ปวดหัวข้างเดียว สัญญาณเตือนโรคไมเกรน อาการปวดหัวเรื้อรังที่ควรรักษา
หลาย ๆ คน คงอาจจะเผชิญกับอาการปวดหัวบ่อยครั้ง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ความเครียด การทำงานหนัก แต่ก็มีหลาย ๆ คนที่ต้องเผชิญกับอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างไม่ทราบสาเหตุ
เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง รู้เท่าทันอาการที่เป็นอยู่ และเพื่อให้รับมือกับโรคปวดศีษะข้างเดียวที่กำลังเผชิญ เราได้นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับปวดหัวซีกเดียวมาฝาก ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปอ่านกันเลย
สารบัญบทความ
- ปวดหัวข้างเดียว
- ปวดหัวข้างเดียวเกิดจากสาเหตุใด
- อาการปวดหัวข้างเดียว
- ประเภทของการปวดหัวข้างเดียว
- ปวดหัวข้างเดียว ข้างซ้ายข้างขวา ต่างกันอย่างไร
- ปวดหัวข้างเดียวอันตรายไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างเดียว
- แนวทางการรักษาอาการปวดหัวข้างเดียว
- วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว
- ข้อสรุป
ปวดหัวข้างเดียว
อาการปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่พบได้บ่อยในวัยทำงาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวเป็นเวลาสั้น ๆ หลายชั่วโมง หรือหลายวัน
อย่างไรก็ดี การที่ปวดศีรษะข้างเดียวหรือการที่ปวดหัวข้างเดียวจี๊ดๆ นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดหัวจากความเครียด เป็นต้น ซึ่งการจะทราบสาเหตุเหล่านี้ที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้อาจจะต้องปรึกษา ตรวจไมเกรน ตลอดจนตรวจอย่างละเอียดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ปวดหัวข้างเดียวเกิดจากสาเหตุใด
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น สาเหตุของการปวดหัวข้างเดียวนั้นมีหลายประการ ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัยและแต่ละบุคคลนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วกลไกทางร่างกายที่ทำให้เกิดปวดหัวข้างเดียวเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกหัวหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง ตลอดจนปวดจากเส้นประสาทบริเวณหนังศีรษะ
ซึ่งเมื่อเกิดอาการดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้เกิดอาการไมเกรน ปวดศีรษะ หรือปวดศีรษะข้างเดียวตามมา นอกจากนี้ยังอาจจะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้า ปวดหัวคิ้ว ปาก คอ บ่า ไหล่ ปวดกระบอกตา เป็นต้น
อาการปวดหัวข้างเดียว
แม้จะทราบกันดีว่าอาการปวดหัวข้างเดียว เป็นหนึ่งในอาการของปวดหัวไมเกรน แต่หากพิจารณาและวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าลักษณะอาการของปวดหัวข้างเดียวบ่อยๆ ยังมีอีกหลายรูปแบบ ดังนี้
ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ
อาการปวดหัวข้างเดียวตุ๊บ ๆ เป็นอาการที่พบบ่อย โดยส่วนใหญ่จะปวดตุ๊บ ๆ คล้ายกับการเต้นของหัวใจ ในบางครั้งจะมีอาการปวดหัวหนักเพิ่มขึ้นที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่งด้วย ลักษณะการปวดนี้มีสาเหตุมาจากการปวดหัวไมเกรน
ปวดหัวข้างเดียวบริเวณหลังหู
ปวดหัวข้างขวาหลังหูอาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยวอักเสบ ตลอดจนการที่ปลายเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งมีปัจจัยหลาย ๆ ประการ เช่น เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน อุบัติเหตุรถยนต์ ความผิดปกติเกี่ยวกับโรคในสมอง เป็นต้น
ปวดหัวข้างเดียวบริเวณกระบอกตา
ลักษณะอาการคือ ปวดหัวข้างเดียว ปวดตา เกิดจากปวดหัวคลัสเตอร์รุนแรง โดยบางคนจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว และปวดบริเวณกระบอกตา นอกจากนี้บางคนยังมีอาการปวดบริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย
ปวดหัวคิ้วข้างเดียว
ลักษณะอาการปวดหัวคิ้วข้างเดียวจะคล้ายคลึงกับการปวดหัวจากอาการไข้หวัดธรรมดาทั่วไปและคล้ายคลึงกับอาการปวดหัวไมเกรน นั่นคือ ปวดหัวตรงหน้าผากระหว่างคิ้ว ปวดคิ้วข้างเดียว บางคนอาจจะปวดบริเวณโหนกแก้มร่วมด้วย
ปวดหัวข้างเดียวบริเวณท้ายทอย
อาการปวดข้างเดียวบริเวณท้ายทอยไปจนถึงขมับ บางคนอาจจะมีอาการปวดบริเวณสะบักไหล่ทั้ง 2 ข้างด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเหล่านี้เกิดจากกล้ามเนื้อยึดตึง
ปวดหัวข้างเดียว ปวดข้างซ้ายสลับขวา
หนึ่งในอาการปวดหัวไมเกรน คือ อาการปวดหัวข้างเดียว ปวดข้างว้ายสลับขวา บางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว ตาพร่ามัว และไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ด้วย
ประเภทของการปวดหัวข้างเดียว
แน่นอนว่าอาการปวดหัวข้างเดียวในลักษณะต่าง ๆ ที่กบ่าวมาในข้างต้น ย่อมเกิดจากประเภทของการปวดศีรษะข้างเดียวที่แตกต่างกัน โดยแบ่งแต่ละประเภทได้ดังนี้
1. ปวดหัวข้างเดียวจากโรคไมเกรน
อาการปวดประเภทดังกล่าวเกิดจากโรคไมเกรน ซึ่งเป็นการปวดหัวเรื้อรัง ลักษณะอาการที่พบได้ส่วนใหญ่คือ ปวดหัวซีกเดียว ปวดสลับซ้ายขวา ปวดตุบ ๆ มักพบในวัยทำงานและพบในเพศหญิงมากกว่าชาย
โดยสาเหตุของอาการนี้เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ระบบไหลเวียนโลหิต ตลอดพันธุธรรม โดยอาจจะมีปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งเร้า
2. ปวดหัวข้างเดียวจากความเครียด
ปวดหัวข้างเดียวจากความเครียด พบได้ในทุกวัย แต่จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยจะมีลักษณะอาการคือ ปวดหัวเล็กน้อย ปานกลาง จนถึงอาการปวดหัวข้างเดียวรุนแรง โดยอาจจะรู้สึกปวดหัวข้างเดียวจี๊ด ๆ ตื้อ ๆ บีบ ๆ บริเวณรอบหัว บางคนอาจจะมีอาการปวดกระบอกตาร่วมด้วย
แต่ข้อสังเกตของอาการปวดหัวจากความเครียดประเภทนี้คือ จะไม่มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว ตาพร่ามัว ไวต่อสิ่งเร้าแบบประเภทปวดหัวข้างเดียวจากไมเกรนร่วม
3. ปวดหัวข้างเดียวแบบคลัสเตอร์
ลักษณะอาการของการปวดหัวข้างเดียวแบบคลัสเตอร์คือ บางคนมีอาการปวดหัวข้างเดียวมาก ๆ ปวดขมับ หรือปวดกระบอกตา ซึ่งการปวดแต่ละครั้งจะใช้เวลาตั้งแต่ 15 ถึง 3 ชั่วโมง
โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มิมอลและการทำงานของต่อมไอโพทาลามัส อาการดังกล่าวจะพบได้ในบุคคลทั่วไป แต่ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
4. ปวดหัวข้างเดียวจากโรคอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบ เนื้องอกในสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคสมองและระบบประสาท ตลอดเนื้องอกในสมอง เป็นหนึ่งสาเหตุของอาการปวดศีรษะข้างเดียว ทั้งนี้ลักษณะอาการจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้นอาจจะต้องคอยสังเกตอาการและสัญญาณเตือนอยู่เสมอ
5. ปวดหัวข้างเดียวจากปัจจัยแวดล้อม
ปัจจัยแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอก เช่น การเลือกทานอาหาร การทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มสังสรรค์ การสืบบุหรี่ หรืออื่น ๆ ที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวทุกวันได้ โดยลักษณะอาการอาจจะไม่รุนแรงเท่าอาการปวดหัวข้างเดียวจากโรคภัย
ปวดหัวข้างซ้าย ข้างขวา ต่างกันอย่างไร
แม้ว่าหลาย ๆ คนจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว แต่บางคนนั้นกลับมีอาการปวดหัวข้างเดียวข้างซ้าย
บางคนกลับอาจมีอาการปวดหัวข้างเดียวข้างขวา จนทำให้เกิดความสงสัยว่าจริง ๆ แล้วอาการปวดหัวทั้งสองข้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
จริง ๆ แล้วอาการปวดหัวข้างเดียวสลับกันหรือปวดหัวข้างเดียวแต่ละซีกนั้น ในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ไม่มีข้อมูลหรือวิจัยที่บ่งบอกถึงสาเหตุหรือความแตกต่างอย่างแน่ชัด ทั้งนี้อาจจะเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้
- การใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป
พฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การทำงานในบางครั้งก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวเป็น ๆ หาย ๆ เช่น การกินอาหารกระตุ้นไมเกรน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนขึ้นตา เป็นต้น
- โรคต่าง ๆ
โรคเจ็บป่วยทั่วไป ตลอดจนโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคหวัด โรคไซนัส โรคสมองและระบบประสาท หรือเนื้องอกในสมองก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียวได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้จะมีอาการและสัญญาณบ่งบอกต่างกันออกไป
ปวดหัวข้างเดียวอันตรายไหม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อย่างไรก็ดี หากพบว่าตนเอง คนในครอบครัว หรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดหัวข้างเดียวมากๆ ตามลักษณะดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
อาการปวดหัวข้างเดียวที่ควรพบแพทย์
- ปวดแบบเฉียบพลันและรุนแรง เช่น นอนไม่หลับปวดหัวข้างเดียวเป็นเหตุ
- ปวดขมับข้างเดียวจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ไม่สามารถทำงาน ทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปวดเนื่องจากหัวได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บ โดนกระแทก
- มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ชัก ความจำเสื่อม ปวดหัวข้างเดียวมือชา สูญเสียการมองเห็น ปวดตาอย่างรุนแรง ปวดหัวข้างเดียวปวดต้นคอ เป็นต้น
- ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50 ปี และเกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- เป็นไข้ คอแข็ง แน่นหน้าอก ไอ ปวดตาข้างเดียวปวดหัวอย่างรุนแรง ตลอดจนเจ็บบริเวณขมับ
อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะข้างเดียวอื่น ๆ ที่พบยังสามารถบ่งบอกสัญญาณอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นหากพบว่าตนเองเสี่ยงหรือเข้าข่ายอาจจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างเดียว
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวข้างซ้ายรุนแรง ตลอดจนมีอาการปวดหัวข้างขวา หรือมีอาการผิดแปลก ควรนัดพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาไมเกรน ตลอดจนวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ
โดยเริ่มจาก ตรวจสอบประวัติการรักษา สอบถามรายละเอียดอาการ ตรวจร่างกายทั่วไป ในบางกรณีจะตรวจอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยสาเหตุแท้จริงด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ CT SCAN จะสามารถสร้างภาพ 3 มิติที่มีความละเอียดและความคมชัดสูง ทำให้มองเห็นชัดเจน สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ โดยส่วนใหญ่จะเน้นสำหรับตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย การปวดหัวไมเกรน ตลอดจนอาการปวดหัวข้างเดียว
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI คือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจหาความผิกปกติของร่างกาย เช่น อาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวข้างเดียวตุ๊บๆ ตลอดอาการปวดหัวท้ายทอย เนื่องจากวิธีนี้จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด
การเจาะน้ำไขสันหลัง
หนึ่งในวิธีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดศีรษะข้างเดียว อาการปวดหัวที่ไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดหัวคลัสเตอร์ ภาวะการอักเสบ ติดเชื้อ และอื่น ๆ เนื่องจากวิธีนี้มีความแม่นยำสูง มีคุณภาพ และปลอดภัย
แนวทางการรักษาอาการปวดหัวข้างเดียว
หากใครที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาปวดหัวข้างเดียวจนทำให้เกิดความรำคาญใจและกังวลใจ ก็สามารถรักษาและบรรเทาได้โดยวิธีเบื้องต้นและวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
วิธีบรรเทาปวดหัวข้างเดียวเบื้องต้น
สำหรับผู้ที่รู้สึกถึงอาการปวดหัวข้างเดียวหรือกำลังเผชิญกับโรคปวดหัวข้างเดียวแต่อาจจะไม่รุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานและชีวิตประจำวันมากนัก ก็อาจจะลองใช้วิธีบรรเทาปวดหัวข้างเดียวเบื้องต้นง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
- ยาแก้ปวดหัวข้างเดียว
เบื้องต้นอาจจะสามารถทานยาแก้ปวดหัวทั่ว ๆ ไปได้ หรือจะหากใครที่ปวดศรีษะข้างเดียว เนื่องจากสาเหตุคือ ไมเกรน ก็สามารถใช้ยารักษาไมเกรนกลุ่มต่าง ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ยาไมเกรนจำพวกกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือ ibuprofen, ยาแก้ปวดกลุ่มสำหรับรักษาอาการปวด ergotamine หรือยาแก้ปวดกลุ่มช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะข้างเดียวอย่าง triptan เป็นต้น
