ปวดกระบอกตา เกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
นอกจากอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวลักษณะต่างๆ หรือปวดหัวไมเกรนแล้ว อาการที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ อาการปวดกระบอกตาร่วมด้วย ทั้งนี้อาการปวดบริเวณตานั้นเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ ปัจจัยภายนอก หรือโรคต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม หากใครที่มีอาการปวดหัว เจ็บกระบอกตาอาจจะหมั่นสังเกตอาการตัวเองบ่อย ๆ หรือต้องเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค เพื่อตรวจหาว่าปวดกระบอกตาสาเหตุคืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร มีอการอย่างไร ตลอดจนวิธีแก้ปวดกระบอกตานั้นทำอย่างไร ซึ่งบทความนี้ก็ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากดังนี้
สารบัญบทความ
- ปวดกระบอกตา
- ปวดกระบอกตาเกิดจากสาเหตุใด
- ลักษณะอาการปวดกระบอกตา
- อาการปวดกระบอกตาที่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดกระบอกตา
- วิธีรักษาอาการปวดกระบอกตา
- ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดกระบอกตา
- ปรับพฤติกรรมป้องกันการปวดกระบอกตา
- ข้อสรุป
ปวดกระบอกตา
อาการปวดกระบอกตา ตาพร่ามัว มีลักษณะคือ จะรู้สึกปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ดวงตา โดยจะรู้สึกปวดตื้อ ๆ รู้สึกตึงบริเวณดวงตาที่มาจากภายในศีรษะด้านหลัง โดยอาการเหล่านี้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบมักเกิดจากการปวดตา ปวดหัวจากความเครียด กล้ามเนื้อตาหรือคอยึดตึง การจ้องจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจถึงลักษณะปวดกระบอกตา ปวดหัวมากยิ่งขึ้น วันนี้เราได้นำข้อมูลเกี่ยวกับกระบอกตามาฝาก ดังนี้
รู้จัก ‘กระบอกตา’ อีกหนึ่งส่วนสำคัญของดวงตา
กระบอกตา คือ ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของตา ซึ่งตามปกติแล้วตาจะมีส่วนประกอบพื้นฐาน ดังนี้
1. กระจกตา (Cornea)
จะมีลักษณะเป็นสีใส อยู่บริเวณของตาดำ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อทั้งหมด 5 ชั้น ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปกป้องดวงตาจากการได้รับอันตราย เสริมสร้างความแข็งแรงให้ดวงตา รักษาแผลในดวงตา เป็นต้น
2. เบ้าตาหรือกระบอกตา (Eye socket)
คือ ช่องว่างภายในกะโหลกและเป็นที่อยู่ของลูกตา ซึ่งจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ล้อมรอบ ซึ่งหากล้ามเนื้อเหล่านี้ยึดตึงหรือทำงานหนักก็จะส่งผลให้ปวดกระบอกตา ปวดหัว คลื่นไส้ได้
3. ม่านตา (Iris)
บริเวณม่านตานี้เองที่จะเป็นส่วนที่บ่งบอกสีตา ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ กรรมพันธุ์ ทำหน้าที่ควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา
4. เลนส์แก้วตา (Lens)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากม่านตา ทำหน้านี้ช่วยโฟกัสหรือปรับการมองเห็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งหากอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
5. รูม่านตา (Pupil)
มีลักษณะเป็นรูกลม ๆ ขนาดเล็ก ทำหน้าที่ควบคุมแสง เช่น ทุกครั้งที่อยู่ในที่แดดจ้ารูม่านตาจะหดลง ทำให้แสงเข้าได้น้อย เป็นต้น
6. น้ำวุ้นตา (Vitreous)
มีลักษณะคล้ายเจลหรือวุ้นใส ทำหน้าที่คงรูปลักษณะให้ตากลมตลอดเวลา บางรายอาจจะมีวุ้นสีดำลอยไปมาในตา นั่นหมายความว่าวุ้นในตาเสื่อมนั่นเอง
ปวดกระบอกตาเกิดจากสาเหตุใด
หากใครที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ปวดกระบอกตามากหรือปวดหัวคิ้ว อาจจะต้องสังเกตตัวเองว่ามีสาเหตุจากอะไร แต่ส่วนใหญ่อาการปวดกระบอกตามักเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
1. โรคไมเกรนและอาการปวดศีรษะอื่นๆ
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดศีรษะนั้นพบได้ทั่วๆ ไป ในคนทุกเพศทุกวัย โดยอาจจะแบ่งเป็นการปวดหัวแบบต่าง ๆ เช่น ปวดหัวท้ายทอย ปวดหัวบริเวณหน้าผาก เนื่องจากความเครียด ปวดหัวข้างขวาหรือซ้ายจากโรคไมเกรน อย่างไรก็ตาม
นอกจากอาการปวดหัวข้างซ้ายหรือปวดข้างเดียว ก็ยังมีอาการปวดกระบอกตา ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากสาเหตุสำคัญอย่างไมเกรนและการปวดศีรษะทั่ว ๆ ไป
2. การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยบางรายอาจจะเกิดการสับสนได้ เนื่องจากอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหลังคอหรือท้ายทอย หรือที่เรียกว่าเส้นคอตึงปวดหัว จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวคิ้ว กระบอกตา หน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอยแทน
อย่างไรก็ตามการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหัว ปวดกระบอกตานั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียด การนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม การที่กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก เป็นต้น
3. กล้ามเนื้อตาล้า
ปัญหาที่หลาย ๆ คนพบคือ มีอาการกล้ามเนื้อตาล้า เนื่องจากวิถีชีวิตหรือลักษณะการทำงานจะต้องใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์หรือจ้องจอเป็นระยะเวลานาน ตลอดจนการเล่นเกม ในขณะเดียวกันก็ใช้สายตาจ้องจอในระยะใกล้ ส่งผลเกิดอาการกล้ามเนื้อตาล้า นำไปสู่อาการมึนหัว ปวดกระบอกตาได้
4. ปัญหาค่าสายตา
ไม่ว่าจะเป็นค่าสายตาที่สั้นหรือค่าสายตาที่ยาวก็ล้วนส่งผลให้เกิดอาการปวดกระบอกตาทั้งสิ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ค่าสายตาสั้นหรือยาวไม่เท่ากันและกรณีสายตาเอียง มาก ๆ ก็อาจจะต้องตรวจสายตาอย่างละเอียด และสวมใส่แว่นตาตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ดียิ่งขึ้น
5. ผลข้างเคียงจากโรคอื่นๆ
นอกจากที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว อาการปวดกระบอกตา ปวดหัว คลื่นไส้ยังเกิดขึ้นได้จากโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
โรคทางตา เช่น ต้อหินเฉียบพลัน เส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) ม่านตาอักเสบ ฯลฯ
- ต้อหินเฉียบพลัน : โรคนี้เกิดจากการที่ความดันภายในลูกตาพุ่งขึ้นสูง ส่งผลให้เกิดอาการปวดกระบอกตาได้
- เส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) : เกิดจากโรคเกี่ยวกับตาแบบต่าง ๆ เช่น โรคเอ็มเอส โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือการติดเชื้ออื่น ๆ
- ม่านตาอักเสบ : โรคนี้คือ การอักเสบของม่านตาและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในลูกตา ส่งผลให้เจ็บกระบอกตานั่นเอง
โรคทางกายภาพอื่นๆ เช่น ไซนัสอักเสบ โรคเกรฟส์ ปัญหาสุขภาพปากและฟัน
- ไซนัสอักเสบ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โรคนี้มีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไปขึ้อนยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ
- โรคเกรฟส์ : เกิดจากการที่ทานยายับยั้งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป โดยโรคนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
- ปัญหาสุขภาพปากและฟัน : กรณีนี้อาจเกิดจากการจัดเรียงตัวของฟันและลักษณะขากรรไกรที่ผิดปกติ และส่งผลให้ปวดกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวร้าวไปจนถึงปวดกระบอกตา ปวดหัว
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ : เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำลายตนเอง ซึ่งหากผลิตและปล่อยฮอร์โมนมากเกินไปจะส่งผลให้ปวดตาได้
6. ประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนดวงตา
การที่ประสบอุบัติเหตุในลักษณะต่าง ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยอาจจะทำให้รู้สึกปวดกระบอกตา ปวดนัยน์ตา กระจกตาถลอกหรือเป็นแผลได้
ลักษณะอาการปวดกระบอกตา
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีอาการปวดต้นคอ ปวดหัว ปวดกระบอกตา มักมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้
- ปวดแสบปวดร้อนที่เบ้าตาหรือกระบอกตา
- ปวดตื้อ ๆ
- ปวดเหมือนมีแรงดันกดจากด้านหลังของศีรษะ
- รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ภายในตา
- ตาพร่ามัว
- ตาแดง
- ตาไวต่อแสง เช่น แสงแดดจ้า แสงไฟสว่าง แสงแฟลชจากโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
อาการปวดกระบอกตาที่ควรพบแพทย์
แม้ว่าหลาย ๆ คนจะมีอาการมึนหัว ปวดกระบอกตา แต่อาการไม่รุนแรงก็อาจจะใช้วิธีรักษาเบื้องต้นหรือวิธีป้องกันเพื่อบรรเทาอาการปวดกระบอกตา อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
- ปวดหัวรุนแรงมากขึ้น
- ปวดหัวรุนแรงจนตื่นกลางดึก
- ปวดกระบอกตา ปวดหัวบ่อยๆ พร้อมทั้งมีไข้สูงด้วย
- ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
- สูญเสียการมองเห็นทั้ง 2 ข้าง
- สูญเสียการรับความรู้สึก
- คอแข็ง
- อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
- เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน
- เกิดอุบัติเหตุและดวงตาได้รับการกระทบกระเทือน
การวินิจฉัยอาการปวดกระบอกตา
อาการปวดกระบอกตา ปวดหัว ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ควรเข้าตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ และให้รู้เท่าทันเพื่อนทำการรักษา โดยแพทย์จะใช้วิธีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้
1. การตรวจดวงตา
หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่าอาการปวดหัวข้างขวา กระบอกตานั้นไม่ได้เกิดจาปัจจัยภายนอก แต่เกิดจากดวงตาโดยตรง ก็ควรรีบไปพบแพทย์ จากนั้นแพทย์จะทำการใช้ไฟส่องดูตาและส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าทำงานได้อย่างปกติ จากนั้นจะทำการตรวจวัดสายตา เพื่อประเมินค่าสายตา ตรวจชั้นตาทั้ง 5 ตลอดจนตรวจความดันตา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
2. การส่องกล้องขนาดเล็ก
วิธีจะเริ่มจากการที่แพทย์จะใช้ยาชาทาภายในจมูกของผู้ป่วย จากนั้นจะสอดท่อเล็ก ๆ ที่มีกล้องติดอยู่เข้าไปด้านใน ทั้งนี้ก้เพื่อส่องดูความผิดปกติ อาการบวม หรือไซนัส ซึ่งเป็นสาเหตุของปวดกระบอกตา ไมเกรน
3. การถ่ายภาพ
กรณีนี้จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับการวินิจฉัยอาการปวดหัวคลัสเตอร์ที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง ปวดเป็นชุด ๆ และอาการปวดหัวเรื้อรัง โดยจะใช้วิธีการทำ MRI การทำ CT Scan หรือการอัลตาซาวด์ ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายและตรวจหาสาเหตุของอาการปวดกระบอกตาอย่างละเอียด
4. การตรวจเลือด
วิธีนี้จะใช้สำหรับอาการปวดกระบอกตาที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การตรวจหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายสร้างขึ้น เป็นต้น
5. การใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีนรักษา
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดกระบอกตาเกิดจากโรคเกรฟส์หรือไทรอยด์ได้ ดังนั้นวิธีการวินิจฉัยรูปแบบนี้จะใช้สำหรับการตรวจหาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์หรือโรคเกรฟส์โดยเฉพาะ ผ่านการใช้กล้องส่อง
6. การตรวจทางทันตกรรม
หนึ่งในสาเหตุของการปวดต้นคอ ปวดหัว ปวดกระบอกตา ดังนั้น แพทย์จะใช้วิธีตรวจดูขากรรไกร การเรียงตัวของฟันว่าผิดปกติหรือไม่ หากพบว่ามีความผิดปกติจะทำการรักษาขั้นตอนต่อไป
วิธีรักษาอาการปวดกระบอกตา
วิธีการรักษาอาการปวดกระบอกตานั้นจะต้องผ่านวิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์อย่างละเอียดเสียก่อน เนื่องจากอาการปวดกระบอกตา ปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งวิธีรักษาก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุนั้น ๆ โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
