ความแตกต่างของการทานยาแก้ปวด และการใช้ยาป้องในการรักษาไมเกรน

ความแตกต่างยาไมเกรนยาป้องกันไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยมักจะมีอาการปวดหัวรุนแรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง และเสียง 

ซึ่งวิธีการรักษาไมเกรนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือการใช้ยาไมเกรน แต่ก็จะมีการทานทั้งยาแก้ปวดและการใช้ยาป้องกันไมเกรน แต่ยาทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกรักษาแบบไหนดี มาดูคำตอบได้ในบทความนี้กันเลยค่ะ

สารบัญบทความ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับไมเกรน

โรคไมเกรน มักเกิดเป็นอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะปวดแบบตุ๊บ ๆ และอาจมีระยะเวลาปวดเป็นจังหวะ อาการปวดศีรษะมักเป็นความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และอาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้และอาเจียน อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีอาการเบื้องต้นที่แสดงอาการเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดอาการไมเกรนประมาณ 10-30 นาที อาการเบื้องต้นเหล่านี้อาจเป็นการมองเห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ และอาจมีระยะเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อนหลังจากอาการเบื้องต้นก่อนปวดศีรษะด้วย 

ความแตกต่างระหว่างยาแก้ปวดไมเกรนและยาป้องกันไมเกรน

ความแตกต่างยาแก้ปวด กับยาป้องกัน

ยาแก้ปวดไมเกรน

ยาแก้ปวดสำหรับไมเกรนมีหลายชนิด ทั้งชนิดรับประทานและแบบฉีด โดยมักจะใช้ในกรณีที่อาการปวดเริ่มต้นขึ้นแล้ว ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการปวด โดยยาแก้ปวดที่นิยมใช้ได้แก่

  • ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen)
  • ยาทริปแทน (Triptans) เช่น ซูมาทริปแทน (sumatriptan) 
  • ยาต้านอาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ (metoclopramide)

ข้อดีของการใช้ยาแก้ปวดคือ ออกฤทธิ์เร็ว ช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของอาการปวด และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และการใช้ยาบางชนิดบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบ rebound headache ได้

ยาป้องกันไมเกรน

ยาป้องกันไมเกรนมีไว้เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวด โดยมักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการปรับสภาพสมดุลทางเคมีในสมอง ยาป้องกันไมเกรนที่นิยมใช้ได้แก่

  • ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) 
  • ยาป้องกันอาการชัก (Anticonvulsants) เช่น โทพิราเมต (topiramate)
  • ยาป้องกันความดันโลหิตสูง (Beta-blockers) เช่น โพรพราโนลอล (propranolol)

ทำไมถึงไม่ควรกินยาแก้ปวดระยะเวลานาน

ยาแก้ปวดกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกปวดหัว ปวดหลัง หรือมีอาการไม่สบายตัว แต่รู้หรือไม่ว่าการกินยาแก้ปวดระยะเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

การเสพติดยา

ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดประเภทโอปิออยด์ (opioid)  มีฤทธิ์เสพติดสูง การใช้ยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่การเสพติดยาได้  โดยผู้ใช้ยาจะมีอาการอยากยา และต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อให้ได้ผลในการแก้ปวด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาวได้

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

ยาแก้ปวดทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียง ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ง่วงซึม เวียนศีรษะ และความดันโลหิตต่ำ โดยผลข้างเคียงเหล่านี้อาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน 

การเกิดอาการปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด

การกินยาแก้ปวดมากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังจากการใช้ยาเกินขนาด (medication overuse headache) อาการปวดหัวชนิดนี้มักจะเป็นแบบปวดตุบ ๆ ปวดทั้งวัน  และไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ในบางรายจำเป็นต้อมีการเพิ่มขนาดการทานยามากขึ้น

กินยาแก้ปวดบ่อย

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาป้องกันไมเกรน

ข้อดีของการใช้ยาป้องกันไมเกรน

  • ลดความถี่ของการเกิดไมเกรน ยาป้องกันไมเกรนสามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้อย่างชัดเจน จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่รับประทานยาป้องกันไมเกรน สามารถลดจำนวนครั้งที่เกิดอาการปวดลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง
  • ลดความรุนแรงของอาการปวด นอกจากจะลดความถี่แล้ว ยาป้องกันไมเกรนยังช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดได้เป็นอย่างดี งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาป้องกันไมเกรนมีอาการปวดที่ทุเลาลง ระยะเวลาในการปวดลดลง  พร้อมทั้งยังช่วยให้ยาแก้ปวดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ลดการใช้ยาแก้ปวด การรับประทานยาแก้ปวดบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ยาป้องกันไมเกรนช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวด และลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ข้อเสียของการใช้ยาป้องกันไมเกรน

  • ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ยาป้องกันไมเกรนส่วนใหญ่จะไม่เห็นผลทันทีหลังจากเริ่มใช้ยา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงจนกว่าจะออกฤทธิ์
  • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ยาป้องกันไมเกรนแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป บ้างก็ไม่รุนแรง บ้างก็รุนแรงถึงขั้นต้องหยุดยา ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ่อนเพลีย เป็นต้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาแต่ละชนิด
  • ต้องมีการทานยาเป็นประจำ การใช้ยาไมเกรนส่วนใหญ่ต้องทานเป็นประจำเมื่อมีอาการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หากหยุดยา อาการไมเกรนอาจกลับมาอีกได้

วิธีการรักษาไมเกรนในรูปแบบอื่นๆ

โชคดีที่ไมเกรนสามารถรักษาและควบคุมอาการได้ด้วยวิธีธรรมชาติ นอกเหนือจากการใช้ยา นั่นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต นำเทคนิคการผ่อนคลายมาปรับใช้ และเสริมด้วยการทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม นวดกดจุด อีกทั้งยังมีการรักษาไมเกรนแบบแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีอยู่ด้วยกันดังนี้

การใช้วิธีการไม่ใช้ยา

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มกระตุ้นอาการไมเกรน เช่น ช็อคโกแลต ชีส ไวน์แดง และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 
    • นอนหลับอย่างเพียงพอ นอนและตื่นเป็นเวลา พยายามนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
    • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน 
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดความเครียดและปรับสมดุลของฮอร์โมน
    • จัดการความเครียดโดยการฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะ นั่งสมาธิ หรือหายใจเข้าลึกๆ

การผ่อนคลายและการลดความเครียด

    • ฝึกการนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเครียด ปรับสมดุลทางอารมณ์ และเพิ่มความตระหนักรู้ 
    • การหายใจเข้าลึกๆ ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ลดอาการตึงเครียด 
    • การฟังดนตรี ช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย 
    • การใช้กลิ่นบำบัด กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น ลาเวนเดอร์ ช่วยให้ผ่อนคลาย 
    • การนวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงเครียด

การทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกาย

    • นักกายภาพบำบัดจะประเมินและออกแบบท่าบริหารเพื่อลดอาการปวด ตึง และปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ
    • การออกกำลังกายแบบแอโรบิก  เช่น เดิน ว่ายน้ำ วิ่ง อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
    • การฝึกโยคะ ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น และฝึกการหายใจ

การฝังเข็ม นวดกดจุด

    • การฝังเข็มที่จุดเฉพาะบนร่างกาย ช่วยปรับสมดุลพลังงานในร่างกาย ลดอาการปวด และลดความถี่ของการเกิดไมเกรน 
    • การนวดกดจุดช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

การรักษาทางการแพทย์

การใช้โบท็อกซ์รักษาไมเกรน โบท็อกซ์ (Botulinum Toxin) เป็นสารที่ผลิตจากแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งเดิมทีมีชื่อเสียงในด้านความงาม แต่ปัจจุบันมีการนำโบท็อกซ์มาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงไมเกรน โดยโบท็อกซ์จะออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งสัญญาณประสาท  ซึ่งช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน  

การรักษาด้วยโบท็อกซ์สำหรับไมเกรนนั้น แพทย์จะทำการฉีดโบท็อกซ์เข้าบริเวณรอบ ๆ ศีรษะ คอ และไหล่ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดไมเกรน การรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกซ์โดยทั่วไปจะต้องทำซ้ำทุก 3-4 เดือน จึงจะเห็นผลอย่างชัดเจน

การใช้ปากกาฉีดพุงรักษาไมเกรน  อีกหนึ่งวิธีการรักษาไมเกรนที่น่าสนใจคือ การใช้ปากกาฉีดพุง Pontevia ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งสาร  CGRP (Calcitonin Gene-Related Peptide)  ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดไมเกรน การใช้ปากกาฉีดพุงนั้นสะดวกและรวดเร็วเพียงแค่ฉีดยาเข้าบริเวณต้นขาหรือพุง โดยยาจะออกฤทธิ์ภายใน 1-2  ชั่วโมง ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว

การใช้ TMS รักษาไมเกรน TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คือการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่ปลอดภัยและไม่ใช้ยา โดยใช้คลื่นแม่เหล็กกระตุ้นบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดไมเกรน  ช่วยลดความไวของระบบประสาท และลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรน ผลการศึกษาพบว่า TMS สามารถลดความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้มากถึง 50% และยังช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดอีกด้วย

ฉีดโบไมเกรน

วิธีป้องกันไมเกรน

วิธีป้องกันไมเกรนที่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหารที่กระตุ้นไมเกรน ความเครียด วิตกกังวล นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ และสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์
  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนได้ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีน
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ควบคุมความเครียด ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ การหายใจ 

ข้อสรุป

ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก การป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง จะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนได้

ซึ่งการเลือกใช้ยาสำหรับการรักษาไมเกรนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความรุนแรงของอาการ ความถี่ของการเกิดอาการ และโรคประจำตัวของผู้ป่วย โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการและแนะนำยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล หากต้องการปรึกษาแพทย์ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่  BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนและอาการปวดหัวเรื้อรังที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการตรวจไมเกรนโดยเฉพาะ

สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที