษะไว้  ค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นช้า ๆ ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ข้อสรุป

อาการปวด คอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกคอเสื่อม หรือกระดูกสันหลังคด หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดการเรื้อรังและรักษาได้ยาก ซึ่งส่งผลเสียในอนาคตอย่างแน่นอน 

หากท่านสนใจรับการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่  BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนและออฟฟิศซินโดรม โดยการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน หรือโบท็อกซ์ ให้การรักษาโดยแพทย์ระบบประสาทและสมองเฉพาะทาง อีกทั้งยังมีบริการส่งตัวเพื่อทำการ MRI โดยตรง มีการอ่านผลสแกนกระดูกบริเวณต้นคอโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถรักษาอาการปวดได้อย่างตรงจุด

สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์