ยาแก้ปวดไมเกรน รับประทานผิดวิธีเสี่ยงดื้อยา รักษาไมเกรนแบบไม่ต้องพึ่งยา

ทานยาแก้ปวดบ่อยเสี่ยงดื้อยา

การทานยาแก้ปวดบ่อย และจำนวนมากสามารถเกิด อาการดื้อยาได้ ซึ่งอาการของไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือ เริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงลามไปปวดทั้งสองข้าง และอาการปวดไมเกรนย้ายตำแหน่งไปมา เป็นระยะ อาการปวดไมเกรนจะรุนแรงปานกลาง ถึงรุนแรงมาก และนานประมาณ 4 – 72 ชั่วโมงติดต่อกัน
อาการปวดตุ๊บๆ ปวดขมับ ปวดหัวขึ้นตา เมื่อมีอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะร่วมด้วย และอาการปวดไมเกรนจะแย่ลง เมื่อมีอาการปวดหัวฉับพลัน อาการตาไวต่อแสง การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ซึ่งการรักษาอาการปวดไมเกรนจะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะไมเกรน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อบรรเทาอาการไม่ให้กระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้มีอาการ หรือกระทบน้อยที่สุด

สารบัญบทความ

อาการการดื้อยาไมเกรน

การดื้อยาไมเกรน ก็เหมือนกับการดื้อยาทั่วไป เกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร โอกาสที่จะทำให้การใช้ยาในปริมาณเท่าเดิม ไม่ได้ผล หรืออาการไม่ดีขึ้น จึงต้องใช้ยาในปริมาณมากขึ้น ถือเป็นอาการดื้อยาที่เกิดขึ้น ส่งให้เพิ่มความยุ่งยากและซับซ้อนต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป

สาเหตุของการดื้อยาไมเกรน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดื้อยาไมเกรนที่พบบ่อย ได้แก่

  1. การซื้อยาไมเกรนกินเองโดยไม่พบแพทย์ และไม่รับคำแนะนำจากเภสัชกร ในการกินยาไมเกรนที่เหมาะสมกับอาการที่เป็น
  2.  การใช้ยาไมเกรนพร่ำเพรื่อ เช่น เมื่อมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย ก็กินยาไมเกรน แม้ยังไม่แน่ชัดว่าอาการปวดศีรษะเป็นอาการปวดไมเกรนหรือไม่
  3. การรับประทานยาแก้ไมเกรนของคนอื่น จากความคิดที่ว่า เมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้น ก็สามารถรับประทานยาไมเกรนของคนอื่นที่มีอาการใกล้เคียง หรือคล้ายกันได้
  4. การเปลี่ยนยาไมเกรนที่รับประทานอยู่ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ จากความเข้าใจว่า เมื่อยาไมเกรนที่มีไม่สามารถหยุดอาการปวดได้ ก็ต้องเปลี่ยนยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น หรือเปลี่ยนยี่ห้อ จึงจะทำให้หยุดอาการไมเกรนได้ดีกว่าเดิม
  5. การซื้อยาไมเกรนตามคนอื่น จากความคิดที่ว่า เมื่อมีอาการปวดไมเกรน ก็สามารถซื้อยาเหมือนกับคนมีอาการปวดไมเกรนรับประทานแล้วหาย มาลองกินได้
  6. การใช้ยาไม่ถูกวิธีตามที่เภสัชกรหรือแพทย์สั่ง
  7. การใช้ยาไมเกรนบ่อยและต่อเนื่องนานเกินไป ทั้งที่อาการบางอย่าง สามารถบรรเทา ลดได้ด้วยวิธีอื่น หรือสามารถหายเองได้
  8. การรักษาไมเกรนไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดโรคไมเกรนเรื้อรัง ไมเกรนรุนแรง และไมเกรนดื้อยา
  9. การใช้ยาไมเกรนที่ออกฤทธิ์แรง หรือวงกว้างเกินความจำเป็น
  10. การที่แพทย์ประเมินอาการปวดไมเกรนไม่ครบ ไม่รอบด้าน ทำให้การวางแผนรักษาไมเกรนหรือกินยาไม่ตรงตามอาการ ส่งให้มีผลต่อการดื้อยาไมเกรนได้

พฤติกรรมเสี่ยง ดื้อยา

ประเภทยารักษาไมเกรน

ยาลดอาการปวดเฉียบพลัน

  • ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot Alkaloids) เป็นยาที่มีใช้มานานแล้วและปัจจุบันยังใช้อยู่ ใช้รักษาได้ผลดีแต่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจทำให้ขาและนิ้วดำ จึงไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน และห้ามใช้คล้ายกับยากลุ่มทริปแทน การใช้ปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะรุนแรงและปวดถี่ขึ้นได้ ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน สเปรย์พ่นจมูก ยาฉีด และยาอมใต้ลิ้น เช่น เออร์โกทามีน (Ergotamine) ไดไฮโดรเออร์โกทามีน (Dihydroergotamine) และ Caferfot
  • ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน แต่ไม่ใช้ในการป้องกัน มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดศีรษะและลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น ซูมาทริปแทน (Sumatriptan) อีลีทริปแทน (Eletriptan) ไรซาทริปแทน (Rizatriptan) และ อัลโมทริปแทน (Almotriptan)
  • ยาในกลุ่มเอ็นเสด หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Antiinflammatory Drugs : NSAIDs) มักเรียกว่า ยาแก้ปวดข้อ หรือ ยาแก้ข้ออักเสบ มีข้างเคียงมาก เช่น การระคายเคืองกระเพาะอาหารหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

ยาแก้ปวดอื่นๆยาบรรเทาอาการปวดที่ใช้ทั่วไป

เป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาในกลุ่มเอ็นเสด (Non-Steroidal Antiinflammatory Drugs : NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) ไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac) นาพร็อกเซน (Naproxen)

ประเภทยารักษาไมเกรน

ความอันตรายของการดื้อยาไมเกรน

การรักษาอาการไมเกรนด้วยยา ถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจาก ง่าย สะดวก และให้ผลลัพธ์บรรเทาอาการได้รวดเร็ว แต่การซื้อยาแก้ไมเกรนกินเอง โดยขาดความรู้ หรือเข้าใจข้อห้าม เกี่ยวกับการใช้ยาบางชนิด อาจทำให้ยุ่งยากต่อการรักษามากขึ้น โดยอันตรายจากการกินยาไมเกรนที่บ่อยเกินไปจนเกิดการดื้อยาไมเกรน มีดังนี้

  • ยารักษาอาการไมเกรน ทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ยารักษาอาการไมเกรน ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ยารักษาอาการไมเกรน ทำให้หลอดเลือดอักเสบได้
  • ยารักษาอาการไมเกรน ทำให้ตับและไตทำงานหนัก จนเกิดอาการเสื่อมและภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
  • ยารักษาไมเกรนบางชนิด หากใช้ยาต่อเนื่องนานกว่า 10 เดือน อาจทำให้อาการปวดหัวไมเกรนรุนแรงขึ้น
  • ยารักษาอาการไมเกรน อาจทำให้เส้นเลือดหดตัวรุนแรง มือและเท้าขาดเลือดถึงขั้นต้องตัดมือและเท้าได้ บางรายหากมือและเท้าตายจากอาการขาดเลือดฉับพลัน อาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ยารักษาไมเกรนบางชนิดหากมีการกินร่วมกับยาอื่นอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ยา Ergotamine หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ใช้ผิดวิธี และใช้ร่วมกับยาบางชนิด อาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตกหรือหัวใจวายได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ป้องกันการดื้อยาไมเกรน

การป้องกันการดื้อยาไมเกรน สามารถทำได้ดังนี้

  1. รับประทานยาไมเกรนตามแพทย์หรือเภสัชกรสั่ง เท่านั้น พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่ดครัด
  2. ไม่นำยาแก้ไมเกรนที่เหลือของผู้อื่นมารับประทาน
  3. ไม่รับประทานยาไมเกรนของผู้อื่น
  4. ไม่ซื้อยาแก้ปวดไมเกรนกินเอง
  5. ไม่ซื้อยาไมเกรนตามคนอื่น
  6. ไม่ใช้ยาไมเกรนพร่ำเพรื่อ
  7. ไม่ใช่ยาไมเกรนบ่อยหรือนานเกินไป
  8. ไม่เปลี่ยน ลด เพิ่ม ยาไมเกรน ด้วยตัวเองหรือตามผู้อื่น
  9. หากมีอาการปวดศีรษะ ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ผ่อนคลายอิริยาบถ และเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจช่วยให้อาการปวดศีรษะหายไปเองได้
  10. หากมีอาการปวดศีรษะ ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และเป็นการป้องกันอาการดื้อยาที่จะเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน มีดังนี้

  • หญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินยาแก้ปวดไมเกรน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต อาจเกิดผลข้างเคียงในการกินยาแก้ปวดไมเกรน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีอาการไมเกรน จำเป็นต้องพบแพทย์ก่อนกินยาแก้ไมเกรน เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง
  • ผู้ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อเอชไอวี ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดไมเกรน หรือหากต้องใช้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

เมื่อมีอาการดื้อยาไมเกรนควรปฎิบัติอย่างไร

ในเบื้องต้น หากมีอาการดื้อยาไมเกรน ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสภาวะที่กระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการปรับพฤติกรรมการนอนและสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการนอน เช่น นอนในที่มืดและเงียบสงบ
  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายทั้งร่ายกายและจิตใจ เช่น การนั่งสมาธิ หรือหาวิธีลดความเครียดให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ควรออกกำลังกายเบาๆ ต่อเนื่อง 30 นาที เพื่อช่วยผ่อนคลายและทำให้อาการปวดไปโดยไม่ต้องใช้ยาแก้ไมเกรน

การรักษาโดยการฉีดยาแก้ปวด

การรักษาด้วยการฉีดยาแก้ปวด โดยวิธีการฉีดยาแก้ปวดไมเกรนอาจแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อขอยาที่เลือกฉีด เช่น ฉีดยาแก้ไมเกรนเดือนละครั้ง ครั้งละ 1 เข็ม แต่ในบางยี่ห้ออาจฉีดยาแก้ไมเกรนครั้งแรก 2 เข็ม เพื่อการออกฤทธิ์ที่เร็วขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ระยะเวลาในการฉีดยาลดไมเกรนขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ความรุนแรงของอาการ และการตอบสนองต่อยาที่ฉีด โดยทั่วไปจะแนะนำให้ฉีดแก้ไมเกรนต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้ฉีดบรรเทารอาการปวด ได้แก่

  • ปวดไมเกรนระดับไม่รุนแรง เช่น ยาพาราเซตามอล
  • ปวดไมเกรนระดับกลาง เช่น กลุ่ม NSAIDS
  • ปวดไมเกรนระดับรุนแรงยาฉีดที่นิยมใช้ เช่น มอร์ฟีน

การรักษาโดยทางเลือก

การใช้ธรรมชาติบำบัด การรักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น

  • การนวดไทยรักษาโรคเฉพาะจุด เป็นการนวดกดจุดเพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่และกล้ามเนื้อรอบศีรษะ เพื่อทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงศีรษะได้มากขึ้น และยังช่วยปรับการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกายให้ดีขึ้น นอกจากนี้การประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการคลายกล้ามเนื้อหลังการนวดให้มากขึ้นด้วย หรือการรับประทานยาสมุนไพรพื้นบ้าน ได้แก่ ยาหอม หรือสมุนไพรแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ วิธีนี้ยังช่วยให้หลับสบาย และปรับสมดุลของเลือดลมภายในร่างกายให้เป็นปกติ ลดการปวดไมเกรนได้ดีขึ้น
  • การฝังเข็ม เป็นศาสตร์แพทย์แผนจีน ที่องค์การอนามัยโลกรับรองว่า สามารถรักษาอาการไมเกรนได้ โดยใช้หลักการเลือกจุดฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ จากการพิจารณาเรื่องเส้นลมปราณเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งตำแหน่งที่ปวด และการวิเคราะห์สาเหตุของอาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น อาการเกร็ง ทำให้ลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก เลือดคั่ง ซึ่งอาการติดขัดมาจาก เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น จากนั้นใช้เทคนิคฝังเข็มเพื่อระบายลมปราณให้ไหลเวียนดีขึ้น ทำให้อาการปวดลดน้อยลง และระยะเวลาในการปวดไมเกรนสั้นลง
  • การรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยวิธีฝังเข็มและการนวด ถือเป็นการรักษาแบบธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีที่ ผู้มีอาการปวดหัวไมเกรน รู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาแก้ไมเกรน จะมีเพียงบางครั้งที่จำเป็นต้องมีการรับประทานยาแก้ไมเกรนร่วมด้วย เนื่องจาก วิธีรักษาธรรมชาติมีข้อเสีย คือ ไม่สามารถระงับอาการปวดไมเกรนได้ทันที และใช้ระยะเวลาในการรักษาให้บรรเทาขึ้นทีละน้อยๆ และสามารถกลับมามีการปวดไมเกรนได้หากมีปัจจัยกระตุ้นเข้ามา

โบทอกรักษาไมเกรน

การรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยการฉีด Botulinum toxin มีข้อดี ดังนี้

  1. ฉีดโบท็อกสามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะได้จริง
  2. ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
  3. ฉีดโบท็อกบรรเทาอาการไมเกรนได้ยาวนานถึง 3-4 เดือน/การฉีด 1 ครั้ง
  4. ฉีดโบท็อกช่วยลดอาการปวดไมเกรนลงได้ 60 – 70%
  5. ฉีดโบท็อกลดความถี่ของการเกิดอาการปวดไมเกรนลงได้มากกว่าการกินยาปกติ

โบท็อกซ์รักษาไมเกรนคืออะไร

การฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาไมเกรน โดยเฉพาะปวดไมเกรนจากความเครียด (รวมถึงช่วยรักษาโรคอื่นทางระบบประสาทและสมอง เช่น อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็งผิดปกติ และช่วยบำบัดอาการออฟฟิสซินโดรม เป็นต้น) ซึ่งการฉีดสาร Botulinum toxin ชนิด A หรือโบท็อก ที่เป็นชนิดเดียวกับการฉีดเพื่อการเสริมความสวยงามและปรับรูปหน้า มาช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน การฉีดโบท็อกซ์รอบๆ ศีรษะจำนวน 31 จุด บริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ หรือบ่า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นการรักษาด้วยโบท็อกซ์ได้อย่างปลอดภัย และจะสามารถบรรเทาลดอาการปวดและลดความถี่ของการเกิดไมเกรนลงได้ 60-70% โดยให้ผลต่อเนื่องประมาณ 3 เดือน แต่มีจำกัดคือ ผู้มีอาการไมเกรนที่ต้องการฉีดโบทอกซ์ฉีดรักษา ต้องมีอายุ15ปีขึ้นไป

ฉีดโบท็อกซ์ รักษาไมเกรน

โบท็อกซ์รักษาไมเกรนดีกว่ากินยาอย่างไร

การรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยการฉีด Botulinum toxin ไมเกรน มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการกินยาปกติ ดังนี้

  1. ไม่ต้องกินยาไมเกรนบ่อย ทำให้ไม่เสี่ยงต่ออาการดื้อยาไมเกรน
  2. มีระยะเวลาการรักษาได้นาน 3-4 เดือน/การฉีดโบท็อกไมเกรน 1 ครั้ง
  3. ลดความถี่ของการเกิดอาการปวดไมเกรนลง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เคยมีอาการปวดไมเกรนดีขึ้น
  4. นอกจากนี้ผู้ที่เลือกรักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบท็อก ยังช่วยลดริ้วรอยที่บริเวณหน้าผากลดน้อยลง ซึ่งเป็นเป็นผลข้างเคียงที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
  5. มีความปลอดภัยสูงได้รับการรับรองผลรักษาจากองค์การอาหารและยาทั้งต่างประเทศและไทย จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

ข้อสรุป

อาการปวดไมเกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อย และเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้มีอาการ การเลือกวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม และคำแนะนำจากแพทย์ จะช่วยลดผลข้างเคียง โดยเฉพาะอาการดื้อยาไมเกรนที่เกิดขึ้นได้

หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์

เอกสารอ้างอิง 

https://www.health.com/condition/headaches-and-migraines/botox-for-migraines

https://www.drugs.com/medical-answers/many-units-botox-migraines-3553405/?fbclid=IwAR1i8KPHYBejcipgkph89Z6LKtHps3vTp98tz8eyVZCN3rBhy–kDYOfQHo