เลือกใช้ยารักษาอาการไมเกรนอย่างไร ไม่เสี่ยงดื้อยา

ไมเกรน คือโรคที่มีอาการปวดหัวแบบเรื้อรัง เมื่อเราไปตรวจไม่พบความผิดปกติใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพวินิจฉัยสมอง แต่จะสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติการปวดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ลักษณะอาการที่พบจะปวดศีรษะข้างเดียวหรืออาจจะปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงต่อมาก็ปวดทั้งสองข้าง แต่บางครั้งอาจจะเริ่มปวดทั้งสองข้างพร้อมๆกันก็ได้ โดยที่อาการปวดศรีษะไมเกรนของแต่ละคนก็อาจจะต่างกันไป ซึ่งยารักษาอาการไมเกรน
นั้นมีหลายแบบ บางคนก็รับประทานยาแก้ปวดหรือยาป้องกันไม่ให้เกิดอาการ ซึ่งเราจะมาแนะนำให้รู้จักยาแต่ละประเภทที่จะใช้รักษาอาการปวดไมเกรน

ประเภทของไมเกรน

ไมเกรนนั้นมีหลายแบบ ที่เรารู้จักและสามารถจำแนกได้จะเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with Aura) และไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine without Aura) ซึ่งในผู้ป่วยคนเดียวกันก็มีโอกาสที่จะเจอไมเกรนได้ทั้งสองแบบ นอกจากนั้นยังมีไมเกรนประเภทอื่น ๆ ที่จะมีอาการบ่งชี้ของอาการปวดที่แตกต่างกันไป ที่เราจะมาทำความรู้จักกัน

ไมเกรนที่ไม่มีอาการแจ้งเตือน (Migraine without Aura)

อาการที่พบคือผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีการแจ้งเตือนเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง หากไม่ได้รับยาหรือการรักษาอาการก็จะไม่ดีขึ้น โดยลักษณะของการปวดนั้นอาจจะปวดข้างใดข้างหนึ่งหรือปวดทั้งสองข้าง ปวดแบบตุ๊บ ๆ เป็นระยะ หรือมาจากออฟฟิศซินโดรม ,ปวดหัวจากความเครียดระดับอาการปวดอยู่ระดับปานกลางหรือขั้นรุนแรง ยิ่งถ้ามีการเคลื่อนไหวร่างกาย ขึ้นบันได อาการปวดอาจจะเกิดขึ้นจากความไวต่อแสง เสียง อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งอาการทั้งหมดไม่มีอาการป่วยจากโรคอื่น ๆ เป็นสาเหตุ

ไมเกรนที่มีอาการแจ้งเตือน (Migraine with Aura)

ซึ่งอาการป่วยประเภทนี้มักจะพบได้ประมาณ 25% ของอาการไมเกรนทั้งหมด จะมีอาการสัญญาณเตือนจากข้อใดข้อหนึ่ง โดยจะเกิดอาการหลังจากเจอเหตุการณ์เตือนประมาณ 5 นาทีหรือบางสัญญาณเตือนนั้นอาจเป็นชั่วโมง แล้วจะเกิดอาการปวดหัวพร้อมกันหรือหลังจากสัญญาณเตือนเป็นชั่วโมงก็ได้

ไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine)

จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังเป็นประจำเกิน 15 วันต่อเดือน ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน จะต้องรับยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวดอยู่บ่อยครั้งและต้องเพิ่มปริมาณยาที่ต้องรับมากขึ้น โดยอาการปวดนั้นรุนแรงจนกระทบกับการใช้ชีวิตหรือสุขภาพจิตใจของผู้ป่วย จนอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า

ไมเกรนเฉียบพลัน (Acute Migraine)

เป็นอาการปวดที่ไม่รุนแรงและมักพบระยะเวลาการเป็นไม่นานเท่ากับไมเกรนเรื้อรัง จะเป็นอาการปวดแบบนาน ๆ ครั้ง ไม่ถึง 14 วันต่อเดือน มีระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน

ไมเกรนตา (Ophthalmic Migraine)

เป็นไมเกรนที่พบได้ไม่บ่อยนักและจะมีสัญญาณเตือน ไมเกรนขึ้นตามีอาการปวดนั้นไม่รุนแรง ไมเกรนตามีอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาจจะเห็นแสงแฟลชในตา หรือเห็นไฟสีขาวเป็นแฉก เป็นแสงแบบระยิบระยับ มีอาการตามัวมองไม่เห็นเป็นบางส่วน สูญเสียการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งชั่วขณะ โดยอาการผิดปกติที่ดวงตา จะพร้อมอาการปวดหัวได้นานเป็นชั่วโมง โดยจะไม่ได้เป็นอาการทำให้เกิดโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นไมเกรนตาจะเป็นไมเกรนชนิดอื่นร่วมด้วย

ไมเกรนในช่วงมีประจำเดือน (Menstrual Migraine)

มักจะมีอาการปวดหัวในช่วงที่ก่อนเป็นหรือขณะเป็นประจำเดือน มีข้อมูลว่าผู้หญิง 60% มีอาการไมเกรนในช่วงที่เป็นประจำเดือน โดยเมื่อใกล้วัยหมดประจำเดือนอาการเหล่านี้ก็จะหายไป

ไมเกรนที่มีอาการนำแต่ไม่มีอาการปวดหัว (Acephalgic Migraine)

เป็นไมเกรนที่มีอาการนำมาก่อน มักจะเกี่ยวกับสายตา แต่ไม่มีอาการปวดหัว จะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ถึงจะไม่ปวดหัวแต่ก็ทำให้เกิดความรำคาญ และอาจจะอันตรายต่อการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การขับรถ เป็นต้น

ประเภทอาการไมเกรน

อาการของโรคไมเกรน

ลักษณะของการปวดไมเกรนในแต่ละคนนั้น อาจจะมีการปวดที่ต่างกัน ปวดข้างเดียว ปวดสองข้างหรือปวดสลับกัน บางคนก็ปวดอย่างเฉียบพลัน หรือบางทีเหมือนเจอสิ่งกระตุ้นก็จะมีอาการปวดหัวไมเกรน ลักษณะที่เรามักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนนั้น คือ

  • จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือ สองข้าง หรือปวดทีละข้างสลับกัน
  • อาการของการปวดนั้น จะแบบตุบๆ เป็นระยะหรือเป็นจังหวะ
  • ซึ่งความรุนแรงในการปวดนั้น จะพบว่ามีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก
  • ซึ่งสำหรับบางรายนั้นอาจจะมีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย
  • โดยก่อนจะมีอาการปวดศรีษะไมเกรนนั้นอาจมีอาการนำก่อนปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ เป็นต้น โดยมักมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะประมาณ 10 – 30 นาที

อาการปวดไมเกรน

อาการปวดไมเกรนขนาดไหนจึงใช้ยา

อาการปวดไมเกรนนั้นมีความรุนแรงหลายระดับ หากปล่อยให้ปวดอย่างรุนแรงโดยที่ไม่มีการระงับหรือบรรเทาอาการปวดหัวนั้น อาจจะทำให้สภาพจิตใจแย่ตามไปด้วยหากผู้ป่วยมีอาการปวดไมเกรน อาการที่เกิดมีความถี่จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันมีผลต่อสภาพจิตใจ ควรจะได้รับการรักษาหรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาหรือระงับอาการปวด ไม่อย่างนั้นอาจจะกระทบต่อการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตอื่น ๆ บางครั้งมีอาการปวดไมเกรนจนไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ ในชีวิตประจำวันได้

ยารักษาอาการไมเกรนจำเป็นต้องใช้กับอาการไมเกรนประเภทไหน

เมื่อความรุนแรงของการปวดมีระดับที่ต่างกัน การเลือกใช้ยาสำหรับบรรเทาอาการปวดจึงแตกต่างกันไปด้วย เราจึงควรทราบว่าการปวดระดับไหน ควรเลือกใช้ยาประเภทไหน

  1. สำหรับกรณีที่มีอาการปวดไม่รุนแรง พาราเซตามอล เป็นประเภทของยาที่สามารถบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะจากไมเกรนแบบไม่รุนแรง
  2. สำหรับกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนรุนแรงและต่อเนื่องหรือเรื้อรัง อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่จะออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดได้เร็ว ซึ่งยากลุ่ม NSAIDs นั้นมีผลข้างเคียงต่อตับและไต แนะนำไม่กินยาประเภทนี้เกิน 4 – 10 เม็ดต่อเดือน และควรกินภายใต้คำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ยารักษาไมเกรน

ยารักษาไมเกรนมีกี่ประเภท

ยารักษาไมเกรนนั้นมีหลายประเภท ควรจะเลือกใช้ให้ตรงกับลักษณะของการปวดไมเกรน ตามระดับความรุนแรงหรือสาเหตุของการปวด ซึ่งบางประเภทนั้นควรจะได้รับการจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น กลุ่มแก้ปวดและกลุ่มรักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน เมื่อมีอาการปวดไมเกรนผู้ป่วยจะทรมานจากอาการปวดและต้องการบรรเทาอาการนั้น ซึ่งในการเลือกใช้ยารักษาไมเกรนเป็นวิธีรักษาอาการปวดไมเกรน เมื่อปวดไมเกรน ยาที่ใช้ในการบรรเทา จะมีอยู่ 2 กลุ่มก็คือ กลุ่มสำหรับแก้อาการปวดและกลุ่มป้องกันอาการปวด

กลุ่มยาแก้ปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน

กลุ่มยาสำหรับบรรเทาอาการไมเกรน สามารถรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน สำหรับยาระงับปวดนั้นควรจะให้รับประทานเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น เพื่อให้บรรเทาจากอาการปวด ยาบรรเทาอาการปวดไมเกรนเป็นตัวช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น พออาการดีขึ้นควรหยุดใช้ โดยยาในกลุ่มนี้จะประกอบด้วย

  • ยาบรรเทาอาการปวดหัวที่ไม่รุนแรง ได้แก่ ยาสามัญ Paracetamol และยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib
  • ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง จะเป็น ยากลุ่ม Triptans ได้แก่ Sumatriptan, Eletriptan, Erqotamine
  • ยาสำหรับเบาเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone

กลุ่มยาป้องกัน

ยาป้องกันไมเกรนชนิดรับประทานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยากันชัก ยาต้านเศร้า ยาลดความดันอย่างไรก็ตามยาเหล่านี้เป็นยาที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อการรักษาและป้องกันโรคไมเกรนโดยตรง แต่สามารถนำมาใช้ลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนได้

  • กลุ่มยาต้านเศร้าได้แก่ Amitriptyline การนำมาใช้สำหรับการป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ไม่ได้เป็นผลจากการรักษาอาการซึมเศร้าที่อาจจะแอบแฝงมากับอาการปวดไมเกรนได้
  • กลุ่มยากันชักได้แก่ Valproate, Topiramate ยากันชักนั้นมีถูกนำมาใช้ป้องกันไมเกรนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีการศึกษามากขึ้นว่านำมาใช้ป้องกันได้อาการปวดไมเกรนได้
  • กลุ่มยาลดความดันได้แก่ Propranolol, Metoprolol tartrate, Verapamil ซึ่งยาในกลุ่มนี้ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการป้องกันไมเกรน เพราะว่าสามารถออกฤทธิ์ยับยั้ง beta-receptor ในระบบประสาทส่วนกลางได้

ยารักษาไมเกรนมีกี่ประเภท

ยาป้องกันไมเกรน

ถ้าเป็นไปได้ทางเลือกที่ผู้ป่วยไมเกรนต้องการ คือ ไม่ปวดหัวไมเกรน ยาสำหรับการป้องกันการปวดไมเกรน จึงเป็นอีกวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการปวดหัว

เพื่อให้อาการปวดหัวไมเกรนไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมียาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปวดไมเกรนแบบเรื้อรัง การใช้ยารักษาไมเกรนเฉียบพลัน เพื่อให้ความรุนแรงและความถี่ในการปวดลดลง การหาวิธีแก้ ไมเกรนจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใชัชีวิตโดยไม่มีอาการปวดหรือปวดน้อยลงได้

เป็นยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)

สำหรับใช้ในการรักษาและควบคุมอาการชักในผู้ใหญ่และเด็ก และสามารถใช้เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนสำหรับผู้ใหญ่ได้ โดยยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ในการยับยั้งทำงานของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทเกิดการตื่นตัวลดลง ทำให้ลดอาการชักได้ โดยการใช้ยาโทพิราเมทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงควรปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

Propranolol เป็นกลุ่มยาที่นำมาใช้รักษาความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอก อาการสั่น หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะใช้รักษาภาวะที่เกี่ยวกับหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตอื่น ๆ นำมาใช้ในการป้องกันและรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้ด้วย โดยจะช่วยลดจังหวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความตึงเครียดของหัวใจ

ยาแก้ปวดไมเกรนเฉียบพลัน

สำหรับผู้ป่วยไมเกรน ที่มีอาการเฉียบพลันและรุนแรง ยาสำหรับระงับอาการนั้น จะช่วยลดความทรมานได้ ซึ่งยาแต่ละประเภทจะสารระงับการปวดและฤทธิ์ของยาที่ต่างกันไป

ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids)

ยากลุ่มนี้จะเป็นยารักษาอาการปวดศีรษะจากโรคไมเกรน (Migraine) และคลัสเตอร์ (Cluster) เช่น ยาไมเกรนโทฟาโก้ โดยเฉพาะไม่มีผลต่อการักษาอาการปวดจากอย่างอื่น สมองของคนที่เป็นไมเกรนนั้นจะมีการรับรู้ความรู้สึกปวดมากกว่าคนอื่น และเมื่อรับประทานยาเข้าไป ฤทธิ์ของยานั้นจะรักษาอาการปวดศีรษะ โดยการกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาททเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติ ให้เกิดการหดตัวลง และทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในที่สุด

ยากลุ่มทริปแทน (Triptans)

นำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดศรีษะไมเกรนแบบฉับพลัน ยาตัวนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและอาการไมเกรนอื่นๆ อาจจะเป็น ปฏิกิริยาไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้ และอาเจียน โดยยากลุ่มทริปแทนมีกลไกการออกฤทธิ์เป็น 5HT agonist (5 hydroxytryptamine agonist, ยากระตุ้นตัวรับ 5HT) ยาจะเข้าจับกับตัวรับที่มีชื่อว่า 5-HT receptors ในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในบริเวณสมองหดตัวจึงทำให้อาการปวดศีรษะเบาบางลง

ยาในกลุ่ม NSAIDs

เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่ออกฤทธิ์ได้เร็วอธิบายตัวยาและความเกี่ยวข้องกับการรักษาไมเกรน
กลุ่มยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ รวมถึงลดไข้ได้ มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส ยาจะไปยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส ทำให้ลดการผลิตสารพรอสตาแกลนดิน จึงส่งผลให้อาการปวด อาการไข้ หรืออาการอักเสบลดลงได้

ยาแก้ปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน

อันตรายจากยารักษาไมเกรน

ขึ้นชื่อว่ายาแน่นอนว่าเป็นการสกัดจากสารที่ออกฤทธิ์อาจจะมีผลข้างเคียงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ร่างกายแต่ละคนนั้นจะมีปฏิกิริยาต่อยาไม่เหมือนกัน บางครั้งจึงควรเสี่ยงในการใช้ยา
การใช้ยาเพื่อรักษาไมเกรนนั้น อาจจะมีผลข้างเคียงและจะต้องระมัดระวังในการใช้ยา เพราะยาจะมีฤทธิ์ในการยังยั้งอาการปวดโดยอาจจะกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายด้วย ถ้าเรามีอาการป่วยอย่างอื่นร่วม หรือสภาพร่างกายของเราที่อาจจะไม่เข้ากับยา ซึ่งในการใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดไมเกรนนั้น ควรจะปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เออร์กอต (Ergot)

ยานั้นจะออกฤทธิ์ในการรักษาอาการปวดศีรษะ จะไปกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติ เกิดการหดตัวลง ยาประเภทนี้ ที่มีจำหน่าย เช่น ยาไมเกรนโทฟาโก้ การรับยาเออร์กอตในปริมาณที่มากไป อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปลายมือปลายเท้าเย็น ชารอบปาก

ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และอื่น ๆ รวมไปถึงยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

กลุ่มยารักษาอาการปวดชนิดนี้ก็สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ในบางราย แต่หากใช้ยาประเภทนี้บ่อย ๆ และเป็นเวลานาน สามารถทำให้เกิดแผลเปื่อยหรือแผลอักเสบที่กระเพาะอาหารได้ ยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอล ใช้ในการรักษาความปวดไมเกรนระดับน้อยถึงปานกลาง ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน และใช้เป็นยาลดไข้ บางครั้งแพทย์นำไปใช้รักษาอาการปวดจากโรคข้อบางชนิดและใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ไม่แนะนำให้ใช้ยากับผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือระบบหัวใจ เพราะมีผลต่อกระเพราะอาหารและระบบทางเดินอาหาร อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงคลื่นไส้ ท้องเสีย เลือดออกในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ ง่วงนอน เกิดผื่นคันทางผิวหนัง และหอบหืด

ยากลุ่มทริปแทน (Triptans)

ยากลุ่มนี้อาจส่งผลให้ผู้ใช้ยามีอาการข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ มีประสาทสัมผัสไวต่อแสงและเสียงมากกว่าปกติ ซึ่งยากลุ่มนี้มีทั้งแบบยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด แยกย่อยมามีหลายตัวเช่น ยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan) ยาจะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวแคบลง ทั้งยังส่งผลต่อเส้นประสาทในสมองบางชนิด ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนบรรเทาลง ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังการใช้ยา โดยกลุ่มยาทริปแทนนั้นจะมีลักษณะการนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด โดยการใช้ยาในกลุ่มนี้อาจจะมีผลข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ปากแห้ง รู้สึกหนักบริเวณใบหน้า แขน ขา และหน้าอก ง่วงนอน หน้าแดง กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ แน่นบริเวณลำคอ เป็นต้น โดยยากลุ่มทริปแทนนั้นยังถูกแยกย่อยออกเป็นหลายกลุ่มอีกด้วย

ยาริซาทริปแทน (Rizatriptan)

ใช้เพื่อรักษาโรคไมเกรนแก้ ปวด ไมเกรน เร่ง ด่วน ยานี้ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว อาการปวด และอาการของโรคไมเกรนอื่น ๆ (คลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสง แพ้เสียง) โดยจะเป็นการรักษาแบบทันที ยาไรซาทริปส่งผลต่อสารเซโรโทนินตามธรรมชาติ (serotonin) ที่ทำให้หลอดเลือดในสมองแคบลง สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้

ยานาราทริปแทน (Naratriptan)

อาการปวดศีรษะไมเกรนนั้นมีกลไกจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งยานาราทริปแทนนั้นเป็นยาที่ที่มีกลไกการออกฤทธิ์บริเวณตัวรับ (Receptor) ที่มีชื่อว่า 5-HT1B/1D receptors หรือ 5-Hydroxytryptamine1B/1D receptor จะมีผลต่อหลอดเลือดในสมองหดตัว และสามารถลดการกระตุ้นความรู้สึกเจ็บปวด ผลที่ได้คืออาการปวดศีรษะไมเกรนบรรเทาลง

ยาซอลมิทริปแทน (Zolmitriptan)

มีทั้งแบบเม็ดและแบบพ่น ฤทธิ์ของตัวยานั้นจะไปทำให้หลอดเลือดในสมองนั้นแคบลง จะช่วยบรรเทาแก้ ปวด ไมเกรนแบบเฉียบพลันได้

ยาอีลีทริปแทน (Eletriptan)

ตัวยาของอีลีทริปแทนนั้น จะส่งสารทำให้สารเรโทนินในร่างกายที่ทำงานกับหลอดเลือดในสมองแคบลง ซึ่งผลหลังจากรับประทานยานั้น อาการของการปวดไมเกรนนั้นจะบรรเทาลง

ยาแก้อาการคลื่นไส้ (Anti-nausea Medications)

เป็นยาใช้สำหรับบรรเทาอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ยานี้นั้นจะไปช่วยเพิ่มการหดตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ส่งผลให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

การรักษาด้วยยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Medications)

เป็นกลุ่มยาที่ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางไปถึงรุนแรง ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง มีฤทธิ์ช่วยลดสัญญาณความเจ็บปวดที่ส่งมาจากระบบประสาทและปฏิกิริยาของสมองต่อความเจ็บปวด ทำให้อาการปวดทุเลาลง จึงสามารถใช้บรรเทอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มนี้บางตัวนั้นถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เป็นสารเสพติด จึงต้องได้รับคำสั่งจ่ายยาจากแพทย์เท่านั้น

ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)

เป็นยาที่มีฤทธิ์ในทางการแพทย์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า ที่จะช่วยระงับอาการปวดรุนแรงได้ แต่การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์นั้น จะมีผลข้างเคียงมากจึงจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

ปวดท้องจากการกินยา

ปริมาณการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

การใช้ยาเพื่อรักษาไมเกรนนั้น ไม่ใช่ว่าอยากจะใช้เท่าไรก็ได้ อยากหายจากอาการปวดแล้วใช้ยาในปริมาณที่ให้มากขึ้นอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี
การใช้ยาสำหรับรักษา ไมเกรนเพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรนนั้น จะต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและกำหนด ผู้ป่วยไม่ควรจะซื้อยากินเองหรือกำหนดปริมาณด้วยตัวเอง เนื่องจากยาแก้ปวดไมเกรน ไม่ว่าจะเป็น cafergot ยารักษาไมเกรนที่ใช้ในการรักษาที่มีคนใช้เป็นจำนวนมากก็มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่อันตราย หากไม่มีความรู้ในการใช้ยา

การรักษาไมเกรนโดยวิธีทางเลือก

ทางเลือกของการรักษาอาการปวดไมเกรนนั้น มีมากกว่าการใช้ยารักษาเพียงยาเดียว บางครั้งการใช้ธรรมชาติหรือการปรับวิถีชีวิตก็อาจจะเป็นวิธีการรักษาได้โรคไมเกรนได้เหมือนกัน การปวดไมเกรนนั้น เป็นอาการปวดหัว ในบางกรณีอาจมีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ การป้องกันการเป็น ไมเกรนมีหลายวิธี การรักษาใช้วิธีทางเลือก ก็อาจจะอีกแนวทางการรักษา ซึ่งเป็นวิธีรักษาไมเกรนโดยไม่ต้องใช้ยา

การใช้ธรรมชาติบำบัด

บำบัด สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อปรับสมดุลของอารมณ์และจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ดี มีสรรพคุณช่วยทำให้กระปรี้กระเปร่า น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ (lavender) นั้นจะช่วยคลายกังวล ลดความเครียด และอาการซึมเศร้า หรือจะใช้การประคบร้อน-ประคบเย็น บรรเทาอาการปวด แนะนำให้ประคบเย็นที่หน้าผากและประคบร้อนที่ท้ายทอย ประคบสลับที่กันทุก 2 นาที ทำซ้ำ 6 รอบ เป็นอีกวิธีรักษา ไมเกรน

การฝังเข็ม

โดยจะการฝังเข็มไมเกรนนั้นจะฝังไปตามจุดต่างๆ จุดประสงค์ก็คือเพื่อให้เลือดลมสามารถไหลเวียนได้สะดวก โดยจะทำประมาณ 8 – 10 ครั้ง แต่ทั้งนี้จำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ การแก้ปวดหัวไมเกรนโดยแพทย์ที่จะฝังเข็มจะเป็นแพทย์แผนจีน ที่ได้มีความรู้ในการรักษาด้วยการฝังเข็ม

การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นคลายตัว มีส่วนในการยับยั้งปลายประสาทที่ส่งสัญญาณความปวดไปยังสมอง ผลที่ได้คือช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี และต่อไปอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยาแก้ปวดศีรษะถี่เหมือนก่อน

การฝังเข็มรักษาไมเกรน

โบท็อกซ์รักษาไมเกรนได้อย่างไร

หนึ่งในวิธีการรักษาไมเกรน การฉีดโบท็อกซ์ เป็นวิธีที่กระตุ้นการทำงานของร่างกายในส่วนที่เป็นสาเหตุของอาการปวด ทำให้อาการปวดไมเกรนนั้นน้อยลงไปได้
อาการปวดไมเกรนรักษาด้วยการฉีดโบท็อกซ์ โดยแพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ไปที่บริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ โดยโบท็อกซ์จะเข้าไปยับยั้งปลายประสาท Acetyl Choline ที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองที่มีส่วนต่อกับกล้ามเนื้อ จึงทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่จะคลายตัวลง สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะให้น้อยลง ลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดศีรษะได้อีกด้วย

การรักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบท็อก

ข้อดีของการฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

การฉีดโบท๊อกซ์เป็นอีกวิธีการรักษาอาการปวดหัวไมเกรน ที่กำลังได้รับความสนใจและมีศูนย์ให้คำปรึกษาอยู่หลายที่ โดยมีข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ ซึ่งน่าสนใจมาก
การฉีดโบท็อกซ์นั้นสามารถรักษาอาการปวดหัวสาเหตุจากไมเกรนได้ ลดการรับประทานยาลง ซึ่งผู้ป่วยหลายคนจะต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด การฉีดโบท็อกซ์นั้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี นอกจากนั้นการใช้โบท็อกซ์ยังส่งผลดีต่อการรักษา ดังนี้

ลดความรุนแรงของการปวด

การฉีดโบท็อกซ์ช่วยยับยั้งปลายประสาท Acetyl choline ตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวด กล้ามเนื้อที่หด เกร็งตัวอยู่จะคลายตัวลง ฉะนั้นการฉีดโบท็อกซ์จึงช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี

ลดความถี่ของการปวด

ผลลัพธ์ของการฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการปวดไมเกรนนั้นสามารถอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน ดังนั้นช่วงเวลาที่โบท๊อกอยู่ในร่างกาย ก่อนจะสลายไปตามธรรมชาตินั้น ความถี่ของการปวดก็จะไม่มากเท่าก่อนฉีด

ลดการกินยาแก้ปวด

หลังจากฉีดโบท๊อกอาการปวดศรีษะไมเกรนลดลง ทำให้ไม่ต้องกินยาแก้ปวดบ่อย ๆ เหมือนเดิม ซึ่งการกินยาต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

รักษาออฟฟิศซินโดรม

ข้อสรุป

อาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งกล่าวได้ว่าใครไม่เป็นก็จะไม่รู้ว่าทรมานแค่ไหน ถ้าสนใจมีทางเลือกสำหรับการรักษาไมเกรน มีศูนย์สำหรับให้คำปรึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

การเลือกใช้การฉีดโบท๊อกซ์สำหรับการรักษาไมเกรนเป็นอีกวิธีในการรักษาไมเกรนที่ได้ผล ซึ่งการเลือกที่จะรักษาไมเกรนที่ไหนดีนั้นควรเลือกคลีนิคที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์สำหรับการฉีดเพื่อรักษา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาข้อมูลในการรักษาไมเกรนกับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center สามารถติดต่อได้ที่ ไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เป็นศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางและทันสมัย