อาการสั่น จากยาแก้ปวดไมเกรน สัญญาณตือนที่ต้องระวัง

อาการสั่น

อาการไมเกรน เป็นการปวดหัวอย่างรุนแรงที่เมื่อเกิดอาการปวด ต้องรีบหาวิธีบรรเทาอาการให้ทุเลาลงเพราะ หากไม่หาวิธีที่ทำให้อาการปวดทุเลา อาการปวดหัวไมเกรนอาจรุนแรงขึ้นและส่งผลอันตรายต่อคนไข้ได้ ซึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกับคนไข้มากที่สุด คือ การรับประทานยาแก้ปวด ตลอดจนรับประทานยากลุ่มป้องกันอาการปวดจากไมเกรนก็จะช่วยให้อาการไมเกรนทุเลาและไม่รุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มยารักษาไมเกรนบางชนิดอาจมีตัวยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มือสั่น เท้าสั่น ตัวสั่น ได้ เนื่องจากส่วนผสมบางประเภทที่ผสมอยู่ในตัวยา เพราะฉะนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

สารบัญบทความ

กลุ่มยารักษาไมเกรน

ยารักษาไมเกรน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มยาแก้ปวดและกลุ่มยาป้องกันไมเกรน โดยสามารถแบ่งกลุ่มของชื่อยาได้ดังนี้

  • กลุ่มยาแก้ปวด
    • ยาบรรทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง ได้แก่ Paracetamol และยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) คือ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib
    • ยาบรรเทาอาการปวดแบบรุนแรง ได้แก่ ยากลุ่ม Triptans คือ Sumatriptan, Eletriptan และยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine คือ Ergotamine + Caffeine
    • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone
  • กลุ่มยาป้องกันไมเกรน
    • กลุ่มยาลดความดัน ได้แก่ Propranolol, Metoprolol tartrate, Verapamil
    • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า ได้แก่ Amitriptyline
    • กลุ่มยากันชัก ได้แก่ Valproate, Topiramate

อาการปวดไมเกรนเป็นอย่างไร

อาการปวดหัวไมเกรน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะก่อนมีอาการ (Prodrome) ระยะก่อนมีอาการปวดหัวไมเกรน จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเริ่มปวด โดยจะมีอาการอยากอาหารมากขึ้น หงุดหงิดง่าย ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งยังไม่สามารถควบคุมการหาวได้
  2. ระยะอาการนำ (Aura) ระยะอาการนำ จะเกิดขึ้น 20-40 นาทีก่อนปวดหัวไมเกรน โดยจะเริ่มรู้สึกเพลีย ไม่มีแรง เห็นแสงจ้า แสงแฟลช หรือแสงที่เป็นซิกแซกแสบตา
  3. ระยะปวดศีรษะ (Headeach) ระยะปวดศีรษะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดยาวถึง 4-24 ชั่วโมง โดยระหว่างนี้ อาการปวดจะเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้รู้สึก ปวดหัวเรื้อรัง
  4. ระยะหลังมีอาการ (Postdrome) อาการหลังปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกมึนงง โดยอาการเหล่านี้สามารถอยู่ได้ตลอดทั้งวัน

ปวดไมเกรนขนาดไหนถึงต้องใช้ยารักษาไมเกรน

กินยาแก้ปวด

อาการปวดไมเกรน ในระยะแรกเริ่มอาจจะมีอาการแสดงไม่มากนัก แต่ถ้ารู้สึกว่าเริ่มรุนแรง ปวดหัวเรื้อรัง ควรรีบรับประทานยารักษาตามอาการทันที เพื่อแก้ปวดไมเกรนเร่งด่วนพร้อมกับหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแสงจ้า หรือมีเสียงดัง ควรพักผ่อนในที่สงบ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ทุเลาลง หรือปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที

ผลเสียของอาการสั่นจากยาแก้ไมเกรน

การรับประทานยาแก้ปวด ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากทานเกินขนาดก็จะส่งผลเสียมากมาย โดยเฉพาะในยารักษาอาการปวดหัวไมเกรนนั้นมีส่วนผสมสำคัญที่หากทานเกินปริมาณที่กำหนดจะส่งผลเสียต่อร่างกายโดยตรง เช่น ส่งผลให้ตับและไตทำงานหนัก หรือการรับประทานยาที่มี คาเฟอีน เป็นส่วนประกอบอยู่ในตัวยา หากคนไข้รับประทานยาชนิดนั้นเป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการสั่น มือเท้าสั่น ได้ ซึ่งอาการสั่นอาจส่งผลเสียในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน มีปัญหาเรื่องหยิบจับของ การเดิน ขับรถ การสื่อสาร รวมถึงทำให้บุคคลิกเสียสมดุลได้อีกด้วย

ยารักษาไมเกรนตัวใด ที่อาจทำให้เกิดอาการสั่น

การรับประทานยาแก้ปวด หรือยารักษาไมเกรน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อตับและไตแล้ว ยังส่งผลให้มีอาการข้างเคียงคือ มือ เท้า ตัวสั่น อีกด้วย เพราะในกลุ่มยารักษาไมเกรน หรือ Ergotamine จะมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยารักษาอาการไมเกรน Ergotamine มีอาการสั่นจากยาได้

Ergotamine คืออะไร

ยาเออร์โกทามีน เป็นยารักษาไมเกรน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมอยู่กับ caffeine 100 มิลลิกรัม ซึ่งมีกลไกการทำงานโดยการกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลง ทำให้ลดอาการปวดหัวตุบๆ และทำให้อาการปวดไมเกรนหายไปในที่สุด 

ทำไมได้รับคาเฟอีนจากกลุ่มยารักษาอาการไมเกรนแล้ว เกิดอาการสั่น

อาการสั่นจากยาไมเกรน

คาเฟอีน” เป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้สมองมีการตื่นตัว โดยจัดอยู่ในกลุ่มเมทิลแซนไทน์ สามารถพบได้ใน ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง หากร่างกายได้รับคาเฟอีนจะส่งผลให้รู้สึกกระปรี้กระเป่า ร่างกายกระฉับกระเฉง ลดความเหนื่อยล้า ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นผลดี แต่ในคาเฟอีนนั้นก็อาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นลบในร่างกายของบางคนได้ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจจะตอบสนองเร็วหรือช้าแตกต่างกันไป หากใครที่ร่างกายตอบสนองกับคาเฟอีนไวเกินไป อาจส่งผลต่อการทำงานของเอมไซม์ในหัวใจ รวมถึงสามารถกระตุ้นการหลั่งสารอะดรีนาลีน ทำให้หัวใจบีบตัวแรงเร็วขึ้น รวมทั้งยังทำให้เกิด อาการสั่นได้

เมื่อเกิดอาการสั่นจากยาต้องทำอย่างไร

  1. หากมีอาการ ตัวสั่น รับประทานยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์รุนแรง เช่น ยาพาราเซตามอล 
  2. รักษาโดยใช้ความร้อน หรือการกระตุ้นไฟฟ้า
  3. ทำกายภาพบำบัดโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและสร้างความแข็งแรง
  4. รักษาโดยการฉีดยาหรือฝังเข็ม
  5. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่งโต๊ะทำงาน

ข้อสรุป

การรับประทานยาเพื่อรักษาอาการไมเกรนมีทั้งผลดีและผลเสีย ถึงแม้จะเป็นการรักษาแบบเห็นผลทันที และช่วยให้อาการปวดหัวไมเกรนดีขึ้นจริง แต่ก็อาจจะมีผลเสียที่ตามมาคืออาจจะส่งผลกระทบต่อตับ ไต และทำให้เกิดอาการ อาการสั่น ได้จากยาบางชนิด หากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที