ปวดหัวไมเกรน อาจเสี่ยงโรคแทรกซ้อน แนวทางการรักษาไมเกรนมีอะไรบ้าง

ปวดไมเกรนเสี่ยงโรคแทรกซ้อน

ปวดหัวไมเกรน นอกจากจะมีอาการปวดหัวเรื้อรังน่าเบื่อแล้ว รู้หรือไม่ว่าไมเกรนยังทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้แต่อาการซึมเศร้า โรคไมเกรน เห็นว่าเป็นแค่อาการปวดหัว แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะนอกจากจะเป็นอาการที่เรื้อรังจนต้องทำให้รับประทานยาติดต่อกันนาน ๆ แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมากเลย อาการปวดหัวเมื่อกำเริบแล้วอาจส่งผลให้ชีวิตประจำวันไม่สามารถทำอะไรได้ และไม่ได้มีแค่อาการปวดที่ต้องกังวล เพราะมีการศึกษาพบว่าอาการไมเกรนนั้นสามารถส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ อีกด้วย

สารบัญบทความ

ทำไมไมเกรนจึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่า ไมเกรนมีความสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ อย่างไร และทำไมไมเกรนจึงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เนื่องจากไมเกรนเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยที่สุดในวัยรุ่นและวัยทำงาน อายุประมาณ 15-35 ปี เป็นโรคที่มีผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินชีวิต โดยภาวะแทรกซ้อนนั้นเกิดจากการรักษาและควบคุมอาการปวดไมเกรน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาลดอักเสบจนเกิดอาการแทรกซ้อน อาการไมเกรนเรื้อรัง อาการไมเกรนที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด เป็นต้น เนื่องจากไมเกรนเป็นอาการที่เรื้อรังที่จะต้องทำให้รับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงเป็นปัญหาว่าจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นภายหลังการรักษา โดย ไมเกรนแทรกซ้อนเกิดจากความเครียดจนส่งผลให้เกิดภาวะอาการนำของไมเกรน เมื่อเกิดภาวะอาการนำของไมเกรนแล้ว จึงส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ทั้งภาวะสมองขาดเลือด อาการปวดไมเกรนเรื้อรัง

ทำไมไมเกรนจึงเกิดภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไมเกรน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไมเกรนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจำแนกได้ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  มีอาการคือ แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถบังคับการทรงตัวได้
  • ปัญหาสุขภาพจิต (Mental health problems)  เมื่ออาการไมเกรนอยู่กับคนไข้คนนั้น ๆ เป็นเวลานาน เป็นอาการไมเกรนเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ เนื่องจากอาการไมเกรนเป็นอาการที่ทรมาน ในบางรายอาจไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ทำได้แค่นอนบ่อย ๆ ไม่ออกไปที่ ๆ มีเสียงและแสง ปัจจัยข้อนี้อาจทำให้คนไข้เกิดอาการเบื่อหน่าย หดหู่ จนเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้
  • ภาวะปวดศีรษะอย่างรุนแรง (Status migrainosus)  การปวดไมเกรนอย่างรุนแรง โดยมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงมากกว่า 3 วัน ทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปได้ยาก ไม่สามารถทำงานหรือเรียนได้
  • ภาวะอาการเตือนก่อนเป็นไมเกรนนานกว่าปกติ (Persistent aura without infarction)  หลายคนที่หายจากไมเกรนแล้วแต่ยังคงมีอาการเตือนเกิดขึ้นอยู่ อาการนี้อาจเกิดนานมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ เป็นอาการที่คล้ายกันกับอาการเลือดออกในสมอง แต่ไม่มีความผิดปกติในสมอง หรืออันตรายแต่อย่างใด
  • ภาวะอาการเตือนก่อนเป็นไมเกรนนานกว่าปกติร่วมกับภาวะสมองขาดเลือด (Migrainosus infarction)  เกิดอาการเตือนที่นานกว่าหนึ่งชั่วโมง จนส่งผลให้ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง
  • ภาวะเป็นลมชักขณะเกิดอาการเตือนก่อนเป็นไมเกรน (Migraine aura triggered)  อาการเตือนที่เกิดจากไมเกรนที่เป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ภาวะลมชัก ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหม่อลอย ไม่ได้สติ ชักเกร็ง
  • โรคหลอดเลือดสมอง  ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนชนิดมีอาการเตือน จะเกิดเส้นเลือดสมองตีบได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 27%
  • โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Facial Paralysis)  ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับไมเกรน โดยโรคไมเกรนสามารถเพิ่มความเสี่ยงโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกได้มากกว่าผู้ป่วยโรคอื่นๆ
  • โรคซึมเศร้า : เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรนมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่อหน่าย บางรายไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ จนทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
  • ปัญหาสุขภาพหัวใจ  ผู้ป่วยโรคไมเกรนนั้นมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้นกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ใช้ยา Triptans ในการรักษาโรคไมเกรนก็จะเพิ่มความเสี่ยงปัญหาสุขภาพหัวใจสูงขึ้นไปอีก
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Fibromyalgia) : ผู้ป่วยโรคไมเกรนจำนวนไม่น้อยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยอาการของโรคไมเกรนและอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุหรือต้นตอเดียวกัน

ความอันตรายของโรคไมเกรน

ความอันตรายของโรคไมเกรนเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้ยากแล้ว บางครั้งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้อีกด้วย
อาการทุกอย่างที่เกี่ยวกับไมเกรน ล้วนแล้วแต่ทำให้การทำกิจวัตรประจำวันนั้นทำได้ยาก ทั้งการมองเห็นที่ไม่สามารถมองเห็นได้แบบปกติ เห็นภาพมืด เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าแบบเบลอ ๆ อาการชาที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ชาแขน ชาที่มือ ชารอบ ๆ ปากจนไม่สามารถพูดได้ อาการอ่อนแรงครึ่งซีกของร่างกาย จนทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้ โดยบางรายอาจเกิดอาการเหล่านี้ก่อนอาการปวดหัวไมเกรน หรืออาจเกิดสัญญานเตือนเหล่านี้พร้อม ๆ กันกับการปวดหัวไมเกรน ซึ่งความอันตรายที่นอกจากจะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้ยากแล้วยังทำให้อาจเกิดอันตรายที่รุนแรงได้ อย่างเช่น การเกิดอุบัติเหตุจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต รวมไปถึงความเสี่ยงของโรคไมเกรนที่จะทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า หรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพหัวใจ

วิธีลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไมเกรน

แนะนำให้ผู้ป่วยไมเกรนดูแลตัวเอง และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม คือ

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือเลือกทานอาหารที่ไม่เป้นปัจจัยกระตุ้นไมเกรน
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้อาการไมเกรนดีขึ้นได้ระยะยาว เพราะเมื่อเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความถี่ของไมเกรนก็จะลดลง
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ บ่อยครั้งที่ไมเกรนมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการนอน ดังนั้นควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา ไม่นอนดึกหรืออดนอน
  4. เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายสมองบ่อยๆ อย่าให้เครียดมากเกินไป เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายสมอง เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ เป็นต้น และต้องไม่หมกมุ่นกับปัญหาที่ต้องเจอจนเกิดอาการเครียด
  5. ควรหลีกเลี่ยงแดดจัด หรืออาหารที่ไปกระตุ้นอาการ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดเนื่องจากแสงเป็นสิ่งกระตุ้นไมเกรน ไม่ทานเค็ม อาหารที่มีรสเค็มจัดเป็นสิ่งกระตุ้นให้ไมเกรนมอาการรุนแรงขึ้น
  6. ดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydrate) ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นได้เช่นกัน เมื่อร่างกายขาดน้ำ อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งก็จะตามมา และหลายคนบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยการดื่มน้ำ และยังพบว่าอาการดีขึ้นภายใน 30 นาทีหลังการดื่มน้ำอีกด้วย ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทุกอย่างที่อาจเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ไมเกรนกำเริบบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยไมเกรนไม่ควรมองข้าม เพื่อให้การรักษาไมเกรนเป็นไปในแนวทางที่ดี ไม่เกิดอาการไมเกรนกำเริบ

ปวดหัวไมเกรนเสี่ยงเกิดโรคอะไรได้บ้าง

แม้ว่าไมเกรนจะเป็นโรคที่ไม่ได้มีอันตรายกับผู้ป่วยมากเท่าไหร่นัก แต่ไมเกรนถือเป็นโรคที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคที่อันตรายต่างๆ ตามมาได้โดยไมเกรนเสี่ยงเกิดโรค ดังนี้

  1. โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน คนที่เป็นไมเกรนชนิดมีอาการเตือน (migraine with aura) จะเกิดเส้นเลือดสมองตีบได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 27%
  2. โรคเส้นเลือดสมองแตก คนที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดสมองแตกมากกว่าคนทั่วไปถึง 46%
  3. โรคซึมเศร้า เนื่องจากเมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรนมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่อหน่าย บางรายไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ จนทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
  4. โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้รประสาทสมอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับไมเกรน โดยโรคไมเกรนสามารถเพิ่มความเสี่ยงโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกได้มากกว่าผู้ป่วยโรคอื่นๆ
  5. โรคเกี่ยวกับหัวใจ ผู้ป่วยโรคไมเกรนนั้นมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้นกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ใช้ยา Triptans ในการรักษาโรคไมเกรนก็จะเพิ่มความเสี่ยงปัญหาสุขภาพหัวใจสูงขึ้นไปอีก
  6. โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไมเกรนจำนวนไม่น้อยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยอาการของโรคไมเกรนและอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุหรือต้นตอเดียวกัน
  7. ปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตอื่นๆ เมื่ออาการไมเกรนอยู่กับคนไข้คนนั้นๆ เป็นเวลานาน เป็นอาการไมเกรนเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ เนื่องจากอาการไมเกรนเป็นอาการที่ทรมาน ในบางรายอาจไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ทำได้แค่นอนบ่อยๆ ไม่ออกไปที่ๆ มีเสียงและแสง ปัจจัยข้อนี้อาจทำให้คนไข้เกิดอาการเบื่อหน่าย หดหู่ จนเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้
  8. โรคลมชัก อาการเตือนที่เกิดจากไมเกรนที่เป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ภาวะลมชัก ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหม่อลอย ไม่ได้สติ ชักเกร็ง
  9. โรคเครียด ภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกับอาการปวดไมเกรน
  10. อัมพฤกษ์-อัมพาต อาการข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากอาการไมเกรน

แนวทางการรักษาไมเกรน

แนวทางการรักษาไมเกรนสามารถทำได้หลายรูปแบบ ยิ่งในปัจจุบันมีการรักษาทางเลือกเข้ามาเป็นตัวเลือกให้การรักษาสะดวกและเห็นผลมากขึ้น แนวทางการรักษาไมเกรนสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ

ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมาก โดยมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ กดจุด นวดแก้ปวดไมเกรน นวดบริเวณคอหรือศีรษะเพื่อลดอาการเจ็บ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงแสงและเสียงเพื่อไม่ให้อาการไมเกรนกำเริบ
การรักษาโดยใช้ยา เป็นการบรรเทาหรือป้องกันอาการไมเกรน โดยการรับประทานยาใจทันทีที่มีอาการไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาป้องกันไมเกรนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ยาป้องกัน ยาที่ใช้ป้องกันอาการไมเกรน ได้แก่ กลุ่มยาลดความดัน เช่น Propranobol กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า Amitriptyline กลุ่มยากันชัก Valproate เป็นต้น
  • ยาแก้ปวดเฉียบพลัน ยาบรรเทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล ยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรง ได้แก่ ยากลุ่ม Triptans เป็นต้น

การรักษาด้วยวิธีทางเลือก

การวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการประเมินตามอาการของผู้ป่วย โดยจะแนะนำวิธีการรักษา เช่น ฝังเข็ม กระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือ การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

  • ฝังเข็ม การฝังเข็มรักษาอาการไมเกรนเป็นวิธีการรักษาในทรงการแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยการฝังเข็มจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และจะทำให้อาการไมเกรนลดงลง โดยจะฝังเข็มไปตามจุดต่างๆ บริเวณคอ บ่า ไหล่ หน้าผาก ศีรษะ เป็นต้น
  • กระตุ้นคลื่นไฟฟ้า เป็นการรักษาเพื่อลดและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บปวด ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เวลาไม่นานเพียง 30-60 นาทีเท่านั้น ซึ่งผลการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าเป็นที่น่าพอใจ

การรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง

การฉีดโบท็อกซ์ รักษาไมเกรน หมอจะฉีดโบท็อกซ์บริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ การฉีดโบท็อกซ์ จะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง รวมไปถึงช่วยให้บริเวณบ่า ไหล่ที่ปวดจากอาการออฟฟิซซินโดรมทุเลาลงได้อีกด้วย

การรักษาไมเกรน

โบท็อกไมเกรนเหมาะกับใคร

โบท็อกไมเกรนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ปวดหัวไมเกรนเรื้อรั้ง ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยการทานยาได้
Botulinum Botox รักษาไมเกรน เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดศีรษะบ่อยๆ ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดแบบที่รับประทานยาแก้ปวดก็ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ โดยการรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกนั้น แพทย์จะฉีดโบท็อกบริเวณรอบศีรษะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เหมาะสม และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้เห็นผล มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ได้ผลกว่าการรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน

โบท็อกไมเกรนเรื้อรังคืออะไร

โบท็อกไมเกรนเรื้อรัง คือ การฉีดสาร Botulinum toxin หรือโบท็อก ซึ่งโบท็อกประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง เนื่องจากสารชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดไมเกรนได้ โดยวิธีการรักษาไมเกรนแบบทางเลือกนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา US.FDA ในปี 2010 และอย.ไทย ว่าสามารถลดอาการปวดศีรษะได้จริง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ข้อดีของการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน

นอกจากการฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนจะช่วยให้อาการปวดหัวไมเกรนลดลงได้แล้วยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยอีกด้วย
การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนหายไป เพราะ Botulinum toxin ออกฤทธิ์ในการช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่หดตัวนั้นคลายตัวลง ทำให้อาการตึงของกล้ามเนื้ออันเป็นต้นเหตุของอาการปวดไมเกรนคลายตัว ทำให้อาการไมเกรนดีขึ้น การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนเป็นการรักษาอาการปวดไมเกรนที่ต้นเหตุ ทำให้อาการไมเกรนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามารถช่วยลดการกินยา อยู่ได้นานกว่า ลดความถี่ของอาการปวดได้มากกว่าการกินยา

การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนเป็นวิธีการบรรเทาอาการปวดไมเกรนที่มีความปลอดภัย เพราะเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยในประเทศไทยนั้นการฉีดโบท็อกเพื่อลดอาการไมเกรนได้รับการรับรองผลจากองค์กรอาหารและยา
การฉีดโบท็อกแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะ ลดความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนได้จริง
ช่วยลดความเสี่ยงจากการทานยาลดไมเกรนซึ่งอาจส่งผลไม่ดีต่อตับไต และเมื่อฉีดแล้วสามารถอยู่ได้นานกว่าการทานยา ที่ต้องทานอยู่บ่อยๆ

แพทย์ด้านระบบประสาทและสมอง

ข้อสรุป

หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์

เอกสารอ้างอิง

Critical analysis of the use of onabotulinumtoxinA (botulinum toxin type A) in migraine

https://pdfs.semanticscholar.org/68b1/131fec0dfc227ddf5a291384059b7e517502.pdf?_ga=2.221469912.1910126796.1615368643-1089673905.1608626583