อาการ ไขมันสูง เสี่ยงไมเกรนภัยเงียบที่หลายคนต้องรู้

อาการไขมันสูงเสี่ยงเป็นไมเกรน

ไขมันสูง หลายคนที่เป็นโรคอ้วนหรือเป็นคนที่มีน้ำหนักเกิน มักจะพบเจอกับปัญหาอาการปวดหัวที่เข้ามาเยือนร่างกายอยู่บ่อย ๆ เช่นเดียวกันกับการศึกษาและวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ผู้ป่วยไมเกรน ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง มีปัญหาด้านการมองเห็น คลื่นไส้อาเจียน มักเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักเกินนั้นจะมีภาวะไขมันในเลือดที่สูงกว่าคนทั่วไปสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งภาวะไขมันในเลือดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหัวเรื้อรัง ดังนั้นไขมันสูงไม่เพียงแต่ทำให้เกิดโรคอ้วนแต่ยังเป็นสาเหตุของอาการไมเกรนอีกด้วย

สารบัญบทความ

ไขมันสูงสังเกตได้อย่างไร

ไขมันสูงสังเกตได้อย่างไร

ไขมันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอันตรายต่างๆ ตามมา โดยไขมันสูงสามารถสังเกตได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องบ่อยๆ เกิดอาการปวดท้อง บางรายอาจปวดรุนแรง และเสี่ยงเป็นตับอ่อนอักเสบอีกด้วย
  • มีปื้นเหลืองตามร่างกาย ผู้ที่มีไขมันสูงจะสังเกตได้ว่าตามร่างกายจะมีลักษณะเป็นปื้นหนา จะเป็นปื้นที่มีลักษณะตรงกลางเป็นสีเหลือง ตัวฐานจะมีลักษณะสีแดง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อมีไตรกลีเซอร์ไรด์สูง บริเวณที่มักเกิดปื้นสีเหลือง ได้แก่ หนังตา ข้อศอก ฝ่ามือ เข่า เป็นต้น
  • ความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะไขมันสูงจะทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ที่มีไขมันสูงอาจเกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดเมื่อตามกล้ามเนื้อ หรือในบางรายอาจมีอาการเดินโซเซ ไม่สามารถบังคับการเคลื่อนไหวได้
  • มีอาการปวดตามร่างกาย อาจปวดตามข้อ หรือปวดแขนขา เหยียดตึงไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ถนัด
  • มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI สูงมากกว่า 30

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไขมันสูง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไขมันสูงมีดังนี้

  1. ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ขึ้น หลายคนมีระดับการเผาผลาญสูง แม้ไม่ออกกำลังกายก็ไม่อ้วน แต่ในคนที่มีน้ำหนักเกินนั้น อาจมีระดับเผาผลาญที่ต่ำ ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย ต้องอาศัยการออกกำลังกาย ซึ่งหากไม่ออกกำลังกายก็จะทำให้เกิดไขมันสูงได้
  2. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจากกรมพันธุ์ มีส่วนทำให้ร่างกายเผาผลาญและทำลายไขมันลดลง
  3. การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอดที่อมน้ำมัน หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จาก เนย นม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันจากสัตว์ เป็นต้น
  4. การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก เบเกอรี่ ขนมหวาน เป็นต้น
  5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มเป็นเวาลานาน ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  6. รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกาย คนที่มีพฤติกรรมทานบ่อย ทานหลายมื้อต่อวันจนเกินความจำเป็นของร่างกาย มีความเสื่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคไขมันสูง
  7. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  8. โรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคไต โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น
  9. อายุ จริงอยู่ที่โรคไขมันสูงสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่เมื่ออายุมากขึ้นระบบการเผาผลาญจะทำงานได้น้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการควบคุมน้ำหนัก
  10. ความเครียด ความเครียดก็มีส่วนทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

ไขมันสูงส่งผลกระทบกับไมเกรนได้อย่างไร

ไขมันสูงสามารถส่งผลกระทบกับไมเกรนได้เนื่องจากภาวะไขมันสูงทำให้ระบบเผาผลาญและการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหัวเรื้อรัง และอาการไมเกรน ตามมา

