อาการก้มแล้วปวดหัว เกิดจากอะไร? อันตรายแค่ไหน รักษาและป้องกันอย่างไร?
อาการปวดหัวเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอาจจะเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป และมีอาการหลากหลายรูปแบบ เช่น ปวดหัวข้างเดียว ปวดจากไมเกรน ตลอดจนอาการก้มแล้วปวดหัว
อาการพอก้มแล้วปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด มีที่มาจากอะไร ลักษณะอาการเป็นอย่างไร ก้มเงยแล้วปวดหัวรักษาได้อย่างไร อ่านต่อได้ในบทความ
สารบัญบทความ
- ก้มแล้วปวดหัว
- อาการก้มแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
- ก้มแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร
- ก้มแล้วปวดหัว สัญญาณเตือนโรคอะไรบ้าง
- ก้มแล้วปวดหัวแบบไหน ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการก้มแล้วปวดหัว
- วิธีรักษาอาการก้มแล้วปวดหัว
- แนวทางการป้องกันอาการก้มแล้วปวดหัว
- ข้อสรุป
ก้มแล้วปวดหัว
อาการก้ม ๆ เงย ๆ แล้วปวดหัวมักพบได้บ่อยในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับคนที่ชอบนั่งก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ ในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัล การเล่นโทรศัพท์แทบจะเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำวัน ทำให้หลายๆ คนต้องเผชิญกับอาการก้มแล้วปวดหัวมากเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ อาจจะเกิดจากการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ ในระยะเวลาที่นานเกินไปหรือในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เส้นคอตึงปวดหัวได้
อาการก้มแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
อาการปวดหัวมีหลายรูปแบบ เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่จากท่านั่งผิดท่า การปวดหัวท้ายทอยจากความตึงเครียด หรือการปวดไหล่จากการทำกิจกรรมอย่างหนัก ทั้งนี้การปวดหัวแต่ละรูปแบบจะมีอาการต่างกัน
โดยก้มแล้วปวดหัวเป็นหนึ่งในรูปแบบ เกิดจากคสวามดันในหัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะส่งผลให้เกิดมีลักษณะอาการดังนี้
- ปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างขวา ปวดสองข้าง หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
- ปวดขมับ
- ปวดกระบอกตา
- ปวดหน้าผากหรือปวดหัวคิ้ว รวมถึงกลางกระหม่อมได้
บางรายอาจจะพบว่ามีอาการกระดูกคอเสื่อมหรือหมอรองกระดูกทับเส้นประสาทจากก้มลงแล้วปวดหัวได้
ก้มแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร
จากการศึกษาและวิจัยพบว่าอาการก้มแล้วปวดหัว เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
- การที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว
เนื่องจากการใช้งานอย่างหนักและไม่เหมาะสม เช่น การก้มเล่นโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การนั่งในท่าหรืออิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้กกล้ามเนื้อคอตึงเกร็งอย่างต่อเนื่อง และเกิดอาการก้มแล้วปวดหัวได้
- ความดันในกะโหลกศีรษะเปลี่ยนแปลง
ก้มแล้วปวดหัวจี๊ดยังเกิดจากการที่ความดันในสมองหรือกะโหลดศีรษะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากแรงโน้มถ่วง จากเดิมที่ยืนตรงความดันในสมองจะปกติ แต่เมื่อก้มลงตามแรงโน้มถ่วงความดันถายในจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวทันที
ก้มแล้วปวดหัว สัญญาณเตือนโรคอะไรบ้าง
แม้ว่าอาการก้มแล้วปวดหัวจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้ มีอาการรุนแรง หรือมีอาการต่อเนื่องยาวนาน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ ดังนี้
1. โรคไมเกรน
โรคไมเกรนมีลักษณะอาการคือ ปวดหัวตุบ ๆ คล้ายจังหวะเต้นของหัวใจ โดยอาจจะปวดข้างเดียว ปวดสองข้าง ปวดพร้อมกับมีอาการอื่น ๆ ร่วม หรืออาจจะมีอาการต่อเนื่องถึงขั้นปวดหัวเรื้อรังได้
จากการศึกษาและวิจัยพบว่าผู้ที่มีประวัติเคยเป็นไมเกรน เมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เงยหน้าหรือก้มหน้า การใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก จะสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่ายมากขึ้น
2. ภาวะเครียด
