ตาแพ้แสง ไม่สู้แสง ตัวกระตุ้นสำคัญของคนเป็นไมเกรน
ตาแพ้แสง ตาไม่สู้แสง เป็นหนึ่งในอาการที่พบในผู้ป่วยไมเกรนซึ่งผู้ป่วยไมเกรนกว่า 80% จะมีภาวะ ตาแพ้แสง ตาสู้แสงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแสงจ้า ที่มาจากแสงแดด แสงแฟลช แสงจากหลอดไฟ โดยภาวะนี้จะเริ่มจากประสาทตาส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้ไม่สามารถทนต่อแสงได้ ทำให้ เกิดอาการปวดไมเกรน ผู้ป่วยจึงต้องเลี่ยงสถานการณ์ที่จะต้องเจอกับแสง ทั้งแสงธรรมชาติและแสงจากหลอดไฟ
สารบัญบทความ
- ตาแพ้แสงคืออะไร
- ตาแพ้แสง ตาแห้ง กระตุ้นไมเกรนได้อย่างไร
- อาการของการตาแพ้แสง
- สาเหตุของการเกิดตาแพ้แสง
- การวินิจฉัยตาแพ้แสง
- อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อสมอง
- วิธีปฎิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้แสง
- แนวทางป้องกันตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อไมเกรน
- แนวทางการรักษาตาแพ้แสงในไมเกรน
- ตาแพ้แสงกระตุ้นไมเกรนควรปรึกษาแพทย์ด้านไหน
- ข้อสรุป
ตาแพ้แสงคืออะไร
ตาแพ้แสงคือ สภาพของดวงตาไวต่อแสง ไม่สามารถทนสู้แสงได้ ตาสู้แสงไม่ได้นั้นอาจจะเกิดได้ไม่ว่าแสงนั้นจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากโคมไฟ หรือแสงจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา รู้สึกไม่สบายตา จนต้องหรี่ตาเมื่อเจอแสง ตาแฉะ มีน้ำตามากกว่าปกติ ซึ่งผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนมักจะมีอาการตากลัวแสงรุนแรงกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากดวงตาสีอ่อนมีเม็ดสีน้อยกว่าดวงตาสีเข้ม จึงทำให้ปกป้องแสงจากดวงตาได้น้อยกว่าปกติ
ตาแพ้แสง ตาแห้ง กระตุ้นไมเกรนได้อย่างไร
ผู้ป่วยไมเกรนบางรายนั้น อาจจะมีอาการเตือนก่อนเริ่มปวดไมเกรน (Migraine with Aura) เช่น ตามองไม่เห็นชั่วคราว เห็นภาพเบลอ ภาพบิดเบี้ยว หรือเห็นแสงระยิบระยับ โดยอาการเตือนนั้นเป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อมกับการปวดไมเกรน ซึ่งตาแพ้แสง หรือ ตาไม่สู้แสง (Photophobia) สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก “โรคไมเกรน” การ กระตุ้นของแสงต่ออาการปวดไมเกรนของผู้ป่วย เมื่อสัมผัสกับแสงจ้า แสงเหล่านี้จะกระตุ้นเซลล์ประสาทบริเวณจอประสาทตา (Retinal ganglion cell; RGC) แล้วส่งสัญญาณไปยังสมองส่วน “ทาลามัส” ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดได้ (Trigeminovascular system) ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน และตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ ถ้าผู้ป่วยไมเกรนมาเจอแสงจ้ามากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังส่งผลให้รักษาไมเกรน ยากขึ้นอีกด้วย
อาการของการตาแพ้แสง
อาการที่อาจจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีตาแพ้แสง ได้แก่
- รู้สึกไม่สบายตา ระคายเคืองดวงตา คันตา
- เมื่อสัมผัสแสงจะต้องหรี่ตาหรือหลับตาเพื่อหลีกเลี่ยงแสง
- มีอาการแสบตา
- เกิดอาการตาแดง
- มีน้ำตาไหลออกมามาก
- มีสารคัดหลั่งสีเขียวหรือสีเหลืองไหลออกจากดวงตา
โดยที่ระดับความรุนแรงของตาแพ้แสง รวมไปถึงอาการที่ปรากฏร่วมกับตาแพ้แสงนั้นจะไม่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง อาจแตกต่างกันไปตามโรค ภาวะ หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของตาแพ้แสง
สาเหตุของการเกิดตาแพ้แสง
ตาแพ้แสงนั้นสามารถเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย รวมไปถึงความรุนแรงของอาการก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยที่คนที่มีอาการไมเกรน มักจะพบว่ามีอาการตาแพ้แสงร่วมด้วย
นอกจากนั้นยังมีผู้ป่วยจากภาวะผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาประเภทต่าง ๆ เช่น จอประสาทตาลอก, กระจกตาถลอก, ม่านตาอักเสบ (ยูเวียอักเสบ) และโดยทั่วไปเมื่อมีอาการแสบตา ตาอักเสบ ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่พอดีกับดวงตา (หรือการใส่คอนแทคเลนส์นานเกินเวลาที่แพทย์สั่ง โดยไม่เปลี่ยน) มักจะทำให้เกิดการระคายเคืองในดวงตา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้อาการแย่ลงจนเกิดอาการตาแพ้แสงได้ ยังพบว่าผู้ป่วยที่เคยได้รับการแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยวิธีผ่าตัด ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหาการมองเห็นในสภาพแสงจ้า
อีกทั้งผลข้างเคียงของยาบางประเภทก็อาจจะเป็นสาเหตุของตาแพ้แสง เช่น ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีนบางตัว, ยารักษาสิว, และยาลดความดันโลหิต ซึ่งหากเป็นเพราะสาเหตุนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอเปลี่ยนยา ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง สามารถทำให้เกิดอาการไวต่อแสง เช่นเดียวกับโรคพิษสุนัขบ้า, พิษจากสารปรอท, โรคตาอักเสบ และภาวะผิวเผือก
การวินิจฉัยตาแพ้แสง
สำหรับการวินิจฉัยอาการตาแพ้แสงนั้น แพทย์จะถามถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น การมีสารคัดหลั่งออกจากดวงตา มีอาการไข้ หรืออาการเจ็บป่วยที่อาจเป็นสาเหตุของตาแพ้แสง หรือ รวมไปถึงการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมตามแพทย์เห็นสมควร เช่น
- การวัดสายตา เพื่อตรวจสอบการมองเห็นของดวงตาทั้ง 2 ข้าง
- การตรวจฟิล์มน้ำตา เพื่อจะตรวจปริมาณน้ำตาว่าตาแห้งเกินไปหรือไม่
- การตรวจตาด้วยเครื่อง Slit-Lamp หรือกล้องจุลทรรศน์สำหรับตรวจตาชนิดลำแสงแคบ ซึ่งจะทำการตรวจการอักเสบหรือการบาดเจ็บในตา ซึ่งแพทย์จะหยดสีย้อมชนิดพิเศษลงบนดวงตา เพื่อดูความเสียหายจุดอื่น ๆ บนผิวตาด้วย
- การทำเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) หรือการสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยจะสร้างรายละเอียดภาพของดวงตาขึ้นมาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อสมอง
ไมเกรนนั้นไม่ได้เป็นโรคปวดศีรษะทั่วไป เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมองโดยตรง อาการของตาแพ้แสงก็มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทเช่นเดียวกัน ด้วยว่าเป็นอาการที่ไปกระตุ้นให้เกิดการปวดไมเกรน โดยอาการปวดศีรษะไมเกรนจะเป็นความผิดปกติของสมองหลายส่วน ส่วนแรกจะเป็นสมองส่วนที่เรียกว่า “ไฮโปธาลามัส” (Hypothalamus) ซึ่งจะเป็นส่วนที่เริ่มทำงานผิดปกติก่อน หน้าที่ของสมองส่วนนี้มีหลายหน้าที่ เช่น ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมความอยากอาหาร การนอน การตื่น อุณหภูมิร่างกาย รวมทั้งฮอร์โมนในร่างกาย ต่อมานั้นจะเกิดการทำงานผิดปกติที่ก้านสมอง (Brain stem) ตัวก้านสมองนั้นจะส่งสัญญาณความปวดไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ปล่อยสารของอักเสบที่ส่วนปลายของเส้นประสาท เกิดอาการปวดที่ศีรษะและใบหน้า บริเวณศีรษะและใบหน้าจะรับความรู้สึกของเพิ่มมากขึ้น รับรู้การเต้นของเส้นเลือด เป็นลักษณะการปวดแบบตุบ ๆ ได้ ที่เป็นอาการของไมเกรนได้
วิธีปฎิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้แสง
เมื่อเริ่มมีอาการปวดศีรษะหรือปวดร้าวบริเวณดวงตา จากอาการตาแพ้แสง เพื่อให้ไม่ลามจนเกิดอาการปวดไมเกรน หรือไม่ให้อาการปวดไมเกรนนั้นรุนแรง สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้ได้
1. พักสายตา 10-15 นาทีให้หลับตาลง แล้วมองในจุดที่รู้สึกว่าสบายตาเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย
2. หยอดน้ำตาเทียม เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา และทำให้ดวงตาสดชื่น บรรเทาอาการระคายเคืองตา
