ปวดหัวข้างขวา ปวดขมับ เกิดจากสาเหตุอะไร? ควรพบแพทย์เมื่อไหร่
เนื่องจากสถานการณ์แวดล้อม ไลฟ์สไตล์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ส่งผลให้หลาย ๆ คนเผชิญกับอาการปวดหัวข้างขวาจี๊ด ๆ ปวดหัวไมเกรน ตลอดจนปวดขมับขวา เป็นประจำและกลายเป็นปัญหาที่ส่งต่อสุขภาพจิต
ดังนั้น วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัวข้างขวาเกิดจากอะไร? ปวดไมเกรนข้างขวามีสาเหตุจากอะไร? ปวดหัวข้างขวาตลอดเวลาต้องทำยังไง? เพื่อคลายข้อสงสัยให้กับทุกคนแล้วค่ะ
สารบัญบทความ
- ปวดหัวข้างขวา
- ปวดหัวข้างขวา เกิดจากสาเหตุใด
- อาการปวดหัวข้างขวาเป็นอย่างไร
- ประเภทของอาการปวดหัวข้างขวา
- ปวดหัวข้างขวา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างขวา
- แนวทางการรักษาปวดหัวข้างขวา
- ปรับไลฟ์สไตล์ป้องกันปวดหัวข้างขวา
- ข้อสรุป
ปวดหัวข้างขวา
ปวดหัวข้างขวาคือ หนึ่งในอาการปวดหัวข้างเดียวที่พบได้บ่อย ๆ ไม่ต่างกับอาการปวดหัวข้างซ้ายและการปวดหัวไมเกรนเท่าไหร่นัก เนื่องจากมีสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นภายนอกที่ทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกัน
อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวซีกขวานี้ มักมาพร้อมกับอาการปวดหัวแบบอื่น ๆ เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวเรื้อรัง หรืออาการปวดหัวคลัสเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว คลื่นไส้ กล้ามเนื้อตึง ทางที่ดีอาจจะต้องพิจารณาอาการของตนเอง เพื่อรักษาโรคเหล่านี้ในลำดับต่อไป
ปวดหัวข้างขวา เกิดจากสาเหตุใด
ปวดหัวข้างขวาหรือปวดหัวด้านขวามีกลไกจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ตึงจนเกินไป หลอดเลือดขยายตัวมากเกินไป ตลอดจนสารเคมีในสมองที่หลั่งผิดปกติ ซึ่งปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติเหล่านี้คือ
- ไลฟ์สไตล์ เช่น ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การกินอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น
- การติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น
- การใช้ยาเกินกำหนด เช่น การใช้ยาแก้ปวดหัวเกินขนาดที่แพทย์สั่ง หรือการใช้ยาไมเกรนแก้ปวดหัวถี่เกินไป
- อาการบาดเจ็บหรืออาการทางระบบประสาทและสมอง ดช่น หลอดเลือดดำในสมองอุดตัน เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมอง
อาการปวดหัวข้างขวาเป็นอย่างไร
ไม่เพียงแต่อาการปวดหัวซีกขวาบนเท่านั้น แต่หลาย ๆ คนยังเผชิญกับอาการปวดหัวข้างขวาบริเวณท้ายทอย ปวดหัวข้างขวาร่วมกับคลื่นไส้ และอาการอื่น ๆ อีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตามแต่ละบุคคล ดังนี้
ปวดหัวข้างขวาลามไปกระบอกตา
เมื่อมีอาการปวดหัวข้างขวาร่วมกับปวดเบ้าตา อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มักมีอาการร่วมกับตาพร่ามัว เวียนหัว เห็นภาพซ้อน มีไข้ ตลอดจนชามือและเท้า โดยอาการแบบนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีโรคทางสมองต่าง ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา
ปวดหัวข้างขวาบริเวณหลังหู
ลักษณะอาการปวดหัวข้างขวาบริเวณหู คือ ตื่นนอนแล้วปวดหัว ปวดบริเวณกราม ขากรรไกร ลามไปจนถึงหลังหู ส่วนใหญ่อาการแบบนี้จะเกิดกับผู้ที่นอนกัดฟันตอนกลางคืนหรือผู้ที่เป็นโรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
ปวดหัวคิ้วข้างขวา
ลักษณะอาการปวดหัวคิ้วหรือปวดตรงคิ้วขวา คือ ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่บริเวณหน้าผาก ขมับ และหัวคิ้ว โดยอาจจะปวดเบ้าตาขวาหัวคิ้วด้วย ส่วนใหญ่เกิดร่วมกับอาการปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยไซนัส เป็นต้น