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไขมันสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากไขมันสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไขมันสูง อันตรายมากกว่าที่คิด ในบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต โดยภาวะแทรกซ้อนจากโรคไขมันสูงสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • ไมเกรน ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหัวเรื้อรัง
  • โรคอ้วน เมื่อร่างกายมีการสะสมไขมันที่เกินกว่าปกติจนร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้ หรือเผาผลาญได้น้อยมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา
  • โรคหัวใจขาดเลือด การที่ร่างกายมีไขมันในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว นำไปสูโรคหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจขาดเลือด
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย เมื่อร่างกายมีไขมันในเลือดสูง เลือดจะมีความหนืดสูงกว่าปกติ อีกทั้งยังมีการสะสมของไขมันตามหลอดเลือดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ จนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน
  • ตามัว หรือตาบอด เมื่อมีระดับไขมันใเลือดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาตามัว บางรายอาจถึงขั้นตาบอด
  • ตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนอักเสบมักพบในผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 500 มก.

ความอันตรายของโรคไขมันสูงกับไมเกรน

เมื่อร่างกายมีไขมันในเลือดสูง เลือดจะมีความหนืดสูงกว่าปกติและมีการสะสมของไขมันตามหลอดเลือดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้ไการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหัวเรื้อรัง และอาการไมเกรน มีอาการปวดหัวไมเกรนรุนแรง ตามมา อีกทั้งพบว่าคนที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนทั่วไปถึง 46% อาจเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหากรักษาไม่ทันผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตได้ในทันที

แนวทางป้องกันไมเกรนจากไขมันสูง

แนวทางป้องกันไมเกรนจากไขมันสูง

แนวทางการป้องกันไมเกรนจากไขมันสูงสามารถทำได้ดังนี้

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นการช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยให้เลือดสูบฉีดได้ขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดไขมันสูง ความเสี่ยงในการเกิดไมเกรนก็น้อยลง
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอดที่อมน้ำมัน หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จาก เนย นม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันจากสัตว์ เป็นต้น
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก เบเกอรี่ ขนมหวาน เป็นต้น
  • ลดหรืองดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มเป็นเวาลานาน ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ไม่ทานเกิน 3 มื้อ เนื่องจากการรับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกาย คนที่มีพฤติกรรมทานบ่อย ทานหลายมื้อต่อวันจนเกินความจำเป็นของร่างกาย มีความเสื่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคไขมันสูง
  • ไม่ใช้ยาที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไขมันสูง การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • พยายามกำจัดความเครียด เนื่องจากความเครียดมีส่วนทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

การรักษาไมเกรนจากโรคไขมันสูง

การรักษาไมเกรนจากโรคไขมันสูงจะต้องรักษาจากต้นเหตุ โดยสามารถทำได้โดยการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการทานอาหาร การออกกำลังกาย นอกจากนี้การปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัดก็เป็นสิ่งสำคัญ

  • รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เน้นทานปลาทะเล ไม่ทานเนื้อสัตว์ที่ติดหนัง ไม่ทานเมนูที่มีส่วนผสมของกะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป
  • งดอาหารทอด เลือกทานอาหารหรือปรุงอาหารด้วยวิธีอื่นแทนการทอด เช่น อบ นึ่ง ย่าง หรือการผัด
  • รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง โดยทานในสัดส่วนที่พอดี เช่น การทานข้าวกล้องแทนข้าวสวย ทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน ไม่มากและไม่น้อยเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรนขึ้นได้
  • ลดน้ำหนักและควบคุมอาหารในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน เพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับเอชดีแอล คอเลสเตอรอล และสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
  • รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำขอบแพทย์

อาหารที่ก่อให้เกิดไขมันสูง

อาหารที่ก่อให้เกิดไขมันสูง ได้แก่

  • อาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือแม้แต่ผลไม้ที่ทานในปริมาณมากก็ทำให้เกิดไขมันสูงได้เช่นกัน
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันจากสัตว์ อาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เนย นม
  • อาหารที่ไขมันทรานส์ จำพวกเบเกอรี่ เช่น ขนมปัง โดนัท คุกกี้ เค้ก
  • อาหารที่อมน้ำมัน เช่น เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด ไอศกรีมทอด กล้วยทอด ลูกชิ้นทอด เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การตรวจวินิจฉัยไขมันสูงจากไมเกรน

