หาวบ่อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีแก้มีอะไรบ้าง?

หาวบ่อย อาจเป็นสัญญาณเตือนโรค

การหาวนั้นเป็นกลไกการทำงานปกติของร่างกาย จนทำให้หลายๆ คนลืมสังเกตไปว่ามีอาการหาวบ่อยมากกว่าปกติ ซึ่งการหาวบ่อยนั้นก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ

หนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้มีอาการหาวบ่อยเกิดจากความง่วง ความเหนื่อยล้า ผลข้างเคียงจากยา ตลอดจนโรคอันตราย ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงพาทุกคนไปรู้จักกับอาการหาวบ่อยว่าเกิดจากอะไร มีลักษณะอย่างไร เกี่ยวข้องกับการปวดหัวไมเกรนหรือไม่ และวิธีแก้อาการหาวบ่อยต้องทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลย


สารบัญบทความ


การหาว

การหาว (Yawning) เป็นกลไกการทำงานปกติของร่างกาย เกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน ลักษณะของการหาวก็เป็นที่รับรู้กันดีคือ อ้าปากกว้าง สูดลมหายใจเข้าปอด และหายใจออกมา ขณะที่หาวอาจจะมีน้ำตา น้ำมูก หรือมีเสียงด้วย โดยบางครั้งก็หาว 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้งติด หรือหาวบ่อยๆ 

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการหาวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหลายๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมคนเราจะต้องหาว เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้ว 

ทำไมคนเราจึงต้องหาว

การที่คนเราหาวนั้นเป็นเพราะ 2 กรณีคือ ร่างกายมีออกซิเจนไม่พอและร่างกายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินกว่าปกติ ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ก็เกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้ 

  • ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่วง 

แน่นอนว่าเมื่อร่างกายของเรารู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือง่วง นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถหายใจได้อย่างปกติ ออกซิเจนในร่างกายจะต่ำลง เพื่อเป็นการปรับสมดุลร่างกายจึงเริ่มกลไกของการหาว เพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือด รวมถึงนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หากใครที่มีหายใจไม่สะดวก หาวบ่อย อาจจะต้องพักผ่อน

  • สร้างความเย็นให้กับสมอง

เนื่องจากขณะที่เราหาวบ่อยๆ จะเกิดอาการกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรยืด ตลอดจนระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งในการหาวแต่ละครั้งจะนำอากาศเย็นจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เส้นเลือด น้ำไขสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสมองเย็นตัว กระบวนการดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หาวบ่อย ปวดต้นคอได้

  • ออกกำลังกายและยืดเนื้อเยื่อปอด

เมื่อใดที่หาว จะเป็นเสมือนการออกกำลังกายปอด ยืดเนื้อเยื่อ กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น

  • กระตุ้นสารหล่อลื่นภายในปอด

นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายและยืดเนื้อเยื่อปอด ยังเป็นการสร้างสารหล่อลื่นภายในปอด ทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวมีความชุ่มชื้นขึ้น


อาการหาวบ่อย

อาการหาวบ่อย

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการหาวเป็นกลไกปกติของร่างกาย จนทำให้ใครหลายๆ คนลืมสังเกตไปว่าตนเองนั้นกำลังเผชิญกับอาการหาวบ่อยมาก ซึ่งการหาวบ่อย (Excessive Yawning) จะมีลักษณะต่างจากการหาวปกติ คือ หาวมากกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 นาที ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะหาว 1-2 ครั้งและเป็นระยะเวลาสั้น ๆ  เท่านั้น  

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าตนเองมีอาการหายใจไม่เต็มปอด หาวบ่อย ก็อาจจะเข้าใจว่าเกิดจากการที่ร่างกายเหนื่อยล้า ใช้ร่างกายหนัก หรือการง่วงนอน แต่ความจริงแล้วอาการหาวบ่อยอาจจะเกิดจากโรคได้เช่นกัน


หาวบ่อยเกิดจากสาเหตุใด

ในเบื้องต้นเราทราบกันไปแล้วว่าอาการหาวปกติเกิดจากอะไร ทำไมถึงต้องหาว ดังนั้น ในเนื้อหาต่อไปนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักว่าอาการหาวบ่อย เกิดจาก 5 สาเหตุสำคัญ ดังนี้

1. ความง่วง อาการเหนื่อยล้า

ตามปกติแล้วร่างกายควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อใดที่พฤติกรรมการนอนหลับของเราเปลี่ยนแปลง พักผ่อนน้อยลง ทำงานหนัก ตลอดจนใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมในช่วงกลางคืนแทนกลางวัน จะส่งผลให้เกิดอาการง่วง เพลีย เหนื่อยล้า และเกิดเป็นอาการหายใจไม่อิ่ม หาวบ่อยได้

2. อาการนอนไม่หลับ

แม้ว่าบางคนจะง่วงมากและต้องการพักผ่อน แต่บางครั้งก็ต้องเจอกับอาการนอนไม่หลับแทน แต่หากไม่ปรึกษาแพทย์หรือพยายามนอนพักผ่อนให้ได้ จะส่งผลระบบต่างๆ  ในร่างกายทำงานผิดปกติ และเกิดอาการหาวบ่อยๆ  แทบจะตลอดเวลา

3. ผลข้างเคียงของยา

ยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนที่ต้องทานยาเพื่อรักษาโรคประจำตัวหรือโรคที่เผชิญอยู่ เช่น กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า ยานอนหลับ ยาช่วยคลายกังวก็อาจจะเกิดผลข้างเคียง ทำให้หาวบ่อย ง่วงซึม ตลอดจนมีอาการนอนไม่หลับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล 

4. อาการข้างเคียงของโรค

นอกจากสาเหตุในข้างต้นแล้ว หากพบว่าตนเองเป็นโรคหลอดเลือดสมอง  โรคตับวาย หรือโรคเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนโลหิต ก็อาจจะส่งผลให้มีอาการหาวบ่อย หรือบางคนมีอาการหายใจไม่ทั่วท้อง หาวบ่อยโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง 

5. นอนกรน

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเหนื่อยล้า นั่นคือ การนอนกรน เนื่องจากลักษณะอาการนอนกรนนั้นทำให้ร่างกายนอนหลับไม่สนิท ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ง่วง เพลีย เหนื่อยล้า และหาวบ่อยๆ  นั่นเอง


หาวบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว อาการหาวบ่อยแต่ไม่ง่วง หรือหาวบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุอาจเกิดจากโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

หาวบ่อยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค

1. โรคไมเกรน

โรคไมเกรน มักมีอาการคือ ปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ปวดหัวคลัสเตอร์ ตลอดจนปวดหัวรูปแบบต่างๆ  ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก็มีอาการอื่นๆ  ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว เวียนหัว เห็นสูงวูบวาบร่วมด้วย 

ซึ่งสาเหตุและกลไกนั้นพบว่าเกิดจากการที่ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ร่วมกับอาการหาวบ่อย

อาการที่มักเกิดร่วม : ไวต่อสิ่งเร้าการทรงตัวผิดปกติ อาเจียน ปวดหัวข้างเดียว หน้ามืด 

2. โรคลมหลับ

โรคลมหลับ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมการหลับตื่น โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการคือ ง่วงนอนตลอดเวลา ในบางครั้งจะเกิดอาการหลับกลางอากาศ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน มีอาการหาวบ่อยตลอดเวลา

อาการที่มักเกิดร่วม : เห็นภาพลวงตา รู้สึกถึงภาวะผีอำ ง่วงนอน หาวบ่อย ภาวะกล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง

3. โรคลมชัก

โรคลมชัก มีสาเหตุมาจากการทำงานผิดปกติของกระแสประสาทหลายๆ ส่วน รวมถึงสมองส่วนที่ควบคุมการหาย ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติจะทำให้ร่างกายของเรานั้นมีอาการหาวบ่อยมากกว่าปกติ เกิดการนำกระแสประสาทผิดปกติในหลายส่วนหรือทั้งหมดของสมอง 

อาการที่มักเกิดร่วม : แขนขากระตุก มีการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม 

4. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองนั้นเกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลาย ส่งผลให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนเกิดอาการหาวบ่อย หายใจไม่อิ่ม มึนหัว

อาการที่มักเกิดร่วม : ชาบางจุด ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ เวียนหัว

5. ภาวะตับวาย

สาเหตุของการหาวบ่อยในกรณีภาวะตับวายนี้จะพบเฉพาะเมื่อมีอาการรุนแรงเท่านั้น เนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เพลีย นอนไม่ค่อยหลับ จนเกิดอาการหาวบ่อยๆ ได้ 

อาการที่มักเกิดร่วม : เบื่ออาหาร เวียนหัว ง่วงนอนตอนกลางวันแทน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย สับสนมึนงง ตลอดจนมีอาการบวมเป็นบางจุด

6. เนื้องอกในสมอง

หนึ่งในโรคร้ายที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อย เนื่องจากก้อนเนื้องอกจะกินพื้นที่ในสมอง ทำให้ไม่สามารถรักออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ จึงเกิดอาการหาวบ่อยแต่ไม่ง่วง 

อาการที่มักเกิดร่วม : ปวดหัว ด้านในด้านหนึ่งของร่างกายอ่อนแรงหรือชา ประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือการจำลดลง

7.  โรคปลอกประสาทอักเสบ

โรคดังกล่าวจะส่งผลให้เส้นประสาททั่วร่างกายเกิดการอักเสบ ไม่สามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ แม้ว่าจะมีสติ ซึ่งนำมาสู่การที่ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หาวบ่อย

อาการที่มักเกิดร่วม : เหนื่อยมากกว่าคนปกติ ชาบริเวณใบหน้า แขน ขา ลำตัว เวียนหัว ประสิทธิภาพในการมองเห็นและการทรงตัวลดลง

8.  โรคหัวใจหรือภาวะเลือดออกบริเวณหัวใจ

หากใครที่พบว่าตนเองมีอาการหาวบ่อย หายใจไม่อิ่ม มึนหัว อาจจะเกิดจากสาเหตุนี้ เนื่องจากหัวใจไม่สามารับออกซิเจนได้เพียงพอ จึงเกิดอาการดังกล่าว

อาการที่มักเกิดร่วม :  เจ็บหน้าอก เส้นคอตึง ปวดหัว คลื่นไส้ หายใจไม่อิ่ม หน้ามืด เวียนหัว


เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อย่างที่ทราบกันดีว่าตามปกติแล้วคนเราจะหาว 1-2 ครั้งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ  แต่หากพบว่าตนเองหาวบ่อยมากกว่า 1 ครั้งใน 1 สังเกตตนเองแล้วพบว่ามีอาการอื่น ๆ  แทรกซ้อน หรือสุขภาพแย่ลงให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที


การตรวจวินิจฉัยอาการหาวบ่อย

การตรวจวินิจฉัยอาการหาวบ่อย

การตรวจวินิจฉัยอาการหาวบ่อยจะเริ่มจากการซักถามประวัติ โรคประจำตัว ยาที่แพ้ ลักษณะอาการ ความถี่ในการหาว ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อพิจารณาประกอบการวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติและต้องตรวจอย่างละเอียด แพทย์จะตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีต่อไปนี้

การตรวจเลือด 

การตรวจจะเริ่มจากการวัดความสมบูรณ์ของเลือดในร่างกาย ตรวจหาสารเคมีในเลือด ตลอดจนตรวจการทำงานของตับและไต ซึ่งการตรวจด้วยรูปแบบดังกล่าวจะใช้สำหรับกรณีที่มีแนวโน้มว่าอาการหาวบ่อยเกิดจากโรคลมชัก โรคที่เกี่ยวกับเลือด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ  ที่ทำให้หาวบ่อยกว่าปกติ

การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 

ไม่เพียงแต่ใช้ตรวจไมเกรนเท่านั้น แต่วิธีนี้ยังใช้ตรวจหาความผิดปกติของอาการหาวบ่อย เกิดจากความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง หัวใจ เนื่องจากผลของการตรวจนั้นมีความละเอียด ชัดเจน และแม่นยำ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

วิธีนี้จะใช้ตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทสมอง โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจว่าอาการหาวบ่อย เกิดจากโรคลมชักหรือความผิดปกติของสมอง 

ตรวจการนอนหลับ 

หนึ่งในสาเหตุของอาการหาวบ่อยคือ ร่างกายอ่อนล้า เพลีย นอนไม่หลับ หรือนอนกรน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้การตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ โรคลมหลับ ตรวจออกซิเจน การขยับ การหายใจ เป็นต้น


วิธีแก้อาการหาวบ่อย

หากพบว่าตนเองมีอาการหาวบ่อย นอนไม่หลับหรือหาวบ่อยกว่าปกติ ก็สามารถใช้วิธีแก้ 2 รูปแบบง่ายๆ ดังต่อไปนี้

วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยด้วยตัวเอง

วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยด้วยตัวเอง

หากพบว่าตนเองหาวบ่อย สามารถใช้วิธีแก้อาการหาวบ่อยด้วยตนเองง่ายๆ ดังนี้

  1. ฝึกหายใจเข้า-ออกลึก ๆ  เพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าสู่เส้นเลือด สมอง และร่างกาย ตลอดจนขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป วิธีนี้จะช่วยแก้อาการหาวบ่อย เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนหรือหาวติดต่อจากคนอื่นได้
  2. เคลื่อนไหว ขยับร่างกาย หรือออกกำลังกายเบา ๆ  เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบประสาทและการทำงานของสมอง ช่วยปรับสมดุลอาการหาวบ่อยจากความเหนื่อยล้าหรือความเครียดได้ เช่น โยคะแก้ปวดหัว พิลาทิส เป็นต้น
  3. สร้างความเย็นให้ร่างกายและสมอง โดยอาจจะเริ่มจากวิธีง่าย ๆ  เช่น ดื่มน้ำเปล่าเย็น อยู่ในที่อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก เป็นต้น
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอตามที่ร่างกายควรได้พัก และนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดอาการหาวบ่อยมากได้ด้วย
  5. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามิน แมกนีเซียม ไมเกรนจะลดลงได้ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรนประเภทต่าง ๆ  ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหาวบ่อยด้วย

การรักษาอาการหาวบ่อย

การรักษาอาการหาวบ่อย

หากลองใช้วิธีแก้อาการหาวบ่อยด้วยตนเองแล้ว แต่พบว่าอาการไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการอยู่ ควรหาต้นเหตุที่แท้จริง ก่อนเข้ารักษา ดังนี้

  1. การหาวบ่อย เกิดจากการนอน ควรเข้าปรึกษาแพทย์ ลองใช้อุปกรณ์ช่วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้ร่างกายได้ใช้พลังงาน ตลอดจนหากิจกรรมยามว่างทำ
  2. อาการหาวบ่อย เกิดจากความเหนื่อยล้า อาจจะใช้วิตามินหรืออาหารเสริมที่ช่วยให้หลับสบายมากขึ้นได้
  3. การหาวบ่อยเกิดจากผลข้างเคียงของยา อาจจะปรับลดยา เปลี่ยนชนิดยา หรือหยุดยาตามลักษณะอาการและคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
  4. อาการหาวบ่อยมากเกิดจากโรคต่าง ๆ  ที่ตนเองนั้นก็ไม่ทราบสาเหตุ อาจจะต้องเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดและทำการรักษาตามแต่ละโรคได้อย่างทันการ

ข้อสรุป

อาการหาวบ่อยมากกว่าปกติเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด หากใครที่มีอาการควรรีบรักษาทันที หรือหากใครที่พบว่าตนเองมีอาการอื่น ๆ  แทรกซ้อน เช่น ปวดหัวท้ายทอย หน้ามืด คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ชาบริเวณต่าง ๆ  ปวดหัวจากความเครียด ชักเกร็ง ตลอดจนหน้ามืดก็ควรเข้ารับการตรวจจากทางแพทย์

หากวินิจฉัยแล้วพบว่าหนึ่งในสาเหตุของอาการหาวบ่อยคือ โรคไมเกรน ก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อเข้ารับคำปรึกษา เข้าตรวจ ตลอดจนนัดวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่มีเทคโนโลยีการรักษาที่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัยหลายรูปแบบ เช่น การเลือกฉีดโบท็อกไมเกรนที่ราคาย่อมเยาและเห็นผลระยะยาว ปลอดภัย ตลอดจนการเลือกรักษาแบบฝังเข็มไมเกรนตามจุดต่างๆ ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Amber Erickson Gabbey. 2022. What Causes Excessive Yawning and How to Treat It. Retrieve from https://www.healthline.com/health/yawning-excessive 

Sarah Shoen. 2022. Excessive Yawning: What Does It Mean and How to Treat It. Retrieve from https://www.sleepfoundation.org/physical-health/excessive-yawning