ปวดหัวข้างขวาบริเวณท้ายทอย
ปวดหัวข้างขวาท้ายทอยมักจะมีลักษณะอาการร่วมกับกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ตึง เส้นคอปวดตึง โดยมักเกิดกับผู้ที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น เส้นประสาทท้ายทอยอักเสบ โรคหลอดเลือดแดงขมับอักเสบ เป็นต้น
ปวดหัวข้างขวาข้างเดียว
ลักษณะอาการของปวดหัวข้างขวาทุกวันเป็นประจำ มักมีอาการปวดหัวจี๊ด ๆ ร่วมกับอาการปวดหัวคลื่นไส้ เวียนหัว ตาพร่ามัว และไวต่อเสียงและสี มักเกิดกับผู้ป่วยไมเกรน
ปวดหัวข้างขวาสลับซ้าย
ลักษณะการของปวดหัวข้างซ้ายสลับขวา คือ จะมีอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ ปวดตุ้บ ๆ สลับ 2 ฝั่ง ตั้งแต่ครั้งละ 15 นาทีไปจนถึงครึ่งชั่วโมง
ปวดหัวข้างขวา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อย่างไรก็ตามอาการปวดหัวซีกขวานั้นมีทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ก็ควรจะรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้รักษาได้ทันอย่างท่วงที อาการปวดหัวที่เป็นสัญญาณเตือนร้ายแรง และผู้ป่วยควรรีบไปพบคุณหมอทันที อาจมีดังนี้
- ปวดหัวรุนแรงผิดปกติและรุนแรงขึ้น
- อาการปวดหัวข้างขวาเริ่มเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน
- มีไข้ รู้สึกสับสน ความสามารถในการจดจำลดลง และมีอาการทางระบบประสาท
- ปวดบริเวณกระบอกตาและหลังหูบ่อย
- ปวดหัวข้างขวาตาพร่ามัว การมองเห็นเปลี่ยนไป มองเห็นไม่ชัด
การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างขวา
การวินิจฉัยอาการปวดหัวข้างขวาจะเริ่มจากการซักประวัติทางการแพทย์ สอบถามยาที่แพ้ ตรวจร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก อาจจะต้องตรวจด้วยวิธีการดังนี้
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
เป็นการฉายรังสีเอกซ์ เพื่อสร้างภาพตัดขวางของสมองอย่างละเอียด ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เปิดอการปวดหัวข้างขวาจี๊ด ๆ ได้
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เป็นการใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ สร้างภาพของสมองและหลอดเลือดอย่างละเอียด เพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย และโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดหัว
แนวทางการรักษาปวดหัวข้างขวา
ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาอาการปวดหัวจี๊ดๆ ข้างขวาเป็นพักๆ หรือปวดหัวข้างขวาข้างเดียว จนเกิดความกังวลและความเครียดจนส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น สามารถใช้แนวทางการรักษาที่เรานำมาฝากได้ ดังนี้
การบรรเทาอาการปวดหัวข้างขวาด้วยตัวเอง
ผู้ที่มีอาการปวดหัวข้างขวา สามารถใช้วิธีแก้ปวดหัวเบื้องต้นง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
- ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นบริเวณท้ายทอย คอ ขมับ และกระบอกตา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
- รับประทานยาแก้ปวดอย่าง พาราเซตามอล หรือยาไมเกรน เช่น ยากลุ่ม triptan ยากลุ่ม ergotamine หรือยากลุ่ม ibuprofen เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวข้างขวา ทั้งนี้ยาบางตัวไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
- ผ่อนคลายอาการด้วยวิธีนวดแก้ปวดไมเกรนหรือนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อและเลือดลมคลายตัว ระบบไหลเวียนโลหิตสามารถทำงานได้ปกติ
- ใช้สมุนไพรรักษาไมเกรนหรือสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการลดอาการปวดหัว เช่น ขิง ใบบัวบก ผักขม เป็นต้น
การรักษาปวดหัวข้างขวาทางการแพทย์
หากใครที่ลองวิธีแก้ปวดหัวเบื้องต้นง่าย ๆ แล้วแต่อาการยังไม่บรรเทา ก็สามารถใช้วิธีทางการแพทย์ เช่น
- การฉีดโบท็อกไมเกรน
นอกจากจะช่วยเสริมความงามแล้ว ยังสามารถรักษาอาการปวดหัวข้างขวาจี๊ด ๆ หรือปวดไมเกรนข้างขวาได้ เพียงแค่ฉีดโบท็อกไมเกรนบริเวณที่แพทย์แนะนำ 1 ครั้งจะสามารถรักษาอาการปวดได้นาน 3-4 เดือน
- การกระตุ้นด้วยแม่เหล็ก (TMS)
คือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทและเกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานให้ปกติ เพื่อรักษาอาการปวดหัวข้างขวาและรักษาโรคทางหลอดเลือด วิธีนี้จะคล้ายคลึงกับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณท้ายทอย (ONS)
หากใครที่ปวดหัวข้างขวาท้ายทอย สามารถรักษาด้วยการกระตุ้นบริเวณเส้นประสาทท้ายทอย แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่เป็นวิธีที่ปลอดภัยและบรรเทาอาการปวดได้อย่างดี
- การกระตุ้นปมประสาท (SPG)
เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการรักษาอาการปวดหัวข้างขวาแบบคลัสเตอร์และการปวดหัวเรื้อรัง
ปรับไลฟ์สไตล์ป้องกันปวดหัวข้างขวา
โดยเราสามารถเลี่ยงหรือป้องกันอาการปวดหัวข้างขวาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
- กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรนหรืออาหารที่กระตุ้นอาการปวดหัว
- เริ่มการปรับพฤติกรรมง่าย ๆ เพียงแค่เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กินวิตามินไมเกรนหรือวิตามินแก้ปวดไมเกรนข้างขวา ตลอดจนดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัว เช่น น้ำขิง น้ำใบบัวบก เป็นต้น
- ปรับเวลาการนอนพักผ่อน โดยพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงและนอนหลับให้เป็นเวลา
- ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดภาวะการขาดน้ำในร่างกาย แม้จะฟังดูเป็นวิธีเบสิคง่าย ๆ แต่วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี
- ออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น วิ่งเบา ๆ เดินเบา ๆ หรือโยคะแก้ปวดหัว
- หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือการจ้องจอเป็นเวลานานมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเสียงดัง มีแสงวูบวาบ หรือมีกลิ่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวาบ่อย ๆ อีกด้วย
- เลือกอาบน้ำอุ่นแทนน้ำเย็น เพื่อให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ข้อสรุป
อาการปวดหัวด้านขวานั้นเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนั้นหากใครที่กำลังมีอาการดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาจจะเริ่มปรับพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ของตนเอง เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวให้ดียิ่งขึ้น
แต่หากใครที่กำลังเผชิญกับอาการปวดหัวไมเกรนหรือปวดหัวข้างขวาจี๊ดๆ บ่อยครั้งมากขึ้น และต้องการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ตรวจไมเกรน และเข้ารักษาอย่างปลอดภัยได้เลย
เอกสารอ้างอิง
Ana Gotter and David Rossiaky. (2021). What Causes Headaches on the Right Side of Your Head?. Retrieve from https://www.healthline.com/health/headache-right-side
Jayne Leonard. (2022). What does a right-sided headache mean?. Retrieve from https://www.medicalnewstoday.com/articles/321513