อาการปวดไมเกรนทำให้ มีความเสี่ยงกับโรคเส้นเลือดสมองตีบ ได้อย่างไร
ปวดไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบประสาท โดยในช่วงเวลาที่ปวดไมเกรนนั้นสมองหลาย ๆ ส่วนจะทำงานผิดปกติ ทำให้การรับความรู้สึกของบริเวณศีรษะและใบหน้าเพิ่มขึ้น จนรู้ได้ถึงการเต้นของเส้นเลือดที่ปวดตุบ ๆ
สารบัญบทความ
- ทำไมไมเกรนจึงเสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ
- ความแตกต่างเส้นเลือดสมองตีบกับโรคไมเกรน
- สังเกตอาการเส้นเลือดสมองตีบ
- ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
- วิธีป้องกันไมเกรนที่นำสู่ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
- แนวทางการลดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
- การวินิจฉัยอาการเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองจากไมเกรน
- อันตรายจากไมเกรนนี่ส่งผลภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
- ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดภาวะของโรคเส้นเลือด สมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
- ข้อสรุป
ทำไมไมเกรนจึงเสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ
เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่า ไมเกรนมีความสัมพันธ์กับโรคเส้นเลือดสมอง อย่างเส้นเลือดสมองตีบและเส้นเลือดสมองแตกอย่างไร เนื่องจากไมเกรนเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยที่สุดในวัยรุ่นและวัยทำงาน อายุประมาณ 15-35 ปี เป็นโรคที่มีผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินชีวิต
โรคปวดศีรษะไมเกรนมีความสัมพันธ์กับโรคเส้นเลือดสมอง ข้อมูลจากรายงานในวารสารทางการแพทย์ “Brain” ที่ตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม 2017 บอกว่า คนที่เป็นไมเกรนชนิดมีอาการเตือน (migraine with aura) จะเกิดเส้นเลือดสมองตีบได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 27% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดสมองตีบสูงสุด ส่วนคนไข้ไมเกรนชนิดมีอาการเตือนที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) เป็นส่วนประกอบจะพบความเสี่ยงของเส้นเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนจะใช้ยาคุมกำเนิด อีกทั้งพบว่าคนที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนทั่วไปถึง 46%
ความแตกต่างเส้นเลือดสมองตีบกับโรคไมเกรน
แม้ว่าโรคไมเกรนและโรคเส้นเลือดในสมองตีบสามารถเกิดขึ้นและมีอาการพร้อมกันได้ แต่มีการจำแนกความแตกต่างของเส้นเลือดในสมองตีบกับโรคไมเกรน เพื่อเป็นข้อสังเกตุว่าอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยใดกันแน่ ดังนี้
โรคไมเกรน : สามารถสังเกตได้จากอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ ปวดที่ขมับด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจปวดทั้งสองข้าง ในบางรายอาจปวดร้าวไปที่เบ้าตา มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน เห็นเป็นแสงระยิบระยับ เป็นต้น
เส้นเลือดสมองตีบ : ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อัมพาตหรือชาครึ่งซีกชั่วขณะ ใบหน้าบิดเบี้ยว ปากเบี้ยว ไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ และเดินเซ เป็นต้น
สังเกตอาการเส้นเลือดสมองตีบ
ลักษณะอาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ในเวลาไม่กี่นาที เกิดขึ้นตามอวัยวะส่วนต่างๆ ดังนี้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
- สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มืดไปชั่วขณะ
- ใบหน้าเบี้ยว มีความรู้สึกว่าใบหน้าบิดเบี้ยว ผิดแปลกไปจากเดิม
- สื่อสารด้วยการพูดไม่ได้ ไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดให้คนอื่นเข้าใจได้
- แขน และขาอ่อนแรง รู้สึกชาที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
- ไม่สามารถทรงตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้
- ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก มีอาการลิ้นแข็ง หรือสำลักน้ำลาย
- มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง มองเห็นไม่ชัด หลับตาไม่สนิท
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันหรือมีเลือดออกในสมอง อาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย พูดไม่ชัด อ่อนแรง มีปัญหาด้านการมองเห็น ปวดศีรษะแบบเฉียบพลัน มีอาการทรงตัวไม่ได้ เดินเซ โดยประเภทของโรคหลอดเลือดสมองมี ดังนี้
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)
พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke)
พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก ซึ่งถือว่ามีอันตรายมากที่สุดในบรรดาโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว หากไปพบแพทย์ไม่ทันเวลา
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack)
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ คืออาการโรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง แต่อาการที่เป็นจะไม่กินระยะเวลา เป็นไม่นาน จากนั้นอาการดีขึ้นได้เอง สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดเกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเป็นระยะเวลาชั่วคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการ 5-15 นาที เท่านั้น
วิธีป้องกันไมเกรนที่นำสู่ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
ป้องกันไมเกรนที่นำสู่ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส เนย นม ช็อคโกแลต กล้วยหอม ชาและกาแฟ
- การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ และการนอนต้องมีคุณภาพ
- งดการใช้ฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด
- ควบคุมความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมอื่นๆ ทำ นอกเหนือจากการเรียนและการทำงาน
- ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
- การทำสมาธิ การทำสมาธิช่วยลดอาการไมเกรนได้เป็นอย่างดี
- การจัดการกับความเครียด ไม่เครียดกับสิ่งใดก็ตามมากเกินไป เนื่องจากความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ และยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
- การออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด
- รู้จักผ่อนคลาย ไม่เครียดมากเกินไป หาเวลาพักผ่อนให้ตัวเองอยู่เสมอ
- ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกิน
แนวทางการลดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
แนวทางการลดภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่ให้น้ำหนักเกินจนเกิดภาวะอ้วน
- งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
- หากเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันอยู่เดิมแล้ว ต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และพบแพทย์อยู่เสมอ
- รับประทานอาหารไขมันน้อย ไม่ทานรสเค็มจัด เพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
- รับประทานผักและผลไม้ในมื้ออาหารอยู่เสมอ
- ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง อาการ และแนวทางการรักษา
- ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองควรมีญาติหรือผู้ดูแลที่รู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและวิธีการเข้ารับการรักษา
- ถ้ามีอาการของโรคหลอดเลือดสมองให้รีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
การวินิจฉัยอาการเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองจากไมเกรน
ปัจจุบันอาการปวดไมเกรนที่หลายคนเจอยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อกันว่าเป็นผลของการอักเสบที่เกิดขึ้นในระบบประสาท หรือเกิดจากความผิดปกติของระดับสารเคมีหรือการนำกระแสไฟฟ้าในสมอง ส่งผลทำให้หลอดเลือดสมองทำงานผิดปกติไปชั่วขณะ โดยการวินิจฉัยโรคไมเกรนจะเป็นการซักประวัติคนไข้ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัยสมองโดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
วินิจฉัยจากการซักประวัติ
แพทย์จะเริ่มจากการถามอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ระยะเวลาที่ปวด ความถี่ของอาการ อาการร่วมหรืออาการข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้อาเจียน อาการอ่อนแรง ปวดกระบอกตา ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ประวัติโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา เป็นต้น
วินิจฉัยจากเทคโนโลยีทางการแพทย์
- MRI ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดในระยะเวลาหลายวัน อาการไม่ดีขึ้น ปวดหัวแบบไม่เคยเป็นมาก่อน การปวดหัวแบบกระทันหันและรุนแรงที่มาพร้อมกับอาการอาเจียนมาก อาการปวดหัวที่มาพร้อมกับการเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง มีอาการซึม สับสน ปากสั่น หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว พูดไม่ชัด โดยอาการเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่อาการไมเกรนแต่เป็นอาการของโรคร้ายแรงทางสมอง แต่เกิดได้ไม่บ่อยมากนัก ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดในสมองตีบหรือตัน เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ทางแพทย์ก็จะพิจารณาใช้ ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากการ MRI เป็นการสแกนหรืเอกซเรย์สมองโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถแสดงภาพของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
- CT Scan หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะใช้ในกรณีที่คนไข้มีอาการเดียวกับที่ได้กล่าวไปในหัวข้อ MRI โดยเป็นการเอกซเรย์ที่ละเอียดมากขึ้นกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา ทำให้เห็นภาพของสมองอย่างชัดเจน เพื่อการวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้นของแพทย์
อันตรายจากไมเกรนที่ส่งผลภาวะเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
- อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างกะทันหันจนไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้
- การใช้ยารักษาไมเกรน ที่ก่อให้เกิดภาวะ Ergotism เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดการหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณแขนขาส่วนปลายได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา อาการอาจรุนแรงขึ้นจนทำให้เนื้อตายเน่า จนต้องตัดอวัยวะได้
- การใช้ยา Ergotamine ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตก
- การใช้ยา Ergotamine ผิดวิธี อาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้
- การใช้ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ร่วมกับยาบางชนิด
- ยารักษาอาการไมเกรนหากทานบ่อยเกินไปจะส่งผลให้หลอดเลือดอักเสบเมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจึงเกิดอาการปวดหัว
- คนที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนทั่วไปถึง 46%
- การใช้ยารักษาไมเกรนในกลุ่มผุ้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- คนที่เป็นไมเกรนชนิดมีอาการเตือน จะเกิดเส้นเลือดสมองตีบได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 27%
- ยาในกลุ่มแก้ปวดบางชนิดสามารถเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและหัวใจได้
ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดภาวะของโรคเส้นเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยนอกจากไมเกรนจะส่งผลกับโรคหลอดเลือดมนสมองแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้เกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดในสมองอีกด้วย
- อายุที่มากขึ้น พบว่าผู้สูงวัยอายุ 55 ปีเป็นต้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรค มากกว่าคนหนุ่มสาว
- เชื้อชาติ จากผลสำรวจพบว่ากลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าคนเชื้อชาติอื่นในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- เพศชายมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพศหญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงมักจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้น
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นไปได้สูงที่คนๆ นั้นจะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น
- การใช้ฮอร์โมน การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- การดื่มสุรา พบว่าคนที่ดื่มสุราหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่มสุรา
- การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการที่คนเราไขมันในเลือดสูงทำให้ผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยกว่าคนปกติ หากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดและเกิดโรคหลอดเลือดสมองในที่สุด
- ความเครียด อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
- ขาดการออกกำลังกาย พบว่าคนที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอัตราที่น้อยมากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย
ข้อสรุป
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียน มีอาการปวดแบบกะทันหัน ปวดมากแบบไม่เคยเป็นมาก่อน มือเท้าชา รู้้สึกปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว ไม่สามารถสื่อสารออกทางคำพูดได้ ควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง ร่วมกับอาการชาครึ่งซึก ตาพร่ามัว มองไม่เห็น ไม่รู็สึกตัว ซึมลง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
A Controlled Trial of Erenumab for Episodic Migraine Goadsby P, Reuter U, et al N Engl J Med 2017; 377:2123-2132 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29171821/