3. ประคบอุ่นด้วยฝ่ามือ เป็นวิธีลดอาการตาล้าและช่วยบรรเทาอาการตาแพ้แสง ประกบฝ่ามือและถูเบา ๆ ต่อเนื่อง 30-45 วินาที เมื่อรู้สึกถึงความอุ่นที่ฝ่ามือ จากนั้น ประคบเบา ๆ ที่ดวงตาค้างไว้ 30 วินาที และถูมือซ้ำอีกครั้ง จากนั้นใช้มือป้องบริเวณดวงตาและลืมตาภายใต้ฝ่ามือนั้น 30 วินาที
4. หลบเลี่ยงแสงจ้า ถ้าจำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แสงจ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรพักหลับตาอย่างน้อย 1-3 นาที เป็นระยะ
5. เติมสารอาหารบำรุงสายตาเลือกรับประทานผักที่มีสีเขียว เหลือง และส้ม เพื่อเติมวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่อการบำรุงสายตาโดยเฉพาะวิตามินเอ ลูทีน ซีแซนทีน และเบต้าแคโรทีน ก็จะช่วยป้องกันไมเกรนได้
6.หรี่ไฟ ปิดไฟในอาคาร หรือปิดม่านเมื่อมีแสงจากด้านนอกส่องเข้ามามากเกินไป เพื่อลดความจ้าของแสง
7.สวมหมวกปีกกว้าง หรือแม้จะอยู่ใต้ร่มเงาก็ควรใส่แว่นกันแดดที่มีเลนส์โพลาไรซ์ (Polarized) จะช่วยกรองแสงและลดแสงจ้าเมื่ออยู่ในที่แจ้ง
8.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณดวงตา เครื่องสำอางอาจทำให้ระคายเคืองดวงตาได้
9.ไม่ควรสวมคอนแทคเลนส์ หรือพักการใส่คอนแทคเลนส์ ไม่ใส่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้รู้สึกไม่สบายตาได้
10.พบแพทย์เพื่อรักษาโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของตาแพ้แสงตั้งแต่เริ่มต้น เช่น อาการตาแห้ง หรือเยื่อตาอักเสบ
แนวทางป้องกันตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อไมเกรน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการตาแพ้แสง แนะนำให้สวมแว่นกรองแสง ที่ช่วยกรองแสงสีฟ้าและจะช่วยตัดแสงที่กระตุ้นไมเกรน ควรจะหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ถ้ามีอาการปวดหัวควรจะอยู่ในที่มืดและอากาศเย็น จะมีส่วนช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้น ถ้าไม่ไหวสามารถทานยาเมื่อเกิดอาการปวดศีรษะ เพื่อแก้ปวดไมเกรนเร่งด่วน เช่น อะเซตามิโนเฟน (cetaminophen) หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จะช่วยลดอาการปวดศีรษะ อาการไวต่อแสงลงได้ การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการตาแพ้แสงซึ่งมีสาเหตุจากไมเกรนนั้น เราก็ควรจะรักษาอาการปวดไมเกรน ถ้าเป็นการรักษาโดยไม่ใช้ยาก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แสง สี เสียง กลิ่น อากาศที่เปลี่ยนแปลง และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำให้เรามีความสุข เช่น ออกกำลังกาย เล่นโยคะ สปา เป็นต้น หรือจะฝังเข็มก็ช่วยได้
อาหารก็เป็นสิ่งที่ควรจะดูแลเลือกรับประทานอาหาร ให้เลี่ยงอาหารรสเค็ม มีผงชูรส มันจัด และมีกลิ่นฉุน เช่น นม ชีส พิซซ่า โยเกิร์ต เนื้อเค็ม ไส้กรอก เบคอน แฮมเบอร์เกอร์ อาหารฟาสต์ฟู้ดทุกชนิด งดอาหารรสเปรี้ยว อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขนมกรุบกรอบต่างๆ เน้นอาหารจากธรรมชาติ ปรุงน้อย ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายจะดีต่ออาการปวดไมเกรนมากกว่า
ถ้าเราที่รักษาไมเกรนเพื่อที่จะได้ไม่มีอาการตาแพ้แสงด้วยการใช้ยา ก็จะมียาในกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด ใช้เมื่ออาการยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาแก้อักเสบ (NSAIDs) จะใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดทั่วๆ ไป ยากลุ่มเออร์กอต (Ergots) จะเป็นยาแก้อาการปวดตุ้บๆ ยากลุ่มนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือในปริมาณสูง อาจทำให้หลอดเลือดของร่างกายส่วนอื่นๆ มีปัญหาเกิดการหดตัว หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ส่วนตัวยาที่ใช้บ่อยและได้รับความนิยมในการรักษาไมเกรน ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีความปลอดภัยมากกว่า
ยาอีกกลุ่มจะเป็นยาป้องกันไมเกรน ที่จะต้องกินในปริมาณและความถี่ที่แพทย์แนะนำเท่านั้น ยากลุ่มนี้ใช้ในคนไข้ที่ปวดหัวบ่อยมาก เช่น ปวดหัวบ่อยมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมากกว่า 10-15 เม็ดต่อเดือน โดยต้องกินยาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด หรือลดความถี่ความรุนแรงของการปวดลง
แนวทางการรักษาตาแพ้แสงในไมเกรน
เพื่อเป็นการรักษาอาการตาแพ้แสง แนะนำว่าควรจะรักษาไมเกรนหรือดูแลร่างกายให้ไม่ให้เกิดอาการปวดไมเกรน ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหลาย ๆ อย่าง เช่น แสง สี กลิ่น เป็นต้น ดังนั้นถ้าสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำ ก็จะช่วยรักษาเรื่องตาแพ้แสงไปด้วย
1. เมื่อออกจากบ้าน แนะนำว่าควรสวมหมวก หรือแว่นกันแดด เพื่อลดแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
2. ควรจะลดปริมาณการเปิดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ขณะอยู่ในอาคาร โดยที่พยายามให้แสงจากธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารให้มากขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการสวมแว่นกันแดดในที่ร่ม เมื่อออกแดดจะปรับสภาพตาไม่ทันเพราะเมื่อสายสัมผัสกับความมืดเป็นเวลานานอาจทำให้ดวงตาไวต่อแสง และอาจเกิดอาการตาแพ้แสงได้
4. เลือกรับประทานผักที่มีสีเขียว เหลือง และส้ม ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่อการบำรุงสายตาในกลุ่มวิตามินเอ ลูทีน ซีแซนทีน และเบต้าแคโรทีน
5. เมื่อเกิดอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นส่วนของอาการร่วมเมื่อเกิดภาวะตาแพ้แสงแล้ว ให้หยอดน้ำตาเทียมจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา บรรเทาอาการระคายเคืองตาได้
6. เมื่อเกิดสายตาล้า ปวดตา ให้หลับตาลงแล้ว ประมาณ 10 – 15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้พักผ่อน
7. ใส่แว่นกันแดดที่มีเลนส์โพลาไรซ์ (Polarized) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกรองแสงและลดแสงจ้าเมื่ออยู่ในที่แจ้ง
8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้สายตาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
9. ทำกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด อย่างเช่น โยคะและการนวด ที่จะทำให้ได้ผ่อนคลายและยืดกล้ามเนื้อตา
10. พักสายตาด้วยการมองไกลๆสลับกับใกล้ๆหรือ จะมอง ต้นไม้ ธรรมชาติสีเขียว จะช่วยให้รู้สึกสบายตามากขึ้น
ตาแพ้แสงกระตุ้นไมเกรนควรปรึกษาแพทย์ด้านไหน
อาการของการปวดไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองถูกกระตุ้นได้ง่ายและไวกว่าปกติ เมื่อมีการปวดแล้วจะมีการรับรู้ที่ระบบประสาทรับความรู้สึกที่เพิ่มมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกถึงการเต้นของหลอดเลือดเกิดอาการปวดขึ้น มักปวดบริเวณขมับร้าวไปกระบอกตา สามารถเข้าพบแพทย์ทางด้านระบบประสาทและสมองเพื่อช่วยวินิจฉัยและหาทางรักษา และเมื่อมีอาการของตาแพ้แสงร่วมดัวย จักษุแพทย์ก็ช่วยวินิจฉัยสาเหตุได้ด้วยเช่นเดียว ในการตรวจการรับภาพของประสาทตา ตรวจอาการอักเสบหรืออาการบาดเจ็บของตาที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อสรุป
อาการปวดไมเกรนนั้นเมื่อเกิดอาการปวดบ่อยครั้ง จนเป็นอาการเรื้อรังแล้ว แล้วยังมีอาจจะอาการอื่นเพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดหัวมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดหลายชนิด อาการแบบนี้ถือเป็นระดับรุนแรง ที่ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและทำการรักษาให้ถูกต้อง ผู้ที่ต้องพบปัญหาอาการปวดหัวไมเกรนและต้องการเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถติดต่อได้ที่ Line@ayaclinic หรือหมายเลขโทรศัพท์ 090–970-0447 ของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัย มีแพทย์เชี่ยวชาญที่จะให้ปรึกษา สามารถขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ
เอกสารอ้างอิง