อาการปวดไมเกรนในปัจจุบันมีการรักษากี่วิธี ควรรักษาแบบไหน
ปวดไมเกรนรักษาได้กี่วิธี? เป็นคำถามยอดฮิตของผู้ป่วยโรคไมเกรน เนื่องจากอาการของโรคนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถขับรถได้ เนื่องจากมีอาการไมเกรนขึ้นตา ไม่สามารถทำงานหรือจ้องคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลา เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการปวดหัว เป็นต้น
ความทรมานของโรคไมเกรนนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลว่าไมเกรนคืออะไร? รักษาหายหรือไม่? รวมถึงปวดไมเกรนรักษาได้กี่วิธี? มาฝาก ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลยค่ะ
สารบัญบทความ
วิธีแก้ปวดไมเกรน
ปวดไมเกรนรักษาได้กี่วิธี เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาไมเกรน เนื่องจากลักษณะอาการส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ และทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดไมเกรน ทั้งนี้วิธีรักษาไมเกรนมีหลายแบบขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
ใช้วิธีการแก้ปวดโดยวิธีทางธรรมชาติ
ผู้ป่วยจำนวนมากพบว่าวิธีแก้ปวดทางธรรมชาติที่เห็นผลดีและได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การนอนหลับพักผ่อนในห้องที่มืดอุณหภูมิ ไม่มีแสง สี หรือกลิ่นรบกวน นอกจากนี้อาจจะเลือกดูแลรักษาและป้องกันด้วยวิธีทางธรรมชาติ ดังนี้
- กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกินผลไม้แก้ไมเกรนแทน และงดอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น
ของหมักดอง ของทอด ไวน์แดง เนยแข็ง อาหารที่ทำจากนม ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง อาหารที่ปรุงจากชูรสหรือน้ำตาล เป็นต้น - การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายยืดหยุ่น กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการหดเกร็ง
โดยอาจจะเลือกออกกำลังกายเบาๆ เช่น วิ่ง เดินเร็ว โยคะ เป็นต้น - การประคบเย็น การประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ง่ายๆ เพียงนำผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งมาประคบบริเวณที่ปวด ก็จะช่วยให้เส้นเลือดคลายตัว อาการปวดลดลง
การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยวิธีทางการแพทย์
ผู้ป่วยบางราย เมื่อใช้วิธีแก้ปวดทางธรรมชาติแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะเลือกรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ โดยการกินยาแก้ปวดไมเกรน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. ยาแก้ปวดเฉียบพลัน
สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวเฉียบพลันและต้องแก้ปวดไมเกรนเร่งด่วน แนะนำให้เลือกกินยากลุ่มแก้ปวดเฉียบพลัน เช่น Ibuprofen จัดอยู่ในกลุ่มยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอย (NSAIDs) ลดอาการปวด Triptan ยารักษาไมเกรน Ergotamine หลอดเลือดหรือสารต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ Tramadol ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง ทั้งนี้ จะต้องปรึกษาเภสัชกรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนกินยาเสมอ
2. ยาป้องกัน
เพื่อเป็นการป้องกันไมเกรนแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยหลายคนเลือกกินยากลุ่มที่ใช้ป้องกันก่อน ดังนี้
- ยากลุ่มลดความดัน Propranolol นิยมใช้ลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน
- กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า Amitriptyline ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า ตลอดจนรักษาอาการปวดจากระบบประสาท โดยเฉพาะป้องกันอาการปวดไมเกร
- กลุ่มยากันชัก
การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนโดยวิธีทางเลือก
นอกจาก 2 วิธีในข้างต้นแล้ว ปัจจุบันยังมีการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยวิธีทางเลือกที่น่าสนใจและได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน ดังนี้
- นวดกดจุด
การนวดกดจุด จะใช้แรงกดของกล้ามเนื้อมือและนิ้ว นวดกดบริเวณจุดที่ปวดหรือจุดสำคัญ ด้วยแรงที่เหมาะสมและวิธีที่ถูกต้อง โดยเชื่อว่าคนเรามีพลังชีวิตหรือ ชี่ (Qi) และเส้นลมปราณทั่วร่างกาย การนวดกดจุดจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในร่างกาย ปรับสมดุล ลดอาการปวดไมเกรน รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี - กระตุ้นไฟฟ้า
การกระตุ้นไฟฟ้าหรือ TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการกระตุ้นสมองด้วยสนามไฟฟ้าแม่เหล็ก นิยมใช้สำหรับการรักษาโรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ต้องเจ็บจากการผ่าตัด ไม่ต้องดมยาวลบ รวมถึงมีความปลอดภัยสูง ใช้เวลาเพียง 30-60 นาทีเท่านั้น - การใช้โบท็อก
การฉีดโบท็อกไมเกรนเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมสูงและปลอดภัย ซึ่งวิธีนี้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาและประทเศไทย หมดกังวลเรื่องอันตราย โดยทางการแพทย์จะทำการฉีด botulinum toxin รักษาไมเกรน ตามจุดต่างๆ ที่แพทย์กำหนด เช่น คอ บ่า ไหล่ รอบศีรษะ หลังจากฉีดยาเพียง 3-4 วันก้จะออกฤทธิ์ยาวนานถึง 3-4 เดือน
ทั้งนี้ การฉีดโบท็อกช่วยไมเกรนจะช่วยลดความถี่และความรุนแรงในการปวดหัวได้สูงถึง 60-70% นับว่าเป็นวิธีการรักษาที่เห็นผลระยะยาว ปลอดภัย และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป
ข้อสรุป
ปวดไมเกรนรักษาได้กี่วิธี คำตอบคือ มีหลากหลายวิธี ทั้งวิธีธรรมชาติ วิธีทางการแพทย์ และวิธีทางเลือก เช่น การฉีดโบท็อกแก้ปวด การนวดกดจุด ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจไมเกรน วัดระดับความรุนแรงของอาการ ก่อนจะทำการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
หากใครที่สนใจรักษาด้วยวิธีฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อพูดคุย ขอคำปรึกษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ตลอดจนทำการตรวจโรคไมเกรนและเข้ารักษาอย่างปลอดภัยและถูกวิธี
เอกสารอ้างอิง :
Kendall K. Morgan. (2022). Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) for Chronic Migraine. Retrieve by https://www.webmd.com/migraines-headaches/transcranial-magnetic-stimulation-tms-migraine