ภาวะเครียด นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดโรคต่าง ๆ ทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพใจได้แล้ว ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวจากความเครียดได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาและวิจัยพบว่าผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือต้องจ้องจอเป็นประจำมักมีโอกาสก้มแล้วปวดหัวมาก ตลอดจนมีอาการเครียด จนส่งผลให้กล้ามเนื้อคอเกร็งได้
3. โรคไซนัสอักเสบ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับโณคไซนัสอักเสบคือ เมื่อก้มศีรษะแล้วปวดหัว และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหน่วง ๆ หรือปวดตื้อที่หน้าผาก ปวดกระบอกตา ปวดบริเวณโหนกแก้ม ตลอดจนบางรายก็มีอาการไอ น้ำมูกไหลบ่อยครั้ง จาม หรือคัดจมูกจนหายใจไม่ออก ซึ่งเมื่อมีอาการไซนัส จะส่งผลให้ไม่สามารถระบายเมือกหรือน้ำมูกออกมาได้ เมื่อก้มหรือเงยหน้าจะมีปวดหัวก้มแล้วปวดบ่อย ๆ
4. ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการกดทับเนื้อสมอง และโพรงสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ บางครั้งเมื่ออาการรุนแรงอาจจะส่งผลให้ถึงขั้นสมองเสื่อมได้
อาการในเบื้องต้นของภาวะโครงสมองคั่งน้ำคือ เวียนหัว เห็นภาพซ้อน มีปัญหาในการทรงตัว ตอบสนองช้า พอก้มแล้วปวดหัวข้างขวาหรือซ้าย
ก้มแล้วปวดหัวแบบไหน ควรพบแพทย์
หากในบางครั้งที่มีอาการก้มแล้วปวดหัวรุนแรงหรือมีอาการดังต่อไปนี้ ให้ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้
- ปวดหัวหลายครั้งในหนึ่งสัปดาห์
- อาการปวดแย่ลงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นแล้ว
- ปวดหัวคลื่นไส้ อาเจียนบ่อย ๆ
- การรับรู้หรือประสาทสัมผัสต่ำลง
- สภาวะจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัยอาการก้มแล้วปวดหัว
เริ่มแรกแพทย์จะวินิจัยอาการในระดับเบื้องต้นจากการซักประวัติ สอบถามข้อมูลหรือประวัติอุบัติเหตุ ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ โดยหากพบว่ามีอาการก้มแล้วปวดหัว ซึ่งเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง จะวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนี้
1. การตรวจเลือด
การตรวจเลือดจะทำเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์ ตรวจเพื่อหาความเข้มข้นของออกซิเจนในร่างกาย หรือความสมบูรณ์ของเลือด สารเคมี ตลอดจนสิ่งแปลกปลอมที่จะส่งผลให้เกิดอาการก้มแล้วปวดหัวข้างขวาหรือซ้าย
2. การตรวจ CT Scan
การตรวจ CT Scan หรือ Computerized Tomography Scan เป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติในร่างกายที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากผลการวินิจฉัยจะออกมาในรูปแบบของภาพ 3 มิติ ทำให้สามารถวินิจฉัยเฉพาะจุดได้อย่างละเอียด ชัดเจน แม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการตรวจ
3. การตรวจ MRI
การตรวจ MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging คือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของการก้มแล้วปวดหัวข้างซ้าย การอักเสบของร่างกาย หรืออาการอื่น ๆ โดยการตรวจในลักษณะของ MRI จะได้ผลการวินิจฉัยที่ละเอียด เห็นถึงความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
วิธีรักษาอาการก้มแล้วปวดหัว
วิธีรักษาอาการก้มแล้วปวดหัวแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองและการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้
การบรรเทาอาการเบื้องต้น
วิธีแก้ปวดหัวหรือบรรเทาอาการเบื้องต้นสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ดังนี้
- การดื่มน้ำให้เพียงพอ
หากร่างกายขาดน้ำจะส่งผลให้เกิดอาการก้มแล้วปวดหัวได้ ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายควรได้รับน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นต้นไป เพื่อให้เพียงพอต่อการทำงาน การขับถ่าย และการที่ร่างกายสูญเสียน้ำ
- การประคบร้อนหรือประคบเย็น
เพียงแค่ใช้ผ้าเย็นประคบหรือใข้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดประคบบริเวณหัว หน้าผาก หรือท้ายทอยประมาณ 10-15 นาที อาการก้มแล้วปวดจี๊ดเหล่านี้ก็จะดีขึ้นได้ เนื่องจากการประคบร้อนหรือเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย ระบบโบหิตทำงานได้ดีขึ้น
