ยาแก้ปวดไมเกรน มียาอะไรบ้างที่สามารถใช้ได้ ? แนะนำวิธีการใช้ยาไมเกรนให้ปลอดภัย
อาการหัวจะปวด ในยุคนี้ ใครก็ไม่อยากเป็น อาการปวดหัวที่พบบ่อยอย่างหนึ่งก็คือ ไมเกรน เรามารู้จักกันดีกว่าว่าไมเกรนคือโรคอะไร สามารถแก้ไขด้วยยาแก้ปวดไมเกรนตัวไหนได้บ้าง เพื่อจะได้รับมืออาการไมเกรนและสามารถใช้ยาไมเกรนด้วยตัวเองในเบื้องต้นได้
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
- ไมเกรนคืออะไร
- ยาแก้ปวดไมเกรน
- ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน
- ยาแก้ปวดไมเกรน มีอะไรบ้าง
- ยารักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน
- ยาป้องกันโรคไมเกรน
- หากใช้ยาไมเกรนผิดวิธีจะส่งผลเสียอย่างไร
- วิธีแก้ปวดไมเกรนโดยไม่ใช้ยา
- แนวทางการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยไมเกรน
- ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อสรุป
ไมเกรนคืออะไร
ไมเกรน คือ อาการปวดหัวที่เกิดจากการที่เส้นเลือดสมองบีตัวและคลายตัวอย่างรุนแรงกว่าปกติ ถึงแม้ว่าเส้นเลือดสมองของเราจะบีบตัวและคลายตัวเป็นประจำอยู่แล้ว แต่การเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในเวลาฉับพลัน ก็อาจจะทำให้ส่งผลต่อร่างกายได้
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน
ปัจจัยอะไรที่กระตุ้นไมเกรน ที่เราทราบกันดีแน่ๆคือ
- ความเครียด การพักผ่อนน้อย อดนอนติดต่อกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
- การทานยาบางชนิดหรือยาคุมกำเนิด
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
อาการไมเกรนมีอะไรบ้าง
อาการของไมเกรนที่เห็นได้ชัด คือ ปวดศีรษะครึ่งซีกบริเวณขมับยาวไปจนถึงท้ายทอย ส่วนมากจะปวดหัวข้างเดียว บางคนปวดหัวข้างซ้ายข้างเดียว บางคนปวดหัวท้ายทอยด้วย บางคนปวดหัวข้างขวาข้างเดียว รู้สึกปวดตุ๊บๆ นานเกิน 20 นาที แต่หลังจากรับประทานยาไมเกรนทันที ระยะเวลาในการปวดจะสั้นลง
ในบางรายจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย และอาจจะรุนแรงมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ หรือการมองเห็นผิดเพี้ยนไปเล็กน้อย เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงเป็นเส้นๆ และอาจจะมีอาการปวดกระบอกตาด้วย ซึ่งอาการทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถแก้ด้วยยาแก้ปวดไมเกรน เพื่อระงับอาการปวด
ยาแก้ปวดไมเกรน
ปวดไมเกรนกินยาอะไรหาย? เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ แน่นอนว่าวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตนเองก็คือ การทานยาแก้ปวดไมเกรน ซึ่งจะเห็นผลได้ทันที สามารถระงับอาการปวดภายใน 15-30 นาที
ซึ่งยาไมเกรนจะออกฤทธิ์โดยทำให้เส้นเลือดที่อยู่รอบสมองหดตัวแคบลง ทำให้อาการปวดบรรเทาลง
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน
ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน มีดังนี้
- ยาแก้ปวดไมเกรนอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
- มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต
- ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องใช้ยาในดุลยพินิจของแพทย์เพราะ นิโคตินในบุหรี่ อาจจะทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น
- หากใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อเอชไอวีอยู่ ไม่ควรใช้ยาไมเกรน หรือควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
ยาแก้ปวดไมเกรน มีอะไรบ้าง
ยาไมเกรนมีอะไรบ้าง ทานตัวไหนดี? ต้องบอกก่อนว่า ยารักษาไมเกรน จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มยาแก้ปวดรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน
กลุ่มยาแก้ปวดไมเกรน ทานเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ยากลุ่มนี้สามารถซื้อรับประทานเองได้ตามร้านขายยา โดยจะบรรเทาอาการปวดในทันที
แต่การรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลต่อการทำงานของไต และถ้ารับประทานเกินขนาด จะทำให้เกิดการดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยามากขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อไตมากขึ้นด้วย
2. กลุ่มยารักษาและป้องกันไมเกรน
กลุ่มยารักษาและป้องกันไมเกรน เป็นกลุ่มยาไมเกรนที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการปวดไมเกรน มีทั้งชนิดฉีดและรับประทาน ในการใช้ยาประเภทนี้ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
กลุ่มยารักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน
กลุ่มยารักษาอาการไมเกรนแบบเฉียบพลัน คือ กลุ่มยาแก้ปวดที่เรารู้จักกันดี เช่น Paracetamol, ibuprofen และยังมี NSAIDs ตัวอื่นๆ เช่น triptan และ ergotamine อีกด้วย
ยากลุ่มนี้จะใช้เมื่อมีอาการปวดศีรษะและสามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือส่งผลต่อการทำงานต่อไตและตับ
1. ยาบรรเทาอาการปวดหัว
- Paracetamol สามารถบรรเทาอาการปวดน้อยถึงปานกลางเท่านั้น ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ผู้ใหญ่ที่น้ำหนักมากกว่า 44 กิโลกรัม ให้ทานครั้งละ 2 เม็ด ห่างกัน 8 ชั่วโมง
- Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์) สามารถบรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และลดไข้ ในผู้ใหญ่ ควรรับประทาน 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 1,200 มิลลิกรัม ในเด็ก ควรรับประทาน 4-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทุก 6-8 ชั่วโมง
2. ยาแก้ปวดหัวไมเกรนรุนแรง
- Triptan ยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้เส้นเลือดในสมองหดตัวแคบลง มีทั้งยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด มีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงซึม หรือเวียนศีรษะ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้
- Ergotamine ยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ยาลดปวดไมเกรนตัวนี้ จะรับประทานเมื่อมีอาการปวดเท่านั้น ห้ามรับประทานติดต่อกันทุกวันเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนเด็ดขาด โดยรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด แต่ไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ที่รู้จักกันดี ได้แก่ tofago ยาแก้ปวดไมเกรน ที่มี ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมกับ caffeine 100 มิลลิกรัม
3. ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- Metoclopramide เป็นยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากไมเกรนได้ แต่ควรระวังในการใช้ยากับผู้ป่วยโรคไต โรคตับ ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน มะเร็งเต้านมและโรคซึมเศร้า
- Domperidone เป็นยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีผลข้างเคียง อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
กลุ่มยาป้องกันโรคไมเกรน
ยาป้องกันโรคไมเกรน จะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกลุ่มอื่น แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงในการช่วยป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนได้ โดยหากใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถช่วยยับยั้งอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างชัดเจน
ซึ่งการใช้ยากลุ่มป้องกันโรคไมเกรน จำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกายที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน
1. กลุ่มยาลดความดัน (Beta-blocker)
- Propranolol รักษาความดันโลหิตสูง อาการเจ็บหน้าอก อาการสั่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรน ข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ยานี้ในเด็กเล็ก ในผู้ที่มีอาการโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า โรคหอบหืด
- Metoprolol ใช้รักษาความดันโลหิตสูง การลดความดันโลหิตที่สูงอยู่จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง สามารถใช้ป้องกันอาการปวดไมเกรนได้
- Verapamil ยาปิดกั้นแคลเซียม มีกลไกการออกฤทธิ์โดยช่วยคลายกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มออกซิเจนให้กล้ามเนื้อหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการเจ็บหน้าอก และไมเกรนได้
2. กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant)
กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressant) คือ ยา Amitriptyline เป็นยาใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า โดยปรับปริมาณสารเคมีในสมองให้สมดุล ใช้รักษาโรคปลายประสาทอักเสบและไมเกรนด้วย
3. กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)
- Topiramate เป็นยาในกลุ่มยากันชัก ใช้ในการรักษา และควบคุมอาการชักในผู้ใหญ่และเด็ก และอาจใช้เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนสำหรับผู้ใหญ่ได้ โดยยานี้ออกฤทธิ์ปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาท
- Valproate หรือ Valproic Acid เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคลมชัก รักษาความผิดปกติทางอารมณ์และป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน โดยกลไกของยาจะช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในระดับปกติ
หากใช้ยาไมเกรนผิดวิธีจะส่งผลเสียอย่างไร
ในการใช้ยาทุกชนิด ถ้าหากใช้ผิดวิธี ย่อมส่งผลเสียอย่างแน่นอน ถ้าใช้ไมเกรนผิดวิธี เช่น รับประทานเกินขนาด หรือ รับประทานยาแก้ปวดไมเกรนทุกวันเพื่อใช้ในการป้องกันไมเกรน อาจส่งผลเสีย ดังนี้
- ทำให้ไตและตับทำงานหนักในการกำจัดยาส่วนเกินออกจากร่างกาย
- ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง
- สมดุลน้ำและเกลือแร่เสียไป
- ร่างกายสะสมของเสีย
- ตับวาย
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- มีความเสี่ยงสูงต่อเว้นเลือดในสมองแตกได้
ดังนั้น หากถ้าจะใช้ยารักษาไมเกรน ชนิดและปริมาณของยาที่ใช้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
วิธีแก้ปวดไมเกรนโดยไม่ใช้ยา
สำหรับการทานยารักษาไมเกรนโดยประจำนั้นอาจส่งผลเสีย อาทิเช่น ภาวะติดการทานยาเกินความจำเป็น โดยเมื่อเกิดภาวะนี้ก็จะเสี่ยงต่อการดื้อยา และส่งผลต่อระบบภายในร่างกาย หากรุนแรงก็อาจจะเกิดอาการแพ้ยา จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ซึ่งการรักษาไมเกรนนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาเสมอไป ซึ่งสามารถใช้วิธีธรรมชาติในการรักษาไมเกรนได้เช่น
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ไมเกรน มีสาเหตุมาจากการอดนอน พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ดังนั้น เราสามารถแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปรับเปลี่ยนเวลานอนให้เร็วขึ้น และนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง หาวิธีผ่อนคลายความเครียด ออกไปพบปะเพื่อนๆ ทำกิจกรรม งานอดิเรกที่ชอบ เพื่อให้ความเครียดเบาบางลง
2. ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย
โดยประคบเย็นแก้ปวดหัวไมเกรนที่หน้าผากหรือต้นคอ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ประคบเย็นที่หน้าผาก และประคบร้อนที่ท้ายทอย ทำสลับกันไปเรื่อยๆ
3. นวดกดจุดบรรเทาอาการปวดไมเกรน
การนวดบรรเทาอาการไมเกรน จะเริ่มจากใช้มือข้างซ้ายรองไว้หลังศีรษะ ใช้นิ้วโป้งมือขวาค่อยๆ กดบริเวณหัวคิ้ว และใช้ปลายนิ้วอื่นๆ กดคลึงเบาๆ วนเป็นวงกลมบริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง
จากนั้นใช้ปลายนิ้วกลางของมือขวา กดลงบริเวณกึ่งกลางกระหม่อม นวดวนเป็นวงกลมเบาๆ นวดเป็นประจำทุกวัน เมื่อเริ่มรู้สึกว่า มีอาการปวดหัว
4. ฝังเข็มแก้ไมเกรน
การฝังเข็มแก้ไมเกรน ในศาสตร์การฝังเข็มอันเก่าแก่ของจีน การฝังเข็มลงตามจุดต่างๆของร่างกาย จะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ลดอาการปวด ลดอาการเลือดคั่งที่เส้นเลือดสมอง
ซึ่งผลลัพธ์ของการรักษา ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน แต่การฝังเข็มไมเกรนก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
5. ฉีดยาบรรเทาไมเกรน
สำหรับอาการปวดไมเกรนในแต่ละครั้งนั้น มักจะเกิดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการปวดไมเกรนที่ต่างกัน โดย มีความรุนแรงตั้งแต่ ปวดตุ๊บๆ ตลอดจนรุนแรง ขนาดไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น
กลุ่มยาที่ใช้ฉีดบรรเทาระหว่างปวดจะประกอบด้วยการปวด 3ระดับ
- ปวดระดับไม่รุนแรง อาทิเช่นยา พาราเซตามอล
- ปวดระดับกลาง จะใช้ กลุ่มฉีด NSAIDS
- ปวดระดับรุนแรงยาฉีดที่นิยมใช้คือ มอร์ฟีน เป็นต้น
6. ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
โบทูลินั่มท็อกซินหรือโบท็อก ไม่เพียงแต่ฉีดเพื่อคงความอ่อนเยาว์ของใบหน้า แต่ยังช่วยในรักษาโรคไมเกรนได้โดยฉีดรอบศีรษะ 30-40 จุด เพราะโบท็อกจะช่วยสกัดกั้นสารสื่อประสาท ทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง
แต่วิธีการฉีดโบท็อกไมเกรนนี้ จะเหมาะสำหรับคนที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังและรุนแรง จึงจะได้ผลดีกว่า และระงับอาการปวดได้นานถึง 4-6 เดือน
แนวทางการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยไมเกรน
คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเมื่อเกิดอาการปวดไมเกรน จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากมาย และทำให้ ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้เสียมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรน ให้ได้ผลดี อาจจะปฎิบัติตัวได้ง่ายๆ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นไมเกรน เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคไมเกรน เพราะเมื่อห่างไกลจากสิ่งกระตุ้น ก็จะทำให้อาการไม่กำเริบ จึงควรพักผ่อนให้มาก ผ่อนคลายความเครียด พยายามหลีกเลี่ยงอาหารและยาที่ทำให้ไมเกรนกลับมาเป็นอีก
2. ดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
จิตใจที่ปลอดโปร่ง ไม่เครียด กดดันหรือวิตกกังวลใดๆ จะช่วยให้โรคภัยต่างๆ ลดน้อยลง หมั่นปล่อยวางจิตใจ ลดากรรับรู้เรื่องที่จะทำให้คิดมากหรือกระทบกระเทือนจิตใจ และใช้เวลาในการออกกำลังกาย ท
านอาหารที่มีประโยชน์ ทำสิ่งดีๆให้ตัวเอง ทำสิ่งที่ชอบ อยู่กับคนที่รักและสบายใจ รู้จักการพูดคุยให้มากขึ้น เพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่อึดอัด ก็จะทำให้สุขภายและใจของเราแข็งแรง
3. เข้ารับการรักษาหากอาการรุนแรง
เข้ารับการรักษาหากอาการปวดหัวไมเกรนรุนแรง ถ้าหากอาการยังคงไม่ทุเลาเบาบาง ต้องเข้ารับการรักษาและใช้ยาไมเกรน ซึ่งอยู่ในความดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน จนกระทบต่อการเรียน การงาน และชีวิตประจำวัน ควรต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบประสาทและสมอง ไม่ว่า จะเป็นการใช้ยารับประทาน ยาพ่น ยาฉีดหรือการใช้โบทูลินั่มท็อกซินในการรักษาก็ตาม
ที่ BTX Migraine Center คลินิกรักษาโรคไมเกรน โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทและสมอง สามารถให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่ตรงจุด ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ไว้วางใจได้
ข้อสรุป
โรคไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่รบกวนการใช้ชีวิตของคนยุคนี้เป็นอย่างมาก ยิ่งสังคมปัจจุบันที่ทั้งแข่งขันสูง กดดัน มีความตึงเครียด ทำให้ไมเกรน เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและไม่ไกลตัวอีกแล้ว ซึ่งวิธีรักษา ก็มีมากมาย ทั้งโดยการใช้ยาและการบำบัดด้วยวิธีต่างๆแบบไม่ใช้ยา
ซึ่ง BTX Migraine Center เป็นศูนย์รักษาไมเกรนที่เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง เป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาไมเกรน ติดต่อสอบถามได้ที่ line ID : @ayaclinic
เอกสารอ้างอิง
A Controlled Trial of Erenumab for Episodic Migraine Goadsby P, Reuter U, et al N Engl J Med 2017; 377:2123-2132 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29171821
CGRP Inhibitors for Migraine Medically Reviewed by Christopher Melinosky, MD on February 14, 2022 https://www.webmd.com/migraines-headaches/cgrp-inhibitors-for-migraine