ช่วงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว สัญญาณจากโรคไมเกรน รักษาอย่างไรได้บ้าง?

เป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว

อาการปวดหัวไมเกรน สามารถเกิดได้จากหลาย ๆ  ปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก รวมถึงอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เพิ่มความรุนแรงของอาการ

ทั้งนี้ อาการประจำเดือนมาแล้วปวดหัวจะเกิดจากสาเหตุใด มีวิธีแก้ปวดหัวหรือดูแลรักษาอย่างไร ติดตามต่อได้ในบทความนี้


สารบัญบทความ


เป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว

หลายๆ คนอาจจะทราบกันมาเป็นอย่างดีว่าอาการปวดหัวไมเกรนนั้นเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3 เท่า อีกทั้งเมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว ก็จะกลายเป็นเรื่องปกติในเพศหญิงทันที โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุระว่าง 30-40 ปี เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการใช้ยาคุมกำเนิดต่างๆ  

อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ช่วงมีประจำเดือนแล้วปวดหัว อาการปวดหัวเหล่านี้ก็อาจจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ระดับความรุนแรงของการปวดหัวจะแตกต่างขึ้นอยู่กับระดับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง


ปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนเกิดจากสาเหตุใด

อาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวที่สาว ๆ  หรือผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ  ดังนี้

เป็นเมนแล้วปวดหัว

1. ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

อย่างที่หลายๆ คนทราบกันดีว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้เป็นประจำเดือนหรือขณะเป็นประจำเดือน ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เองที่เป็นกลไกสำคัญทำให้เส้นเลือดภายในสมองที่ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องมีการขยายตัว

ในขณะเดียวกัน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ร่างกายปรับสมดุลไม่ทัน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนและมีอาการเป็นเมนแล้วปวดหัวได้ง่ายๆ นั่นเอง

2. โรคไมเกรน

โรคไมเกรน มีลักษณะอาการคือ ปวดหัวตุบ ๆ  บางครั้งก็ปวดจี๊ด ทั้งนี้เกิดจากการขยายและบีบตัวของหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว โดยเฉพาะช่วงประจำเดือนที่มีการเสียเลือดมากกว่าปกติ

สำหรับผู้มีอาการปวดหัวคลื่นไส้ ปวดหัวบริเวณต่าง ๆ  ตลอดจนอาการปวดหัวข้างเดียว หรือผู้ที่เป็นไมเกรนอยู่แล้ว จะส่งผลให้เมื่อเป็นรอบเดือนแล้วปวดหัวมากกว่าปกติหรือเกิดอาการปวดได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป หรือในบางรายก็มีอาการอื่น ๆ  ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

3. การใช้ยาคุมกำเนิด

ผู้หญิงหลายคนทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ แต่อาจจะยังไม่ทราบว่ายาคุมกำเนิดหรือยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่กินยาคุมแล้วปวดหัวได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอาการไมเกรนอยู่ก่อนแล้ว

ทั้งนี้เป็นเพราะว่ายาคุมคำกำเนิดเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยงต่อเกิดเส้นเลือกสมองตีบและการเกิดเส้นเลือดดำอุดตันในผู้ที่เป็นไมเกรนออร่า


อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนเป็นอย่างไร

พอใกล้จะเป็นเมนส์แล้วปวดหัว เป็นหนึ่งในอาการที่มักเป็นล่วงหน้า 2 วัน และอาการเหล่านี้จะคงอยู่ไปตลอดจนเข้าสู่ช่วงวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงวันที่ 3 นี้เอง อาการปวดหัวจะรุนแรงและยาวนานกว่าปกติที่เคยเป็น โดยบางรายมักพบอาการร่วมอื่นๆ ด้วย

จะเป็นเมนส์แล้วปวดหัว

อาการอื่นที่มักเกิดร่วม

เนื่องจากในบางกรณีเป็นไมเกรนอยู่แล้ว บางกรณีก็ตอบสนองต่อยารักษาได้ไม่ดี หรือบางกรณีก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการร่วมขณะเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวต่างกัน ดังนี้

  • คลื่นไส้
  • เวียนหัว
  • อาเจียน
  • ไวต่อสิ่งเร้า ทั้งแสง สี กลิ่น และเสียง
  • มีอาการไมเกรนเฉียพลัน
  • ปวดหัวรุนแรง

ใครที่เสี่ยงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว

เป็นเมนแล้วปวดหัวมาก

สาวๆ หลายคนอาจจะเผชิญกับอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว โดยเฉพาะกลุ่มดังต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวกว่าคนอื่นๆ 

  • ผู้ที่ไม่ค่อยมีอาการปวดหัวไมเกรน 
  • ผู้ที่ปวดไมเกรนพร้อมๆ กับการมีประจำเดือนสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่ปวดไมเกรนบ่อย ๆ แม้ว่าจะมีประจำเดือนหรือไม่มีก็ตาม

ปวดหัวช่วงประจำเดือนจำเป็นต้องพบแพทย์ไหม

ส่วนใหญ่แล้ว สาว ๆ  ที่มีอาการประจำเดือนมาแล้วปวดหัว จะสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการกินยา การปรับพฤติกรรม แต่ในผู้ป่วยบางรายก็พบว่ามีอาการรุนแรงหรือเมื่อใช้วิธีเบื้องต้นแล้วอาการก็ยังคงอยู่ ซึ่งควรจะพบแพทบ์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด

อาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวที่ควรพบแพทย์

ดังที่กล่าวในข้างต้น เมื่อมีอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว อาจจะทานยาไมเกรนหรือยาแก้ปวด แต่หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

  • ปวดหัวรุนแรงจนทนไม่ไหว
  • ตื่นนอนจากการปวดหัว 
  • ใจสั่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย 
  • ปริมาณประจำเดือนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีอาการอื่น ๆ  ร่วมด้วยและรุนแรง
  • ปวดหน่วงท้องน้อย
  • มือเท้าเย็น
  • ไม่สามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

วิธีรักษาอาการปวดหัวช่วงเป็นรอบเดือน

วิธีรักษาอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ  โดยเริ่มตั้งแต่การบรรเทาอาการด้วยตนเอง ตลอดจนการรักษาไมเกรนด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังนี้

วิธีบรรเทาอาการด้วยตัวเอง

ประจำเดือนมาแล้วปวดหัว

สำหรับวิธีนี้จะใช้ได้ผลและได้รับความนิยมในกลุ่มที่ไม่ค่อยมีอาการปวดหัวไมเกรนหรือกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายให้พอดี

เป็นเรื่องปกติของสาวๆ หลายคนที่เมื่อใกล้จะมีประจำเดือนจะรู้สึกหิว อยากกินของหวาน หรืออาหารมากกว่าปกติ แต่หารู้ไม่ว่าการกินของหวานหรือรับน้ำตาลมากเกินไปจะส่งให้หิวมากขึ้นและส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังตลอด ปวดหัวท้ายทอย หรือปวดบริเวณต่างๆ ได้ ทางที่ดีจึงควรกินในปริมาณที่พอดี

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

ปกติแล้วคนเราควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและนอนให้เป็นเวลา โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนร่างกายแปรปรวน ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการประจำเดือนมาแล้วปวดหัว อาการปวดหัวคลัสเตอร์ หรือผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนอยู่แล้วควรนอนหลับในที่ที่มืด เงียบ และไม่มีสิ่งเร้ารบกวน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่

  • ผ่อนคลายความเครียด

หนึ่งในอาการปวดหัวคือ ปวดหัวจากความเครียด ซึ่งหากต้องเผชิญอาการเหล่านี้พร้อมกันในช่วงมีประจำเดือนย่อมส่งผลให้อาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรหากิจกรรมที่ชอบ งานอดิเรกที่ใช่ทำในช่วงเวลาว่างหรือรู้สึกเครียดเกินไป ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเครียดสะสมและเป็นการพักผ่อนหย่อนใจไปในตัว

การรักษาโรคไมเกรน

มีประจำเดือนแล้วปวดหัว

หากพบว่าตนเองใช้วิธีรักษาในข้างต้นแล้ว แต่อาการเป็นรอบเดือนแล้วปวดหัว หรืออาการปวดหัวคิ้ว ปวดตามจุดต่าง ๆ  ยังคงอยู่ อาจจะใช้วิธีรักษาดังต่อไปนี้ได้ 

  • การทานอาหารที่ช่วยบรรเทาโรคไมเกรน

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมการกิน โดยเน้นอาหารจำพวกอาหารผักใบเขียว เนื่องจากมีวิตามินและแร่ธาตุจำพวกคลอโรฟิลล์ เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ตลอดจนแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมระดับรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด 

ในขณะเดียวดันก็ควรเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป เนยแข็ง ไวน์แดง เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะมีแร่ธาตุและสารอาหารบางชนิดที่ทำให้อาการปวดกระบอกตา ปวดหัวรุนแรงขึ้นได้

  • การใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการ

ยาแก้ปวดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ยาแอสไพริน ยาพาราเซตามอล ยาไทลินนอล ตลอดจนยาไมเกรน ดังนี้

    • ทริปแทนหรือ (Triptan) คือ ยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่ได้รับความนิยมสูงและมีหลายชนิด
    • เออร์โกทามีน (Ergotamine) คือ ยาที่ช่วยให้หลอดเลือดหรือสารต่าง  ๆ  ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการปวดไมเกรนและประจำเดือนมาแล้วปวดหัว
    • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอย (NSAIDs) ใช้สำหรับลดอาการปวดหัวไมเกรน ตลอดจนอาการปวดบริเวณต่าง ๆ  

ทั้งนี้ ควรกินยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสมและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ ทำความรู้จักยาแก้ปวดไมเกรนรูปแบบต่างๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

  • การฉีดโบท็อกไมเกรน

อีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาไมเกรนคือ การฉีดโบท็อกไมเกรน ชนิด A เนื่องจากจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ยับยั้งปลายประสาทที่ส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองได้เป็นอย่างดี

กลไกการทำงานของโบท็อกไมเกรน บริเวณระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ บ่า ตลอดจนจุดอื่น ๆ  31 จุด ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยต่าง ๆ  การฉีดโบท็อกนี้ลดอาการปวดลงได้ สูงถึง 60 – 70% ผลลัพธ์อยู่ได้นานถึง 3 เดือน อีกทั้งผลข้างมีผลข้างเคียงน้อย

  • การฝังเข็มไมเกรน

การฝังเข็มไมเกรนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยมีกลไกการทำงานคือ เป็นการเปิดทวารสมอง ทะลวงเส้นลมปราณ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้ทำงานดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคล้าย 

เพียงแค่ฝังเข็มขนาดเล็กและบางตามจุดต่างๆ ของร่างกายและบริเวณจุดที่มีพลัง โดยพิจารณาจากโรคประจำตัว อายุ และอื่นๆ ก็จะเห็นผลอย่างรวดเร็ว


การป้องกันอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว

เป็นรอบเดือนแล้วปวดหัว

วิธีการป้องกันอาการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวสามารถทำได้ง่าย ๆ  ด้วย 6 วิธีดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมของตนเอง เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นกินสมุนไพรรักษาไมเกรน เลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เป็นต้น
  2. ปรับสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพแวดล้อมของโต๊ะทำงาน ห้องทำงาน ตลอดจนบริเวณต่าง ๆ  ในบ้านก็เป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการเป็นเมนแล้วปวดหัวมากได้ ดังนั้นจึงอาจจะต้องปรับให้เหมาะสมกับตนเอง ทั้งแสง ความสูงของโต๊ะ ตลอดจนการรับเสียง เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและลดความกังวลจากงานหรือสิ่งเร้าอื่น  ๆ  ได้
  3. ลดอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากไขมันจะเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดีและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นเมนแล้วปวดหัวหรือปวดท้องน้อยร่วมด้วย ก็อาจจะออกกำลังกายเบา ๆ  เช่น เดินเร็ว โยคะแก้ปวดหัว คาร์ดิโอ เป็นต้น เพื่อยืดกล้ามเนื้อ สร้างเสริมสุขภาพที่ดี รวมถึงเป็นการหลั่งสารแห่งความสุขไปในตัว 
  5. การนอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ โดยจัดตารางการนอนหลับให้เป็นเวลา และพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูเต็มที่
  6. จัดการความเครียด วิธีนี้เพียงแค่ฝึกนั่งสมาธิ ฝึกหายใจ หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ก็ช่วยกำจัดกับความเครียดและลดอาการปวดหัวขณะมีประจำเดือนได้

ข้อสรุป

สำหรับสาว ๆ หลาย ๆ คน อาจจะรู้สึกเบื่อหน้ายกับการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว แต่ที่จริงแล้วสามารถบรรเทาอาการปวดหัวเหล่านี้ได้หากปรับพฤติกรรม และทำตามวิธีการป้องกันและการรักษาในข้างต้น 

สำหรับสาว ๆ คนไหนที่อยากรักษาด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรนที่มีเห็นผลลัพธ์ในระยะยาว หรือต้องการรักษาด้วยวิธีการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย และราคาเหมาะสม สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อนัดวันตรวจไมเกรนกับทาง BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Valencia Higuera. (2019). Why Do I Get A Headache During My Period?. Retrieve from https://www.healthline.com/health/headache/headache-during-period