PM2.5 ฝุ่นมลภาวะในอากาศ กับการปวดหัวไมเกรน
PM 2.5 ฝุ่นจิ๋วที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์อยู่ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วสมองของผู้ป่วยไมเกรนจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ดังนั้น ฝุ่น PM 2.5 จึงเป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง กะทันหันของผู้ป่วยไมเกรน เนื่องจาก PM 2.5 สามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นนั่นเอง
สารบัญบทความ
- PM2.5คืออะไร
- ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสมองได้อย่างไร
- อาการปวดหัวที่เกิดจาก PM2.5
- PM2.5 ส่งผลต่อโรคไมเกรนได้อย่างไร
- อันตรายจากPM2.5
- การป้องกันปวดหัวไมเกรนจาก PM2.5
- การปฎิบัติตนเมื่อปวดไมเกรน
- ข้อสรุป
PM2.5 คืออะไร
ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่นขนาดจิ๋ว ที่เรียกว่า PM 2.5 (ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μM) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 20 – 30 เท่า ฝุ่น PM 2.5 นี้ไม่ใช่เป็นมลพิษทางอากาศชนิดเดียวที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ยังมีก๊าซพิษอีกหลายอย่าง อาทิเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), โอโซน (O3), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) รวมทั้งยังพบว่ามีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจอีกด้วยมากกว่า 90% ของประชากรทั่วโลกได้รับมลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน
ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศนี้ไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังพบตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกระจายเป็นวงกว้าง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า ในทุกปีมีประชากรถึง 7 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอาการไมเกรน และยังส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหัวใจ, และ โรคสมอง (World Health Organization)
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสมองได้อย่างไร
ฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับโรคสมองเป็นอย่างมาก เนื่องจากฝุ่นจิ๋วนี้มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมหลายสิบเท่า ดังนั้นเมื่อเราสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไป จะซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และตรงไปที่สมอง และกระตุ้นทำให้เกิดโรคทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมองตีบ จะเห็นว่ามีปัจจัยต่อสมองโดยตรง
อาการปวดหัวที่เกิดจาก PM2.5
ในเด็กมีหลายงานวิจัยที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของระดับ PM 2.5 ต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา อาทิเช่น มีสติปัญญาด้อยลง (Global Intelligence Quotient; IQ), การพัฒนาการช้าลง (ทั้ง Cognitive และ Psychomotor Development) มีปัญหาการได้ยินและการพูด รวมทั้งยังมีผลทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit) และภาวะออทิซึม (Autism) เพิ่มมากขึ้นถึง 68%
ในผู้ใหญ่พบว่า การได้รับฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า และทำให้เกิดโรคพาร์กินสันเพิ่มได้ถึง 34% รวมทั้งยังทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยทุก ๆ 10 μg/m3 ของระดับ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมองประมาณ 13% ถ้าได้รับฝุ่นจิ๋วในระดับความเข้มข้นที่เพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มคนที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองอยู่แล้ว การได้รับ PM 2.5 ยังเป็นการเพิ่มอัตราการตายในคนกลุ่มนี้อีกด้วย
คนที่ออกกำลังกายในสถานที่ที่มีฝุ่น PM2.5 จำนวนมาก จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพสมองและเพิ่มอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง การรับประทานผักและผลไม้ (มากกว่า 3.5 serving ต่อวัน) จะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นจิ๋วต่อร่างกายได้ เนื่องจากผลของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในผักและผลไม้ ในกลุ่มคนที่เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งสมองจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ฝุ่น PM2.5 รวมทั้งมลพิษในอากาศชนิดอื่น ๆ สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นมาได้ โดยพบว่าในช่วงเวลาที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วอยู่ในระดับสูง เช่น ฤดูหนาว จะพบคนที่เป็นไมเกรนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง จนต้องไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติประมาณ 4 – 13% (Chen C.-C., 2015)
PM2.5 ส่งผลต่อโรคไมเกรนได้อย่างไร
โดยทั่วไปแล้วสมองของผู้ป่วยไมเกรนจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ดังนั้น ฝุ่น PM 2.5 จึงป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างกะทันหันของผู้ป่วยไมเกรน เนื่องจาก PM 2.5 สามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นนั่นเอง โดยพบว่าในช่วงเวลาที่มีฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสูง เช่น ฤดูหนาว จะพบคนที่เป็นไมเกรนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง จนต้องไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติ
อันตรายจากPM2.5
ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง การพาออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่างๆแย่ลง ทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้น เช่นหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะนอกจากฝุ่นเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเกิดกระบวนการสร้างสารอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสารเหล่านี้สามารถซึมเข้าสู่สมองได้