- การทานยาแก้ปวด
หากมีอาการก้มแล้วปวดหัวมาก อาจจะเลือกทานยาแก้ปวดทั่ว ๆ ไป เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล แต่หากมีอาการปวดหัวจากโรคไมเกรน ควรทานยาไมเกรนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นยากลุ่ม triptan, ยากลุ่ม ibuprofen ตลอดจนยากลุ่ม ergotamine ทั้งนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อน เพื่อความปลอดภ้ย
การรักษาทางการแพทย์
อย่างไรก็ดี หากรักษาตามวิธีการเบื้องต้นแล้ว แต่อาการก้มแล้วปวดหัวยังไม่ดีขึ้น อาจใช้วิธีการรักษษทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้
- การฉีดโบท็อกไมเกรน
นอกจากจะนิยมฉีดโบท็อกเพื่อเสริมความงามหรือฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังมีการฉีดโบท็อกไมเกรนเพื่อลดอาการปวดจากไมเกรนและปวดรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย โดยการฉีดลักษณะนี้จะได้รับความนิยมสูง เนื่องจากไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่มีผลข้างเคียง ในขณะเดียวกันผลลัพธ์หลังการฉ๊ดจะคงอยู่นาน 4-6 เดือนเลยทีเดียว
- การฝังเข็มไมเกรน
หนึ่งในการรักษาที่ได้รับความนิยมคือ วิธีการรักษาทางการแพทย์ของจีน โดยเฉพาะการฝังเข็มไมเกรน ที่จะช่วยให้เปิดลมปราณ ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มลักษณะนี้อาจจะต้องศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์เป็นรายบุคคลก่อนเข้ารับการรักษา
- การทำกายภาพบำบัด
เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุของอาการก้มแล้วปวดหัวคือ การที่นั่งก้มหรือจ้องจอเป็นเวลานาน หรือนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะก้มเงยแล้วปวดหัวยังมีโอกาสเป็นโรคอื่น ๆ ทางที่ดีอาจจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อจัดท่าทางให้เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายในระยะยาว
แนวทางการป้องกันอาการก้มแล้วปวดหัว
สำหรับผู้ที่มีความกังวลถึงลักษณะอาการก้มแล้วปวดหัว อาจจะลองศึกษาหรือปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันอาการก้มแล้วปวดหัวมาก ดังนี้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการความเครียดวิตกกังวล แต่ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ เพื่อความสบายใจและลดความกังวลแทน
- หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวานมัน รสจัดหรือเย็นจัด หรือการรับสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาท
- หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือการเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและเกิดอาการก้มแล้วปวดหัว
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีแสง สี เสียงวูบวาบ เพื่อลดการกระตุ้นให้เกิดไมเกรนและอาการร่วมอื่น ๆ เช่น เวียนหัว หน้ามืด คลื่นไส้
- ควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น คาร์ดิโอ โยคะแก้ปวดหัว แอโรบิก
- ควรทานอาการหรือวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผล วิตามินไมเกรน ตลอดจนเครื่องดื่มแก้ปวดหัว และควรหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรนแทน
ข้อสรุป
อาการก้มแล้วปวดหัวเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในหลาย ๆ คน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีควรวินิจฉัยถึงสาเหตุอย่างละเอียดเกี่ยวกับเวลาก้มแล้วปวดหัวข้างเดียว เพื่อให้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี
ทั้งนี้ ใครกำลังมองหาว่ารักษาไมเกรนที่ไหนดี เพื่อลดอาการปวดจากไมเกรน ก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ตรวจไมเกรน ขอคำแนะนำ และจองคิวการรักษาทางการแพทย์อย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการก้มแล้วปวดหัวกับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Crystal Raypole. (2019). Why Do I Get a Headache When I Bend Over?. Retrieved from
https://www.healthline.com/health/headache-when-bending-over