เช็กให้ดี ปวดหัว อาเจียน บอกโรคอันตรายหรือแค่ไมเกรน

ปวดหัว อันตราย หรือแค่ไมเกรนหลายคนมีอาการปวดหัวข้างบ่อย ปวดแบบตุ๊บ ๆ เป็นจังหวะหรือบางคนก็ปวดจนมีอาการคลื่นไส้ จนอยากอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าอาการปวดหัวบ่อยเป็นความผิดปกติของสมอง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งสัญญาณความอันตรายของบางโรคได้ หากใครที่มีอาการเหล่านี้อยู่ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติและรีบรักษาได้ทันท่วงที

สารบัญบทความ

ปวดหัวบ่อย เป็นโรคอะไรได้บ้าง

อาการปวดหัวบ่อย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณของความผิดปกติธรรมดา จนเรื้อรังกลายเป็นความผิดปกติร้ายแรงของสมองได้ อาการปวดหัวบ่อย จำเป็นจะต้องสังเกตอาการตนเองเพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุของการปวดหัว หรือหากใครที่ไม่มีสาเหตุของอาการปวดหัวก็อาจเป็นได้ ปวดหัวบ่อย เสี่ยงโรคดังนี้

ปวดหัวแบบเรื้อรังทุกวัน (Chronic daily headache)

ผู้ป่วยชนิดนี้มักมีอาการปวดหัวเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัวแบบ tension และอาการปวดหัวเรื้อรังยังมีสาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้อีก เช่น ภาวะไซนัสอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็งเป็นต้น 

ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)

เป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อย และมักได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด โดยโรคปวดหัวไมเกรนนี้มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน ลักษณะการปวดมักทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะแย่ลงได้จากสิ่งกระตุ้นภายนอก ทั้งแสง เสียง หรือกลิ่น ผู้ป่วยบางรายมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไมเกรนส่วนใหญ่มักจะปวดนานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดนานถึง 3 วัน

เนื้องอกในสมอง

เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตจากเซลล์ผิดปกติในสมอง หรือบริเวณใกล้เคียงสมองรวมทั้งเนื้องอกจากอวัยวะอื่นๆในร่างกายที่แพร่กระจายไปที่สมอง มีผลกระทบต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท โดยมีอาการทางร่างกายแตกต่างกันไป เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เห็นภาพไม่ชัด มีปัญหาด้านการพูดและการเคลื่อนไหว ถึงขั้นมีอาการรุนแรงจนเกิดการชัก หรือเป็นอัมพาต เพราะก้อนเนื้องอกไปกดทับสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆ ยังไม่มีการยืนยันถึงสาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองว่าเกิดได้อย่างไร แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมในเซลล์สมอง กรรมพันธุ์ อายุ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ปวดหัวแบบไหน เข้าข่ายไมเกรน

 ไมเกรน เป็นหนึ่งในโรคปวดหัวที่สามารถเป็นเรื้อรังได้ พบบ่อยมากในเฉพาะคนที่เป็นไมเกรนมาก่อน อาการปวดหัวที่เด่นของไมเกรนเรื้อรัง จะเป็นการปวดหัวที่มีลักษณะเป็นซีกซ้ายหรือปวดหัวข้างขวา มักจะเด่นข้างใดข้างหนึ่งและสามารถสลับข้างได้ อาการปวดมีลักษณะเต้นตุบ เป็นจังหวะคล้ายชีพจร และอาการปวดนั้นจะค่อนข้างรุนแรง มีคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อยรวมถึงตาสู้แสงไม่ได้ เห็นแสงแล้วจะมีอาการปวดมาก ส่งผลให้คนที่เป็นไมเกรนชอบอยู่ในที่มืด บางคนมีการรับรู้ที่ผิดปกติไป ในช่วงก่อนหรือระหว่างการปวดหัว

ปวดหัวไมเกรนมักมีอาการเหล่านี้

  • ปวดหัวเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน
  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือปวดหัวท้ายทอย คลื่นไส้ และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว

เนื้องอกในสมอง ร้ายแรงหรือไม่

เนื้องอกในสมองร้ายแรงหรือไม่

เนื้องอกในสมองมีแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา (Benign Brain Tumors)

เนื้องอกประเภทนี้เป็นเนื้องอกไม่อันตรายมีการเจริญเติบโตช้า ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ และมีโอกาสน้อยที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษา  

เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย (Malignant Brain Tumors)

เนื้องอกชนิดนี้อันตรายเพราะเป็นเนื้อร้ายมีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมองหรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นแล้วลามเข้าสู่สมอง เนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็งจะมีการเจริญเติบโตเรื่อย ๆ อย่างไม่สามารถควบคุมได้ และมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นได้อีกแม้เคยผ่านการรักษาไปแล้ว โดยทั่วไปเนื้องอกที่เป็นเซลล์มะเร็งจะพบได้บ่อยกว่าเนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา

ปวดหัว อาเจียน บอกโรคอะไรได้บ้าง

ปวดหัว จนเกิดอาการพะยืดพะยม จนอยากอาเจียน บ่งบอกได้หลายโรคดังนี้

  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน : โดยอาจมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน เดินเซ อาจได้ยินลดลง หูอื้อ มีเสียงดังในหูร่วมด้วย 
  • ความเครียด และความวิตกกังวล  :  มักจะมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม  อยากอาเจียน นอนไม่หลับ
  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางและสมอง :  เช่น โรคลมบ้าหมู เส้นเลือดในสมองตีบ เนื้องอกในสมอง เป็นต้น โดยอาจมีอาการ พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ร่วมด้วย
  • โรคหัวใจ และความดัน : เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ หรือความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตสูง ก็ล้วนทำให้หน้ามืด เวียนหัวได้ 
  • โรคไมเกรน : โดยมักมีอาการเวียนหัว ปวดหัวร้าวไปถึงท้ายทอย ร่วมกับรู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอม ไวต่อเสียงและแสง
  • แพ้ท้อง : พบได้ในช่วง 1 – 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง
  • อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษบางอย่าง : เช่น ศีรษะได้รับการกระแทกรุนแรง จนมึนงง คลื่นไส้ หรือสูดดมสารพิษบางชนิดเข้าไป จนส่งผลต่อสมอง

วิธีเช็กอันตรายจากอาการปวดหัว ระหว่าง CT Scan หรือ MRI 

ปัจจุบันการตรวจค้นหาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่างๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้น เทคโนโลยีการตรวจที่มีการใช้แพร่หลาย ทั้งการตรวจด้วย CT (computerized tomography) และ MRI (magnetic resonance imaging) แม้การตรวจสองวิธีนี้ จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างกันหลายอย่าง คือ

CT scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ไม่ใช้รังสี

การตรวจ CT scan จะใช้วิธีการปล่อยลำแสง x-ray ผ่านลำตัวผู้รับการตรวจเพื่อให้เกิดเงาภาพบนฉากที่รองรับลำแสงที่อยู่อีกด้านหนึ่งของลำตัว ในขณะที่ MRI ใช้วิธีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวผู้รับการตรวจ โดยการสัมผัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีผลกระทบกับสุขภาพ ดังนั้นการตรวจ MRI จึงมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจ CT

MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่ CT เหมาะกับการตรวจกระดูก

การตรวจ MRI จะตรวจจับเนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เนื้อสมองได้ดี หากต้องการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับกระดูก จึงควรเลือกตรวจด้วย CT scan

โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI

การตรวจ MRI ผู้รับการตรวจจะต้องเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ ดังนั้น หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กนั้นด้วย ก็อาจทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้ ดังนั้นส่วนมากหากมีเครื่องมือทางการแพทย์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นโลหะอยู่ในร่างกาย มักจะเป็นข้อห้ามสำหรับการตรวจ MRI ส่วนการตรวจ CT scan นั้น สามารถทำการตรวจในผู้รับการตรวจที่มีโลหะได้ เพียงแต่ภาพที่ได้อาจมีความเบลออยู่บ้าง เนื่องจากโลหะมักจะทึบและลำแสง x-ray ผ่านไม่ได้จึงมักปรากฎเงาบริเวณใกล้ๆ กับโลหะเหล่านี้ได้นั่นเอง

ข้อสรุป

อาการปวดหัวจนอาเจียน เป็นการส่งสัญญาณบอกโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยที่ควรทำเป็นอันดับแรก ควรพบแพทย์ระบบประสาทและสมองโดยตรง เพราะการปวดหัวจนอาเจียนไม่ใช่อาการปวดหัวทั่วไป หากไปพบแพทย์ช้าอาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้

ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ อาการปวดหัว เวียนหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center และถ้าหากต้องการสแกนสมองโดยการ MRI สามารถติดต่อเข้ามาที่คลินิกได้ โดยทางคลินิกมีแพทย์ระบบประสาทและสมอง จะส่งตัวคนไข้ไป MRI และนำผลกลับมาให้แพทย์ BTX Migraine Center อ่านผล เพื่อประเมินการรักษาต่อไป 

แอดไลน์