ไมเกรน กับ ออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการปวดหัวที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความแตกต่างของอาการปวดหัวเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาชวนสับสนระหว่าง ปวดหัวไมเกรน กับ อาการของออฟฟิศซินโดรม โดยเฉพาะในวัยทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการปวดหัว ปวดคอ บ่า ไหล่ขึ้นมาได้ จนไม่สามารถแยกออกได้เลยว่าเป็นอาการของโรคอะไรกันแน่ เพราะจริง ๆ แล้ว ไมเกรน ก็สามารถปวดหัวสองข้างพร้อมกันได้ และออฟฟิศซินโดรม ก็เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้ด้วยเช่น ดังนั้น เรามาดูกันเลยว่า ทั้งปวดหัวไมเกรน และออฟฟิศซินโดรมนั้นมีอาการอย่างไร เพื่อที่จะวิเคราะห์อาการเบื้องต้นกันก่อนได้

สารบัญบทความ

สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนและออฟฟิตซินโดรม

สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน และ ออฟฟิศซินโดรม มีข้อแตกต่างกันดังนี้

ความแตกต่างของอาการปวด

สาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรน

สาเหตุของไมเกรนนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่พบว่ามีผลต่อการเกิดไมเกรน ได้แก่

  • พันธุกรรม : จากผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน จะมีโอกาสเป็นไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน
  • ฮอร์โมน : ไมเกรน มักจะมีอาการสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ช่วงก่อนมีประจำเดือน
  • อาหาร : อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์ ช็อกโกแลต อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้
  • ความเครียด : ภาวะเครียด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ 
  • แสง เสียง และกลิ่น : บางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรน จากปัจจัยภายนอก เช่น แสง เสียง และกลิ่นฉุน

สาเหตุของอาการปวดหัวออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม เกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ถูกหลักสรีรศาสตร์ เช่น

  • นั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ
  • โต๊ะทำงานและเก้าอี้ ไม่รองรับสรีระ
  • ใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์นานเกินไป
  • ไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนร่างกาย

อาการปวดหัวไมเกรนและออฟฟิศซินโดรม

แต่ถึงแม้ว่าปวดหัวไมเกรนและปวดหัวออฟฟิศซินโดรมนั้นจะมีอาการคล้ายกัน แต่ก็ยังมีข้อสังเกตที่แตกต่างอยู่เช่นกัน ดังนี้

อาการปวดหัวไมเกรน

ไมเกรน (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่มักจะมีอาการปวดรุนแรง บริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะ หรือปวดหัวข้างเดียว ซึ่งมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และอาจมีอาการอื่น ๆ  เช่น เห็นแสงเป็นประกาย ตาพร่ามัว พูดไม่ชัดร่วมด้วย โดยอาการจะคงอยู่ประมาณ 4 – 72 ชั่วโมง

อาการปวดหัวออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานที่ไม่ถูกหลักสรีรศาสตร์ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการปวดที่พบบ่อย คือ อาการปวดแบบตื้อๆ บริเวณท้ายทอย ปวดต้นคอ หรืออาจมีอาการตึงๆ บริเวณต้นคอ ไหล่ และหลัง รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มือชา แขนชา นิ้วล็อค

ปวดหัวไมเกรนกับออฟฟิศซินโดรม

โรคไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคเดียวกันไหม

ในยุคปัจจุบันที่มีวิถีชีวิตแบบเร่งรีบ หลายคนต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต เช่น โรคไมเกรนและออฟฟิศซินโดรม ซึ่งมีอาการบางอย่างคล้ายคลึงกัน ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่แตกต่างกัน แม้จะมีอาการปวดศีรษะร่วมกัน แต่สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษานั้นไม่เหมือนกัน

โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ หรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายหรือเปลี่ยนท่าทางการนั่งทำงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง มีอาการตึง และส่งผลให้เกิดอาการปวดตามมา เช่น ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดท้ายทอย รวมถึงอาการชาตามมือ เท้า นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว นิ้วล็อค

โรคไมเกรน

ไมเกรน มักเกิดเป็นอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะปวดแบบตุบๆ และอาจมีระยะเวลาปวดเป็นระยะหรือจังหวะ อาการปวดศีรษะมักเป็นความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และอาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้และอาเจียน อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะเรียกว่า “aura” เช่น เห็นแสงแวบๆ ชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีกก่อนที่จะเกิดอาการปวดศีรษะประมาณ 10-30 นาที อาการเบื้องต้นเหล่านี้อาจเป็นการมองเห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ และอาจมีระยะเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อนหลังจากอาการเบื้องต้นก่อนปวดศีรษะด้วย

โรคไมเกรนกับออฟฟิศซินโดรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมมีความเกี่ยวข้องกันในบางแง่มุม โดยเฉพาะในเรื่องของอาการปวดหัวและความเครียดที่อาจทำให้ทั้งสองโรคมีความสัมพันธ์กันได้งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าผู้ป่วยโรคไมเกรนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากกว่าคนทั่วไป สาเหตุเชื่อว่ามาจากปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน เช่น

  • ความเครียด : ทั้งความเครียดจากงานและชีวิตส่วนตัว สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมได้
  • พฤติกรรมการทำงาน : การนั่งทำงานนาน ๆ ใช้ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง หรือการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ล้วนส่งผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก และสายตา กระตุ้นให้เกิดอาการทั้งสองโรคได้
  • สภาพแวดล้อม : แสงสว่างที่ไม่เหมาะสม เสียงรบกวน อากาศไม่ถ่ายเท ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนและออฟฟิศซินโดรมได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว

อาการปวดหัวออฟฟิศซินโดรม

  • การนั่งทำงานเป็นเวลานาน : การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานส่งผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย
  • สรีระการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม : โต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงาน และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมได้
  • ความเครียด : ความเครียดจากงาน ส่งผลต่อสภาพจิตใจและร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ตึง ปวดคอ บ่า ไหล่ และเกร็งกล้ามเนื้อ

อาการปวดหัวไมเกรน

  • ฮอร์โมน : ไมเกรนพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน
  • อาหารและเครื่องดื่ม : อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต กาแฟ ชา ไวน์แดง อาหารที่มีผงชูรส และสารให้ความหวานเทียม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้
  • ความเครียด : ความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญของไมเกรน การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • การพักผ่อน ตุ้นให้เกิดอาการปวดได้
  • สภาพแวดล้อม : แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นแรง อากาศร้อน และควันบุหรี่ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรน และออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดหัวไมเกรน

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรน สามารถแบ่งวิธีการรักษาออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา และการฉีดยาป้องกัน ดังนี้

การรักษาไมเกรนด้วยวิธีการใช้ยา 

เป็นการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ในระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวก รวดเร็วและง่ายต่อผู้ป่วย แม้จะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น ซึ่งยารักษาไมเกรน สามาถแบ่งออกได้หลายประเภทและหลายกลุ่ม ได้แก่

  • ยาป้องกัน

ยาที่ใช้ป้องกันโรคไมเกรน มียาหลายกลุ่มที่นำมาที่ใช้ป้องกันไมเกรน เช่น กลุ่มยาลดความดัน, กลุ่มยาต้านชัก, กลุ่มยาต้านซึมเศร้า , กลุ่มยาปิดกั้นตัวรับเบตา, กลุ่มสารพิษต่อประสาท จะช่วยป้องกันการเกิดอาการไมเกรนสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรนขั้นรุนแรง

  • ยาแก้ปวดเฉียบพลัน

กลุ่มยารักษาไมเกรนเฉียบพลัน คือ กลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยากลุ่ม NSAIDs, Paracetamol, ยากลุ่มทริปแทน (Triptans), Ergotamine จะใช้เมื่อมีอาการ ปวดหัวไมเกรน และสามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือส่งผลต่อการทำงานต่อไตและตับ 

  • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

ยาบำบัดอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางอกอันเกิดจากกรดไหลย้อน และรักษาภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน จุกแน่น แสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหาร และยังสามารถใช้ในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนร่วมด้วย

