กินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน มีอาการคลื่นไส้ อันตรายไหม? มีวิธีรักษาอย่างไร?
อาการปวดหัวพบได้บ่อยๆ ในคนทุกเพศทุกวัย โดยบางครั้งอาจจเกิดจากอาการเจ็บป่วยของร่างกาย แต่บางครั้งก็เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การกินยาคุมแล้วปวดหัว สภาพแวดล้อม ออฟฟิศซินโดรม
อย่างไรก็ดี ยาคุมกำเนิดมีหลายประเภท บางประเภทก็ส่งผลให้เกิดอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวคลื่นไส้ แต่อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร? มีวิธีป้องอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวมากหรือไม่? การกินยาคุมเกี่ยวข้องกับไมเกรนอย่างไร? อ่านต่อได้ในบทความ
สารบัญบทความ
- กินยาคุมแล้วปวดหัว
- อาการกินยาคุมแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
- กินยาคุมแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร
- ผลข้างเคียงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการกินยาคุม
- กินยาคุมแล้วปวดหัวแบบไหน ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการกินยาคุมแล้วปวดหัว
- วิธีรักษาอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน
- แนวทางการป้องกันอาการกินยาคุมแล้วปวดหัว
- ข้อสรุป
กินยาคุมแล้วปวดหัว
อย่างที่ทราบกันดีว่ายาคุมการกินยาคุมกำเนิด เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยาคุมนั้นมีหลายประเภท ได้แก่ โมโนฟาซิก ไบฟาซิก และทริปฟาซิก ซึ่งแต่ละประเภทก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ โดยกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน คลื่นไส้ หรือบางคนก็มีอาการเวียนหัวร่วมด้วย
จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่กินยาคุมมีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่าคนปกติ โดยบางครั้งอาจจะปวดหัวหรือบางครั้งกินยาคุมแล้วปวดหัวข้างเดียว เนื่องจากสารในยาคุมส่งผลให้ฮอร์โมนและการทำงานของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
อาการกินยาคุมแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
อาการกินยาคุมแล้วปวดหัวนั้นพบได้บ่อยๆ เนื่องจากยาคุมแต่ละประเภทมีระดับฮอร์โมนแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อกินยาคุมแล้วปวดหัวก็อาจจะเกิดขึ้นหลายๆ รูปแบบ ดังนี้
ปวดหัวข้างซ้ายหรือปวดหัวข้างขวา
บางครั้งอาจจะปวดหัวทั้งสองข้างหรือปวดหัวข้างเดียว โดยอาการนี้เกิดได้จากกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อที่ตึงเกินไป ตลอดจนระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการกินยาคุมแล้วปวดหัว
ปวดหัวคลื่นไส้
อาการปวดหัวคลื่นไส้เป็นผลโดยตรงมาจากการกินยาคุมแล้วปวดหัวคลื่นไส้ โดยจะลักษณะอาการคือ รู้สึกอึดอัด ผะอืดผะอม อาเจียน เวียนหัว บางครั้งก็รู้สึกไม่สบายตัว ถ้าหากอาการนี้สะสมเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้มีอาการร่างกายอ่อนเพลียได้
ไมเกรนออร่า
บางครั้งจะมีอาการไมเกรนขึ้นตาร่วมด้วย โดยจะเห็นแสงจ้าเป็นดวง ๆ คล้ายกับลักษณะของแฟลชถ่ายรูป บางครั้งเห็นภาพวงแหวน เห็นจุดบอดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ไปทั่วบริเวณสายตาที่ค่อย ๆ เห็นเส้นเป็นคลื่น มีความคดงอและโค้ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดกระบอกตา จนบางครั้งก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วยได้
อาการอื่นๆ ร่วมด้วย
นอกจากกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมีประจำเดือนมาผิดปกติ ตลอดจนน้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว
กินยาคุมแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร
ตามปกติแล้วอาการปวดหัวไมเกรนพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ซึ่งเมื่อผู้หญิงกินยาคุมแล้วปวดหัวคลื่นไส้เกิดจากการที่ฮอร์โมนในยาคุมเข้าไปทำหน้าที่และปรับระดับเซโรโทนิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณณ์และระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงให้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ เป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวมากเป็นพิเศษด้วย โดยมักเป็นล่วงหน้า 2 วัน และอาการเหล่านี้จะคงอยู่ไปตลอดจนเข้าสู่ช่วงวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน โดยในวันที่ 3 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น
ผลข้างเคียงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการกินยาคุม
นอกจากการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน การกินยาคุมยังส่งผลข้างเคียงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักมีอาการดังต่อไปนี้
คลื่นไส้
อาการคลื่นไส้ เป็นผลข้างเคียงมากจากการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน แต่หากกินยาคุมไปประมาณ 2-3 เดือน อาการคลื่นไส้ก็จะดีขึ้น ซึ่งหากมีอาการรุนแรง อาจจะดมยาดมหรือยาหม่อง ดื่มครื่องดื่มเย็นๆ ให้สดชื่น หรือกินยาสมุนไพรลดอาการอาเจียน
อาการซึมเศร้า
ตามปกติแล้วอาการซึมเศร้าเกิดจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม หรืออาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ รวมถึงการกินยาคุมกำเนิดแล้วปวดหัว ที่จะส่งผลต่อสารสื่อประสาท ทางที่ดีจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะทานยาคุมกำเนิดเสมอๆ
เจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอกพบได้ไม่บ่อยมากนัก โดยลักษณะอาการเหล่านี้จะเกิดจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาเม็ดคุมกำเนิดเข้ามาสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพศหญิงสูง ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก หน้าอกขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งหากใครที่เพิ่งเริ่มกินยาคุมกำเนิด ผ่านไป 2-3 เดือนอาการก็จะดีขึ้นตามลำดับ
สิว
สิวเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาว ดังนั้น การกินยาคุมแล้วปวดหัวยังส่งควบคุมสมดุลของฮอร์โมน แต่เมื่อกินยาคุมกำเนิดสักระยะสิวก็จะกลับมาขึ้นอีกครั้งได้
อย่างไรก็ดี อาจจะเน้นกินยาคุมกำเนิดที่มีระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนต่ำ และลดการกินยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของโปรเจสตินที่สามารถกระตุ้นสิวแทน
รอบเดือนผิดปกติ
การกินยาคุมมีส่วนช่วยให้ฮอร์โมนสมดุลและประจำเดือนมาปกติ แต่บางรายเมื่อกินยาคุมแล้วอาจมีอาการรอบเดือนผิดปกติโดยอาจจะมาน้อย มามาก หรือมาไม่สม่ำเสมอ โดยเลือดจะออกกะปริดกะปรอยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นร่างกายจะปรับตัวได้
อย่างไรก็ดี อาจจะต้องออกกำลังกายอย่างพอดีและกินอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วย
กินยาคุมแล้วปวดหัวแบบไหน ควรพบแพทย์
ในชีวิตประจำวัน เมื่อมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดจากปัจจัยต่างๆ ปวดบริเวณรอบๆ หัว ตลอดจนปวดหัวท้ายทอยจนถึงขั้นรุนแรง หลายๆ คนก็จะรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาวิธีแก้ปวดหัว เช่นเดียวกับการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน เพราะเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- ปวดหัวติดต่อกันยาวนานกว่า 48 ชั่วโมง
- มีอาการปวดหัวเป็นๆ หายๆ นานกว่า 2 สัปดาห์
- มีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ เวียนหัว อาเจียน หรือมีอาการอื่นๆ ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
- กินยาแก้ปวดหัวในระดับเบื้องต้นแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น
- มีโรคประจำตัวแทรกซ้อน
การวินิจฉัยอาการกินยาคุมแล้วปวดหัว
เมื่อกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน แพทย์จะทำการวินิจฉัยในระดับเบื้องต้น เช่น สอบถามประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา ประวัติการใช้ยา ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งหากพบว่าสาเหตุของการปวดหัวนั้นยังไม่ชัดเจน จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. การตรวจ CT Scan
การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์เพื่อหาความผิดปกติทางสมองและร่างกาย ผ่านการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อฉายภาพความผิดปกติ แต่เนื่องจากผลลัพธ์จากการสแกนผ่านเอกซเรย์เป็นวิธีสร้างภาพ 3 มิติ ดังนั้น จึงจะทำให้เห็นรายละเอียดเอียดชัดเจน ผลลัพธ์แม่นยำ
2. การตรวจ MRI
การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์เพื่อหาความผิดปกติทางสมองแลละร่างกาย โดยใช้ MRI ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก โดยส่วนใหญ่จะเน้นตรวจหาภาวะอักเสบ เนื้องอก หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดและระบบเลือด เช่น อาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวจากอาการอักเสบ เป็นต้น
3. การเจาะน้ำไขสันหลัง
การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นหนึ่งในวิธีวินิจฉัยโรคปวดหัวคลัสเตอร์ หรือวินิจฉัยโรคที่ผิดปกติทางร่างกายและสมอง โดยจะใช้เข็มเจาะเข้าและดูดน้ำไขสันหลังขึ้นมาเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ การตรวจชนิดนี้จะเน้นตรวจหาภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อ ภาวะการอักเสบต่างๆ ตลอดจนอาการปวดหัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากมีความแม่นยำสูง
วิธีรักษาอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน
วิธีรักษาอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นและการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้
การบรรเทาอาการเบื้องต้น
หากใครที่กินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน อาจจะเริ่มบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นง่ายๆ ดังต่อไปนี้
- การประคบร้อนบริเวณที่ปวดหัวเพียง 5-10 นาที กล้ามเนื้อหรือระบบไหลเวียนโลหิตบริเวณดังกล่าวก็จะคลายตัว อาการปวดหัวไมเกรน ตลอดจนอาการปวดหัวจากความเครียดก็จะลดลง
- การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและถูกวิธี เช่น พิลาทิส โยคะแก้ปวดหัว นอกจากจะทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังช่วยยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดได้อีกด้วย
- กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินจากผักผลไม้ แร่ธาตุจำพวกแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลง
- หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น กาแฟ ชีส ไวน์แดง ผงชูรส อาหารแปรรูป เป็นต้น
การรักษาทางการแพทย์
หากลองปรับพฤติกรรมและใช้วิธีในเบื้องต้นแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะลองรักษาอาการกินยาคุมแล้วปวดหัวมากด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
- การฝังเข็ม
การฝังเข็มเป็นหนึ่งในศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนที่ได้รับความนิยมมาอย่างยางนาน โดยจะเน้นฝังเข็มตามจุดต่างๆ บนร่างกายเพื่อเปิดลมปราณ คลายกล้ามเนื้อ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- การกินยาไมเกรน
เมื่อกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน อาจจะเลือกกินยาแก้ปวดทั่วๆ ไป เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน หรือยาสามัญประจำบ้าน แต่หากมีอาการปวดรุนแรง อาจจะเลือกทานยาไมเกรนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นยากลุ่ม triptan, ยากลุ่ม ibuprofen ตลอดจนยากลุ่ม ergotamine แต่ยาก็มีผลข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- การฉีดโบท็อกแก้ไมเกรน
ปัจจุบันการฉีดโบท็อกนิยมนำมาใช้ในวงการเสิรมความงาม ยกกระชับใบหน้า โบท็อกออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนการนำมาฉีดโบท็อกไมเกรน เนื่องจากการฉีดโบท็อกไมเกรนมีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย แต่ผลลัพธ์คงอยู่ยาวนานถึง 4-6 เดือน เพียงแค่ฉีดบริเวณรอบหัว 31 จุด โดยเฉพาะบ่า, ต้นคอ, หน้าผาก, คิ้ว และตามจุดต่างๆ ก็ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัวได้เป็นอย่างดี
- การกินยากลุ่มอื่นๆ ร่วมด้วย
นอกจากยาแก้ปวดหรือยาไมเกรน แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ยากลุ่มต่อไปนี้ร่วมด้วย
- กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
ไม่ว่าจะเป็น เช่น amitriptyline หรือ nortriptyline ก็ช่วยการลดความถี่ของการเกิดไมเกรน ตลอดจนลดความถี่ในการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้
- กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant)
เนื่องจากยากันชุดมีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้รักษาไมเกรนได้ แต่ยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้มีอาการมึนงง เกิดอาการชา
- กลุ่มยาลดความดัน (Beta blocker)
ยากลุ่มนี้มักนิยมใช้กับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและมีอาการไมเกรน เนื่องจากยากลุ่มนี้ช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย
แนวทางการป้องกันอาการกินยาคุมแล้วปวดหัว
อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการป้องกันการกินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน อาจจะปรับพฤติกรรมของตนเองหรือปรับยาคุมเป็นยาคุมที่กินแล้วไม่ปวดหัว ดังนี้
- เลือกการคุมกำเนิดมให้เหมาะสม เช่น หากมีอาการไมเกรนออร่าจะต้องกินยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว แต่หากเป็นอาการไมเกรนทั่วๆ ไป อาจจะใช้ยาคุมชนิดรวม หรือต้องปรับเป็นยาคุมกินแล้วไม่ปวดหัวตามแต่ละบุคคล เช่น ยี่ห้อ Minidoz เนื่องจากมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยลดสิวและอาการปวดหัว
- หลีกเลี่ยงการรับสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาท
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-9 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูอย่างเต็มที่
- หางานอดิเรก ทำกิจกรรมยามว่างหรือกิจกรรมที่ชอบ เพื่อเป็นการลดความเครียดและสร้างความผ่อนคลาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวดหัว
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีแสง สี เสียงวูบวาบหรือดังกว่าปกติ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไมเกรนและอาการร่วมอื่น ๆ เช่น เวียนหัว หน้ามืด คลื่นไส้
ข้อสรุป
การกินยาคุมแล้วปวดหัวสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยๆ แต่ลักษณะอาการก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ทางที่ดีควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ตลอดจนเมื่อมีอาการก็ควรรักษาอย่างถูกวิธี
ดังนั้น ใครที่กำลังเผชิญปัญหากินยาคุมแล้วปวดหัวไมเกรน และต้องการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ปลอดภัย สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ตรวจไมเกรน ตลอดจนรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของBTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางชื่อดังของไทย ได้ง่ายๆ
เอกสารอ้างอิง
Zawn Villines. (2018). What’s the link between birth control and headaches?. Retrieved from
https://www.medicalnewstoday.com/articles/322354