ปวดคอ

นอกจากอาการปวดหัวไมเกรนที่พบได้บ่อย ๆ แล้ว อาการปวดคอหรือเมื่อยคอก็พบได้บ่อย ๆ เช่นกัน ซึ่งลักษณะของอาการเหล่านี้เกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ แต่ละสาเหตุในแต่ละบุคคลก็มีอาการต่างกันออกไป เช่น เส้นคอตึง เป็นต้น

บทความนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักว่าสาเหตุปวดต้นคอเกิดจากอะไร แต่ละสาเหตุต้องรักษาอย่างไรให้เหมาะสมหรือถูกวิธี ตลอดจนปวดคอออฟฟิศซินโดรมรักษาได้อย่างไร อ่านต่อได้ในบทความนี้


ปวดคอ..อาการยอดฮิตออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดคอเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในกลุ่มคนทำงานหรือวัยผู้ใหญ่ ทั้งในสายงานอาชีพที่ต้องนั่งทำงานเป็นประจำอย่างชาวออฟฟิศ เนื่องจากต้องนั่งท่าเดิม ๆ จ้องจอคอมพิวเตอร์ หรือต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ ไปตลอดจนปวดร้าวต้นคอ

ทั้งนี้ อาการปวดกล้ามเนื้อคออาจจะเริ่มจากปวดไม่นาน ไปตลอดจนปวดเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นปัญหาออฟฟิศซินโดรมยอดฮิตที่กวนใจใครหลาย ๆ คน จนนำไปสู่โรคอื่น ๆ ในระยะยาวได้


สาเหตุของอาการปวดคอ

คอเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย  โดยมีกระดูกทั้งหมด 7 ชิ้น เชื่อมระหว่างศีรษะกับลำตัว ซึ่งเมื่อใดที่รู้สึกปวดกระดูกต้นคอ ปวดรอบ ๆ  คอ หรือมีอาการปวดคอไม่หาย อาจจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุก่อนจะรักษา ดังนี้

ปวดร้าวต้นคอ

1. อิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะ

หากพูดถึงอาการปวดคอ สาเหตุหลัก ๆ ที่คนส่วนใหญ่มีอาการมักจะเกิดจากอิริยาบถหรือท่านั่งที่ผิดปกติและไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อมทำงาน การนอนหมอนสูง การนั่งทำงานในระยะเวลาที่นานกว่าปกติ ตลอดจนการนั่งก้มหน้าก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอทำงานมากกว่าปกติ นำไปสู่อาการกล้ามเนื้อคอตึงและออฟฟิศซินโดรม

2. มีประวัติการบาดเจ็บบริเวณกระดูกคอ

ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุรถชน อุบัติเหตุตกจากที่สูง หรือการฉีกขาดบริเวณคอก็ล้วนส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงตามมาอย่างอาการปวดเส้นเอ็นคอหรือปวดคอเรื้อรังได้

3. ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อม

ภาวะกระดูกต้นคอเสื่อมมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าการใช้งานกล้ามเนื้อคอเป็นระยะเวลานาน อายุเพิ่มขึ้น ตลอดสมรรถภาพร่างกายที่ลดลง ส่งผลให้บางครั้งเกิดอาการกล้ามเนื้อคออักเสบได้ง่าย ๆ

4. การอักเสบของกล้ามเนื้อ

อาการปวดคอกรณีนี้จะมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อรอบข้อต่อเกิดการอักเสบ โดยอาการที่นำมาสู่การอักเสบ ได้แก่ ผู้ป่วยที่โรคเกี่ยวกับข้อ รูมาตอยด์ เกาต์ ตลอดจนติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง

5. ภาวะเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

นอกจากภาวะเครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวและอาการไมเกรนได้แล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของการส่งให้เกิดปวดคอร้าวขึ้นหัวได้ ทั้งนี้ เป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อบริเวณคอเกิดอาการเกร็งและตึงนั่นเอง


อาการปวดคอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

นอกจากสาเหตุปวดต้นคอพบได้หลาย ๆ  ประเภทแล้ว อาการปวดคอยังมีลักษณะต่างกัน โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

ปวดต้นคอ

1. กลุ่มอาการปวดคอเพียงอย่างเดียว

กลุ่มอาการปวดคอเพียงอย่างเดียวนับว่าเป็นอันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม และเป็นเรื่องที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกังวลเป็นลำดับต้น ๆ  เนื่องจากลักษณะอาการเพียงแค่ ปวดตึงต้นคอไปถึงปวดไหล่และสะบัก ทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนมองข้ามและละเลย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเส้นคอเรื้อรังและรุนแรงกว่าเดิม

2. กลุ่มอาการปวดคอจากการกดทับเส้นประสาท

ลักษณะอาการปวดคอของกลุ่มนี้จะต่างจากกลุ่มแรก โดยจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวแขนไปจนถึงมือ ชา แขนขา หรือไหล่อ่อนแรง ทั้งนี้ ควรวินิจฉัยอย่างละเอียด เนื่องจากหากพบว่าอาการปวดคอ ขยับไม่ได้เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทจะได้รักษาอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี อาการกลุ่มนี้มีโอกาสรักษาหายมากกว่ากลุ่มปวดคอจากการกดทับไขสันหลัง