การรักษาไมเกรนด้วยการฉีดยาป้องกัน

  • ฉีดยาแก้ไมเกรน 

การฉีดยาไมเกรนถือเป็นแนวทางการรักษาไมเกรนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยเป็นยาที่สร้างจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำงานโดยการไปขัดขวางการทำงานของสารโปรตีนบางตัวในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรน โดยมักจะฉีดเข้าไปบริเวณพุง เดือนละ 1 ครั้งทุก ๆ เดือน

  • โบท็อกไมเกรน 

การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ประมาณ 60 – 70% โดยหลังฉีดตัวยาจะไม่ออกฤทธิ์ในทันทีแต่จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 วัน และจะทำการออกฤทธิ์สูงสุดภายในสัปดาห์ที่ 2  ผลลัพธ์ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน หากคนไข้ตอบสนองต่อตัวยาดีอาจอยู่ได้นานกว่านั้น และสามารถกลับมาฉีดอีกครั้งเมื่อโบท็อกหมดฤทธิ์

อาการปวดหัวออฟฟิศซินโดรม

การรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การรักษาด้วยตนเอง และรักษาทางการแพทย์ ดังนี้

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : การปรับพฤติกรรมเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาด้วยตัวเอง เริ่มจากการจัดท่าทางการทำงานให้เหมาะสม อย่าก้มหน้ามองจอคอม หรืออยู่นิ่งในท่าเดิมนานเกินไป ควรลุกขึ้นขยับร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาที  
  • ประคบร้อน : การประคบร้อนด้วยแผ่นประคบร้อน ถุงทรายอุ่น หรืออาบน้ำอุ่น จะช่วยคลายอาการปวดกล้ามเนื้อได้  
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ : การยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด เช่น คอ บ่า ไหล่ จะช่วยคลายอาการปวดตึงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ  
  • นวดกดจุด : การนวดกดจุดบริเวณที่มีอาการปวดโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และคลายอาการปวดกล้ามเนื้อได้   
  • พักผ่อนให้เพียงพอ : การพักผ่อนที่เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ลดอาการเหนื่อยล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน : สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น เก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ โต๊ะทำงานที่มีขนาดและความสูงที่พอดี รวมถึงแสงสว่างเพียงพอ สามารถลดปัญหาออฟฟิศซินโดรมได้

การรักษาทางการแพทย์ : ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้ที่มีอากาออฟฟิศซินโดรมรรุนแรงหรือเรื้อรัง แนะนำให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือทำการกายภาพบำบัด การกายภาพบำบัด ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ปวดตึงคลายตัว เสริมสร้างความแข็งแรง นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การฉีดโบท็อกซ์ การกระตุ้นด้วยคลื่น หรือการผ่าตัด (สำหรับกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน)

การรักษาไมเกรนและออฟฟิศซินโดรม

วิธีการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน และออฟฟิศซินโดรม

วิธีป้องกันปวดหัวไมเกรน

วิธีป้องกันปวดหัวไมเกรน ประกอบด้วย

  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • การจัดการความเครียด ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจ 
  • การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น แสงจ้า เสียงดัง อาหารบางชนิด 
  • การรับประทานยาป้องกัน ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาป้องกันไมเกรนสำหรับผู้ที่มีอาการบ่อย

วิธีป้องกันปวดหัวออฟฟิศซินโดรม

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม ประกอบด้วย 

  • การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุก 1-2 ชั่วโมง ปรับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม
  • พักสายตาทุก ๆ 20-30 นาที ควรพักสายตาโดยมองไปไกล ๆ หรือมองพื้นที่สีเขียวอย่างต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติ
  • จัดการความเครียด ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

ข้อสรุป

ไมเกรนและออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่แตกต่างกัน แม้จะมีอาการปวดศีรษะร่วมกัน แต่สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษานั้นไม่เหมือนกัน การเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้เราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด รวมทั้งการสังเกตอาการของตัวเองและทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยง จะช่วยให้คุณสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น และสามารถเลือกวิธีรับมือกับอาการปวดหัวได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

หรือหากใครที่กำลังมองหาที่รักษา สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่  BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนและอาการปวดหัวเรื้อรังที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการตรวจไมเกรนโดยเฉพาะ

สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์