ยิ่งไปกว่านั้นฝุ่น PM2.5 ยังผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่เหนือโพรงจมูก ตรงเข้าสู่สมองโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบในสมองขึ้น เกิดโรคทางสมองต่างๆตามมามากมายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะอัมพาตหรืออาจเสียชีวิตได้ ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณฝุ่นที่ได้รับ และ ระยะเวลาที่ได้สัมผัสฝุ่น
ในสมองเด็กๆจะทำให้ IQ ลดลง การพัฒนาการช้ากว่าปกติ และทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นได้มากขึ้นถึงเกือบ 70%
ในสมองผู้ใหญ่นั้น พบว่าทำให้เกิดผลกระทบต่อสมองหรือโรคทางสมองต่างๆมากขึ้น เช่น
- เนื้อสมองสีขาว (white matter-เนื้อสมอง ที่ประกอบไปด้วยเส้นใยประสาทเต็มไปหมด) ของคนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่มีค่า PM2.5 ในปริมาณมาก มีปริมาณน้อยกว่า เทียบกับเนื้อสมองของคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 ในระดับต่ำ
(งานวิจัยใช้เครื่อง MRI หรือmagnetic resonance imaging วัดสมองของผู้หญิง 1,403 คน เนื้อสมองที่ลดลงพบในสมองส่วนหน้า (frontal lobe) สมองส่วนขมับ (temporal lobe) และคอร์ปัสแคลโลซุม(corpus callosum) ซึ่งเป็นกลุ่มเส้นใยประสาทที่เชื่อมสมองซีกซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน ) - โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า
- โรคหลอดเลือดสมองตีบและหลอดเลือดสมองแตก เพิ่มมากขึ้นประมาณ15 % โดยทุก ๆ 10 μg/m3 ของระดับ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 13%
- โรคพาร์กินสัน เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 30%
- ในคนที่เป็นไมเกรนจะมีการปวดหัวที่รุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากสมองของผู้ป่วยไมเกรนจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ดังนั้น ฝุ่น PM 2.5 จึงป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงอย่างกะทันหันของผู้ป่วยไมเกรน เนื่องจาก PM 2.5 สามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นนั่นเอง โดยพบว่าในช่วงเวลาที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วอยู่ในระดับสูง เช่น ฤดูหนาว จะพบคนที่เป็นไมเกรนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง จนต้องไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงปกติ
การป้องกันปวดหัวไมเกรนจาก PM2.5
ดูแลตัวเองยังไงในช่วงที่อากาศหนาแน่นด้วย ฝุ่น pm 2.5
- เช็กค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน ผ่านแอพพิเคชัน
– AirBKK
– Air4Thai - พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากเป็นวันที่ค่าของฝุ่น pm 2.5 เกินค่ามาตรฐาน
- ออกกำลังกายภายในอาคารแทน ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร
- ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ พิจารณาการล้างจมูกอาจช่วยลดทั้งฝุ่น pm 2.5 ในทางเดินหายใจส่วนบน และสารก่อภูมิแพ้ได้
- แนะนำใช้เครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA ( High efficiency particulate air) filter เพื่อช่วยกรองฝุ่น pm 2.5 ภายในอาคาร
- ใส่หน้ากาก N95
- ในผู้ป่วยกลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามาภายในอาคาร
- ในผู้ป่วยโรคไมเกรน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตนอกอาคารให้มากที่สุด หากจำเป็นจะต้องออกไปด้านนอก ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ซึ่งสามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้
การปฎิบัติตนเมื่อปวดไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคที่มีระดับความรุนแรงและเรื้อรังได้แตกต่างกัน อาจปวดได้ 2 – 3 เดือนต่อครั้ง จนกระทั่งปวดเกือบทุกวัน ผู้ป่วยไมเกรนจึงจำเป็นต้องสังเกตปัจจัยต่างๆ ที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น ความเครียด ร่างกายอ่อนเพลีย อดนอน นอนเยอะเกินไป แสงจ้าๆ กลิ่นฉุน มลภาวะทางอากาศ ช่วงขณะมีระดู หรือ รับประทานยาคุมกำเนิด ช่วงที่อดอาหาร หรือ ควบคุมอาหาร อาหารบางชนิด เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง ช๊อกโกแลต เครื่องเทศ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งการรับประทานยาแก้ปวดบ่อยๆ ก็จะทำให้โรคไมเกรนควบคุมยากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติคือ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยข้างต้นที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวด
ข้อสรุป
หากใครกำลังเผชิญปัญหาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงจากผลกระทบของ PM 2.5 ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยง PM 2.5 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้ ส่วนวิธีการรักษาไมเกรนจากฝุ่น PM 2.5 นั้น สามารถทำได้หลายวิธี แต่ การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน เป็นวิธีที่สามารถเห็นผลได้เร็วสุด และยังเป็นการรักษาที่ปลอดภัย นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก โดยการฉีดโบท็อกซ์ เพื่อรักษาไมเกรนจำเป็นจะต้องฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ รู้ลึกเกี่ยวกับกายวิภาค เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด เพราะการฉีดโบท็อกซ์ลดไมเกรนต่างกับการฉีดโบท็อกซ์แบบทั่วไป หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับอาการไมเกรน ไม่อยากทานยาลดไมเกรน และสนใจจะรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดโบท็อกซ์ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมิณอาการเบื้องต้นได้ที่ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัย ซึ่งเรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์คอยวินิจฉัยและให้คำปรึกษาอย่างตรงจุด
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
หากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษาหรือขอคำแนะนำ และจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
เอกสารอ้างอิง :
Critical analysis of the use of onabotulinumtoxinA (botulinum toxin type A) in migraine
https://pdfs.semanticscholar.org/68b1/131fec0dfc227ddf5a291384059b7e517502.pdf?_ga=2.221469912.1910126796.1615368643-1089673905.1608626583