การบรรเทาอาการปวดกระบอกตาเบื้องต้น
วิธีรักษากลุ่มแรกนั้นคือ การบรรเทาอาการปวดกระบอกตาเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- ทานยาบรรเทาอาการปวด
ยาแก้ปวดมีหลายชนิด เริ่มตั้งแต่ยาแก้ปวดหัวทั่ว ๆ ไป ยาแก้ปวดหัวไมเกรน เช่น ยากลุ่ม Triptan ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ ยากลุ่ม Ergotamine ที่ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวลดลงตามปกติ หรือยากลุ่ม Ibuprofen หรือยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอยด์ เป็นต้น
- ประคบร้อนแก้ปวดกระบอกตา
เมื่อมีอาการปวดกระบอกตา วิธีรักษาง่าย ๆ แต่ได้ผลคือ การประคบร้อน เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ หรือใช้ถุงร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสมประคบบริเวณกระบอกตา ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวผ่อนคลาย ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- บริหารกล้ามเนื้อตา
วิธีบริหารกล้ามเนื้อตาทำได้ง่ายๆ เพียงเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไฟฉายเล็กๆ แบบแท่งดินสอ 1 กระบอก ดินสอหรือปากกา 1 ด้าม หรือสิ่งของที่มีลักษณะเป็นแท่งเล็ก จากนั้นทำตามวิธีดังนี้
- ให้ใช้มือข้างหนึ่งถืออุปกรณ์ ยืดแขนจนสุด และตั้งอุปกรณ์บริเวณดลางจมูก
- จากนั้นให้ใช้สายตาเพ่งไปดังปลายอุปกรณ์ หลับตา และลืมตามองให้เห็นเป็นภาพชัด ๆ เหมือนเดิม
- จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนอุปกรณ์เข้ามาอย่างช้า ๆ โดยพยายามมองให้เห็นเป็นภาพชัด
หากเมื่อใดที่เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน ให้กลับไปทำใหม่ วิธีบริหารกล้ามเนื้อตานี้ให้ทำอย่างน้อย 20 ครั้ง
- หยอดยา
วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ก่อนจะหยอดตาเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บกระบอกตา ตาแห้ง หรือรู้สึกระคายเคือง ควรรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนเสมอ
การรักษาอาการปวดกระบอกตาจากสาเหตุของโรค
วิธีการรักษาอาการปวดกระบอกตากลุ่มต่อมาคือ การรักษาตามสาเหตุของโรคโดยเฉพาะ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
- โรคไมเกรน
หากมีอาการปวดกระบอกตา ไมเกรน สามารถรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น ฝังเข็มไมเกรนตามศาสตร์ของแพทย์แผนจีนที่มีมาอย่างยาวนานและการฉีดยาไมเกรนที่ได้รับความนิยมสูง แต่อย่างไรก็ดีหนึ่งในวิธีรักษาที่เห็นผลและผลข้างเคียงน้อยที่สุด คือ การฉีดโบท็อกไมเกรน
การฉีดโบท็อกไมเกรนนั้นมีกลไกคือ จะฉีดโบท็อก (Botulinum Toxin) ชนิด A ที่มีคุณสมบัติในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการยึดตึงของกล้ามเนื้อ ตลอดจนช่วยยับนั้งบริเวณปลายประสาท ซึ่งวิธีง่าย ๆ คือ แพทย์จะฉีดตามจุดต่าง ๆ เช่น ขมับ บ่า ไหล่ รอบศีรษะ หลังจากฉีดเพียง 3-5 วันก็จะเห็นผลชัดเจนและผลลัพธ์คงอยู่นานถึง 4-6 เดือนเลยทีเดียว
- ไซนัสอักเสบ
วิธีเบื้องต้นของการรักษาจากสาเหตุโรคไซนัสอีกเสบคือ การล้างจมูกด้วยสารละลายน้ำเกลือ เนื่องจากจะช่วยลดอาการบวมและอาการคัดจมูก ทำให้แรงดันในลูกตาลดลง แต่หากมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตามาก แพทย์จะให้ยาเฉพาะ แต่หากอาการยังคงรุนแรง อาจจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนของการผ่าตัด
- โรคเกรฟส์
ฟังชื่อแล้วอาจจะไม่คุ้นหู แต่โรคนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา การทานยายับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอย การรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน ตลอดจนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง
- โรคต้อหิน
