4 วิตามินแก้ไมเกรน เสริมวิตามินให้ร่างกาย ป้องกันอาการไมเกรน
อาการปวดไมเกรน เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต บางครั้งการใช้ยาเพื่อรักษาอาการไมเกรน อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการใช้วิธีทางธรรมชาติเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนจึงเป็นอีกทางเลือก เช่น การทาน วิตามินแก้ไมเกรน เพราะหากมีอาการปวดศีรษะบ่อย อาจเกิดจากการขาดวิตามินอะไรไป ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้ ดังนั้นควรหาวิตามินที่ขาดอยู่มาเสริมให้กับร่างกาย อย่างเช่น แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากภายในเซลล์ของร่างกายมนุษย์ เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญ เพราะแมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมความดันเลือด น้ำตาลในเลือดกล้ามเนื้อและเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้น ส่วนมากจะมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ซึ่งหากได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อร่างกายก็อาจมีส่วนในการช่วยป้องกันไมเกรนได้ และยังสามารถลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้
สารบัญบทความ
วิตามิน แก้ปวดไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรนในแต่ละคนจะมีสาเหตุและอาการปวดที่แตกต่างกันออกไป ยา วิตามิน หรืออาหารเสริมแต่ละชนิดก็จะส่งผลที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ดังนั้นไม่มีวิตามินและอาหารเสริมชนิดไหนที่สามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้เหมือนกันในทุกคน แต่วิตามินและอาหารเสริมเหล่านี้ก็ยังเป็นวิตามินและอาหารเสริมที่ดีต่ออาการไมเกรน
- แมกนีเซียม
เป็นแร่ธาตุที่พบมากภายในเซลล์ของร่างกายคน ผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้น ส่วนใหญ่จะมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ดังนั้นการได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อร่างกายก็มีส่วนช่วยในการป้องกันไมเกรนได้ในบางคน จากการวิจัยพบว่าการฉีดแมกนีเซียมเข้าทางหลอดเลือดดำสามารถช่วยลดการกำเริบของอาการปวดไมเกรนได้ ปกติร่างกายต้องการแมกนีเซียมจากธรรมชาติ 500-600 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้แมกนีเซียมยังสามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนได้ด้วย
สำหรับอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่ คือ ผักโขม ถั่ว แอลมอนด์ กล้วย อะโวคาโด และธัญพืช แมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่ช่วยควบคุมความดันเลือดน้ำตาลในเลือด กล้ามเนื้อและเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้
- วิตามินบี2
ยังไม่ได้รับการรับรองจากงานวิจัยว่า วิตามินบี 2 มีส่วนช่วยป้องกันไมเกรนได้อย่างไร แต่อาจเกี่ยวข้องกับวิธีการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาไมเกรนอาจมีปัญหาในกระบวนการเผาผลาญนั้น ซึ่งเป็นอีกสาเหตุของอาการปวดหัวได้ แต่การวิจัยได้สรุปว่าวิตามินบี 2 มีผลทำให้ความถี่และระยะเวลาการเกิดของไมเกรนนั้นลดลงแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่สามารถพบวิตามินบี 2 ได้ คือ เนื้อ นม ไข่ ผักสีเขียว ถั่ว และเพื่อ ป้องกันโรคไมเกรนควรกินวิตามินบี 2 ประมาณ 400 มิลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันนาน 3 เดือน
- วิตามินดี
จากการทดลองได้พบว่าการได้รับวิตามินดี 50,000 IU ต่อสัปดาห์จะช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรนได้ มนุษย์สามารถรับวิตามินดีจากธรรมชาติได้จาก ปลาแซลมอน เนื้อแดง ไข่แดง น้ำมันปลา นอกจากนี้วิตามินดียังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
- โคเอ็นไซม์คิว 10 (Coenzyme Q10 หรือ CoQ10)
ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เอง เมื่อได้รับแสงแดด หรือ ยูวีบี หรือจากอาหาร เช่น ไข่แดงปลาไขมันสูง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน เป็นต้น โคเอนไซม์ คิว 10 มีคุณสมบัติคล้ายวิตามิน ที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ช่วยสร้างพลังงานในเซลล์ และช่วยป้องกันความเสียหายออกซิเดชันไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถป้องกันอาการปวดไมเกรน แต่สามารถช่วยลดความถี่ของอาการปวดหัวไมเกรนได้ หากต้องการรับประทานโคเอนไซม์ คิว 10 ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ เพราะในผู้ป่วยบางรายก็ไม่เหมาะกับการรับประทานวิตามินชนิดนี้
แมกนีเซียม ไมเกรน
แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากภายในเซลล์ของร่างกายคน ผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้น ส่วนใหญ่จะมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายต่ำ ดังนั้นการได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อร่างกายก็มีส่วนช่วยในการป้องกันไมเกรนได้ในบางคน มีผลจากการวิจัยพบว่า แมกนีเซียม (Magnesium) มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อของหลอดเลือดหรือคลายการหดเกร็งของหลอดเลือด เมื่อร่างกายได้รับแมกนีเซียมเพียงพอในแต่ละวัน จึงสามารถเป็นตัวช่วยในการป้องกันและบรรเทาความรุนแรง รวมทั้งลดความถี่ของการเกิดไมเกรนได้ และนอกจากแร่ธาตุ แมกนีเซียม ยังมีวิตามินอีกหลายตัวที่ช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้อีกด้วย
คำแนะนำการทาน วิตามิน แก้ไมเกรน
- หลีกเลี่ยงหากตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรต้องระวังเป็นพิเศษในการใช้อาหารเสริมและวิตามิน เพราะว่าบางชนิดอาจจะไม่เหมาะกับผู้ตั้งครรภ์
- อาหารเสริมไม่มีคุณโภชนาการเท่าอาหารหลัก ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
- ทานวิตามินให้ตรงตามความต้องการของร่างกาย การตรวจร่างกายหรือปรึกษาแพทย์ก่อนกินวิตามิน เป็นอีกวิธีกินวิตามินที่จะช่วยให้ทุกคนได้เห็นผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะว่าร่างกายของทุกคนนั้นมีความต้องการสารอาหาร และแร่ธาตุไม่เหมือนกัน
- มีโรคประจำตัวควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง และสำหรับผู้ที่โรคประจำตัว เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะร่างกายอาจไม่ดูดซึมสารอาหารได้ดีเหมือนคนทั่ว ๆ ไป
ข้อสรุป
ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนไม่จำเป็นต้องกินยาแก้ปวดไมเกรนเสมอไป เพราะยังมีอีกหลาย ๆ วิธีที่ช่วยแก้ไมเกรนหรือหยุดอาการปวดหัวได้ เพราะการกินยาไม่ควรจะเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับรายทานยาบางตัว อาจจะช่วยให้บรรเทาอาการปวดได้เพียงชั่วคราว ไม่ใช่การรักษาที่ถูกต้อง และการทานยาเป็นจำนวนมาก และเป็นเวลานาน ยาก็ส่งผลกระทบต่อตับ ไต ด้วยเช่นกัน หรือในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถกินยาแก้ปวดได้ เนื่องจากโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง เป็นต้น
ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ยังมีอีกหลายวิธีอย่างเช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การใช้น้ำมันหอมระเหย ผลไม้รักษาไมเกรน หรือจะใช้วิธี กินวิตามินแก้ปวดไมเกรน เพราะหากปวดหัวบ่อย ขาดวิตามินอะไรไป ก็อาจเป็นอีกสาเหตุของอาการปวดหัวได้ ดังนั้นทางที่ดีควรหาวิตามินที่ขาดอยู่มาช่วยเสริมให้ร่างกาย นอกจากนี้อาหารเสริม ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจสำหรับทุกคนเพราะการทานวิตามินป้องกันไมเกรนอาจเป็นวิธีดูแลร่างกายที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับการเลือกทานอาหารเสริม ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ BTX MIGRAINE CENTER ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทางก่อนเริ่มทานเสมอ
เอกสารอ้างอิง
Minor DS, Wofford MR. Chapter 45. Headache disorders. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey L. eds. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 9 edition. McGraw-Hill. [Cited 2020 July 7]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=689§ionid=45310495.
Weglicki WB, Phillips TM. Pathobiology of magnesium deficiency: a cytokine/neurogenic inflammation hypothesis. Am J Physiol. 1992;263(3 Pt 2):R734-7.
Mody I, Lambert JD, Heinemann U. Low extracellular magnesium induces epileptiform activity and spreading depression in rat hippocampal slices. J Neurophysiol. 1987;57(3):869-88.
von Luckner A, Riederer F. Magnesium in migraine prophylaxis-Is there an evidence-based rationale? A systematic review. Headache. 2018;58(2):199-209.