ทำความรู้จัก “ไมเกรนออร่า” พร้อมสาเหตุและวิธีรักษาอย่างไร ?
เนื่องจากสภาพแวดล้อมในสังคม การทำงาน ความเครียดสะสม หรือการพักผ่อนน้อย ทำให้พฤติกรรมและวิถีชีวิตของหลายๆ คนเปลี่ยนไป และส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนตามมา ซึ่งหลายๆ คนอาจจะเผชิญกับอาการปวดหัวข้างเดียวหรือปวดตุบๆ บ่อยๆ
นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว บางคนยังมีอาการไมเกรนออร่า ซึ่งไมเกรนออร่าคือ อะไร ลักษณะอาการเหมือนไมเกรนขึ้นตาหรือไม่ มีวิธีรักษาอย่างไร หาคำตอบได้จากในบทความนี้ค่ะ
สารบัญบทความ
- ไมเกรนออร่า คืออะไร
- อาการไมเกรนออร่า
- สาเหตุอาการไมเกรนออร่า
- ไมเกรนออร่า อันตรายไหม
- ไมเกรนออร่าแบบไหน ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการไมเกรนออร่า
- วิธีรักษาอาการไมเกรนออร่า
- แนวทางการป้องกันอาการออร่าไมเกรน
- ข้อสรุป
ไมเกรนออร่า คืออะไร
ไมเกรนออร่าหรือ migraine aura คือ อาการประเภทหนึ่งของโรคไมเกรน ซึ่งตามปกติแล้วอาการไมเกรนจะมีลักษณคือ ปวดหัวข้างซ้าย ขวา หรือทั้งสองข้าง ปวดตุบๆ เป็นลักษณะคล้ายกับเสียงหัวใจ แต่ไมเกรนออร่าจะมีลักษณะอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
รู้จักประเภทของไมเกรน
ดังที่กล่าวมาในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าไมเกรนมีหลายประเภท ซึ่งทางการแพทย์ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มออร่าไมเกรน คือ กลุ่มที่จะมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีการมองเห็นที่ผิดปกติ ตาพร่ามัว เวียนหัว มองเห็นภาพต่างๆ ไม่ชัด เห็นภาพซิกแซกหรือเห็นแสงระยิบระยับ บางครั้งก็มีอาการเตือนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชาที่มือ แขน หรือชารอบปาก สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ เป็นต้น
2. กลุ่มที่ไม่มีอาการออร่า หรือ migraine without aura คือ จะไม่มีลักษณะอาการเตือน จะมีเพียงอาการปวดหัวข้างขวาข้างเดียว หรือปวดสองข้างพร้อมๆ กัน
อาการไมเกรนออร่า
ไมเกรนออร่า คือ ไมเกรนกลุ่มที่มีอาการเตือนก่อนจะเริ่มปวดหัวท้ายทอย ปวดรอบๆ หัว หรือปวดกระบอกตา โดยอาการจะนำมาก่อนในระยะเวลาประมาณ 5 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะมีอาการคือ เห็นจุดดำหรือจุดบอด ไวต่อแสง เห็นดาวหรือแสงระยิบระยับ เป็นต้น
ซึ่งลักษณะของอาการไมเกรนออร่าก็มักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
อาการทางตา (Visual Aura)
ส่วนใหญ่แล้วอาการไมเกรนออร่าจะมีอาการทางตาเป็นส่วนใหญ่ โดยจะพบอาการดังต่อไปนี้ได้บ่อยๆ
- เห็นเส้นซิกแซก
- เห็นภาพบิดเบี้ยว
- เห็นแสงวูบวาบ
- เห็นภาพมืดหรือมัว
อาการทางประสาทและความรู้สึก (Sensony Aura)
อาการร่วมต่อมาคือ อาการทางประสาทและความรู้สึก เช่น
- อาการชาที่แขน ขา มือ หรือชาครึ่งซีก
- รู้สึกเหมือนมีเข็มหรือของแข็งทิ่มแทงบ่อยๆ
อาการทางด้านการพูด (Aphasic Aura)
อาการร่วมด้านสุดท้ายของไมเกรนออร่า คือ อาการทางด้านการพูด โดยมีลักษณะอาการดังนี้
- พูดผิดปกติ
- สับสนกับคำพูดหรือการสนทนา
- วิงเวียน
- พูดลำบาก
- ไม่สามารถพูดได้ชั่วคราว
สาเหตุอาการไมเกรนออร่า
อาการปวดหัวไมเกรน เกิดได้จากทั้งพันธุกรรม ความผิดปกติของสมองและสารในระบบประสาท ที่จะไปกระตุ้นให้สมองและการรับรู้ไวกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนออร่าเตือนขึ้นมา ก่อนจะหลั่งสารสื่อประสาทจนทำให้ระบบหลอดเลือดขยายหรือหดตัวอย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวคลัสเตอร์ ปวดเรื้อรัง ปวดหัวคลื่นไส้ และอื่นๆ
ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยในข้างต้นยังมีปัจจัยกระตุ้นไมเกรนออร่าจากสิ่งเร้าต่างๆ ภายนอก ดังนี้
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนออร่า
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น ปัจจัยที่กระตุ้นไมเกรนออร่ามีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
- ผู้มีภาวะอ้วน อาจจะต้องลดน้ำหนัก
เพื่อควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้กลับมาปกติ และลดอาการปวดหัว
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาไมเกรนหรือยาแก้ปวดบ่อยๆ มากกว่า 10-15
ครั้ง/เดือน ซึ่งเป็นการกินยาเกินขนาดจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนไมเกรนออร่า
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม กล่าวคือ
ใช้ชีวิตหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียดมาเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็ง จนบางครั้งมีอาการเส้นคอตึงปวดหัวได้
- การใช้สมองและสายตามากเกินไป
- การดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือการสูบบุหรี่
จะส่งผลให้สารเคมีเข้าไปทำหน้าที่กระตุ้นร่างกายและอาการไมเกรนออร่าได้
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ หรือกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์จนร่างกายขาดสารอาหาร
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างกะทันหัน เช่น ช่วงมีประจำเดือน
- การอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงไฟสว่าง กลิ่นแรง หรือเสียงดัง
- การกินยาชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย
ไมเกรนออร่า อันตรายไหม
แม้ว่าจะไมเกรนออร่าจะเป็นปัญหากววนใจของใครหลายๆ คน แต่ก็ไม่ได้ส่งผลอันตราย แต่หากเมื่อมีอาการ เช่น
- การมองเห็นหรือจอประสาทตาผิดปกติ
- ประสาทสัมผัสหรือการรับรู้เปลี่ยนแปลง
- การเคลื่อนไหวช้าลง
- การพูดหรือการใช้ภาษายากลำบาก
หากใครที่มีอาการเหล่านี้ก็ไม่ควรละเลย เนื่องจากอาจเป็นลักษณะอาการเดียวกันกับโรคร้ายได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง
ไมเกรนออร่าแบบไหน ควรพบแพทย์
ดังที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าไมเกรนออร่านั้นไม่อันตราย เพียงแต่ต้องคอยสังเกตอาการ โดยเฉพาะอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติดังต่อไปนี้ที่ไม่ควรมองข้าม ในขณะเดียวกันก็ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจไมเกรนและวินิจฉัยอย่างละเอียด
- มีอาการไมเกรนออร่าเกิดอย่างกะทันหันและรุนแรง
- มีอาการคอเคล็ด มีไข้ หรือผื่นขึ้นร่วมด้วย
- มีอาการต่างๆ เช่น สับสน ชัก หรือหมดสติ
- อาการในเบื้องต้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นและคงอยู่นานหลายชั่วโมง บางครั้งคงอยู่เป็นวัน
- อาการรุนแรงจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การวินิจฉัยอาการไมเกรนออร่า
ตามปกติแล้ว หากเป็นโรคทั่วไปหรือการวินิจฉัยในเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา พฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อดูความเสี่ยง ตลอดจนประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหากยังไม่พบสิ่งผิดปกติหรือสาเหตุของอาการไมเกรนออร่า จะทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้
1. การตรวจตา
