การรักษาไมเกรนเรื้อรัง คืออะไร และรักษาอย่างไรได้บ้าง
อาการปวดหัวไมเกรน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่ควรมองข้าม เพราะอาการปวดหัวที่กำเริบขึ้นมานั้นมักจะมีความรุนแรงและเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งจนเข้าไปรบกวนชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ อาการปวดหัวไมเกรน ยังมักมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ความคล่องตัวลดลง และทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และผอมลง ส่งผลให้เป็นไมเกรนเรื้อรังได้
บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับอาการของไมเกรนเรื้อรัง พร้อมเรียนรู้ถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และการใช้ยาในการรักษาไมเกรนเรื้อรังที่เหมาะสม
สารบัญบทความ
- ไมเกรนเรื้อรังคืออะไร
- สาเหตุของไมเกรนเรื้อรัง
- วิธีการรักษาไมเกรนเรื้อรัง
- การดูแลตัวเองสำหรับคนที่เป็นไมเกรนเรื้อรัง
- การใช้ยาในการรักษาไมเกรนเรื้อรังควรเป็นอย่างไร
- ข้อสรุป
ไมเกรนเรื้อรังคืออะไร
ไมเกรนเรื้อรัง คือภาวะปวดศีรษะไมเกรนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและต่อเนื่อง โดยมีอาการปวดศีรษะอย่างน้อย 15 วันต่อเดือน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน โดยลักษณะอาการที่เห็นได้บ่อยคือ ปวดหัวข้างเดียว ปวดแบบเต้นเป็นจังหวะ และอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือไวต่อแสงและเสียง
ไมเกรนเรื้อรัง มีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยต้องการการรักษาที่ต่อเนื่อง โดยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ใช้ยาป้องกันไมเกรน รวมถึงยังต้องใช้ยาแก้ปวดหัวอยู่บ่อยครั้งจนอาจนำไปสู่ภาวะติดยาแก้ปวดได้
สาเหตุของไมเกรนเรื้อรัง
สาเหตุของไมเกรนเรื้อรังนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยเหล่านี้จะเข้ามากระตุ้นและทำให้เกิดอาการปวดหัวที่รุนแรงและต่อเนื่อง ได้แก่
- พันธุกรรม โดยปกติแล้ว ไมเกรนจะมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมโดยตรง หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติการเป็นไมเกรน ก็สามารถส่งผลให้ลูกหลานเป็นไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน
- สารเคมีในสมองเซโรโทนิน (Serotonin) เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น อารมณ์ ความรู้สึก การนอนหลับ หรือการย่อยอาหาร เมื่อร่างกายมีปริมาณเซโรโทนินที่เหมาะสม สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสุขภาพที่ดี มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ แต่หากเซโรโทนินมีปริมาณที่มากหรือน้อยผิดปกติ เมื่อนั้นความผิดปกติทางอารมณ์จะเกิดขึ้น
- ความเครียดและอารมณ์ ความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าสามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้บ่อยครั้ง รวมทั้งยังทำให้เกิดอาการไมเกรนเรื้อรัง ปวดหัวทุกวัน และปวดเป็นเวลานาน
- พฤติกรรมการนอน การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือแม้แต่การนอนมากเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้บ่อยขึ้น และมักจะปวดหัวทันทีหลังจากที่ตื่นนอน
- การใช้ยารักษาไมเกรนมากเกินไป การใช้ยาแก้ปวดหรือยาต้านไมเกรนบ่อยเกินไป อาจทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงและถี่ขึ้น ซึ่งเรียกว่า “medication overuse headache” ซึ่งนอกจากจะทำให้ปวดหัวมากขึ้นแล้ว ยังอาจนำไปสู่ภาวะติดยาแก้ปวดได้อีกด้วย
- สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบและกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ นั่นคือ แสง สี เสียง และกลิ่น ที่มีความรุนแรงกว่าปกติ เช่น แสงไฟสว่าง แสงแดดจ้า เสียงดังรบกวนเส้นประสาท หรือกลิ่นที่รุนแรงจนปวดหัว
วิธีการรักษาไมเกรนเรื้อรัง
การรักษาไมเกรนเรื้อรังนั้นมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ทั้งการรักษาตัวตนเอง การใช้ยา การบำบัดทางเลือก และการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัว
- การรักษาไมเกรนเรื้อรังด้วยตนเอง
- เรียนรู้กับวิธีการจัดการความเครียดด้วยตนเอง เช่น การทำสมาธิ การฝึกโยคะ หรือหากิจกรรมต่าง ๆ ทำ ซึ่งจะช่วยลดความถี่ของอาการปวดได้
- นอนหลับให้เพียงพอ เข้านอนในเวลาเดิมประจำทุกคืน
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งกระตุ้นไมเกรน เช่น ชีส ช็อกโกแลต คาเฟอีน หรือไวน์แดง
- การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
- ยาป้องกันไมเกรน ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ยาต้านการชัก และยาลดความดันโลหิต ใช้เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน
- การฉีดโบท็อกซ์: แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ที่บริเวณศีรษะและคอ เพื่อบรรเทาอาการไมเกรน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง
- ยาต้าน CGRP (Calcitonin Gene-Related Peptide): เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านโปรตีน CGRP ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและการขยายหลอดเลือดที่ทำให้เกิดไมเกรน
- ยาบรรเทาอาการเฉียบพลัน: เช่น ทริปแทน (triptans) ยาต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อเส้นประสาท
การดูแลตัวเองสำหรับคนที่เป็นไมเกรนเรื้อรัง
หลังจากการรักษาไมเกรนเรื้อรังแล้ว การดูแลตนเองก็เป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพื่อช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัวไมเกรน รวมถึงป้องกันการเกิดไมเกรนซ้ำ โดยมีวิธีการดูแลตนเอง ดังนี้
- มีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
การฝึกสมาธิ การฝึกหายใจลึก ๆ หรือการทำโยคะสามารถช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นไมเกรนได้ นอกจากนี้การจัดตารางเวลาที่สมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน ก็ช่วยป้องกันความเครียดสะสมที่อาจทำให้ไมเกรนเรื้อรังกำเริบได้เช่นกัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
นอนหลับให้เพียงพอและสม่ำเสมออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน และเข้านอนในเวลาเดิมทุกคืน จะช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนได้
- การรับประทานอาหาร
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น ชีส ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดง รวมถึงอาหารที่มีผงชูรสหรือสารกันบูด และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะการขาดน้ำอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดไมเกรนได้
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น การเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือการว่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดการเกิดไมเกรนเรื้อรังได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
ใส่แว่นกันแดดเมื่อออกไปข้างนอก หรือลดความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือใช้ที่อุดหูหากจำเป็น
- การใช้ยาอย่างเหมาะสม
ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และอย่าหยุดยาหรือปรับยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการติดยาแก้ปวดได้
การใช้ยาในการรักษาไมเกรนเรื้อรังควรเป็นอย่างไร
ไมเกรนเรื้อรัง สามารถเกิดขึ้นบ่อยและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก การใช้ยาแก้ปวดจึงเป็นวิธีการรักษาและบรรเทาอาการปวดได้รวดเร็วมากที่สุด แต่เนื่องจากยาแก้ปวดมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แนวทางการใช้ยาจึงจะแบ่งตามความรุนแรงของอาการ ได้แก่ กรณีปวดหัวไม่รุนแรงและกรณีปวดหัวรุนแรง ดังนี้
- กรณีปวดหัวไม่รุนแรง
หากปวดหัวไมเกรนไม่รุนแรง สามารถบรรเทาได้ด้วยยากลุ่มที่ไม่มีสเตียรอยด์ หรือยาลดปวดชนิดพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้หลากหลาย รวมถึงอาการปวดไมเกรนเรื้อรัง เป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงต่ำหากใช้อย่างเหมาะสม ขนาดยามาตรฐานคือ 500-1000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ แต่ไม่ควรเกิน 4 กรัมต่อวัน
- กรณีปวดหัวรุนแรง
ในกรณีปวดหัวไมเกรนอย่างรุนแรง จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์เร็วและมุ่งตรงต่อกลไกการเกิดอาการไมเกรนโดยตรงอย่างยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen หรือ ibuprofen ที่สามารถออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว แต่ข้อควรระวังคือยาในกลุ่มนี้อาจกัดกระเพาะได้ ดังนั้น ควรกินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที
ข้อสรุป
ไมเกรนเรื้อรัง อาการร้ายแรงที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันแล้ว ยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ดังนั้น จึงควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หากใครที่กังวลเกี่ยวกับการทานยาแก้ปวด สามารถมาปรึกษาแพทย์ได้ที่ BTX MIGRAINE CENTER ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยและการรักษาไมเกรนที่เหมาะสม เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมโดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที