กล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ Dystonia อันตรายกับระบบประสาท ที่ไม่ควรมองข้าม
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเข้าไปจนเกิดอาการบีบรัดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ จะรู้สึกปวดเกร็งกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อวัยวะที่ปวดจะกระตุก เคลื่อนตัวช้า และเคลื่อนตัวอยู่แบบนั้นซ้ำ โดยหลัก ๆ แล้ว ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ จะมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางประสาทโดยตรง ทำให้มักเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น คอ ดวงตา มือ ขา ลิ้น รวมไปถึงกล่องเสียงก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดในเวลาที่รู้สึกตึงเครียด หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อทำงานมาก
สารบัญบทความ
- กล้ามเนื้อที่เกร็งผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด
- อาการของภาวะ Dystonia
- ผลกระทบของภาวะกล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ
- อันตรายของภาวะกล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ
- ประเภทของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- ภาวะแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง
- การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- การรักษาภาวะ Dystonia หรืออาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- การฉีดโบท็อกซ์ สามารถช่วยภาวะหดเกร็งได้อย่างไร
- ข้อสรุป
กล้ามเนื้อที่เกร็งผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) ปัจจุบันก็ไม่สามารถวินิจฉัยหรือหาคำตอบได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่จากอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วย ทำให้แพทย์สันนิษฐานสาเหตุการเกิดการ เกร็งกล้ามเนื้อ ได้ดังนี้
- เกิดจากกรรมพันธุ์ เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาส่วนมากจะมีพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวมีอาการแบบนี้เช่นกัน
- เกิดจากการขาดออกซิเจนนานเกินไป ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น ติดอยู่ในรถที่ไม่ได้สตาร์ททิ้งไว้ หรืออยู่ในพื้นที่แคบ คนเยอะ
- เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งผลอาจมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปกติไป
- เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือใช้ยาเกินขนาด
- สมองได้รับสารพิษที่ร้ายแรง เช่น โลหะหนักหรือคาร์บอนมอนอกไซด์
- ได้รับผลกระทบจากการป่วยเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง เนื้องอก มะเร็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสมอง
อาการของภาวะ Dystonia
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) อาการที่เห็นได้ชัดจะมีกล้ามเนื้อที่บิดเกร็งหรือเป็นตะคริวตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดได้มากกว่า 1 จุด ของร่างกาย เช่น อาจจะเกิดอาการหดเกร็งพร้อมกันทั้งบริเวณมือและขา และจะมีระดับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังเป็นอย่างดี โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- มีอาการสั่นและไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
- ตากระตุก ตาแห้ง และไม่สามารถควบคุมการกระพริบตาได้
- เป็นตะคริวตามอวัยวะต่างๆบนร่างกาย ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเดินได้ ปลายเท้าบิดเข้าด้านใน
- คอบิดเกร็ง และอาจจะบิดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
- พูดลำบาก ไม่มีเสียงพูดออกมา หรืออาจจะเบาจนเหมือนกระซิบ ในบางกรณีอาจไม่สามารถควบคุมตนเองได้จนทำให้น้ำลายไหล ไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้แบบปกติ
อาการของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งถ้าหากเป็นแล้วก็อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะมีอาการไม่นานมาก เพราะฉะนั้นควรเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
อันตรายของภาวะกล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) ถึงแม้ว่าจะสามารถหายไปได้เองเมื่อระยะเวลาผ่านไป แต่ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก เมื่อเป็นบ่อยครั้ง ก็อาจส่งผลกระทบอื่น ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น
- เคี้ยวและกลืนอาหารลำบาก ไม่สามามรถควบคุมการทานอาหารได้แบบปกติ อาจทำให้เกิดอันตราย เช่น อาหารติดคอ
- อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้ เนื่องจากอาการกล้ามเนื้อเกร็ง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม้เว้นแม้แต่ในช่วงที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ เช่น ขับรถ
