ปวดคอ บ่า ไหล่

สำหรับชาวออฟฟิศแล้ว อาการยอดฮิตหรือออฟฟิศซินโดรมที่มักจะกวนใจและเป็นปัญหาหลาย ๆ ครั้งคือ  อาการปวดหัวไมเกรนและอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ตลอดจนอาการปวดไหล่ซ้าย สะบัก บ่า

เนื่องด้วยอาการที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงหรือเรื้อรัง หลาย ๆ คนจึงอาจจะสงสัยว่าอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากอะไร วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ทำได้ด้วยวิธีไหน ตลอดจนอาการเส้นคอตึงปวดหัวเกี่ยวข้องหรือไม่ วันนี้เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้ว


ปวดคอ บ่า ไหล่

ปวดบ่า ต้นคอ

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ จะพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานท่าเดิมเป็นประจำ ทั้งนี้อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การเกร็งตัว การใช้กล้ามเนื้อส่วนดังกล่าวหนักเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดบ่า ต้นคอ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปวดท้ายทอย ปวดต้นคอ บ่า ไหล่ไปตามลำดับ ดังนี้

ปวดคอ

คอหรือลำคอ เป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักของศีรษะไว้ ซึ่งอาการปวดคอจะมีลักษณะคือ คอเคล็ด ไม่สามารถขยับหรือหมุนได้ตามปกติ ปวดเมื่อยบริเวณคอเสมอ ๆ

ปวดบ่า

อาการปวดบ่ามักจะมีอาการต่อเนื่องมาจากการปวดคอ กล่าวคือ เมื่อปวดคอมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน อาการเหล่านี้จะส่งผลต่อเนื่องมายังบ่า ซึ่งหากมีอาการรุนแรงมาก ๆ จะส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว ชาตามแขน ขา

ปวดไหล่

ไหล่เป็นข้อต่อประเภทลูกกลมและเบ้า ซึ่งลักษณะของอาการปวดไหล่ จะเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดปกติ การใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำ ๆ การได้รับบาดเจ็บ ซึ่งก็จะนำไปสู่อาการปวดตึงคอ บ่า ไหล่ โดยเฉพาะบริเวณไหล่


กลุ่มอาการปวดคอ บ่า ไหล่

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ นั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มอาการปวดคอ บ่า ไหล่แบบทั่วไป

อาการปวดคอ บ่า ไหล่อาจจะเริ่มด้วยอาการไม่รุนแรงมากนัก และอาจจะหายโดยเร็ว ซึ่งอาการก็มักจะไม่อันตราย ส่วนใหญ่อาจจะมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือภาวะออฟฟิศซินโดรม

2. กลุ่มอาการกดทับของเส้นประสาท

ในอาการกดทับของเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดร้าวจากแขนลงไปถึงมือทั้ง 2 ข้าง บางคนมีอาการชา หรือมีอวัยวะบางส่วนอ่อนแรง เช่น ไหล่ยกไม่ขึ้น ขยับนิ้วไม่ได้ ข้อมือกระดกไม่ได้ เป็นต้น

3. กลุ่มอาการกดทับของไขสันหลัง

กลุ่มอาการนี้มักจะมีอาการไม่ชัดเจน หรือเรียกได้ว่ากว่าจะรู้ตัวก็มีอาการหนักแล้ว ทั้งนี้ เริ่มแรกผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง มีอาการชา ปวดแขนและขาร่วม บางคนมีอาการรุนแรงถึงสูญเสียการทรงตัวหรือควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้ ดังนั้น จึงควรรักษาให้ทันท่วงทีและถูกวิธี


สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่

ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว

เนื่องจากอาการปวดต้นคอ และไหล่ รวมถึงบ่าแบ่งออกออกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ โดยที่ลักษณะอาการก็ต่างกันออกไป ทั้งนี้อาการปวดคอ บ่า ไหล่เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่นั่งท่าเดิมนาน ๆ จนไม่ได้พัก การยกของหนัก การออกกำลังกายหนักหรือผิดท่า ตลอดจนท่าทองของการนอนหลับที่มักจะผิดจากปกติ กล่าวคือ ศีรษะและคอไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้

2. อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ

เนื่องจากคอเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ดังนั้น หากมีอุบัติเหตุอาจจะส่งผลต่อบริเวณคอโดยตรง การบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เอ็นบริเวณคอ โดยส่วนใหญ่อุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บจะส่งผลเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ปวดหัว ไม่สามารถหันคอได้ตามปกติ

3. สรีระของร่างกาย

ปกติแล้วการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย แต่หากพบว่าการทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ผิดปกติ อาจจะส่งผลให้สรีระในร่างกายเกิดอาการอักเสบ ปวด เจ็บ หรือชาได้ ตลอดจนอาจจะเกี่ยวข้องกับกระดูกคอที่ผิดปกติหรือสายตาที่ผิดปกติ ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการอาการปวดต้นคอและไหล่

4. สาเหตุจากโรคอื่นๆ

สาเหตุอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว เกิดจากโรคต่าง ๆ หลายรูปแบบ ดังนี้

  • โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม เกิดได้จากการนั่งที่ไม่ถูกอิริยาบถ การใช้คอหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุฉับพลัน
  • โรคหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท เกิดได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั่ว ๆ ไป ความผิดปกติของร่างกาย รวมถึงอุบัติเหตุฉับพลัน อาจจะส่งผลให้มีอาการชาร่วมกับปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว
  • โรคหัวใจวายเฉียบพลัน นอกจากจะมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บแขนกะทันหัน ซึ่งนอกจากอาการเหล่านี้ยังมีอาการเจ็บ ชา ปวดที่คอและท้ายทอยด้วย
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมั่นคง มักมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เนื่องจากหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ
  • โรคนิ้วหรือถุงน้ำดีโต นอกจากอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดหัวแล้ว ยังอาจจะมีอาการปวดหัวไหลและปวดหลังร่วมด้วย
  • โรคมะเร็งศีรษะลำคอ เกิดขึ้นจากเยื่อบุผิวทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้น โดยส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บปวดบริเวณปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง

ปวดคอ บ่า ไหล่ แบบไหนควรพบแพทย์

อาการปวดคอ บ่า ไหล่อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใครหลาย ๆ คนพบได้บ่อย ๆ ซึ่งถ้าหากอาการไม่รุนแรงก็อาจจะบรรเทาด้วยวิธีง่าย ๆ แต่หากพบว่ามีดังต่อไปนี้ ควรรีบแพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัวทันที

  • เคลื่อนไหวคอลำบาก เจ็บ และปวดเสมอๆ เกิดอาการเส้นคอตึงปวดหัว
  • อาการเจ็บรุนแรงและกินระยะเวลาในการปวดมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อเอ็นฉีกขาด

การวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่

วิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

ตามปกติแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มวินิจฉัยจากการซักประวัติ รายละเอียดการแพ้ยา พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือประวัติการรักษาปวดคอ บ่า ไหล่ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายรุนแรงหรือต้องวินิจฉัยอย่างละเอียด อาจจะต้องใช้วิธีดังนี้

1. การตรวจเลือด

การตรวจเลือดคือ การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อไปวิเคราะห์ผล ซึ่งหากมีอาการผิดปกติหรือมีโรคต่าง ๆ ก็จะแสดงผลให้เห็นอย่างชัดเจน วิธีนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ และปลอดภัยต่อตัวผู้ตรวจเอง

2. การเอกซเรย​์

การเอกซเรย์จะใช้รังสี X หรือลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งผลลัพธ์ของการเอกซเรยจะเห็นเป็นรูปขาวดำที่มีความชิดเจน ทำให้มองเห็นถึงความผิดปกติในร่างกาย และความผิดปกติของกระดูกบริเวณต่าง ๆ เช่น การปวดไหล่ซ้าย สะบัก บ่า

3. การทำ CT Scan

การทำ CT Scan นับเป็นหนึ่งในวิธีวินิจฉัยที่ได้รับความนิยม จะใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบภาพ 3 มิติ เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง  ๆ  ในร่างกาย เช่น อาการ เพื่อตลอดจนการหาสาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เนื้องอก อวัยวะที่เสียหาย ตลอดจนอวัยวะที่ติดเชื้อ

4. การทำ MRI

การทำ MRI คือการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการวินิจฉัยและประมวลผล จากนั้นจะได้ภาพที่เห็นถึงความผิดปกติในร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะใช้วินิจฉัยอาการเกี่ยวกับกระดูก เนื้องอก หรือโรคข้อเข่า ข้อไหล่ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อเอ็น ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง เป็นต้น

5. การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า

เริ่มแรกจะวัดการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อในร่างกาย โดยวัดจากสัญญาณไฟฟ้าบริเวณคอหรือบริเวณนั้น  ๆ ซึ่งหากพบตำแหน่งที่ชัดเจนก็จะสามารถนำไปสู่วิธีรักษาและแก้ไขอย่างชัดเจน

6. การเจาะน้ำไขสันหลัง

การวินิจฉัยวิธีนี้ แพทย์จะแทงเข็มสำหรับตรวจไขสันหลังเข้าไปในช่องว่างบริเวณใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง ก่อนที่จะดูดน้ำหล่อเลี้ยงออกมาตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติในร่างกาย และหาวิธีรักษาในลำดับต่อไป


การบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เบื้องต้น

ในเบื้องต้น หากพยว่าตนเองมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แต่ไม่รุนแรงมากนัก ก็สามารถใช้วิธีบรรเทาอาการง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

อาการปวดต้นคอและไหล่

1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

วิธีง่าย ๆ เริ่มได้ที่ตนเองคือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น การจัดท่านอน โดยนอนให้ระดับศีรษะและลำตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน การเดินอย่างถูกวิธี การนั่งอย่าเหมาะสม ไม่นั่งหลังค่อม ก็จะช่วยลดอาการปวดต้นคอและไหล่ได้

2. การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

วิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่ง่าย ๆ ในลำดับต่อมาคือ การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น การปรับระดับโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับส่วนสูงและระดับสายตา การเลือกนั่งโต๊ะทำงานที่เหมาะกับสรีระ การจัดท่านั่งและร่างกายให้ถูกวิธี วิธีนี้นอกจากจะบรรเทาอาการกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อักเสบได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวดเฉพาะจุด หรือปวดหัวเรื้อรังได้ด้วย

3. การประคบร้อน – เย็น

วิธีประคบร้อนหรือประคบเย็น นอกจากจะแก้อาการปวดหัวคิ้วได้แล้ว ยังเป็นวิธีที่จะช่วยคลายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เพียงแค่นำผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาด หรือนำผ้าเย็นมาประคบบริเวณที่ปวด 10-15 นาที กล้ามเนื้อก็จะคลายตัวและอาการดีขึ้นตามลำดับ

4. การบริหารร่างกาย

การบริหารร่างกายช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพแข็งแรงในระยะยาว ตลอดจนเพิ่มความแข็งแรง ยืดหยุ่น ให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ เพียงแค่วิ่งเบา ๆ โยคะแก้ปวดคอ บ่า ไหล่ เดินเร็ว หรือว่ายน้ำ ก็ช่วยลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ลดอาการปวดไหล่ และลดอาการปวดหัวคลัสเตอร์ได้


วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

ทั้งนี้ หากพบว่าตนเอง คนใกล้ตัว หรือคนรู้จักมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่มากขึ้นหรือรุนแรงกว่าปกติ ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้

วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

1. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ ขึ้นอยู่กับร่างกายหรือลักษณะอาการจองแต่ละบุคคล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น

  • การทำเลเซอร์กำลังสูงลดอาการปวดต้นคอและไหล่
  • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวดของเส้นประสาท
  • การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ สำหรับเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายเพิ่มขึ้น
  • ตลอดจนการดึง ดัด ตามวิธีของนักกายภาพบำบัดก็สามารถช่วยได้