ฟังชื่อแล้วอาจจะไม่คุ้นหู แต่โรคนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา การทานยายับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอย การรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน ตลอดจนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับะดับความรุนแรง
- โรคม่านตาอักเสบ
วิธีนี้แพทย์อาจใช้ยาหยอดตาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการกระบอกตาอักเสบโดยเฉพาะ อีกทั้งยังเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาด้วย
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
วิธีรักษาจะคล้ายกับโรคเกรฟส์ โดยแพทย์จะจ่ายยายับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ รวมถึงการรักษาด้วยให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน ตลอดจนการผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดกระบอกตา
อย่างไรก็ดี หากพบว่าตนเองมีอาการปวดกระบอกตาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงรุนแรงต้องรีบเข้ารักษา หรือมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อตรวจหาความผิดปกติและรักษาได้อย่างเท่าทัน
- ปวดกระบอกตาร่วมกับมีไข้
- ปวดหัวอย่างรุนแรง
- มองเห็นภาพเบลอหรือเห็นไม่ชัดเท่าปกติ
- สูญเสียการมองเห็นทั้ง 2 ข้าง
- สูญเสียการรับความรู้สึก
- การเคลื่อนไหวของส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายต่างจากปกติที่เคยเป็น
ปรับพฤติกรรมป้องกันการปวดกระบอกตา
เพื่อเป็นดูแลรักษากระบอกตาและป้องกันอาการปวดกระบอกตา ปวดหัว คลื่นไส้ เราได้รวบรวมวิธีป้องกันง่ายๆ มาฝาก ดังนี้
- เลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน แต่เน้นทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแทน เช่น อาหารที่มีแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลงได้ อาการปวดกระบอกตาก็จะลดลงตามไปด้วย
- ควรพักสายตาหรือลดระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์หรือการจ้องจอ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงจ้าหรือในพื้นที่ที่ลมแรง ซึ่งจะทำให้รูม่านตาหรือส่วนอื่น ๆ ของตาต้องทำงานอย่างหนัก
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ฟื้นฟูร่างกายอย่างเต็มที่
- สวมแว่นตาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ทานยาไมเกรน ยาแก้ปวดหัว หรือยาตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
- ตรวจสุขภาพและตรวจดวงตาประจำปีเสมอ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือรู้เท่าทันสุขภาพและอาการของตนเอง
- ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ เช่น โยคะแก้ปวดหัว เดินเร็ว วิ่งเบา ๆ เป็นต้น
หากปฏิบัติตามในวิธีแก้ปวดหัวหรือวิธีป้องกันข้างต้นแล้ว ก็จะช่วยดูแลรักษาและป้องกันอาการปวดกระบอกตาได้
ข้อสรุป
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการปวดหัวพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เช่นเดียวกับอาการปวดกระบอกตา ดังนั้นหากใครที่กำลังเผชิญอาการดังกล่าวอยู่ อาจจะเริ่มจากปรับพฤติกรรมของตนเอง เพื่อรักษาดาวงตาให้มีสุขภาพดี หรือปฏิบัติตามวิธีแก้ปวดกระบอกตา เพื่อบรรเทาและรักษาอาการ
อย่างไรก็ตาม หากใครที่มีอาการรุนแรงหรือต้องการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ก็สามารถเข้าปรึกษา เข้าตรวจไมเกรน ตลอดจนนัดวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่มีมาตรฐานและปลอดภัย เพื่อบรรเทาอาการไมเกรนและบรรเทาอาการปวดกระบอกตาจากไมเกรนได้
เอกสารอ้างอิง
James Garrity. 2021. Introduction to Eye Socket Disorders. Retrieve from https://www.msdmanuals.com/home/eye-disorders/eye-socket-disorders/introduction-to-eye-socket-disorders
Mayo Clinic. (n.d.). Graves’ disease. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/graves-disease/symptoms-causes/syc-20356240