- ทำให้สื่อสารกับผู้อื่นลำบาก เพราะในขณะที่กล้ามเนื้อเกร็ง จะไม่สามารถควบคุมการพูดได้ ทำให้พูดได้เบา และอาจน้ำลายไหลได้
- ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพราะอาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเวลาเขียนหนังสือ หรือเล่นดนตรี
- ทำให้เกิดการวิตกกังวล รู้สึกไม่กล้าทำอะไร ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
- ทำให้ตัวสั่น หรือมือเท้าสั่นตลอดเวลา
- รู้สึกปวดหัวบ่อย เป็นผลกระทบมาจากการเกร็งกล้ามเนื้อ อย่างรุนแรง
- อาจทำให้เป็นโรคไมเกรนได้ เนื่องจาก ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ จะทำให้รู้สึกปวดศรีษะไมเกรนอย่างรุนแรง
- ส่งผลต่อการมองเห็น เพราะเมื่อเกิดอาการ กล้ามเนื้อตาจะไม่สามารถควบคุมได้ ตาแห้ง ตากระตุก และจะส่งผลเสียได้ในระยะยาว
- ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งสามารถทำให้ไมเกรนกำเริบได้อย่างไร
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ เนื่องมาจากการที่เราใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอย่างหนักหรือยาวนานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งเข้าไป ซึ่งรุนแรงกว่าการเป็นตะคริว ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่กระตุ้นความปวด ทำให้เรารู้สึกปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง เมื่อตัวกระตุ้นเหล่านี้อยู่เป็นเวลานานจะทำให้ตัวรับความเจ็บปวดในระบบประสาทส่วนกลางแปลผลความเจ็บปวดนั้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายก็จะทำให้อาการปวดนั้นเรื้อรังได้
นอกจากนี้หากกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่และท้ายทอย หรือในส่วนของบริเวณศีรษะ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคไมเกรนได้เช่นกัน
ประเภทของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
หากอิงตามหลักการแพทย์แล้ว ประเภทของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง กล้ามเนื้อผิดปกติ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
กล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลัน (ACUTE MYOFASCIAL PAIN SYNDROME) กล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลัน เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อในบริบทที่ไม่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือไปสัมผัสกับความเย็นเป็นระยะเวลานาน โดยอาการหดเกร็งแบบเฉียบพลันนี้สามารถหายไปได้อย่างถาวรภายในไม่กี่สัปดาห์ อีกทั้งยังไม่ส่งผลให้รู้สึกปวดในระยะยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลและการรักษาอย่างถูกต้อง
กล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรัง (CHRONIC MYOFASCIAL PAIN SYNDROME) กล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรัง เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อจากการหดเกร็ง ที่เกิดมานานกว่า 2 เดือน เป็นผลมาจากการใช้กล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน นั่นส่งผลให้เกิดอาการปวดแบบเรื้อรัง ถือเป็นอาการที่อันตรายมาก เพราะอาการปวดจะค่อย ๆ แสดง จากระดับน้อยไประดับรุนแรง ส่งผลกระทบต่อกันดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากใช้ท่าทางผิดบริบท ก็สามารถเกิดอาการได้ในทันที อีกทั้งยังไม่สามารถหายไปได้อย่างง่ายดาย วิธีที่ดีที่สุดคือเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย เนื่องจากร่างกายจะเริ่มอ่อนเพลียและไม่มีเรี่ยวแรง อีกทั้งยังสามารถเกิดอาการได้อีกบ่อย ๆ แม้แต่ในเวลาทำงานหรือทำกิจกรรม ส่งผลกระทบต่อการพูด การรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้รู้สึกปวดหัวอย่างรุนแรงและส่งผลให้เป็นโรคไมเกรน ปวดศรีษะไมเกรน ได้ อีกทั้งผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความวิตกกังวล เนื่องจากอาการเหล่านี้ส่งผลต่อสภาพจิตใจโดยตรง ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
สำหรับการเข้ารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) จะทำการวินิจฉัยร่างกายอย่างละเอียด โดยเริ่มจากการประเมินอาการ ซักประวัติทางการแพทย์ รวมทั้งตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการตรวจสามารถทำได้ดังนี้
- การตรวจหาความผิดปกติของกล้ามเนื้อ โดยทำการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยหาสารพิษในร่างกาย
- วินิจฉัยจากภาพถ่าย โดยการสแกน MRI เป็นการถ่ายภาพจากคลื่นสนามแม่เหล็ก
- วินิจฉัยจากการทำ CT Scan เป็นการเอกซเรย์บริเวณศีรษะโดยรอบ เพื่อเช็คความผิดปกติภายในสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง
- ตรวจโดยการใช้คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ หรือ EMG
การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
สำหรับการป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ ไม่มีการออกมายืนยันแน่ชัดว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่วิธีที่หยิบยกมาเป็นวิธีป้องกันเบื้องต้นที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติได้ โดยสามารถทำได้ดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมจนเกินไป เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคแทรกซ้อน หรือโรคที่อาจทำให้ไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์และโลหะหนักอย่างตะกั่ว ที่ส่งผลต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยตรง
- ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมอง ควรระวังไม่ให้สมองหรือศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนจนเกินไป
- หากได้รับยารักษาจากแพทย์ ควรรับประทานอย่างถูกต้องและรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรรับประทานยาที่ไม่จำเป็น เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ได้
- หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอคอม หรือนั่งท่าเดียวเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวได้ ควรออกไปยืดเส้นยืดสายเพื่อคลายกล้ามเนื้ออยู่เป็นประจำ
- หากมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง หรือเกิดอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์โดยทันที
การรักษาภาวะ Dystonia หรืออาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ (Dystonia) ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ในการทำการรักษา แพทย์จะเน้นไปที่การคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นส่วนมาก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
- การนวดกดจุด การนวดกดจุด เป็นวิธีการคลายกล้ามเนื้อเบื้องต้น ที่สามารถทำได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควรทำการนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อ โดยต้องกดในจุดที่สำคัญ หรือสามารถเข้ารับการรักษาวิธีนวดกดจุดกับทางแพทย์เฉพาะทางได้
- รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ การรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยบรรเทาอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ได้ ทำให้รู้สึกปวดน้อยลง และรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- Shock Wave Shock wave เป็นการใช้เครื่องมือประเภทหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติในการคลายกล้ามเนื้อที่จับตัวเป็นก้อนจากการที่ใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก โดยทำการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่
- High-Intensity Laser Therapy (HILT) High-Intensity Laser Therapy (HILT) เป็นเทคโนโลยีกายภาพบำบัดด้วยเลเซอร์ ด้วยวิธีการใช้ท่อนำลำแสงเลเซอร์ 4 ชนิด ได้แก่ ลำแสงอินฟาเรด ลำแสงสีแดง ลำแสงสีเขียว และลำแสงสีน้ำเงิน จะมีระดับความสามารถในการทะลุผ่านชั้นผิวหนังลงลึกถึงกล้ามเนื้อและเอ็นในระดับที่แตกต่างกัน ลำแสงเลเซอร์จะสามารถลงลึกถึงตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างตรงจุด
- การฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์เข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อจะช่วยปรับท่าทางของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยจะต้องเข้ารับการฉีดทุกๆ 3-4 เดือน แต่อาจจะมีผลข้างเคียงตามมาเช่น รู้สึกเพลีย อ่อนแรง
การฉีดโบท็อกซ์ สามารถช่วยภาวะหดเกร็งได้อย่างไร
การฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ จะเรียกว่า การฉีดโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum Toxin) โดยแพทย์จะทำการฉีดเข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็ง ทำให้บริเวณนั้นกลับมาเป็นปกติมากที่สุด โดยในการฉีดโบท็อกซ์ ผู้ป่วยจะต้องทำการฉีดในทุก ๆ 3-4 เดือน เพื่อให้เห็นผลมากที่สุด แต่ข้อควรระวังในการใช้โบทูลินัมท็อกซินคือ ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง อ่อนเพลีย ไม่มีแรงในบริเวณที่ฉีดได้ จงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
ข้อสรุป
สำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ หรือ Dystonia แล้วเคยรักษาด้วยการรับประทานยาหรือวิธีการอื่น ๆ แล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่ผิดปกติอาจมาจากสาเหตุที่อันตรายได้ การฉีดโบท็อกซ์ หรือการรักษาอื่น ๆ จะต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที