ปวดหัวตอนเช้าหลังตื่นนอน เกิดจากอะไร จัดการอาการปวดได้

ปวดหัวตอนเช้า รักษาอย่างไรเคยไหม? ตื่นเช้ามาพร้อมกับอาการปวดหัวตุบๆ ที่เหมือนจะทำลายเช้าวันใหม่ของคุณ อาการปวดหัวตอนเช้าหลังตื่นนอนไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม เพราะมันอาจเป็นสัญญาณเตือนของไมเกรน หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ การทำความเข้าใจกับสาเหตุและวิธีจัดการอย่างเหมาะสม จะช่วยให้คุณเริ่มต้นวันได้อย่างสดใสและไร้กังวล ไมเกรนไม่ใช่แค่อาการปวดหัวธรรมดา แต่เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก เรามาเจาะลึกกันว่าอาการปวดหัวตอนเช้ามีที่มาจากอะไร มีความเชื่อมโยงกับไมเกรนอย่างไร และที่สำคัญคือเราจะแก้ไขมันได้ยังไงบ้าง

สารบัญบทความ

อาการปวดหัวตอนเช้าหลังตื่นนอนเป็นแบบไหน?

ใครเคยมีอาการปวดหัวตอนตื่นนอนจนทำให้รู้สึกเหมือนวันนั้นไม่อยากลุกจากเตียงบ้าง? อาการปวดหัวตอนเช้าและปวดบ่อยๆ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะมันอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่อันตรายกว่าที่คิด ในส่วนนี้ เราจะมาแยกอาการปวดหัวตอนเช้าออกเป็น 3 แบบหลักๆ ที่พบได้บ่อย มาดูกันว่าอาการปวดหัวตอนตื่นนอนแต่ละประเภทมีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง

อาการปวดหัวไมเกรนตอนเช้า

ไมเกรนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคนมีอาการปวดหัวตอนตื่นนอน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับผิดปกติ อาการของไมเกรนมักมาพร้อมกับความรู้สึกปวดตุบๆ ที่ขมับข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง บางคนอาจมีอาการไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นร่วมด้วย ผู้ที่ปวดไมเกรนตอนเช้าบ่อยๆ สาเหตุมักจะมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างหลับก็สามารถกระตุ้นให้ปวดหัวบ่อยๆ ได้

อาการปวดหัวจากความเครียด

หากรู้สึกปวดตึงรอบศีรษะเหมือนโดนบีบ หรือมีอาการปวดร้าวไปถึงคอและไหล่ อาจเป็นอาการปวดหัวจากความเครียด (Tension Headache) การสะสมความเครียดในชีวิตประจำวันหรือการนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุหลักที่ทำเราปวดหัวจากความเครียดได้ ปัญหานี้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ง่ายๆ ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนนอน หรือการปรับสภาพจิตใจให้ผ่อนคลาย เพื่อลดอาการเครียด วิตกกังวล จะทำให้หลังตื่นนอนมีอาการปวดหัวน้อยลง

อาการปวดหัวจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ใครที่นอนกรนเสียงดัง หรือตื่นมาแล้วรู้สึกเพลียเหมือนนอนไม่พอ คุณอาจกำลังเผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ซึ่งอาจทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ ส่งผลให้อาการปวดหัวตอนเช้าตามมา ภาวะนี้ค่อนข้างเป็นอันตรายมาก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การใช้เครื่อง CPAP เพื่อช่วยในการหายใจ

สาเหตุของอาการปวดหัวตอนเช้า

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมอาการปวดหัวของใครหลายคนถึงมักเกิดขึ้นบ่อยๆ หลังตื่นนอน เพราะอาการปวดหัวตอนตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายช่วงกลางคืนจนถึงเช้า มาดูกันว่าสาเหตุปวดหัวตอนเช้านั้นเกิดจากอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจอาการนี้ได้ดียิ่งขึ้น

ระดับสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลง 

สมองของเรามีบทบาทสำคัญในการควบคุมทุกอย่างรวมถึงความเจ็บปวดด้วยเช่นกัน หากสารเคมีในสมองของเรา เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine) ไม่มีความสมดุล ก็จะสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ โดยสารเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทและอารมณ์ เมื่อระดับสารลดลงในช่วงเช้า ระบบประสาทอาจไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น ส่งผลให้อาการปวดหัวเพราะสารเคมีในสมองเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ

การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ 

การนอนหลับมีผลต่อสุขภาพโดยรวม รวมถึงการเกิดอาการปวดหัวด้วย เช่น

  • การตื่นนอนผิดเวลา : การนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา อาจทำให้วงจรการหลั่งฮอร์โมนและสารเคมีในสมองผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตามมา
  • การเปลี่ยนแปลงในวงจรการนอนหลับ : การเปลี่ยนแปลงของวงจรการนอน เช่น การตื่นในช่วง REM Sleep หรือการถูกรบกวนในขณะนอนหลับ อาจส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ทำให้ตื่นมาแล้วรู้สึกปวดหัวได้

โรคไมเกรนและความเชื่อมโยง

ไมเกรนเป็นโรคที่สัมพันธ์กับอาการปวดหัวตอนเช้ามากที่สุด และมักมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยภายในร่างกาย เช่น

  • ความเครียดสะสม : เมื่อร่างกายมีความเครียดสะสมมาตลอดวัน ระบบประสาทอัตโนมัติอาจอยู่ในสภาวะตื่นตัว ส่งผลให้ตื่นมาแล้วเกิดอาการปวดหัวได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน : ฮอร์โมนในร่างกาย เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเพิ่มสูงในช่วงเช้า อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะไมเกรนอยู่แล้ว
  • โรคความดันโลหิตสูง : ระดับความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเช้า สามารถกระตุ้นให้เส้นเลือดในสมองหดตัวหรือขยายตัวผิดปกติ จนนำไปสู่อาการปวดหัวได้

วิธีบรรเทาและป้องกันอาการปวดหัวตอนเช้า

แม้อาการปวดหัวตอนเช้าจะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนไม่ใหญ่มากเท่าไหร่ แต่การจัดการอย่างถูกวิธีก็สามารถช่วยลดความรำคาญและทำให้คุณเริ่มต้นวันได้อย่างสดใส มาดูวิธีบรรเทาและป้องกันอาการปวดหัวตอนเช้าที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ กันเลย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน

  • กำหนดเวลานอนให้เหมาะสม : การเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวันช่วยปรับสมดุลวงจรการหลับและการตื่นได้ดี และช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการปวดหัวตอนเช้าได้
  • สร้างบรรยากาศในห้องนอนที่ผ่อนคลาย : บรรยากาศภายในห้องนอนควรเงียบสงบ เย็นสบาย และไม่เปิดไฟจ้าจนเกินไป เพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ หากบริเวณห้องนอนมีแสงส่องเข้ามาได้ง่าย ควรใช้ผ้าม่านทึบแสง หรือน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์เพื่อช่วยเพิ่มความผ่อนคลายทั้งในขณะนอนหลับและตอนตื่นนอน

การดูแลสุขภาพประจำวัน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ : การทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งภาวะนี้มักกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวอยู่บ่อยครั้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน : อาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต ชีส ไวน์แดง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีสารที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะไมเกรนอยู่แล้ว

การใช้ยารักษาไมเกรน

  • การใช้ยาแก้ปวดทั่วไป : ยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังและไม่รับประทานจนเกินขนาด
  • การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน : สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง การฉีดโบท็อกซ์สามารถช่วยลดความถี่ของอาการปวดหัวได้ เป็นวิธีที่ปลอดภัยและช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ยาวนาน
  • การฉีดยาบรรเทาไมเกรนชนิดใหม่ เช่น CGRP : CGRP เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดอาการไมเกรนได้โดยตรงและมีผลข้างเคียงต่ำ โดยเป็นยาชนิดฉีดที่สามารถบรรเทาอาการได้ในทันที มีความปลอดภัย และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์ ?

อาการปวดหัวตอนเช้าบางครั้งอาจค่อยๆ บรรเทาลงได้เอง แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม  

  • เมื่อปวดหัวรุนแรงและเกิดขึ้นทันที อาการปวดหัวแบบฉับพลันและรุนแรง (Thunderclap Headache) อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะเลือดออกในสมอง
  • หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นบ่อยครั้งและไม่สามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดทั่วไปได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง
  • ปวดหัวร่วมกับอาการทางระบบประสาท เช่น ชา อ่อนแรง ความจำเสื่อม หรือการมองเห็นผิดปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาท
  • ปวดหัวในช่วงเช้าร่วมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาจเป็นสัญญาณของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น (Increased Intracranial Pressure) หรือเนื้องอกในสมอง
  • ปวดหัวร่วมกับไข้และคอแข็ง อาจเป็นอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ซึ่งต้องรักษาอย่างเร่งด่วน
  • ปวดหัวหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาภาวะสมองกระทบกระเทือน
  • อาการปวดหัวที่ส่งผลต่อการทำงาน การนอนหลับ หรือการใช้ชีวิต

ข้อสรุป

อาการปวดหัวตอนเช้าหลังตื่นนอนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ไมเกรน ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดูแลตนเอง และใช้ยารักษาไมเกรนที่เหมาะสมสามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ แต่หากอาการยังคงเรื้อรังหรือรุนแรง ควรเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง

BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัย พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาไมเกรนและบริการฉีดโบท็อกไมเกรนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองคิวได้ที่ ไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090-970-0447

แอดไลน์