ปวดหัวจากความเครียด (Tension Headache) วิธีบรรเทารักษา รับมืออย่างไรดี ควรกินยาอะไร?

ปวดหัวจากความเครียด

“อาการปวดหัว” เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาการที่หลาย ๆ  คนต้องเคยพบเจอ โดยอาจจะเกิดจากการตากฝน เป็นไข้ ดื่มแอลกอฮอล์ โรคภัยต่าง ๆ  แต่หนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ  ที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวคือ ความเครียด

อาการปวดหัวจากความเครียดนั้นเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากในยุคปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อม การเรียน การทำงานนั้นส่งผลให้หลาย ๆ  คนเกิดความเครียดและนำไปสู่อาการปวดได้

บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับปวดหัวเพราะเครียดเกิดจากอาการอื่น ๆ  ได้หรือไม่ ต่างจากไมเกรนอย่างไร ปวดหัวจากความเครียดกินยาอะไร หรือต้องเลี่ยงอาหารประเภทใด ตลอดจนปวดหัวจากความเครียด รักษาได้อย่างไรบ้าง


สารบัญบทความ


ปวดหัวจากความเครียด (Tension Headache)

อาการปวดหัวจากความเครียด จะมีลักษณะปวดหัวแบบตึงตัว (Tension Headache) ลักษณะเหมือนกับการถูกรัด กด บีบ รวบบริเวณหัว ทั้งนี้อาการจะเริ่มจากการปวดหัวท้ายทอยก่อนมักมีอาการเริ่มที่ท้ายทอย บ่า ไหล่

จากนั้นจะปวดร้าวไปบริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง ก่อนจะลามไปยังบริเวณรอบหัว กล้ามเนื้อรอบๆ จึงมีการเกร็งตัว และส่งผลให้ปวดหัวตื้อๆ ทุกวัน

โรคปวดศีรษะจากความเครียดพบได้ในคนทุกวัยและทุกเพศ แต่โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1.5-2 เท่า และพบในวัยรุ่นหรือวัยทำงานมากกว่าปกติ อย่างไรก็ดี อาการจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงอายุ 20-50 ปี

ลักษณะอาการปวดหัวเนื่องจากความเครียดจะกินเวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง บางคนอาจจะปวดหัวเป็นวัน หลายวัน หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับสุขภาพและร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งหากใครที่มีโรคปวดหัวไมเกรน แพนิก หรือซึมเศร้าอาการก็อาจจะรุนแรง


เครียดแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร

ปวดหัวจากอาการเครียดเกิดจากการที่ร่างกายนั้นมีความเครียดสูง จนกระทั่งร่างกายทำปฏิกิริยาและหลั่งสารเคมีออกมา กล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะบ่า ไหล่ ท้ายทอย ขมับ ไปจนถึงรอบศีรษะเกร็งตัว

แน่นอนว่าเมื่อเกิดอาการเกร็งตัวแล้วก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวจากความเครียด ปวดตึงๆ ตื้อๆ แต่ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการเครียดจนปวดหัวเหล่านี้มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

อาการปวดหัวจากความเครียด

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวจากความเครียด

อาการปวดหัวจากความเครียดนั้นเกิดได้จากปัจจัยกระตุ้นหลายๆ ปัจจัย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสุขภาพเดิมของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ปัจจัยกระตุ้นมีดังต่อไปนี้

  • ความเครียดสะสม

ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดอาการเครียด และหากปล่อยทิ้งเวลานาน ไม่จัดการกับความเครียดก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเครียดสะสมได้

  • ความหิว

เวลาที่หิว ไม่ว่าจะเพราะการลืมทานอาหาร อดอาหาร หรือไม่มีเวลาทานอาหาร จะส่งให้มีน้ำตาลหรือกลูโคสในร่างกายต่ำลงและไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนเกิดการปวดหัว หงุดหงิด ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงานได้ง่าย    

  • ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายฟื้นฟูและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในวันต่อๆ ไป แต่หากร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า อดนอนจะกระตุ้นให้เครียดแล้วปวดหัวได้

  • แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนนั้นจะเข้าไปกระตุ้นและกดสารต่าง ๆ  ในร่างกาย ขยายและหดตัวของหลอดเลือด กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้

  • สูบบุหรี่

นิโคติน เป็นสารที่อยู่ในบุหรี่ ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด ตลอดจนอาการปวดหัวคลัสเตอร์

  • ปัญหาทางด้านจิตใจ

ไม่ว่าจะเป็นภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ภาวะตื่นตระหนก ก็ล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นการปวดหัว เนื่องจากร่างกายนั้นจะมีการผลิตสารประเภทหนึ่งออกมาและส่งผลต่อการทำงานรวมถึงความเครียดแล้วปวดหัวได้


ปวดหัวจากความเครียดมีอาการอย่างไร

อาการปวดศีรษะจากความเครียด

อย่างที่ทราบกันดีว่าเครียดมากจนปวดหัว จะมีลักษณะอาการทั่วไป คือ ปวดหัวแบบตึงตัว มึนหัว รู้สึกเหมือนถูกดหรือบีบรัดตั้งแต่บริเวณบ่า ท้ายทอย หัวไหล่ ไปจนถึงขมับ และรอบหัว โดยบางครั้งอาจจะปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวจากความเครียดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แต่ละประเภทมีอาการแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. ปวดหัวจากความเครียดเป็นพักๆ

อาการปวดศีรษะจากความเครียด มีลักษณะอาการตามอาการทั่วไป เพียงแต่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ  30 นาทีไปจนถึงระยะเวลายาวนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งวิธีสังเกตลักษณะอาการปวดหัวเพราะเครียดประเภทนี้คือ จะเกิดอาการขึ้นอย่างน้อย 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน

อาการปวดหัวจากความเครียดเป็นพักๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาไม่ทันจะส่งผลให้เป็นอาการระยะยาวหรือเรื้อรังได้ในที่สุด

2. ปวดหัวจากความเครียดแบบเรื้อรัง

จากระยะเวลาในการเกิด 30 นาที จะเปลี่ยนไปยาวนานถึงหลายชั่วโมง โดยอาการจะเกิดต่อเนื่องในทุกๆ วัน เป็นเวลามากกว่า 15 วันขึ้นไปและยาวนานจนถึง 3 เดือน

หากพบว่าตนเองเข้าสู่อาการปวดหัวจากความเครียดประเภทเรื้อรังแล้ว ควรรีบเข้ารับการรักษา ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงหรือหนักขึ้นกว่าเดิม


เปรียบเทียบปวดหัวจากความเครียดกับโรคไมเกรน

เนื่องจากอาการปวดหัวมีหลายรูปแบบ เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดหัวจากความเครียด หรือปวดหัวข้างขวา หลาย ๆ  คนจึงอาจจะเกิดความสงสัยและสับสนว่าแล้วอาการต่างกันอย่างไร วันนี้เราจึงรวบรวมคำตอบมาให้แล้ว

ปวดศีรษะจากความเครียด

ปวดหัวจากความเครียด

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการปวดหัวจากความเครียดเกิดจากการที่ร่างกายมีความเครียดสูง จนหลั่งสารเคมีออกมา ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นก็มีหลายแบบ เช่น ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่พอ การสูบบุหรี่จัด เป็นต้น

ลักษณะอาการคือ ปวดเหมือนถูกรัดหรือบีบบริเวณหัว บางครั้งจะปวดตั้งแต่บริเวณไหล่ บ่า ท้ายทอย ขมับ ไปจนถึงรอบหัว ทำให้มีอาการปวดหัวตื้อๆ ทุกวัน

วิธีป้องกันและรักษาสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการปรับพฤติกรรมของตนเอง ไปจนถึงการปรึกษาและรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์

โรคไมเกรน

โรคไมเกรน เกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น สารเคมีในสมองไม่เท่ากัน การขยายและหดตัวของหลอดเลือดที่ผิดปกติ ไปจนการเกิดจากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเพราะอากาศร้อน นอนไม่พอ รวมถึงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวก็สามารถกระตุ้นให้ปวดได้

ลักษณะอาการปวดที่พบคือ ปวดหัวข้างซ้ายข้างเดียว ปวดหัวตามจุดต่างๆ ปวดตุ้บๆ หรือบางครั้งก็ปวดจี๊ดๆ  รวมถึงมีอาการปวดหัวเรื้อรัง โดยในบางรายพบว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เห็นแสงวูบวาบ ไวต่อสิ่งเร้าทั้งแสง สี กลิ่น เสียง ตาลาย เวียนหัว เป็นต้น

วิธีป้องกันและรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นง่ายๆ ทำได้ด้วยตนเอง เช่น

วิธีการรักษาทางการแพทย์ เช่น การฉีดโบท็อกไมเกรน ที่นอกจากฉีดเพื่อเสริมความงามแล้วยังได้รับความนิยมในการฉีดแก้ปวดอีกด้วย เนื่องจากปลอดภัย และผลลัพธ์อยู่ได้นาน


เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ตามปกติแล้ว อาการปวดหัวเพียงกินยาแล้วพักผ่อนก็จะดีขึ้นได้ แต่หากพบว่ามีอาการปวดหัวจากความเครียดด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • เครียดจนปวดหัว และต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทามากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  • รูปแบบการปวดหัวต่างไปจากเดิม เช่น ปวดนานขึ้น ปวดถี่ขึ้น ปวดกระบอกตาแทนจากเดิมที่ปวดบริเวณขมับ เป็นต้น เนื่องจากอาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ  ได้
  • เมื่อมีอาการอื่น ๆ  ร่วมด้วย เช่น ปวดหัวอย่างกะทันหัน ปวดหัวพร้อมกับมีไข้ขึ้นสูง คอแข็ง เริ่มมีอาการสับสนทางจิต ชัก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชา เวียนหัว
  • ประสิทธิภาพในการพูดต่ำลง
  • ปวดหัวหลังได้ประสบอุบัติเหตุ จนทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง

การวินิจฉัยอาการปวดหัวจากความเครียด

การวินิจฉัยอาการปวดหัวจากความเครียดจะเริ่มจากวิธีทั่วๆ ไปคือ ซักประวัติส่วนตัวและประวัติการรักษา การแพ้ยา ความรุนแรงและระดับของอาการ ตลอดจนการพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจจะต้องวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยวิธีดังต่อไปนี้

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดจะทำการตรวจเพื่อหาความออกซิเจนในร่างกาย หากออกซิเจนน้ยอจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้ วัดความสมบูรณ์ของเลือดในร่างกาย ตลอดจนตรวจหาสารเคมีในเลือด เพื่อหาความผิดปกติ

การตรวจเอกซเรย์ (X-ray)

หากมีอาการปวดหัวจากความเครียด อาจจะตรวจวินิจฉัยโรคหรือข้อบกพร่องด้วยการตรวจเอกซเรย์ จะทำให้เห็นภาพด้านในร่างกายอย่างชัดเจน ซึ่งหากมีปัจจัยทางโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวก็จะตรวจพบและรักษาได้อย่างถูกต้อง

การตรวจ MRI

เมื่อมีปวดหัวเพราะเครียดที่รุนแรงและมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อาจะเกิดได้จากโรคภัยที่ร้ายแรง ดังนั้นจึงอาจจะต้องใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับตรวจหาความผิดปกติของร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุและการอักเสบต่าง ๆ

การตรวจ CT Scan

การตรวจ CT Scan จะใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติในร่างกายและวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยภาพจะออกมาเป็นแนวนอน 3 มิติ แสดงรายละเอียดเอียดชัดเจน ผลลัพธ์แม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการตรวจชัดเจนกว่าการตรวจ X-ray มาตรฐาน


วิธีแก้อาการปวดหัวจากความเครียด

เมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวจากความเครียดก็สามารถใช้วิธีการแก้ไขอาการได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1. การใช้ยาบรรเทาอาการปวด

โรคปวดศีรษะจากความเครียด

ตามปกติแล้ว เพียงแค่เลือกใช้ยาแก้ปวดหัวจำพวกยาสามามัญประจำบ้าน เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากใครพบว่ามีอาการปวดไมเกรนร่วมด้วย อาจจะทานกลุ่ม ibuprofen ทานยากลุ่ม ergotamine ตลอดจนการทานยากลุ่ม triptan ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

2. การประคบเย็นแก้อาการปวด

ปวดหัวจากความเครียด รักษา

เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น ผ้าห่อน้ำแข็ง หรือผ้าเย็นมาประคบบริเวณที่ปวด ตรงขมับ ต้นคอ ท้ายทอย บ่า ก็จะช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดี ร่างกายผ่อนคลายและอุณหภูมิต่ำลง แต่หากใครจะใช้การประคบร้อนก็ช่วยลดอาการปวดหัวจากอาการเครียดได้เช่นกัน

3. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ปวดหัวเนื่องจากความเครียด

วิธีง่ายๆ แต่ได้ผล เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง เช่น การเลือกจิบน้ำอุ่น เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่นอนมากหรือน้อยเกินไป การทำจิตใจให้สงบ หากิจกรรมยามว่างทำเพื่อลดอาการเครียดมากจนปวดหัว

4. การรักษาด้วย TMS

ปวดหัวจากอาการเครียด

TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะใช้รักษาอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว เพียงใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาวางบริเวณที่ปวด 10-15 นาที อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ อาการปวดหัวเนื่องจากความเครียดก็จะดีขึ้นได้


แนวทางการป้องกันการปวดหัวจากความเครียด

ปวดหัวจากความเครียดกินยาอะไร

เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องเผชิญกับอาการปวดหัวจากความเครียด สามารถใช้แนวทางการป้องกันการปวดหัว ดังต่อไปนี้

  1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยอาจจะออกกำลังกายง่าย ๆ  เช่น โยคะแก้ปวดหัว ฮูลาฮูป เดินเบา ๆ  เป็นต้น
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น ไวน์ เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น แต่เน้นทานผัก ผลไม้ ตลอดจนเครื่องดื่มแก้ปวดหัวชนิดต่าง ๆ  แทน
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากจะส่งผลให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่ลงแล้ว ยังกระตุ้นให้ปวดหัวจากอาการเครียดด้วย
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขณะตื่น
  5. หากิจกรรมที่ลดความเครียดหรืองานอดิเรกทำ เช่น การนั่งสมาธิ การวาดรูป การร้องเพลง การพบปะกับเพื่อน ๆ  เป็นต้น

ข้อสรุป

เนื่องจากสภาพแวดล้อม สังคม ตลอดจนปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยภายนอก ก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวจากความเครียดได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมตนเอง หากมีอาการก็ควรรักษาอย่างถูกวิธี

หนึ่งในวิธีรักษาไมเกรนและอาการปวดหัวจากความเครียดได้คือ การฉีดโบท็อกไมเกรน ซึ่งสามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา เข้าตรวจไมเกรนและระดับการปวดหัว ตลอดจนนัดวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Arefa Cassoobhoy. (2020). Tension Headaches. Retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/tension-headaches

Johns Hopskins Medicine. (n.d.). Tension Headaches. Retrieve from https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/headache/tension-headaches

Mayo Clinic. (n.d.). Tension headache. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/symptoms-causes/syc-20353977