การตรวจหาสาเหตุของโรคไขมัน

การตรวจวินิจฉัยไขมันสูงจากไมเกรน มีดังนี้

  • การซักประวัติ อาการปวดศีรษะ และอาการทางระบบประสาท เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ แขนขาอ่อนแรง สับสน และระยะเวลาที่เริ่มมีอาการผิดปกติ ซักประวัติโรคประจำตัวและการรักษา เพื่อหาความเสี่ยงจากการปวดหัวบ่อย
  • การตรวจร่างกาย โดยเริ่มจากฟังเสียงหัวใจเต้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจชีพจร ตรวจความดันโลหิต ตรวจการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น
  • การตรวจวินิจฉัยภาวะสมองอักเสบ เนื่องจากไขมันสูงสามารถส่งผลกระทบกับไมเกรนได้เพราะภาวะไขมันสูงทำให้ระบบเผาผลาญและการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) การถ่ายภาพสมองโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน
  • การเจาะเลือดตรวจหาค่าความผิดปกติต่างๆ เพื่อ หาสาเหตุ
  • ตรวจไขมัน น้ำตาล เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันสูง

การรักษาโรคไมเกรน

แนวทางการรักษาไมเกรนสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมาก โดยมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ กดจุด นวดแก้ปวดไมเกรน นวดบริเวณคอหรือศีรษะเพื่อลดอาการเจ็บ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงแสงและเสียงเพื่อไม่ให้อาการไมเกรนกำเริบ
  2. การรักษาโดยใช้ยา เป็นการบรรเทาหรือป้องกันอาการไมเกรน โดยการรับประทานยาใจทันทีที่มีอาการไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาป้องกันไมเกรนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    • ยาป้องกัน ยาที่ใช้ป้องกันอาการไมเกรน ได้แก่ กลุ่มยาลดความดัน เช่น Propranobol กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า Amitriptyline กลุ่มยากันชัก Valproate เป็นต้น
    • ยาแก้ปวดเฉียบพลัน ยาบรรเทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล ยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรง ได้แก่ ยากลุ่ม Triptans เป็นต้น
    • การรักษาโดยวิธีทางเลือก การวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการประเมินตามอาการของผู้ป่วย โดยจะแนะนำวิธีการรักษา เช่น ฝังเข็ม กระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือ การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน
    • ฝังเข็ม การฝังเข็มรักษาอาการไมเกรนเป็นวิธีการรักษาในทรงการแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยการฝังเข็มจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และจะทำให้อาการไมเกรนลดงลง โดยจะฝังเข็มไปตามจุดต่างๆ บริเวณคอ บ่า ไหล่ หน้าผาก ศีรษะ เป็นต้น
    • กระตุ้นคลื่นไฟฟ้า เป็นการรักษาเพื่อลดและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บปวด ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เวลาไม่นานเพียง 30-60 นาทีเท่านั้น ซึ่งผลการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าเป็นที่น่าพอใจ
    • ฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์ไมเกรนหมอจะฉีดโบท็อกซ์บริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ การฉีดโบท็อกซ์ จะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง

ข้อสรุป

อาการไขมันในเลือดสูงเป็นอาการที่จะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะนอกจากจะเสี่ยงไมเกรนแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งสามารถเสียชีวิตกะทันหันได้ด้วย ดังนั้นใครที่มีอาการไมเกรนจากไขมันสูงจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยด่วน
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์

เอกสารอ้างอิง

Reiner Z, Catapano AL, De Backer G, et al. ESC/EAS Guidelines for the management of dyslipidaemias. Eur Heart J. 2011 Jul;32(14):1769-818. Epub 2011 Jun 28.

https://pdfs.semanticscholar.org/68b1/131fec0dfc227ddf5a291384059b7e517502.pdf?_ga=2.221469912.1910126796.1615368643-1089673905.1608626583