2. การใช้ยาบรรเทาอาการปวด

หากมีอาการปวดหัว อาจจะใช้ยาไมเกรนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อรักษาอาการ เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดหัวทั่ว ๆ ไป ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการปวดหัวของแต่ละบุคคล ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

3. การฝังเข็มรักษาอาการปวด

นอกจากจะใช้ฝังเข็มไมเกรน เพื่อรักษาอาการอาการปวดหัวข้างเดียว หรือทั้งสองข้างแล้ว ยังสามารถฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้อีกด้วย โดยอาจจะใช้ทั้งการฝังเข็มแบบตะวันตกหรือแบบแพทย์แผนจีน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล

4. การฉีดยาแก้อาการปวด

การฉีดยาจะใช้บรรเทาอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดแบบไม่ทราบสาเหตุ ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ หรือผู้สูงอายุ โดยการฉีดยา 1 ครั้ง สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการได้นาน 3 เดือน – 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์

5. การฉีดโบท็อกไมเกรน

การฉีดโบท็อกเป็นหนึ่งในวัตกรรมเสริมความงาม ปรับรูปหน้า โดยปัจจุบันได้มีการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม สำหรับแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ เพียงแค่ใช้โบท็อกชนิดเอ ฉีดบริเวณบ่า, ต้นคอ, หน้าผาก, คิ้ว โดยจะมีการฉีดที่บริเวณรอบศีรษะ 31 จุด ก็จะสามารถรักษาอาการได้โดยผลลัพธ์ยังคงอยู่ระยะยาว 4-6 เดือน


แนวทางการป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง

หากใครที่กำลังมองหาวิธีหรือแนวป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายหรือส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจจะลองทำตามแนวทาง เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อักเสบง่าย ๆ ดังนี้

  • การยืดกล้ามเนี้อหรือออกกำลังกาบ่อย ๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน
  • ปรับระดับหมอนหรือที่นอนให้เหมาะสมต่อสรีระร่างกาย โดยไม่นอนหมอนที่สูงกรือต่ำเกินไป
  • จัดโต๊ะ​ทำงานให้เหมาะกับสรีระร่างกายของคนทำงาน เช่น ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้พอดี ปรับระดับความสูงหรือพนักพิงเก้าอี้ให้เหมาะสม
  • ไม่นอนเกร็งคอหรือใช้งานบริเวณคอ ไหล่ และบ่าหนักเกินไป เช่น การนอนหรือนั่งท่าเดิมซ้ำ ๆ การยกของหนัก การสะบัดคอแรง ๆ การออกกำลังกายอย่างหักโหม
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและจัดการกับความเครียด ซึ่ง 2 เนื่องจากการนอนน้อยหรือเครียด สามารถนำไปสู่สาเหตุไมเกรนได้แล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง และนำไปสู่อาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้ง่ายๆ

ข้อสรุป

อาการปวดคอ บ่า ไหล่พบได้ในหลาย ๆ คน โดยเฉพาะคนที่ใช้ร่างกายบริเวณนี้หนัก ชาวออฟฟิศ ตลอดจนผู้มีโรคอื่น ๆ ซึ่งหากทางที่ดีควรปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกัน ใช้วิธีแก้ปวดหัว ปวดคอตามข้อมูลในข้างต้น ตลอดจนรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้อาการดีขึ้น

ทั้งนี้ หากใครที่มีอาการปวดหัวร่วมด้วย หรือมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว อาจจะเข้ามาปรึกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับทาง BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางชั้นนำ เพื่อตรวจไมเกรนหรืออาการปวด ฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม ได้ง่ายๆ เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เท่านั้น


เอกสารอ้างอิง

Marjorie Hecht. (2019). What Causes Concurrent Neck and Shoulder Pain, and How Do I Treat It?. Retrieve from https://www.healthline.com/health/what-causes-concurrent-neck-and-shoulder-pain-and-how-do-i-treat-it#overview