นอนมากเกินไป นอนไม่ดี เสี่ยงอาการปวดไมเกรนตามมา
นอนมากเกินไปก็กระตุ้นไมเกรน นอนน้อยก็กระตุ้นไมเกรน หลายคนมีความคิดว่าการนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือนอนมากเกินมากกว่าปกติเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่รู้หรือไม่ว่าการนอนมากส่งผลกระทบไม่ดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบเผาผลาญไขมันลดลง เกิดปัญหาน้ำหนักเกิน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งการนอนมากเกินเป็นการกระตุ้นไมเกรน ไม่ต่างไปจากการนอนน้อย สังเกตุได้จากหลายคนที่ปกติเป็นคนนอนเยอะ เมื่อต้องมานอนน้อย ตื่นมาจะมีอาการปวดหัว ทั้งนี้ทั้งนั้น การนอนที่เยอะเกินไปเป็นสิ่งที่กระตุ้นไมเกรน เนื่องจากเมื่อเรานอนเยอะ สมองจะเฉื่อยชา เกิดอาการล้า ไม่สดชื่น ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ระบบประสาทและสมองทำงานผิกปกติ อีกทั้งยังส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าด้วย
สารบัญบทความ
- โรคการนอนแบ่งเป็นกี่ประเภท
- นอนเยอะกระตุ้นไมเกรนเพราะอะไร
- ป้องกันการนอนที่กระตุ้นไมเกรน
- ความอันตรายจากการนอนเยอะ
- วิธีลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนเยอะ
- แนวทางการรักษาไมเกรนจากการนอน
- โบท็อกซ์ไมเกรนเหมาะกับใคร
- ข้อดีของการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
- ข้อสรุป
โรคการนอนแบ่งเป็นกี่ประเภท
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
โรคนอนไม่หลับคือ โรคที่มีอาการหลับยาก นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นระหว่างหลับ ใช้เวลานานกว่าจะหลับได้ โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่มักพบมากในผู้หญิงและวัยชรา ซึ่งโรคนี้ส่งผลเสียต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ขาดสมาธิ รู้สึกอ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ภูมิคุ้มกันต่ำ และเสี่ยงเกิดโรคอื่นๆ ด้วย เช่น ไมเกรน โรคซึมเศร้า หรือโรคร้ายแรงอย่าง เส้นเลือดสมองแตก เป็นต้น
โดยปกติแล้ว วงจรการนอน จะมี 2 ช่วง ได้แก่
- ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep: Non-REM Sleep)
ช่วงเริ่มต้นของการหลับ ซึ่งจะลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงการหลับลึก ช่วงหลับธรรมดาจะแบ่งย่อยออกเป็นสี่ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 ช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น ระยะที่2 การหลับตื้น หรือช่วงแรกของการหลับจริง ระยะที่3 ช่วงหลับปานกลาง ระยะนี้ความมีสติรู้ตัวดีจะเริ่มหายไป ระยะที่4 ช่วงหลับลึก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่หลับสนิทที่สุดของการนอน - ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep: REM Sleep)
วงจรการหลับที่กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย หยุดทำงานทั้งหมด ยกเว้น หัวใจ กระบังลมและกล้ามเนื้อตา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับช่วงที่เกิดการฝัน ในช่วงนี้ตาของเราจะกลอกไปซ้ายทีขวาทีอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Rapid Eye Movement
การนอนหลับจะเกิด 2 วงจรนี้สลับกัน โดยจะเริ่มจากช่วงหลับธรรมดา (NREM) ก่อน แล้วจึงเกิดช่วงหลับฝัน (REM) ซึ่งแต่ละคืนจะเกิดวงจรดังกล่าวประมาณ 5 ครั้งแต่ละวงจรจะกินเวลา 90-120 นาที โดยประมาณ ส่วนใหญ่แล้ว วงจร REM จะเกิดบ่อยในครึ่งคืนหลัง
นอนเยอะกระตุ้นไมเกรนเพราะอะไร
นอนเยอะเกินไป จะส่งผลให้ฮอร์โมนบางตัว ส่งผลให้ฮอร์โมนบางตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ เกิดภาวะขาดน้ำ มีน้ำตาลในเลือดต่ำ อันเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นไมเกรน
ป้องกันการนอนที่กระตุ้นไมเกรน
- เข้านอนให้ตรงเวลา เมื่อเราเข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบประสาทและสมอง เป็นการนอนที่ป้องกันการกระตุ้นไมเกรน
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อนอย่างเพียงพอคือ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้ตื่นมาแล้วไม่เกิดอาการปวดศีรษะ อันเป็นสัญญานการเกิดไมเกรน
- อดนอน หลายคนหักโหมทำงาน จนไม่มีเวลานอน คิดว่าแค่อดนอนคงไม่เป็นไร แต่รู้หรือไม่ว่าการอดนอนเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เนื่องจากเมื่อร่างกายไม่ได้พักผ่อน จะทำให้ระบบต่างๆ ทำงานหนักขึ้น เกิดการสึกหรอง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมองไม่ได้พักผ่อนก็จะทำให้เกิดอาการไมเกรนได้ง่ายขึ้น
- นอนไม่หลับ ใครที่มีอาการนอนไม่หลับ ต้องนอนพลิกไปพลิกมาเป็นชั่วโมงกว่าจะหลับ ต้องหาทางแก้ด่วน เนื่องจากสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นไมเกรนได้เป็นอย่างดี
- การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนละเมอ นอนกัดฟัน หรือลุกไปเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งในแต่ละคืน ทั้งสิ้นล้วนเป็นการนอนที่ไม่มีคุณภาพ อันเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดไมเกรน ดังนั้นหากใครมีการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ จำเป็นจะต้องหาทางแก้โดยด่วน
- นอนในที่ๆ มีสิ่งแวดล้อมดี เช่น ไม่นอนในห้องที่มีแสงสว่างจ้า ควรนอนในห้องมืดสนิท เนื่องจากความมืดทำให้เราหลับลึกพักผ่อนได้อย่างมีคุณภาพและไม่เสี่ยงต่ออาการไมเกรนอีกด้วย
- นอนมากเกินไป การนอนที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวหลังตื่นนอนไม่ต่างไปจากการนอนน้อย เพราะการนอนที่มากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนบางตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ เกิดภาวะขาดน้ำ มีน้ำตาลในเลือดต่ำ อันเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว
- การใช้ยาก่อนนอน ยาบางชนิดไม่ควรทานในช่วงเวลาก่อนนอน หรือใกล้นอน เพราะอาจทำให้รบกวนการนอน อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอีกด้วย
- นอนหลับไม่เป็นเวลา หากเรานอนหลับไม่เป็นเวลา นอนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ นอนดึกบ้างเช้าบ้าง หรืออดนอนบ้าง ทำให้ร่างกายต้องมีการปรับตัวอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการหดและขยายตัว เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการตื่นและเข้านอน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นการปวดหัวหลังตื่น ทำให้รู้สึกปวดหัวเมื่อนอนไม่เป็นเวลาติดต่อกันบ่อยๆ
- การงีบหลับ การงีบหลับสามารถทำได้เพื่อพักสมองระหว่างวัน แต่หากทำบ่อยๆ ก็จะเกิดผลเสียเช่นกัน เพราะการงีบหลับในช่วงกลางวันอาจทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะ REM ส่งผลให้เมื่อตื่นขึ้นมาจะเกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
ความอันตรายจากการนอนเยอะ
- สมองเฉื่อยช้า คนที่นอนมากเกินไปจะเกิดภาวะสมองเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงาน
- โรคซึมเศร้า การนอนที่มากเกินไปมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากถึงร้อยละ 49 เพราะอารมณ์ในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะเคมีแห่งความสุข เช่น เอนดอร์ฟิน ลดต่ำลง
- เพิ่มความเสี่ยงโรคไมเกรน การนอนที่มากไปส่งผลให้ฮอร์โมนบางตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ
- อ้วนง่าย การนอนที่มากไปทำให้ระบบเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่ายขึ้น
- ใหลตาย การนอนมากไปทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือใหลตาย เนื่องจากการนอนที่มากเกินไปทำให้สัญญาณของสมองดับไปนานกว่าปกติ ส่งผลให้เนื้อสมองตาย
- โรคกระดูกพรุน การนอนที่มากเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกและกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
- ภาวะมีบุตรยาก ผู้หญิงที่นอนนานกว่า 9 ชั่วโมงต่อวันเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากฮอร์โมนของผู้หญิงจะเป็นปกติต่อเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- โรคหัวใจ คนที่นอนมากเกินไป เสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจมากขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
- โรคเบาหวาน ผู้ที่นอนมากเกินไปเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากถึง 2 เท่า หากเทียบกันคนที่นอนอย่างมีคุณภาพ
- อายุสั้น ผู้ที่นอนหลับมากเกินไปมีโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าปกติ
วิธีลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนเยอะ
- เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรเข้านอนหลังเวลา 22.00น. และตื่นนอนประมาณ 05.00 น. หรือ 06.00น. และทำให้เป็นกิจวัตร อย่างสม่ำเสมอ
- ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม นอนในที่มืดสนิท ในห้องที่เงียบ เพื่อให้ไม่ต้องสะดุ้งตื่นระหว่างการหลับ
- ก่อนนอนควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เพื่อให้ร่างกายปรับเข้าสู่โหมดการพักผ่อน เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ ไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนจะนอนหลับ
- ไม่ควรทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน หากรู้สึกหิวให้ทานนมอุ่นๆ แทน เพราะจะทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน เพื่อให้การนอนหลับกลางคืนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ ใช้ยานอนหลับเท่าที่จำเป็น หรือตามแพทย์สั่งเพราะหากใช้นาน หรือใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการดื้อยา ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอนเนื่องจากอาจทำให้นอนไม่หลับ และกินเวลานอนได้
- อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง เพื่อให้ร่างรู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง
แนวทางการรักษาไมเกรนจากการนอน
การรักษาไมเกรนมี 3 รูปแบบ ได้แก่
- การรักษาด้วยยา ประกอบด้วย ยาระงับและยาป้องกัน โดยยาระงับปวดจะทานเฉพาะตอนมีอาการปวดศีรษะไมเกรน ส่วนยาป้องกันจะใช้เพื่อป้องกันให้รับประทานอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง
- การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติหรือการรักษาที่ไม่ใช้ยา เช่น การประคบเย็น การนวดกดจุด นวดแก้ปวดไมเกรน โดยนวดบริเวณคอหรือศีรษะที่มีอาการปวด การทำกายภาพบำบัดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการไมเกรน นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงจ้า เสียงดัง เพื่อไม่ให้เป็นการกระตุ้นไมเกรน
- การรักษาโดยวิธีทางเลือก การรักษาและวินิจฉัยโรคไมเกรนโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบ เช่น การฝังเข็มครอบแก้ว หรือการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน โดยการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนนั้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการปวดไมเกรนอย่างรุนแรง ปวดไมเกรนเรื้อรังไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ และไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยารักษาไมเกรน การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนจึงเป็นการรักษาอีกทางที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น
โบท็อกซ์ไมเกรนเหมาะกับใคร
Botulinum Botox รักษาไมเกรน เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดศีรษะบ่อยๆ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดแบบที่รับประทานยาแก้ปวดก็ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ โดยการรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกนั้น แพทย์จะฉีดโบท็อกบริเวณรอบศีรษะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เหมาะสม และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้เห็นผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ได้ผลกว่าการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน
ข้อดีของการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนหายไป เพราะ Botulinum toxin ออกฤทธิ์ในการช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่หดตัวนั้นคลายตัวลง ทำให้อาการตึงของกล้ามเนื้ออันเป็นต้นเหตุของอาการปวดไมเกรนคลายตัว ทำให้อาการไมเกรนดีขึ้น การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนเป็นการรักษาไมเกรน อาการปวดที่ต้นเหตุ ทำให้อาการไมเกรนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญคือเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่ปลอดภัย นิยมใช้กันทั่วโลก
ข้อสรุป
โดยการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนจำเป็นจะต้องฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาค เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด เพราะการฉีดโบท็อกลดไมเกรนต่างกับการฉีดโบท็อกแบบทั่วไป หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับอาการไมเกรน ไม่อยากทานยาลดไมเกรน และสนใจจะรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดโบท็อกลดไมเกรน ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณอาการเบื้องต้นได้ที่ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัย ซึ่งเรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์คอยวินิจฉัยและให้คำปรึกษาอย่างตรงจุด
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
เอกสารอ้างอิง :