3. กลุ่มอาการปวดคอจากการกดทับไขสันหลัง

กลุ่มนี้จะมีความน่ากังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากอาการจะไม่ชัดเจนหรือไม่ออกอาการมากนัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับอาการปวดก้านคออยู่ จนกระทั่งอาการรุนแรงมากแล้ว และมีอาการปวดแขน ขา ชา อ่อนแรง เจ็บกล้ามเนื้อบางส่วนร่วมด้วยนั่นเอง


อาการปวดคอแบบไหนที่ควรพบแพทย์

สาเหตุปวดต้นคอ

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดคอแต่ละกลุ่มนั้นมีลักษณะต่างกันออกไป ดังนั้นอาจจะต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และหากพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้ให้เข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและหาทางรักษา

  • อาการปวดคล้ายไฟฟ้าช็อตบริเวณคอ หลัง อก เอว สะบัก หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ
  • ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวไปที่แขนหรือนิ้วมือ เกิดอาการอ่อนแรง
  • มีอาการปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัวแบบเป็น ๆ หาย ๆ เป็นระยะเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ปวดแผ่นหลังและขา
  • อาการกล้ามเนื้อคออักเสบเรื้อรังจนถึงขั้นทำงานไม่ได้ ไม่สามารถนั่งหรือนอน หรือขยับท่าทางได้ตามปกติ
  • ปวดคอขยับไม่ได้ เกิดอาการชา เกร็ง
  • มีคอผิดรูป เช่น คอเอียง คอบวม มีกล้ามเนื้ออื่น ๆ  บริเวณลำคอ
  • ประสบอุบัติเหตุและมีอาการปวดคอ
  • มีไข้ เบื่ออาหาร ตลอดจนมีอาการเจ็บอกร่วมด้วย

การวินิจฉัยอาการปวดคอ

ตามปกติแล้วแพทย์จะวินิจฉัยอาการปวดคอในเบื้องต้น เช่น สอบถามประวัติการเข้ารักษา ประวัติอุบัติเหตุ ข้อมูลส่วนตัว หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากพบว่าอาการเข้าข่ายน่ากังวล อาจจะต้องวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้

1. การตรวจเลือด

การตรวจเลือดนับว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ สารพิษ สิ่งแปลกปลอม ตลอดจนโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก เช่น กลุ่มอาการปวดคอไม่หายจากการกดทับไขสันหลัง

2. การเอกซเรย​์

การเอกซเรย์คือ การวินิจฉัยโรคและความผิดปกติในร่างกาย ความผิดปกติของกระดูก หลอดเลือด ปอด ตลอดจนมะเร็ง โดยจะใช้รังสี X เอกซเรย์ ส่งผลให้ภาพและผลลัพธ์ที่ออกมานั้นเป็นสีที่ชัดเจน

3. การทำ CT Scan

การทำ CT Scan ถือว่าเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ  ในร่างกาย ตลอดจนการหาสาเหตุของอาการปวดหัวท้ายทอย ตลอดจนอาการปวดคอ ปวดกระดูกต้นคอ ซึ่งภาพที่ได้มาจะอยู่ในรูปแบบภาพ 3 มิติ

4. การทำ MRI

วิธีนี้จะใช้คลื่นความถี่วิทยุ ประมวลผล จากนั้นจะได้ภาพที่เห็นถึงความผิดปกติในร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะใช้วินิจฉัยอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดคอ ตลอดจนอาการผิดปกติอื่น ๆ

5. การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า

วิธีนี้จะใช้สำหรับวินิจฉัยและตรวจหาความผิดปกติจากโรคที่เกิดจากระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ เช่น โรคเกี่ยวกับไขสันหลัง โรคระหว่างข้อต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ โรคของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ตลอดจนโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ เป็นต้น

6. การเจาะน้ำไขสันหลัง

การเจาะน้ำไขสันหลังจะใช้เข็มคล้าย ๆ  เข็มเจาะเลือด เจาะผ่านเส้นไขสันหลัง เพื่อนำน้ำไขสันหลังมาตรวจและวินิจฉัยหาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ โรคกลุ่มมะเร็ง ความผิดปกติของเส้นประสาท เป็นต้น


วิธีรักษาบรรเทาอาการปวดคอ

สำหรับวิธีการรักษาอาการปวดคอสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการและสาเหตุ โดยแบ่งได้ดังนี้

ปวดเส้นเอ็นคอขึ้นหัว

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วิธีรักษาบรรเทาอาการปวดคอง่าย ๆ และสามารถทำได้ด้วยตนเองคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน นอนที่ควรจัดท่าทางให้เหมาะสม ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการแบกหรือสะพายของหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ปวดคอได้ วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาปวดคอจากอิริยาบถที่ผิดแปลก

2. การประคบร้อน-เย็น

การประคบร้อนหรือเย็นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 10-15 นาที บริเวณคอหรือจุดที่มีอาการปวด จะช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวจะคลายตัว ระบบไหลเวียนทำงานได้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอตึงตึว

3. การรักษาด้วยการใช้ยา

เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน แพทย์จะจ่ายยายาไมเกรนหรือยารักษาโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับอาการปวดคอ ที่แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่พบในแต่ละบุคคล

4. การทำกายภาพบำบัด

หากพบว่าตนเองมีอาการเมื่อยคอ ปวดไหล่ ไปจนถึงกล้ามเนื้อคอตึง อาจจะปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยทำกายภาพบำบัดลดการกดทับเส้นประสาท ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อได้ วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการรักษาจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม

5. การฉีดยารักษาอาการปวด

การฉีดยารักษาอาการปวดคอ ในเบื้องต้นทำได้ 2 วิธี ดังนี้

  • การฉีดสเตียรอยด์

วิธีฉีดยาสเตียรอยด์จะเน้นฉีดเข้าตรงตำแหน่งใกล้รากประสาทหรือตรงกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และทำให้กล้ามเนื้อคอคลายตัวขึ้น

  • การฉีดโบท็อก

นอกจากการฉีดโบท็อกไมเกรนเพื่อรักษาแล้วอาการปวดหัวคลื่นไส้แล้ว ยังสามารถใช้ฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนใช้รักษาอาการปวดตึงต้นคอ และปวดอื่น ๆ  ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะเหมาะสำหรับการรักษาจากการอักเสบ ของกล้ามเนื้อ การรักษาอย่างเร่งด่วน เป็นต้น

6. การผ่าตัด

หากพบว่ามีอาการปวดคอเรื้อรัง เป็นกรณีจำเป็น หรืออาการจนกระทั่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แพทยผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยและผ่าตัด เพื่อรักษาและบรรเทาอาการเกี่ยวกับเส้นประสาทและไขสันหลังถูกกดทับ หรือการปวดเรื้อรังจากการบาดเจ็บ


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากอาการปวดคอ

อาการแทรกซ้อนจากการปวดคอจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ดังนี้

  • ภาวะกระดูกคอเสื่อมและอักเสบ

โดยในเริ่มแรกอาจจะแสดงอาการน้อย ไปจนถึงมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งหากปล่อยให้อาการปวดคอรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  ก็อาจจะเกิดภาวะนี้ได้

  • เนื้องอกในบริเวณกระดูกสันหลัง

เกิดจากการที่ไขสันหลังและเส้นประสาทกดทับเป็นระยะเวลานาน เริ่มแรกอาจจะรู้สึกปวดเมื่อยคอ แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ  อาจจะเกิดโรคนี้ลุกลามและแทรกซ้อนได้


แนวทางการป้องกันอาการปวดคอ

ปวดเส้นเอ็นคอ

หากพบว่าตนเองเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงอาการปวดคอร้าวขึ้นหัวหรือมีอาการเรื้อรัง ทางที่ดีควรปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกัน ดังนี้

  • จัดท่านั่ง นอน หรือการทำงานให้ดีอยู่เสมอ

โดยอาจจะเริ่มจากการปรับระดับความสูงของจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม เลี่ยงการก้มหน้าพิมพ์งาน เน้นการนอนในหมอนที่พอดี คออยู่ในระดับเดียวกับศีรษะ ก็จะสามารถลดอาการปวดคอ ตกหมอน และป้องกันอาการปวดก้านคอได้

  • หยุดพักเบรก เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ

ในกรณีนี้เหมาะสำหรับพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมประจำ โดยอาจจะลุกเดิน ขยับตัว หรือลุกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เนื่องจากในบุหรี่มีสารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย หากสูบบุหรี่มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการปวดกล้ามเนื้อคอเพิ่มขึ้นได้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

นอกจากการออกกำลังกายจะดีต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ ลดอาการตึง ได้เป็นอย่างดี

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

หากพบว่าตนเองมีอาการปวดคอไม่หาย หนึ่งในวิธีป้องกันง่าย ๆ  คือ การนอนหลับให้เพียงพอ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหากเรานอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้กล้ามเนื้อรอบศีรษะและบริเวณคอเกร็ง นำไปสู่อาการปวดคอได้


ข้อสรุป

อาการปวดคอเป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม แต่กลับควรเข้ารักษาหรือพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุ ก่อนจะรักษาตามสาหตุนั้น ๆ  อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ทั้งนี้ หากใครที่กำลังมองสถานที่รักษาด้วยการการฉีดโบท็อกลดอาการปวดกล้ามเนื้อคอ หรือต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษาปัญหา เข้าตรวจไมเกรน ตรวจอาการปวดคอ กับทาง BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางชื่อดังของไทยได้ง่าย ๆ


เอกสารอ้างอิง

Mayo Clinic. (2022). Neck pain. Retrieve from  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/neck-pain/diagnosis-treatment/drc-20375587