- ประคบร้อน
เนื่องจากความอบอุ่นของความร้อนจะช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นหากเกิดอาการปวดหัวข้างเดียวติดต่อกันหลายวัน
อาจจะใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ถุงร้อน หรือลูกประคบประคบบริเวณขมับหรือบริเวณที่ปวด อาการเจ็บปวดหัวข้างเดียวก็จะบรรเทาลงได้
- นวดบรรเทาอาการปวด
วิธีแก้ปวดที่ได้ผลอีกหนึ่งวิธีคือ วิธีนวดแก้ปวดไมเกรนหรือวิธีนวดแก้ปวดหัวข้างเดียว โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงนวดตามจุดต่าง ๆ เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก ท้ายทอย ขมับ เป็นต้น ทั้งนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลายยิ่งขึ้น
วิธีรักษาปวดหัวข้างเดียวทางการแพทย์
หากใครที่ได้ลองนำวิธีบรรเทาปวดหัวข้างเดียวเบื้องต้นไปใช้แล้ว แต่พบว่าอาการนั้นยังคงอยู่หรือในบางรายอาการอาจจะหนักขึ้น ก็ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษา ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ตลอดจนทำการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- การฝังเข็ม
ศาสตร์แห่งการฝังเข็มได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานหลายพันปี กระทั่งปัจจุบันที่มีการฝังเข็มไมเกรน ใช้รักษาอาการปวดหัวข้างเดียว อาการปวดหัวไมเกรน รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากวิธีนี้จะสามารถปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายตลอดจนบรรเทาอาการปวดหัวได้
- ฉีดโบท็อกไมเกรน
ใครที่มีอาการปวดหัวท้ายทอย การปวดไมเกรน หรืออาการปวดข้างเดียว ก็สามารถฉีดโบท็อกไมเกรนและโบท็อกออฟฟิศซินโดรมตามจุดต่าง ๆ ในปริมาณที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำหนดเพียงเท่านี้ก็จะบรรเทาอาการปวดได้ในระยะยาว
- การฉีดยาไมเกรน (Aimovig)
การฉีดยาไมเกรนเพื่อระงับอาการปวดหัวไมเกรน ตลอดจนอาการปวดศีรษะข้างเดียว โดยตัวยานี้ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย รับรองความปลอดภัย
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว
เพื่อสุขภาพร่างกายที่แร็งแรง ไม่ต้องเผชิญกับอาการปวดหัวข้างเดียวเกิดขึ้น เพียงแค่ปฏิบัติตามวิธีต่าง ๆ ดังนี้ ก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อยืดหยุ่น ลดความเสี่ยงในการเกิดการปวดหัวข้างเดียวทุกวัน เช่น วิ่งเบา ๆ เดินออกกำลังกาย หรือการเล่นโยคะแก้ปวดหัว
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายและระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ควรหากิจกรรมที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความรู็สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด
- ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรนต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวและอาการปวดหัวข้างเดียว
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ตลอดจนส่งผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่ไวต่อสิ่งเร้า เช่น แสง สี เสียง รวมถึงกลิ่น
ข้อสรุป
อาการปวดหัวข้างเดียวมีหลายประเภทและสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหากพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษา วินิจฉัยอย่างละเอียด และเข้ารักษาอย่างทันท่วงที
แต่หากต้องการรักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียวด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น ฝังเข็มไมเกรน ฉีดโบท็อกไมเกรน ตลอดจนปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะ สามารถติดต่อได้ผ่านการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-044 ได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Lana Burgess. (2021). What to know about a headache on the left side. Retrieve from https://www.medicalnewstoday.com/articles/319406