การตรวจตา จะใช้สำหรับการตรวจไมเกรนออร่า เนื่องจากหนึ่งในลักษณะอาการนั้นเกี่ยวข้องกับดวงตา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรวจตาเพื่อทดสอบแยกแยะสภาพดวงตา เช่น การตรวจวัดระดับการมองเห็น (Visual acuity) ตรวจลานสายตา (Visual field) การวัดค่าสายตา (Refraction) ตรวจความดันลูกตา (Tonometry) เป็นต้น
2. การตรวจ CT Scan
การตรวจ CT Scan หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะเน้นตรวจหาโรคในร่างกายและความผิดปกติของระบบอวัยวะต่างๆ เนื่องจากสามารถตรวจได้กับอวัยวะทุกชนิด เช่น สมอง คอ ท้อง แขน และอื่นๆ โดยจะให้ผลแม่นยำ นำไปสู่การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การตรวจ MRI
การตรวจ MRI หรือการตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กและคลื่นความถี่วิทยุ จากนั้นจะประมวลผลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถตรวจได้ตั้งแต่สมอง ไขสันหลัง ท้อง หัวใจ กระดูก ตลอดจนการตรวจไมเกรนออร่า ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัด เห็นถึงความผิดปกติในร่างกายได้
วิธีรักษาอาการไมเกรนออร่า
วิธีแก้ปวดหัวหรือวิธีรักษาอาการไมเกรนออร่าสามารถทำได้ 2 วิธี โดยแบ่งเป็นการบรรเทาอาการเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองง่ายๆ และการรักษาทางการแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
การบรรเทาอาการเบื้องต้น
การบรรเทาอาการเบื้องต้นจะเริ่มตั้งแต่การปรับพฤติกรรมของตนเอง การใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น ตลอดจนการบรรเทาด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- ประคบเย็น
เพียงแค่นำผ้าขนหนู ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดตัวมาห่อน้ำแข็งหรือชุบน้ำเย็นบิดหมาดๆ จากนั้นนำมาประคบบริเวณที่ปวดหัวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10-15 นาที อาการไมเกรนออร่าก็จะบรรเทาลงได้ง่ายๆ ยิ่งถ้าหากใครมีผ้าเย็นก็สามารถนำมาใช้ได้ และเพิ่มความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
- การดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น
คำถามที่ว่าปวดหัวไมเกรนกินอะไรหาย คำตอบที่ง่ายๆ และได้ผลดีคือ การดื่มน้ำเปล่า เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนออร่า ปวดคอ บ่า ไหล่ หรือปวดตามจุดต่างๆ นั้นเป็นเพราะร่างกายขาดนั้น เพียงแค่ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมก็จะลดความร้อนในร่างกาย เพิ่มความสดชื่น ชุ่มชื้น และลดไมเกรนได้
- นอนพักผ่อนคลายอาการปวด
เนื่องจากการนอนหลับพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูการทำงานต่างๆ ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตหรือกล้ามเนื้อนั้นผ่อนคลาย ซึ่งหากมีอาการไมเกรนออร่า ก็อาจจะงีบสั้นๆ ระหว่างวัน แต่ต้องไม่ลืมที่จะนอนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวันเป็นประจำ โดยอาจจะนอนในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เงียบสงบ ไม่มีเสียง สี กลิ่นรบกวน
การรักษาทางการแพทย์
แม้ว่าหลายๆ คนจะลองใช้วิธีบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนออร่าด้วยวิธีในเบื้องต้นแล้ว แต่อาการก็ยังไม่หายดี อาจจะใช้วิธีรักษาทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้
- การทานยาไมเกรนหรือยาแก้ปวด
ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดทั่วๆ ไป เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือ Ibuprofen ก็ช่วยได้ หรือใครจะใช้ยาสำหรับอาการโดยเฉพาะ เช่น Triptan หรือ Ergotamine ก็สามารถรักษาอาการปวดไมเกรนออร่าได้เช่นกัน
- การฝังเข็มไมเกรน
ตามตำราหรือศาสตร์ของจีนเชื่อว่าการฝังเข็มสามารถไล่ลม ลดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันมีการศาสตร์ของการฝังเข็มไมเกรน สำหรับลดอาการปวดหัวและอาการออร่าไมเกรน โดยส่วนใหญ่พบว่าใช้เวลาฝังเข็ม 8-10 ครั้ง อาการก็จะดีขึ้นตามลำดับ แต่ในกรณีการฝังเข็มจะต้องพิจารณาสุขภาพของบุคคลนั้นๆ ควบคู่ไปด้วย
- โบท็อกไมเกรน
อาการไมเกรนออร่าเป็นหนึ่งในประเภทของอาการปวดหัวไมเกรน ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี เห็นผลไว และปลอดภัยไร้ผลข้างเคียงคือ การฉีดโบท็อกไมเกรน โดยทางแพทย์จะฉีดบริเวณรอบศีรษะ 31 จุด หลังจากนั้น 3-5 วัน อาการก็จะดีขึ้นตามลำดับ โดยผลของการฉีดจะคงอยู่ระยะยาว 4-6 เดือน
นอกจากนี้ ใครที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมจนเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามจุดต่างๆ ก็ยังสามารถฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมเพื่อรักษาอาการได้อีกด้วย
แนวทางการป้องกันอาการออร่าไมเกรน
เมื่ออ่านบทความมาถึงตรงนี้หลายๆ อาจจะอยากหาแนวทางการปฏิบัติตนหรือการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันไมเกรนออร่า ซึ่งก็สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารกระตุ้นไมเกรน
เช่น ไวน์แดงเนื้อแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม ผงชูรสและน้ำตาลเทียม
- เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินไมเกรน เช่น วิตามินบีต่างๆ
รวมถึงการกินอาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลงได้
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาเฟอีก ตลอดจนงดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น โยคะแก้ปวดหัว วิ่งคาร์ดิโอ เป็นต้น
- ปรับพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิต โดยเน้นหากิจกรรมคลายเครียด
กิจกรรมที่ชอบทำนอกเหนือจากงาน เพื่อลดอาการปวดหัวจากความเครียด
- ปรับสภาพแวดล้อม เช่น ควรปรับโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสมสอดคล้องสรีระร่างกาย
การปรับห้องใส้มีแสงสว่างเพียงพอ อยู่ในห้องที่มีอากาศเย็นสบาย ไม่มีแสงสีรบกวนมากเกินไป เป็นต้น
ข้อสรุป
อาการไมเกรนออร่าเป็นหนึ่งในประเภทของอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งจะมีอาการเตือนล่วงหน้าคือ มีการมองเห็นที่ผิดปกติ เห็นแสงระยิบระยับ ภาพบิดเบี้ยว ตาลาย และอื่นๆ ซึ่งแม้เป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่ก็ไม่ควรมองข้าม และวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัย
แต่หากใครที่กำลังเผชิญปัญหากวนใจเหล่านี้ นอกจากจะใช้วิธีเบื้องต้นก็สามารถใช้วิธีทางการแพทย์รักษาไมเกรนออร่า โดยปรึกษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ที่มีความปลอดภัยสูง
เครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย ผ่านการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ขอคำแนะนำ ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับไมเกรน หรือนัดเข้ารับการรักษาไมเกรนได้
เอกสารอ้างอิง
Rebecca Buffum Taylor. (2022). Migraine With Aura. retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/what-is-a-migraine-with-aura